SlideShare a Scribd company logo
1 of 54
Download to read offline
ความท้าทายเชิงนวัตกรรม
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ
เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทนี้แล้วสามารถ
3.1 เข้าใจโอกาสและความท้าทายในภูมิทัศน์นวัตกรรมใหม่
3.2 อธิบายปัจจัยสาคัญที่นาไปสู่การเป็นองค์การนวัตกรรม
3.3 อธิบายบทบาทของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการสร้างองค์การนวัตกรรม
3.4 ทราบแนวคิดของการบริหารจัดการนวัตกรรม
3.5 อธิบายผลกระทบของการจัดการนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 2
“กระบวนการผลิตและสภาพต่าง ๆ ของสังคม ไม่มีสิ่งใดที่แน่นอนตลอดไป...
อุตสาหกรรม แบบเก่านับวันจะยิ่งสูญสลายไปและแทนที่ด้วยอุตสาหกรรมแบบใหม่...ที่
ไม่ได้ผลิตสินค้าเพื่อบริโภคเท่านั้น แต่ผลิตเพื่อจาหน่ายไปทั่วโลก โลกแบบเก่าที่แข่งขันกัน
ที่การผลิตภายในประเทศ แต่ต่อไปนี้ ความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญา (intellectual
creativity) ต่างหากที่จะกลายเป็นสิ่งสาคัญ” คากล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่าความไม่
แน่นอนโลกาภิวัตน์และนวัตกรรมไม่ใช่เรื่องใหม่ และสิ่งเดียว ที่แน่นอนสาหรับพรุ่งนี้ก็คือ
ความไม่แน่นอนเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในวันนี้ เห็นได้ชัดจากการที่เราต้องเผชิญกับภาวะ
ความยากลาบากในการจัดการนวัตกรรม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงเกิดเป็น
ความท้าทายสาคัญในการปริหารจัดการและนาความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพใน
เชิงกลยุทธ์ขององค์การ
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 3
 ปิดตานาน การล้มละลายของ Kodak และการกาเนิด Instagram
https://www.youtube.com/watch?v=i7FAGlN95tE
 ทรานส์ฟอร์มครั้งใหม่ ขององค์กรแห่งนวัตกรรม
https://www.youtube.com/watch?v=fYVc5SfFnPs
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 4
จันทนา อุดม และคณะ (2563) กล่าวว่า ปัจจัยสาคัญที่นาไปสู่การเป็นองค์การ
แห่งนวัตกรรม ประกอบด้วยปัจจัยทั้งภายนอกและภายในองค์การซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 5
1. ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป (Diversity of customer needs)
ส่งผลทาให้องค์การต้องคิดค้นนวัตกรรมใหม่ในตัวของผลิตภัณฑ์ และบริการ ตลอดจน
กระบวนการเพื่อสร้างความแตกต่างให้แก่ตลาด การเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากรศาสตร์ เช่น
เพศ อายุ ระดับการศึกษาและสถานะทางสังคม ล้วนส่งผลต่อความต้องการที่แตกต่างกันทาให้
องค์การต้องวิเคราะห์และตอบสนองในแนวทางที่แตกต่างกัน
2. การแข่งขันจากคู่แข่งที่รุนแรง (Extremely competition) เพื่อช่วงชิงความ
ได้เปรียบในการแข่งขันทาให้หลายองค์การเร่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และองค์การให้มีศักยภาพ
และขีดความสามารถสูงเพื่อสามารถสร้างแนวคิดนวัตกรรม และองค์ความรู้ใหม่ เพื่อนามาใช้ใน
การสร้างกลยุทธ์ ปรับปรุงกระบวนการทางานและการผลิตผลิตภัณฑ์ และบริการ
3. เทคโนโลยี (Technology) เทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่สาคัญในการสนับสนุนองค์การ
และเอื้อต่อการเป็นองค์การนวัตกรรม เช่น การนาเทคโนโลยีมาใช้ในการลดเวลาในการทางาน
การกระจายข่าวสารและสร้างการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์ในยุคโลกาภิวัฒน์ เป็นต้น
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 6
ปัจจัยในระดับบุคคล (Individual) ประกอบไปด้วย
1. Cognitive Abilities ซึ่งประกอบไปด้วยความสามารถทางด้านความคิด อันได้แก่
ความคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) ซึ่งเป็นการใช้ความสามารถในการเข้าใจความรู้
เฉพาะด้าน ความคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) เป็นความสามารถในการรวมเอาความรู้
ในหลายด้าน และสร้างเป็นความคิดและแนวทางใหม่และความคิดเชิงบริบท (Contextual
Thinking) ซึ่งเป็นความสามารถในการ
สร้างความรู้เพื่อปรับใช้จริง
2. Personality ซึ่งเป็นคุณลักษณะส่วนบุคคลที่แสดงออกในด้านของความเป็นอิสระ
(Autonomy) ความกล้าเสี่ยง (Risk-taking) การมีความคิดริเริ่ม (Originality) และการเปิดกว้าง
ยอมรับ(Openness) ประกอบกับทักษะทางความคิด (Conceptual Skills) ในด้านของการมี
วิสัยทัศน์ (Visioning)การจัดระบบ (Organizing) การสร้างความคิด (Generating ideas) เป็นต้น
3. Intrinsic Motivation ซึ่งเป็นแรงขับภายในของตัวบุคคลเอง
4. Knowledge and Expertise องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญของบุคคล
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 7
ปัจจัยในระดับกลุ่ม (Group)
1. การทางานร่วมกันของทุกแผนก (Collaboration) องค์การนวัตกรรมต้องมี
การรวบรวมองค์ความรู้และความสามารถจากพนักงานทุกแผนกขององค์การมาทางาน
ร่วมกันเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทรัพยากรและองค์ความรู้
2. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision) ของพนักงานทุกคนในองค์การเพื่อ
เดินไปในทิศทางเดียวกันโดยเฉพาะองค์การนวัตกรรมจะมีวิสัยทัศน์เชิงสร้างสรรค์ที่เป็น
นวัตกรรม และประกาศให้
พนักงานทราบถึงวิสัยทัศน์ดังกล่าวเพื่อให้พนักงานทางานร่วมกันภายใต้วิสัยทัศน์ร่วมกัน
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 8
ปัจจัยในระดับองค์การ (Organization)
1. Culture วัฒนธรรมองค์การจะเป็นตัวสนับสนุนให้พนักงานในองค์การมีการสร้างสรรค์
แนวคิดใหม่และส่งเสริมต่อการสร้างนวัตกรรมองค์การที่มีวัฒนธรรมของการแลกเปลี่ยนความคิดความรู้จะ
ก่อให้เกิดวัฒนธรรมของการเรียนรู้ทั่วทั้งองค์การ และก่อให้เกิดองค์ความรู้ และสร้างเป็นนวัตกรรมของ
องค์การ
2. Resources องค์การต้องสนับสนุนทรัพยากรเช่น เวลา สถานที่ เงิน บุคลากรตลอดจน
เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทางานเพื่อช่วยให้เกิดนวัตกรรม
3. Structure ขององค์การ จากงานวิจัยพบว่า โครงสร้างขององค์การควรจะมีลักษณะเป็น
Organic Structure กล่าวคือ เป็นองค์การที่มีความยืดหยุ่นสูง (Flexible) ไม่ยึดติดกับขั้นตอนเดิม และมี
การกระจายอานาจในการบริหาร (Decentralized) แต่ละแผนกไม่ยึดติดกับการทางานเฉพาะงานที่ได้รับ
มอบหมายแต่เป็นการทางานแบบ Team work มากขึ้นและมีสายการบังคับบัญชาน้อย (Low
Hierarchies)
4. Motivation องค์การต้องปรับใช้จิตวิทยาเพื่อสร้างแรงจูงใจทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน
(monetary and nonmonetary) เพื่อเสริมแรงและขับให้บุคลากรคิดนวัตกรรมให้แก่องค์การ
5. Climate, Work Environment การสร้างบรรยากาศในการทางานและสภาพแวดล้อมที่เอื้อ
ต่อการเกิดนวัตกรรมจะส่งเสริมให้เป็นองค์การนวัตกรรมได้เร็วขึ้น
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 9
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสริมที่ช่วยผลักดันการเป็นองค์การนวัตกรรม ได้แก่ การ
สื่อสาร(Communication) ซึ่งควรเป็นแบบไม่เป็นทางการและควรมีแผนการจัดการความ
เสี่ยง และการเปลี่ยนแปลงรองรับกับสิ่งที่ไม่คาดคิด (Risk and Change Management)
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 10
 A Cup of Culture ❘ 6 องค์ประกอบสร้างองค์กรนวัตกรรม ❘ Ep31
https://www.youtube.com/watch?v=BhM3RZXY62M
 Module 1 : What is innovation ??? ... เปลี่ยนพนักงานธรรมดาเป็นนวัตกรสร้าง
กาไร ... นวัตกรรมสร้างได้
https://www.youtube.com/watch?v=I_xgjqWRfYg
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 11
การสร้างองค์การนวัตกรรมจาเป็นต้องบริหารจัดการกระบวนการขององค์การ
(managing operations) ให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ
1. การจัดการด้านกลยุทธ์ (strategy management)
2. การพัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ (product and market innovation
management)
3. การจัดการการปฏิบัติการ (operations management)
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 12
1. บทบาทของนักสถาปนิกในการออกแบบองค์การ นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มืออาชีพ
เปรียบได้กับสถาปนิกในการคิดหาแนวทางสรรสร้างคุณค่าที่สวยงามและเป็นไปตามความต้องการ
ของลูกค้า โดยมีทีมงานที่เข้มแข็งเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์และนาไปสู่การปฏิบัติ สถาปนิกที่ดีต้อง
พยายามสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออานวยต่อการสร้างสรรค์คุณค่า (created supporting
system) คอยอานวยความสะดวก ชี้แนะ ให้กาลังใจ ดูแลในชิ้นงานที่ร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้นมาเป็น
ชิ้นงานที่มีคุณค่าและพร้อมที่จะส่งมอบ
2. บทบาทของผู้อานวยความสะดวก (Facilitator) ในการช่วยสร้างบรรยากาศและ
สภาพแวดล้อมในการทางานให้เอื้อต่อการคิดนวัตกรรม แนวคิดสิ่งใหม่ๆ เช่น จัดสถานที่ทางานที่
เป็นแบบ mobile office หรือมุมพักผ่อนที่เหมาะกับการแลกเปลี่ยนความคิดและแบ่งปัน
ประสบการณ์
3. บทบาทของนักสื่อสาร (Communicator) ที่คอยสื่อสารข้อมูล ข่าวสาร ตลอดจน
กิจกรรมต่าง ๆ ที่องค์การจัดขึ้นเพื่อให้มั่นใจได้ว่าสมาชิกทุกคนในองค์การจะได้รับข้อมูล ข่าวสาร
เดียวกัน เพื่อเดินไปในทิศทางเดียวกัน
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 13
 ทรานส์ฟอร์มราชการให้ Agile ได้จริงหรือ กรณีศึกษาจากกรมสรรพากร | Executive
Espresso EP.111
https://www.youtube.com/watch?v=EmI8hUh0mHs
ให้นักศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษานี้ โดยใช้หัวข้อ ปัจจัยสาคัญที่นาไปสู่การเป็นองค์การ
นวัตกรรม มาเป็นตัววิเคราะห์ ว่าองค์กรเหล่านี้มีปัจจัยอะไรบ้าง
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 14
Adair (1996) ได้กล่าวถึง นวัตกรรมและการบริหารจัดการภายใต้องค์ประกอบขององค์การที่มี
การสร้างสรรค์ และพัฒนานวัตกรรม ไว้ดังนี้
1) ผู้บริหารจะต้องมีความมุ่งมั่นในการสร้างนวัตกรรม เนื่องจากผู้บริหารมีส่วนสาคัญอย่างยิ่งใน
การผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรม และการสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรให้มีคุณภาพ
ยิ่งขึ้น ผู้นาจะต้องเป็นผู้ที่เอื้ออานวยต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์การและมีบทบาทเป็นผู้นาเชิงกลยุทธ์ผู้นา
จะต้องเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและมีภาวะผู้นาในการจัดการและสร้างแรงบันดาลให้แก่บุคลากรใน
องค์การ
2) มีบรรยากาศในการทางานที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมสร้าง
บรรยากาศในองค์การที่เอื้อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัยที่สาคัญ 3
ปัจจัย คือ การกระตุ้นซึ่งกันและกัน (Mutual Stimulation) การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) และการ
วิพากษ์วิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ (Constructive Criticism) องค์การที่ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและทางาน
เป็นทีมจะต้องกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วม มีการแบ่งปันข้อเท็จจริงและข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก่พนักงาน
รวมทั้งการเตรียมพร้อมในการจัดสรรให้ทรัพยากรที่สาคัญสาหรับการศึกษาและการฝึกอบรม มีการสื่อสาร
ภายในองค์การซึ่งเน้นการสื่อสารโดยการพูดคุยมากกว่าการใช้ลายลักษณ์อักษรและจะให้การเคารพกัน
ระหว่างเพื่อนร่วมงาน นวัตกรรมต้องการทีมงานที่มีการสื่อสารในแนวขวาง (Lateral Communication)
ที่ดีเยี่ยมและมีความยืดหยุ่นของโครงสร้าง
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 15
3) การยอมรับความผิดพลาดหรือความล้มเหลวอันเป็นผลจากความกล้าเสี่ยง
องค์การต้องทาให้พนักงานรับรู้ว่าความผิดพลาดหรือล้มเหลวเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้
เสมอในการสร้างนวัตกรรมและไม่ใช้สิ่งที่น่ากลัว ความผิดพลาดหรือล้มเหลวจะกลายเป็น
บทเรียนที่มีประโยชน์ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน องค์การและหัวหน้าต้อง
ยอมรับความผิดพลาดหรือความล้มเหลวจากการสร้างนวัตกรรมได้และจะไม่มีการทาโทษ
สาหรับความผิดพลาดหรือล้มเหลวนั้น แต่พนักงานก็สามารถระมัดระวัง ความผิดพลาด
และล้มเหลวที่จะเกิดขึ้นได้โดยการประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นก่อนการลงมือสร้างสรรค์
นวัตกรรม
4) การสื่อสารในระดับเดียวกัน ความเป็นอิสระของการไหลเวียนข้อมูลทาให้
ผู้จัดการค้นพบความคิดใหม่ การรวบรวมข้อมูลและสนับสนุนให้เป็นนวัตกรรม ซึ่งเกิดจาก
การติดต่อสื่อสารที่ใกล้ชิดและความถี่ระหว่างหน่วยงาน ควรเน้นที่การสื่อสารใน แนวขวาง
เช่นเดียวกับการสื่อสารแนวดิ่งที่เป็นการจัดเตรียมทรัพยากรและข้อมูล
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 16
5) โครงสร้างองค์การที่มีความยืดหยุ่น โครงสร้างองค์การแบบสิ่งมีชีวิต (Organism) จะ
มีความยืดหยุ่นและจะส่งผลต่อบรรยากาศที่ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
มากกว่าโครงสร้างองค์การแบบเครื่องจักร (Mechanism) ที่มีการควบคุมเข้มงวด ความยืดหยุ่น
เป็นกุญแจสาคัญต่อองค์การอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นความยืดหยุ่นของบุคคล ทีมงาน หรือ
องค์การและสามารถช่วยในการเผชิญหน้าหรือตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ได้สิ่งหนึ่งที่
สาคัญคือการสื่อสารจึงจาเป็นต้องลดอุปสรรคระหว่างพนักงานที่แตกต่างกันน้อยลงด้วย การให้มี
ช่องการสื่อสารแบบเปิดกว้างระหว่างผู้วิจัยกับพนักงานฝ่ายผลิต ผู้วิจัยกับพนักงานการตลาด และ
ผู้วิจัยกับลูกค้า ในองค์การที่ยืดหยุ่นและเปิดนั้น มีการปรับตัวให้เข้ากับการพัฒนาแบบใหม่และ
การเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทาให้มีแนวโน้มให้เกิดการเรียนรู้และความอยากรู้อยากเห็น
6) การมีมุมมองในระยะยาว การสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่
เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นได้อย่างทันทีทันใด เพราะจะต้องมีการดาเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ ก่อนที่จะ
เกิดเป็นนวัตกรรมขึ้นมา ดังนั้น องค์การต้องมีความมุ่งมั่นในการสนับสนุนทางการเงินแก่การวิจัย
และการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อให้ได้เป็นนวัตกรรมที่สร้างผลกาไรและความสาเร็จให้กับ
องค์การในอนาคต
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 17
1) วิสัยทัศน์และกลยุทธ์(Vision and Strategy) วิสัยทัศน์จะเป็นการกาหนดแนว
ทางการพัฒนาองค์การว่าจะพัฒนาไปอย่างไร จะบอกถึงแนวทางการตลาดเทคโนโลยีและ
บทบาทขององค์การในอนาคต ดังนั้น การมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและมีความเป็นไปได้จึงช่วย
สร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งจะนาไปสู่การสร้างนวัตกรรม องค์การที่จะพัฒนาไปสู่องค์การ
นวัตกรรมนั้น จะต้องให้ความสาคัญกับนวัตกรรมในทุกระดับ ดังนั้น องค์การจะต้องมีกล
ยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมอย่างจริงจังในระยะยาว ซึ่งจะทาให้การบริหารจัดการใน
องค์การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความคิดใหม่ ๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรให้กับการ
สร้างนวัตกรรม กลยุทธ์องค์การที่ให้ความสาคัญกับนวัตกรรมจะส่งผลให้บุคลากรใน
องค์การมีความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Idea) ซึ่งได้แบ่งกลยุทธ์ออกเป็น 3 ระดับ
คือ กลยุทธ์ระดับองค์การ (Corporate Strategy) กลยุทธ์ระดับหน่วยธุรกิจ (Business
Unit Strategy) และระดับหน้าที่รับผิดชอบในกลยุทธ์ (Responsibility for Strategy)
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 18
2) ระบบการจัดการความสามารถ (The Competence Management
System) องค์การจะต้องมีระบบการจัดการความสามารถที่จะทาให้ทราบถึงความสามารถ
ขององค์การหรือบุคลากรภายในองค์การ ที่มีอยู่นั้นว่า สนับสนุนเป้าหมายหรือการ
ปฏิบัติงานขององค์การในปัจจุบันหรือในอนาคตหรือไม่ ซึ่งระบบนี้จะทาให้ทราบถึง
ช่องว่างหรือ ระยะห่างของความสามารถที่องค์การมีอยู่ในปัจจุบันกับเป้าหมายที่องค์การ
อยากจะเป็นในอนาคต ระบบนี้จะกาหนดและตัดสินว่า องค์การควรจะสร้างและพัฒนา
ความสามารถและทักษะอะไรที่จะส่งเสริมให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ในการสนับสนุน
นวัตกรรมนั้นระบบการจัดการความสามารถจะต้องสนับสนุนเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร
(Information) และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยให้เกิดนวัตกรรมรวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการถ่าย
โอนความสามารถเกี่ยวนวัตกรรมภายในองค์การ เช่น การลงทุนเพื่อสร้างการเรียนรู้ที่ช่วย
สร้างหรือเพิ่มทักษะในการสร้างนวัตกรรม การสร้างห้องค้นคว้าเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้
ของพนักงาน
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 19
3) มีเป้าหมาย (Goal) เป้าหมายในการสร้างนวัตกรรมนั้นต้องระบุไว้อย่างชัดเจน
เกี่ยวกับนวัตกรรมในทุกระดับ คือ ระดับองค์การ ระดับหน่วยธุรกิจ ระดับทีมงานและ
ระดับบุคคล แต่ทั้งนี้เป้าหมายในทุกระดับต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน การตั้งเป้าหมาย
ที่ดีควรตั้งขึ้นมาจากการเปรียบเทียบกับผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา ผลการปฏิบัติงานของ
คู่แข่งการกาหนดจากความต้องการของลูกค้า และจากวิสัยทัศน์ภายในขององค์การ โดย
เป้าหมายที่กาหนดขึ้นนั้นจะต้องสามารถวัดได้ ซึ่งอาจวัดจากมิติทางด้านเทคโนโลยีด้าน
ความรู้สึก ด้านการยอมรับของตลาด และอาจเพิ่มเติมมุมมองทางด้านการเงินเข้าไปด้วย
สิ่งสาคัญในการกาหนดเป้าหมายทางด้านนวัตกรรมที่ควรคานึงถึง คือ การให้ความสาคัญ
กับลูกค้าด้วย
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 20
4) มีโครงสร้างองค์การที่ชัดเจน (Organization Structure) โครงสร้างองค์การสามารถ
ทาให้เกิดผลกระทบที่แตกต่างหลากหลายของความสามารถทางด้านนวัตกรรมขององค์การได้ผล
กระทบพื้นฐานได้แก่ การทางานของพนักงาน การให้ความสนใจของพนักงานและการสื่อสารใน
องค์การ โครงสร้างองค์การแบบแบ่งชั้นสายการบังคับบัญชา (Hierarchy) แบบดั้งเดิมนั้นจะแบ่ง
ตามหน้าที่การทางาน (Functional Organization) โดยที่พนักงานที่ทางานในฝ่ายใดก็จะรายงาน
ผลการปฏิบัติงานไปยังหัวหน้าฝ่ายงานของตน ส่วนหัวหน้าฝ่ายแต่ละฝ่ายนั้นก็จะรายงานผลการ
ปฏิบัติงานไปยังผู้จัดการทั่วไป ดังนั้นแล้ว ผู้จัดการทั่วไปจึงเป็นบุคคลเดียวที่ทางานแบบข้ามสาย
งาน (Cross-Functional) ซึ่งโครงสร้างองค์การที่แบ่งตามหน้าที่การทางานนี้ก็ยังคงมีอยู่ทั้งใน
องค์การขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทั้งนี้โครงสร้างองค์การแบบแบ่งชั้นสายการบังคับบัญชานี้
นอกจากจะแบ่งตามหน้าที่การทางาน (Function) แล้วยังสามารถแบ่งตามผลิตภัณฑ์ที่รับผิดชอบ
หรือผลิต (Product Line) และการแบ่งตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (Geography) เช่น สถานที่หรือ
ประเทศที่ตั้งของโรงงานหรือองค์การ ต่อมามีการแบ่งแบบเมตริกซ์ (Matrix) คือ ให้รายงานผล
การทางานไปยังหัวหน้างานตามหน้าที่และหัวหน้าผลิตภัณฑ์ด้วย การรวมทีมงานที่เน้นในเรื่องที่
แตกต่างกันเข้าไว้นั้น เช่น ทีมเน้นผลิตภัณฑ์ทีมเน้นลูกค้า ทีมพัฒนา เป็นต้น ได้รับการยอมรับและ
ถูกเรียกว่าองค์การที่มีการทางานแบบโครงการ (Project-based Organization) ซึ่งจะไวต่อการ
เปลี่ยนแปลงมีความยืดหยุ่น และมีความเป็นนวัตกรรมได้มากกว่า โครงสร้างองค์การแบบอื่น
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 21
สมบัติ นามบุรี (2562) กล่าวว่า นวัตกรรมและการบริหารจัดการองค์การที่
สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ ต้องมีผู้บริหารมีความมุ่งมั่นในการสร้างนวัตกรรม การมี
บรรยากาศในการทางานที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม การยอมรับความผิดพลาดหรือ
ความล้มเหลวอันเป็นผลจากความกล้าเสี่ยง การสื่อสารในระดับเดียวกัน การมีโครงสร้าง
องค์การที่มีความยืดหยุ่น การมีมุมมองในระยะยาว ตลอดจนการมีวิสัยทัศน์และกลยุทธ์
แนวทางการพัฒนาองค์การว่าจะพัฒนาไปอย่างไร รวมถึงระบบการจัดการความสามารถ
และสายการบังคับบัญชาที่แบ่งตามหน้าที่การทางานของแต่ละฝ่ายไว้อย่างชัดเจน
สรุปได้ว่า การบริหารจัดการองค์การนวัตกรรม เริ่มจากการกาหนดวิสัยทัศน์ของ
องค์การ กาหนดกลยุทธ์และเป้าหมาย โดยกาหนดโครงสร้างองค์การที่ชัดเจนรวมถึงการ
จัดทาระบบการจัดการความสามารถ โดยที่ผู้บริหารจะต้องมีความมุ่งมั่นในการสร้าง
นวัตกรรม สร้างบรรยากาศในการทางานที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมและการยอมรับ
ความผิดพลาดหรือความล้มเหลวอันเป็นผลจากความกล้าเสี่ยง รวมถึงการมีมุมมองใน
ระยะยาวเนื่องจากการสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่เป็นสิ่งที่ไม่ได้
เกิดขึ้นได้อย่างทันทีทันใด เพราะจะต้องมีการดาเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ ก่อนที่จะเกิด
เป็นนวัตกรรมขึ้นมา
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 22
 EP.6 : INNOVATION IN ORGANIZATION (องค์กรแห่งนวัตกรรม จุดเปลี่ยนธุรกิจใน
อนาคต)
https://www.youtube.com/watch?v=P5tG6Af_1Tg
 ปตท. กับการสร้างวัฒนธรรม Startup เพื่อปลุกนวัตกรรมขององค์กรใหญ่
https://www.youtube.com/watch?v=zafimq1UI-s
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 23
กองวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (2563) ได้กล่าวไว้ในคู่มือ
การปฏิบัติงานเพื่อการบริหารจัดการนวัตกรรมว่า การจัดการนวัตกรรม เราจัดการอะไร? โดยเป็น
การจัดการทางด้านกระบวนการที่ก่อให้เกิดนวัตกรรม โดยมีกระบวนการที่สาคัญ ดังนี้
1. ไอเดีย (Ideas) คือ การรวบรวมความคิดสร้างสรรค์ทั้งหมด ทั้งที่สามารถทาได้จริง
และยังไม่สามารถทาได้จริง เพื่อเป็นแหล่งข้อมูล (Pool of Ideas) ในการหาจุดร่วม จุดแข็ง และ
จุดอ่อน เพื่อการพัฒนาต่อยอดในอนาคต
2. ทรัพยากร (Resources) คือ การเปลี่ยนไอเดียสู่ผลงานต้นแบบ (Pilot Project) เพื่อ
การทดสอบ ทดลอง ผ่านการจัดสรร จัดการทรัพยากรที่เพียงพอ
3. วัฒนธรรม (Culture) คือ การสร้างบรรยากาศ ธรรมเนียมปฏิบัติที่เปิดโอกาสให้คิด
สร้างสรรค์ และพัฒนาสิ่งใหม่
4. วิธีคิด (Mindset) คือ การเปลี่ยนกรอบแนวคิดของบุคลากรซึ่งสอดคล้องกับ
วัฒนธรรมองค์การ เพื่อให้เกิดการตีความของปัญหา และมุมมองใหม่ ๆ ต่อการแก้ไขปัญหา
5. อนาคต (Future) คือ การสร้างสิ่งใหม่ที่สามารถแก้ปัญหา หรือสร้างโอกาสในการ
แข่งขันขององค์การในอนาคต
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 24
1. นวัตกร (Innovators) คือ เกิดบุคลากรที่สนใจ หรือให้ความสาคัญเรื่อง
นวัตกรรมมากขึ้น
2. คุณค่า (Value & Worth) คือ เกิดการปรับปรุง พัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการ
หรือบริการ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะก่อให้เกิดมูลค่าทั้งทางการเงิน
และไม่ใช่การเงินต่อองค์การ
3. ความหลากหลาย (Diversity) คือ เกิดการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์
กระบวนการ หรือบริการ ที่มีความหลากหลาย เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจขององค์การ
4. การขยายผล (Diffusion) คือ การขยายฐาน การแพร่ การเติบโตของ
นวัตกรรมที่องค์การพัฒนาขึ้นมา
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 25
มาตรฐาน ISO 56000, Innovation management – Fundamentals and
vocabulary เป็นชุดมาตรฐานที่ประกอบด้วย 8 ส่วนและเอกสารแนวทางอื่น ๆ ซึ่งช่วยให้
องค์การสามารถใช้คาศัพท์เกี่ยวกับกระบวนการได้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย สามารถบรรลุ
เป้าหมายและเส้นทางการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี โดยมีการจัดเตรียมคาศัพท์ แนวคิดพื้นฐาน
และหลักการของการจัดการนวัตกรรมซึ่งเป็นประโยชน์สาหรับองค์การที่ต้องการทา
กิจกรรมการจัดการนวัตกรรมให้มีความโดดเด่นอย่างเห็นได้ชัดและมีความเชื่อถือได้
อลิส เดอ กาสซาโนฟ ประธานคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอที่รับผิดชอบ
มาตรฐานดังกล่าวระบุว่าองค์การทุกประเภท ทุกขนาด จาเป็นต้องมีการปรับปรุงและ
พัฒนาอยู่เสมอเพื่อความอยู่รอด และชุดมาตรฐาน ISO 56000 จะช่วยให้เราทาเช่นนั้นได้
ด้วยวิธีการที่มีโครงสร้างและมีประสิทธิผล
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 26
MASCI ซึ่งเป็นสถาบันสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ได้กล่าวถึง สาระสาคัญของ
มาตรฐาน ISO 56002 ไว้ดังนี้
หลักการของระบบการจัดการนวัตกรรม (innovation management system)
ประกอบด้วย
a) การสร้างคุณค่า (realization of value)
b) ผู้นาที่มุ่งสู่อนาคต (future-focused leaders)
c) ทิศทางกลยุทธ์ (strategic direction)
d) วัฒนธรรม (culture)
e) การใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึก (exploiting insights)
f) การจัดการความไม่แน่นอน (managing uncertainty)
g) การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง (adaptability)
h) การมุ่งเน้นระบบ (systems approach)
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 27
ในมาตรฐาน ISO 56002:2019 อ้างอิงการใช้โครงสร้าง High Level Structure ตาม
ANNEX SL ของ ISO ดังนี้
มาตรฐานนี้ กล่าวถึงขอบข่าย บทนิยาม และข้อกาหนดของระบบการจัดการนวัตกรรม
ประกอบด้วยสาระสาคัญ ดังนี้
ข้อ 4 บริบทองค์การ (Context of the organization)
– การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ทั้งปัจจัยภายในและภายนอก
องค์การ
– การวิเคราะห์ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
– การกาหนดขอบข่ายของระบบการจัดการนวัตกรรม
– การสร้างระบบการจัดการนวัตกรรม ซึ่งจะดาเนินการให้สอดคล้องตาม
หลักการของการจัดการนวัตกรรม การส่งเสริมและสร้างให้มีวัฒนธรรมที่เป็นองค์การแห่ง
นวัตกรรม และรวมไปถึงการสร้างความร่วมมือ ไม่ว่าจะหน่วยงานภายในและภายนอก เพื่อให้เกิด
การแบ่งปันความรู้และทรัพยากรต่าง ๆ และลดความเสี่ยง และลดระยะเวลาของการดาเนินการ
ทางนวัตกรรม
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 28
ข้อ 5 บทบาทของผู้นา (Leadership)
– มุ่งไปยังการสร้างมูลค่าที่แท้จริงต่อการสร้างนวัตกรรม
– ผู้บริหารต้องกาหนดวิสัยทัศน์ด้านนวัตกรรมขององค์การ
– ผู้บริหารต้องแสดงให้เห็นถึงภาวะความเป็นผู้นาและความเอาใจใส่ต่อหน้าที่
ความรับผิดชอบในระบบบริหารจัดการนวัตกรรม ผ่านสิ่งต่าง ๆ เช่น การกาหนดกลยุทธ์
นโยบายและวัตถุประสงค์ด้านนวัตกรรม การสนับสนุนทรัพยากร อานวยความสะดวกและ
สนับสนุนบุคลากรเพื่อให้เกิดประสิทธิผล เป็นต้น
– กาหนดความรับผิดชอบ บทบาท และหน้าที่ ของผู้จะดาเนินการต่อระบบการ
จัดการนวัตกรรม และ ผู้ที่รับผิดชอบในส่วนของโครงการนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อรายงานถึง
สมรรถนะของระบบการจัดการนวัตกรรม และโอกาสในการปรับปรุงตามเวลาที่กาหนด
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 29
ข้อ 6 การวางแผน (Planning)
– วางแผนการปฏิบัติ โดยพิจารณาถึงบริบทองค์การ และความต้องการของผู้มี
ส่วนได้เสีย และให้มีการระบุความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ
การสร้างนวัตกรรม
– ระบุประเด็นปัญหาด้านนวัตกรรมทั้งภายในและภายนอกองค์การ
– มีการวางแผนวิธีการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านนวัตกรรม กาหนดกิจกรรม
ทรัพยากร ความรับผิดชอบ ปัจจัยผลักดัน ขั้นตอนการจัดการนวัตกรรมและสร้างตัวชี้วัด
ในการตรวจสอบความสาเร็จในระยะสั้นและระยะยาวของระบบบริหารจัดการนวัตกรรม
– กาหนดโครงสร้างองค์การ ที่ให้มั่นใจต่อการดาเนินการได้ในระบบการจัดการ
นวัตกรรม
– การจัดทาแฟ้มสะสมงาน (Innovation portfolio) เพื่อเป็นการวิเคราะห์ถึง
ความเสี่ยง และระดับของนวัตกรรม ตามขอบข่ายและเวลา และให้สอดคล้องไปกับกลยุทธ์
และวัตถุประสงค์ของนวัตกรรม
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 30
ข้อ 7 การสนับสนุน (Support)
– องค์การต้องจัดโครงสร้าง บทบาท ความรับผิดชอบ และทรัพยากร
– องค์การต้องจัดสรรทรัพยากรในด้านบุคลากร เวลา องค์ความรู้ การเงิน และ
โครงสร้างพื้นที่ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อระบบการจัดการนวัตกรรมและโครงการด้านนวัตกรรม
– องค์การต้องกาหนดคุณสมบัติของบุคลากรที่รับผิดชอบ และจัดให้มีการพัฒนาทักษะ
ความรู้ และความสามารถที่จาเป็น
– การสร้างความตระหนักให้แก่บุคลากรขององค์การ และสร้างแรงจูงใจ/วัฒนธรรม
องค์การด้านนวัตกรรม
– การสื่อสารภายในและภายนอกองค์การ
– ระบบเอกสารสารสนเทศ
– เครื่องมือและวิธีการ
– การจัดการปัญญาเชิงกลยุทธ์
– การจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและความรู้
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 31
ข้อ 8 การดาเนินการ (Operation)
– การวางแผนและการควบคุม องค์การต้องสร้างแผนการดาเนินการและการควบคุม สาหรับ
การริเริ่ม กระบวนการ โครงสร้าง และการสนับสนุนที่ความต้องการที่ได้ระบุโอกาส และการต้องการที่จะ
ดาเนินการทางนวัตกรรมให้บรรลุได้ตามวัตถุประสงค์
– ความคิดริเริ่มด้านนวัตกรรม
– กระบวนการทางนวัตกรรม ซึ่งประกอบไปด้วย การชี้บ่งโอกาส การสร้างแนวคิด การทวน
สอบแนวคิด การพัฒนารูปแบบนวัตกรรม และการดาเนินการและติดตามผลของนวัตกรรมดังกล่าว
ข้อ 9 การประเมินสมรรถนะ (Performance evaluation)
– กาหนดตัวชี้วัด วิธีการสาหรับการตรวจติดตามและเกณฑ์ในการตรวจวัด
– การตรวจประเมินภายใน
– การทบทวนฝ่ายบริหาร
ข้อ 10 การปรับปรุง (Improvement)
– ชี้บ่งความเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้น และกาหนดวิธีการแก้ไข เพื่อกาจัดสาเหตุของความเบี่ยงเบน
หรือสร้างการดาเนินการแก้ไขเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและผลลัพธ์ของระบบการบริหารจัดการนวัตกรรม
– การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 32
ประโยชน์ที่ได้รับในด้านการตลาด
ให้คาแนะนาเกี่ยวกับวิธีการที่องค์การสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า
ที่ยังไม่บรรลุผล (ยังเป็นปัญหา)
❑ เพิ่มโอกาสทางธุรกิจและการเปิดตลาดใหม่
❑ นาไปสู่การลดลงของผลกระทบอันเนื่องมาจากการกีดกันทางการค้า
❑ ลดเวลาในการวางตลาด (ทาได้รวดเร็วขึ้น)
❑ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันขององค์การต่าง ๆ
❑ ตอบความต้องการของทั้งผู้พัฒนา และระบบเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 33
ประโยชน์ที่ได้รับในด้านวัฒนธรรม
• เปิดใจที่จะยอมรับรูปแบบวิธีการและธุรกิจใหม่ๆ
• ส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมแบบนวัตกรรมในระดับโลก
• อานวยความสะดวกในการดาเนินงานร่วมมือกับพันธมิตร
• ปรับปรุงการร่วมกันทางานกับภาคีเครือข่ายในระดับโลก
• การดาเนินความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการนวัตกรรมขององค์การ
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 34
ประโยชน์ที่ได้รับภายในองค์การ
• ประหยัดค่าใช้จ่ายและลดความเสี่ยงเมื่อการสร้างนวัตกรรมและการทางานร่วมกันข้ามพรมแดน
เนื่องจากการพัฒนาเครื่องมือที่มีมาตรฐาน
• เพิ่มความสามารถในการตัดสินใจองค์การ: การทดลองที่ล้มเหลวอย่างรวดเร็วและความสามารถในการ
รับความเสี่ยงที่เหมาะสมเผชิญกับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงของโลก “(ความล้มเหลวต่าง ๆ จึง
เป็นส่วนหนึ่งของความสาเร็จนั้น ซึ่ง Startup จึงมีคาบอกว่า Fail Fast Succeed Faster ข้อดีของ Fail
Fast Succeed Faster นั้นคือการที่คุณล้มเหลวรวดเร็วเท่าใด จะทาให้คุณประหยัดเงินได้เท่านั้น เพราะ
ลองนึกถึงว่าในขั้นตอนการทาธุรกิจหรือเปิดตัวธุรกิจออกไปการใช้งบประมาณต่าง ๆ นั้นยังไม่เยอะมาก มี
การลงทุนในเรื่องต่าง ๆ ในขั้นนี้ยังไม่เยอะเมื่อการล้มเหลวในขั้นนี้จะทาให้เกิดการกลับตัวมาใหม่ได้เร็ว
กว่า เพราะคุณยังเหลืองบประมาณต่าง ๆ ในมืออย่างมาก แต่ถ้าคุณยังคงทาต่อไปเมื่อยิ่งโตขึ้น ความ
ล้มเหลวนั้นจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดี เพราะการที่โตมากแปลว่าเงินหรืองบประมาณนั้นลงไปมากแล้ว การล้ม
ในตอนนี้แทบจะทาให้คุณกลับตัวไม่ได้เลย เพราะเงินที่ลงไปในการทาธุรกิจนั้นเป็นจานวนมากมาย)”
• ปรับปรุงประสิทธิภาพและสมรรถนะการทางานขององค์การในการผลิตนวัตกรรม
• ปรับปรุงผลลัพธ์ของกระบวนการนวัตกรรมและมีส่วนช่วยในการตรวจสอบผลตอบแทนของการลงทุนที่
เกิดขึ้นในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
• การแบ่งปัน (Share) ทั่วโลกยอมรับ “ภาษากลาง” สาหรับการจัดการนวัตกรรม
• ประเมินความคืบหน้าขององค์การและการระบุและการแบ่งปันวิธีปฏิบัติที่ดีในการจัดการนวัตกรรม
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 35
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 36
สามารถแบ่งองค์ประกอบของการบริหารจัดการนวัตกรรมออกเป็น 7
องค์ประกอบ คือ
1. บริบทขององค์การ (Context of the Organization)
2. ผู้นาองค์การ (Leadership)
3. การวางแผน (Planning)
4. ทรัพยากรสนับสนุน (Support)
5. การปฏิบัติงาน (Operation)
6. การประเมินประสิทธิภาพการดาเนินงาน (Performance Evaluation)
7. การปรับปรุงและพัฒนา (Improvement)
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 37
โดยแบ่งการบริหารออกเป็น 3 องค์ประกอบดังนี้
1. วิสัยทัศน์แห่งนวัตกรรม (Innovation Vision)
2. แนวทางการปฏิบัติงานด้านนวัตกรรม (Innovation Operation)
3 คุณค่าของนวัตกรรม (Innovation Value)
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 38
แนวทางการบริหารเพื่อให้องค์การมีวิสัยทัศน์แห่งนวัตกรรมประกอบไปด้วย บริบทของ
องค์การ (Context of Organization) และผู้นาองค์การ (Leadership) ซึ่งมีความสาคัญอย่างยิ่ง
ในการกาหนดทิศทางการดาเนินงานด้านนวัตกรรมขององค์การ โดยมีแนวทางการดาเนินงานดังนี้
A. ความเข้าใจในองค์การ กล่าวถึง การวิเคราะห์ขีดความสามารถด้านนวัตกรรมของ
องค์การด้วยการประเมินผลกระทบภายใน และผลกระทบภายนอกองค์การ เช่น ยุทธศาสตร์
ภารกิจ ค่านิยม ขั้นตอนการดาเนินการ ความสามารถของบุคลากร วัฒนธรรม ระบบนิเวศ
เศรษฐกิจ สภาพเศรษฐกิจ กฎหมาย นโยบายระดับชาติ เทคโนโลยี คู่แข่ง คู่ค้า เป็นต้น เพื่อนามา
ประกอบการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ (SWOT Analysis)
B. ความเข้าใจถึงเสียงของลูกค้าและเสียงของพนักงาน กล่าวถึง การจัดการ การ
รวบรวม การคัดเลือกเสียงของลูกค้า เพื่อให้ทราบถึงความพึงพอใจ คามไม่พึงพอใจ ความต้องการ
ความคาดหวังทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต นามาเปรียบเทียบเพื่อพัฒนากับผลิตภัณฑ์ บริการ
และกระบวนการทางานที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 39
C. ความตระหนักถึงการสร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมนวัตกรรม กล่าวถึง การ
ขับเคลื่อนองค์การแห่งนวัตกรรมด้วยการสร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมกิจกรรมด้านนวัตกรรม
เพื่อให้บุคลากรทุกระดับในองค์การตระหนักถึงความสาคัญ เปลี่ยนความคิดผิด ๆ เกี่ยวกับ
การสร้างนวัตกรรม การให้ความสาคัญกับความคิดสร้างสรรค์ทุกรูปแบบ การสร้าง
แรงจูงใจในการพัฒนานวัตกร เป็นต้น
D. ความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กล่าวถึง การแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์ การเข้าถึงความรู้ การจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและแหล่งทรัพยากร โดย
การรวบรวมบุคลากรจากทีม แผนก หรือฝ่ายที่มีหน้าที่การทางานแตกต่างกัน ซึ่งอาจรวม
ไปถึงการเชิญตัวแทนจากกลุ่มลูกค้า พันธมิตร สถาบันการศึกษา หรือ
กลุ่มอุตสาหกรรมเข้าร่วมด้วยด้วย เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการพัฒนาที่
ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 40
E. มุมมองของผู้บริหาร กล่าวถึง การแสดงถึงวิสัยทัศน์ในการดาเนินงานด้าน
นวัตกรรมของผู้บริหาร มุมมองการพัฒนานวัตกรรมขององค์การทั้งในปัจจุบันและใน
อนาคต โอกาส และความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา รวมไปถึงการสร้างแรงจูงใจแก่
ผู้พัฒนานวัตกรรม เช่น การมอบรางวัลให้แก่ผลงานทั้งที่ประสบ
ความสาเร็จและไม่ประสบความสาเร็จ การตระหนักถึงความเสี่ยงในการพัฒนานวัตกรรม
และการเก็บแนวความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาต่อยอด เป็นต้น
F. นโยบายและความรับผิดชอบ กล่าวถึง การกาหนดแนวทางในการพัฒนา
องค์การเพื่อไปสู่เป้าหมายด้านนวัตกรรมในอนาคต ซึ่งต้องมีความท้าทาย ให้แรงบัลดาลใจ
แก่บุคลากรที่จะพัฒนานวัตกรรม ซึ่งต้องกาหนดให้เป็นลายลักษณ์อักษร
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 41
ระบบบริหารจัดการนวัตกรรมสามารถพัฒนาต่อเนื่องได้ตามหลักการวงจร
คุณภาพ PDCA Cycles (Plan – Do – Check – Act Cycles) เพื่อให้ความคิดสร้างสรรค์
กิจกรรม และกระบวนการได้รับทรัพยากรสนับสนุนอย่างเพียงพอ รวมไปถึงให้มีการระบุ
โอกาสและความเสี่ยงขององค์การด้วย
วงจรคุณภาพ PDCA Cycle สามารถนามาประยุกต์ใช้กับระบบบริหารจัดการ
นวัตกรรมได้ดังแสดงความสัมพันธ์ในรูปที่ 3-1 โดยมีคาอธิบายดังนี้
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 42
กล่าวถึง การกาหนดวัตถุประสงค์และการดาเนินงานที่จาเป็นในการจัดการกับความ
เสี่ยงและโอกาส
ขั้นตอนการวางแผนเป็นขั้นตอนแรกในวงจรควบคุมคุณภาพในการกาหนดวัตถุประสงค์
และจัดลาดับความสาคัญของแผนงาน ประมาณการใช้ทรัพยากรเพื่อการสนับสนุน การจัดการ
ความเสี่ยงที่เหมาะสมกับแผนงาน/โครงการ เพื่อนาไปสู่การวางกลยุทธ์ที่ตอบสนองต่อ
วัตถุประสงค์ของการดาเนินงาน โดยจะต้องคานึงถึงนโยบาย พันธกิจ และวิสัยทัศน์ขององค์การ
โดยทุกแผนงานจะต้องแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ หรือการลด
ผลกระทบ หรือการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง กาหนดผู้รับผิดชอบและผู้ใช้งาน วิธีวัดผลการ
ดาเนินงานและการติดตามผลการดาเนินงานนั้น รวมถึงวิธีการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา การ
สื่อสาร/ถ่ายทอดให้บุคลากรทุกระดับในองค์การและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทราบถึงผลการดาเนินการ
นั้น
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 43
กล่าวถึง การวางแผนด้านการสนับสนุนและการดาเนินงาน โดยมีความสัมพันธ์กับ
ทรัพยากรสนับสนุน (Support) และการปฏิบัติงาน (Operation)
ขั้นตอนการวางแผนด้านทรัพยากรสนับสนุนองค์การจะต้องคานึงถึงข้อจากัดของ
ทรัพยากรที่ใช้ในการดาเนินการตามแผนนวัตกรรม ความต้องการจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและลูกค้า
การทางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายในองค์การ โดยปัจจัยด้านทรัพยากรที่สาคัญประกอบไป
ด้วย
▪ บุคลากร (People) กล่าวถึง การสร้างแรงจูงใจ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้
ความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา เพื่อการพัฒนาต่อยอดสู่การสร้างนวัตกรรม โดยอาจสร้างทีม
ที่มีบุคลากรที่มีความสามารถและประสบการณ์ที่หลากหลายเพศ วัย สาขาวิชาเพื่อให้เกิดการ
วิเคราะห์ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคลจนเกิดเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม
▪ เวลา (Time) กล่าวถึง การจัดสรรเวลาในการทางานของบุคลากร ให้มีช่วงเวลาใน
การเสนอความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาที่พบเจอในการดาเนินการต่าง ๆ ภายในองค์การ
เช่น การจัดสรรเวลา 2-4 ชั่วโมงเพื่อประชุมกลุ่มย่อยรายสัปดาห์ หรือรายเดือน เป็นต้น
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 44
▪ องค์ความรู้ (Knowledge) กล่าวถึง การรวบรวมความรู้ทั้งภายในและ
ภายนอกองค์การจากการเรียนรู้ อบรม สัมมนา และประสบการณ์ เช่น ผลการเรียนรู้จาก
โครงการนวัตกรรมที่ประสบผลสาเร็จและไม่ประสบผลสาเร็จ แล้วนามาวิเคราะห์ถึงสาเหตุ
และโอกาสในการพัฒนา ซึ่งต้องให้ความสาคัญกับแนวความคิด (Ideas) ของทุก ๆ
แผนงาน/โครงการเพื่อโอกาสนามาเรียนรู้ ประยุกต์ใช้งานกับแผนงาน/โครงการในอนาคต
ต่อไป
▪ การเงิน (Finance) กล่าวถึง การจัดสรรงบประมาณตามระดับความเสี่ยง หรือ
ตามระดับของนวัตกรรม รวมถึงการลงทุนในปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม เช่น
ลงทุนในบริษัทร่วมทุนหรือ SMEs หรือจัดตั้งกองทุนสาหรับการพัฒนานวัตกรรม เป็นต้น
▪ โครงสร้างองค์การ (Infrastructure) กล่าวถึง สิ่งอานวยความสะดวกในการ
ส่งเสริมกิจกรรมนวัตกรรม เช่น พื้นที่การแสดงออกความคิดสร้างสรรค์ ห้องปฏิบัติการ
ทดสอบสาหรับการวิจัยและพัฒนา พื้นที่ทดสอบสิ่งประดิษฐ์ เครื่องมือในการสร้างสรรค์
สิ่งประดิษฐ์ ข้อมูลการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต เป็นต้น
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 45
▪ ความคิดริเริ่มนวัตกรรม (Innovation Initiatives) คือ การส่งเสริมทักษะการ
คิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยการสอนที่สร้างสรรค์ (Creative Pedagogy) ที่บูรณาการกับ
เนื้อหาในด้านต่าง ๆ โดยการสอนที่สร้างสรรค์สามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ การโค้ช
อย่างสร้างสรรค์ (Creative Coaching) การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ (Creative Learning)
และการโค้ชที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ (Coaching for Creativity) ดังแสดงในรูปที่ 3-2
เพื่อให้เกิดการกระตุ้นการเรียนรู้ (Feed - Up) การให้ผลตอบกลับ (Feedback) และการ
เรียนรู้ต่อยอด (Feed - Forward) ต่อไป
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 46
▪ กระบวนการนวัตกรรม (Innovation Process) คือ กระบวนการที่ยืดหยุ่น
สามารถปรับเปลี่ยนได้ขึ้นอยู่กับประเภทของนวัตกรรมและบริบทขององค์การ โดย
กระบวนการนวัตกรรมต้องสามารถเชื่อมโยงกับกระบวนการอื่น ๆ เช่น การวิจัยและ
พัฒนา การตลาด หรือการดาเนินงานทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น โดยมีภาพรวมของ
กระบวนการนวัตกรรมดังแสดงในรูปที่ 3-3
รูปที่ 3-3 ภาพรวมกระบวนการนวัตกรรม
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 47
1. การระบุโอกาส (Identify opportunities) คือ การรับรู้ความต้องการและ
ความคาดหวังของลูกค้า รวมไปถึงแนวโน้มความท้าทายที่เกี่ยวข้อง เช่น คู่แข่ง เทคโนโลยี
เป็นต้น เพื่อนามาจัดลาดับความสาคัญ และระบุผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งด้านดีและไม่ดี
2. การสร้างกรอบความคิด (Create Concept) คือ การสร้างแนวคิด วิธีการ
แก้ไขปัญหารูปแบบใหม่ ๆ ซึ่งอาจมาจากแหล่งข้อมูลเอกสารภายใน การอบรมจาก
ภายนอก โดยใช้วิธีการที่แตกต่างจากเดิม โดยจะต้องกาหนดให้แสดงผลลัพธ์ของนวัตกรรม
ที่สามารถตรวจสอบได้ ผู้ตรวจสอบทาความเข้าใจกับสมมติฐานที่จะตรวจสอบอย่างถ่องแท้
และนาไปประเมินความเสี่ยง เพื่อวัดผลกระทบจากการพัฒนานวัตกรรม
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 48
3. การตรวจสอบแนวคิด (Validate Concepts) คือ ต้องทาการตรวจสอบ
แนวความคิด (Ideas) ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้น โดยควรพิจารณาวิธีการตรวจสอบที่มากกว่า 1
วิธี เช่น การศึกษา การทดลอง หรือการทดสอบ เป็นต้น เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของ
แนวความคิด และหากมีข้อสงสัยต้องทาการตั้งสมมติฐานเพื่อทาการทดสอบ
4. การพัฒนาผลลัพธ์ (Develop Solutions) คือ การพัฒนาผลลัพธ์จาก
แนวความคิด ให้เกิดเป็นผลลัพธ์การทางาน รวมถึงการทาให้เกิดคุณค่าและการป้องกัน
ทรัพย์สินทางปัญญา โดยต้องคานึงถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อกาหนดทางกฎหมาย
งบประมาณ และเวลา เป็นต้น
5. การประยุกต์ใช้ผลลัพธ์ (Deploy Solutions) คือ การส่งมอบผลลัพธ์ของ
นวัตกรรม ให้สามารถเข้าถึงผู้ใช้งาน ลูกค้า พันธมิตร หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ได้
รวมถึงการส่งเสริมการแก้ปัญหาทางการตลาด การสื่อสาร การสร้างความรับรู้ และการ
สร้างความมีส่วนร่วมและต้องมีการติดตามผลกระทบการการใช้งงานนวัตกรรมนั้นด้วย
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 49
กล่าวถึง การติดตามและประเมินผลการดาเนินการตามแผนงานที่วางไว้ให้บรรลุตาม
วัตถุประสงค์ โดยอาศัยการวิเคราะห์และประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ความถี่ เครื่องมือ
และวิธีการที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละองค์การ เพื่อให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพของ
นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีเครื่องมือและวิธีการติดตามและประเมินผลที่แนะนาดังนี้
▪ การตรวจสอบภายใน (Internal Audit) คือ การตรวจสอบแผน ผลการดาเนินงาน
ปัญหา อุปสรรค และให้ข้อเสนอแนะการปรับปรุง รวมถึงการรายงานผลไปยังหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง โดยผู้ตรวจสอบภายในต้องทาการกาหนดขอบเขต วัตถุประสงค์ หรือเกณฑ์ที่ต้องการวัด
ในแต่ละหัวข้อที่ต้องการประเมิน
▪ การทบทวนการจัดการ (Management Review) คือ การทบทวน/ประเมินของ
ผู้บริหารระดับสูงถึงการบริหารตามแผนที่กาหนดไว้ว่ามีความต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ และ
ประสิทธิผลอยู่หรือไม่ โดยอาจเปลี่ยนแปลงแนวทางการประเมินปัจจัยทั้งภายในและภายนอก
องค์การที่เกี่ยวข้องกับการจัดการนวัตกรรม ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ทิศทาง และนโยบายของ
องค์การ
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 50
กล่าวถึง การดาเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการจัดการนวัตกรรมอย่าง
ต่อเนื่อง
องค์การควรพิจารณาและเลือกโอกาสในการปรับปรุงและดาเนินการระบบบริหาร
จัดการนวัตกรรม โดยพิจารณาจากผลการประเมินประสิทธิภาพ ซึ่งมีแนวทางการพัฒนา
ปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการจัดการนวัตกรรม 3 แนวทาง คือ เพิ่มจุดแข็ง, แก้ไขจุดอ่อน
และป้องกันหรือลดข้อเบี่ยงเบนที่ทาให้ไม่เป็นไปตามเป้าประสงค์
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 51
คุณค่าทั้งหมดของนวัตกรรมถูกวัดโดยผลกระทบด้านบวก และด้านลบของสิ่งที่
ได้รับออกมาหรือผลลัพธ์ที่ให้เชิงพาณิชย์และสังคมสาหรับผู้บริโภค ดังนั้นผลกระทบเชิง
บวกจะช่วยประชาชนปรับปรุงองค์การ และสังคม ในขณะเดียวกันผลกระทบเชิงลบก็จะ
สร้างปัญหา และเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้แก่องค์การและสังคม โดยคุณค่าของนวัตกรรม
สามารถวัดได้ทั้งในด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน (การเงิน [Financial] / ความพึงพอใจ
ของลูกค้า [Customer Perspective] / กระบวนการภายใน [Internal Processes] /
การเติบโตและเรียนรู้ [Learning & Growth])
เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทาให้สิ่งต่าง ๆ มีการ
เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ก่อให้เกิดผลผลิตเพิ่มขึ้น อันเป็นที่มาของความมั่งคั่งทาง
เศรษฐกิจของประเทศ เพื่อส่งเสริมระบบนวัตกรรมแห่งชาติให้มีความเข้มแข็ง
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 52
 Thailandplus │ซีพีเอฟได้รับมาตรฐานองค์กรจัดการนวัตกรรม ISO56002
https://www.youtube.com/watch?v=jVFaSZWsvtk
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 53
1. ปัจจัยอะไรที่นาไปสู่การเป็นองค์การนวัตกรรม
2. บทบาทของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการสร้างองค์การนวัตกรรมเป็นอย่างไร
3. จงอธิบายแนวคิดการบริหารจัดการนวัตกรรม
4. ระบบบริหารจัดการนวัตกรรม ISO56002:2019 เป็นอย่างไร
5. ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบการบริหารจัดการนวัตกรรมมีอะไรบ้าง
6. จงอธิบายแนวทางการปฏิบัติงานด้านนวัตกรรม
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 54

More Related Content

What's hot

Chapter 12 design thinking in product
Chapter 12 design thinking in productChapter 12 design thinking in product
Chapter 12 design thinking in productTeetut Tresirichod
 
Chapter 3 mindsets of design thinking
Chapter 3 mindsets of design thinkingChapter 3 mindsets of design thinking
Chapter 3 mindsets of design thinkingTeetut Tresirichod
 
Chapter 6 business technology management activities
Chapter 6 business technology management activitiesChapter 6 business technology management activities
Chapter 6 business technology management activitiesTeetut Tresirichod
 
Chapter 2 the root of design thinking
Chapter 2 the root of design thinkingChapter 2 the root of design thinking
Chapter 2 the root of design thinkingTeetut Tresirichod
 
Chapter 11 design thinking in process
Chapter 11 design thinking in processChapter 11 design thinking in process
Chapter 11 design thinking in processTeetut Tresirichod
 
Chapter 10 design thinking for service
Chapter 10 design thinking for serviceChapter 10 design thinking for service
Chapter 10 design thinking for serviceTeetut Tresirichod
 
Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)
Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)
Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)Aj.Mallika Phongphaew
 
Design thinking การคิดเชิงออกแบบ (Thai - English)
Design thinking การคิดเชิงออกแบบ (Thai - English)Design thinking การคิดเชิงออกแบบ (Thai - English)
Design thinking การคิดเชิงออกแบบ (Thai - English)Mayuree Srikulwong
 
บทที่ 7 ห่วงโซ่คุณค่าคืออะไร/Chapter 7 What is Value Chain?
บทที่ 7 ห่วงโซ่คุณค่าคืออะไร/Chapter 7 What is Value Chain?บทที่ 7 ห่วงโซ่คุณค่าคืออะไร/Chapter 7 What is Value Chain?
บทที่ 7 ห่วงโซ่คุณค่าคืออะไร/Chapter 7 What is Value Chain?NIDA Business School
 
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำissareening
 
ระบบงาน HR บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ระบบงาน HR บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)ระบบงาน HR บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ระบบงาน HR บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)Krishna Rama
 
อัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity: C.I.)
อัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity: C.I.)อัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity: C.I.)
อัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity: C.I.)Dr.Kridsanapong Lertbumroongchai
 
ThailandPost Presentation
ThailandPost PresentationThailandPost Presentation
ThailandPost Presentationsuperkaew
 
เทคนิคการเล่าเรื่องดิจิทัล (Digital Storytelling Technique)
เทคนิคการเล่าเรื่องดิจิทัล (Digital Storytelling Technique)เทคนิคการเล่าเรื่องดิจิทัล (Digital Storytelling Technique)
เทคนิคการเล่าเรื่องดิจิทัล (Digital Storytelling Technique)Dr.Kridsanapong Lertbumroongchai
 
บทที่ 6 พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การสมัยใหม่
บทที่ 6 พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การสมัยใหม่บทที่ 6 พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การสมัยใหม่
บทที่ 6 พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การสมัยใหม่Aj.Mallika Phongphaew
 
การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่
การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่
การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่Natepanna Yavirach
 

What's hot (20)

Chapter 12 design thinking in product
Chapter 12 design thinking in productChapter 12 design thinking in product
Chapter 12 design thinking in product
 
Chapter 3 mindsets of design thinking
Chapter 3 mindsets of design thinkingChapter 3 mindsets of design thinking
Chapter 3 mindsets of design thinking
 
Chapter 6 business technology management activities
Chapter 6 business technology management activitiesChapter 6 business technology management activities
Chapter 6 business technology management activities
 
Chapter 2 the root of design thinking
Chapter 2 the root of design thinkingChapter 2 the root of design thinking
Chapter 2 the root of design thinking
 
Chapter 11 design thinking in process
Chapter 11 design thinking in processChapter 11 design thinking in process
Chapter 11 design thinking in process
 
Chapter 10 design thinking for service
Chapter 10 design thinking for serviceChapter 10 design thinking for service
Chapter 10 design thinking for service
 
Chapter 5 define
Chapter 5 defineChapter 5 define
Chapter 5 define
 
Chapter 6 ideate
Chapter 6 ideateChapter 6 ideate
Chapter 6 ideate
 
Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)
Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)
Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)
 
Design thinking การคิดเชิงออกแบบ (Thai - English)
Design thinking การคิดเชิงออกแบบ (Thai - English)Design thinking การคิดเชิงออกแบบ (Thai - English)
Design thinking การคิดเชิงออกแบบ (Thai - English)
 
บทที่ 7 ห่วงโซ่คุณค่าคืออะไร/Chapter 7 What is Value Chain?
บทที่ 7 ห่วงโซ่คุณค่าคืออะไร/Chapter 7 What is Value Chain?บทที่ 7 ห่วงโซ่คุณค่าคืออะไร/Chapter 7 What is Value Chain?
บทที่ 7 ห่วงโซ่คุณค่าคืออะไร/Chapter 7 What is Value Chain?
 
Chapter 8 test
Chapter 8 testChapter 8 test
Chapter 8 test
 
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ
 
ระบบงาน HR บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ระบบงาน HR บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)ระบบงาน HR บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ระบบงาน HR บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
 
Process management
Process managementProcess management
Process management
 
อัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity: C.I.)
อัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity: C.I.)อัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity: C.I.)
อัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity: C.I.)
 
ThailandPost Presentation
ThailandPost PresentationThailandPost Presentation
ThailandPost Presentation
 
เทคนิคการเล่าเรื่องดิจิทัล (Digital Storytelling Technique)
เทคนิคการเล่าเรื่องดิจิทัล (Digital Storytelling Technique)เทคนิคการเล่าเรื่องดิจิทัล (Digital Storytelling Technique)
เทคนิคการเล่าเรื่องดิจิทัล (Digital Storytelling Technique)
 
บทที่ 6 พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การสมัยใหม่
บทที่ 6 พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การสมัยใหม่บทที่ 6 พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การสมัยใหม่
บทที่ 6 พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การสมัยใหม่
 
การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่
การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่
การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่
 

Similar to Chapter 3 innovation challenge

การบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมการบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมPhakawat Owat
 
กลุ่มกิงก่องแก้ว --ทุนนิยมที่มีหัวใจ สรุปเนื้อหา
กลุ่มกิงก่องแก้ว --ทุนนิยมที่มีหัวใจ สรุปเนื้อหากลุ่มกิงก่องแก้ว --ทุนนิยมที่มีหัวใจ สรุปเนื้อหา
กลุ่มกิงก่องแก้ว --ทุนนิยมที่มีหัวใจ สรุปเนื้อหาfreelance
 
การพัฒนาองค์การ (Organization Development:OD)
การพัฒนาองค์การ (Organization Development:OD)การพัฒนาองค์การ (Organization Development:OD)
การพัฒนาองค์การ (Organization Development:OD)DrDanai Thienphut
 
Leveraging innovation for social opportunity
Leveraging innovation for social opportunityLeveraging innovation for social opportunity
Leveraging innovation for social opportunityThaweesak Koanantakool
 
Chapter 7 technology development trends in the 21st century
Chapter 7 technology development trends in the 21st centuryChapter 7 technology development trends in the 21st century
Chapter 7 technology development trends in the 21st centuryTeetut Tresirichod
 
The Power of Big Data for a new economy (Sample)
The Power of Big Data for a new economy (Sample)The Power of Big Data for a new economy (Sample)
The Power of Big Data for a new economy (Sample)IMC Institute
 
InnoCreative Manageent การจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ (การท่าเรือแห่งประเทศไทย)
InnoCreative Manageent การจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ (การท่าเรือแห่งประเทศไทย)InnoCreative Manageent การจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ (การท่าเรือแห่งประเทศไทย)
InnoCreative Manageent การจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ (การท่าเรือแห่งประเทศไทย)DrDanai Thienphut
 
ใบงานที่ 2-4
ใบงานที่ 2-4ใบงานที่ 2-4
ใบงานที่ 2-4IRainy Cx'cx
 
ความคิดสร้างสรรค์จากการรวมกลุ่ม : บทเรียนเพื่อการพัฒนาสังคมไทย
ความคิดสร้างสรรค์จากการรวมกลุ่ม : บทเรียนเพื่อการพัฒนาสังคมไทยความคิดสร้างสรรค์จากการรวมกลุ่ม : บทเรียนเพื่อการพัฒนาสังคมไทย
ความคิดสร้างสรรค์จากการรวมกลุ่ม : บทเรียนเพื่อการพัฒนาสังคมไทยKlangpanya
 
HR and Organization Innovation@RU
HR and Organization Innovation@RUHR and Organization Innovation@RU
HR and Organization Innovation@RUpantapong
 
Change for the future : New concept and New management tools
Change for the future : New concept and New management toolsChange for the future : New concept and New management tools
Change for the future : New concept and New management toolsDrDanai Thienphut
 

Similar to Chapter 3 innovation challenge (20)

รายงานTechnology seeker
รายงานTechnology seekerรายงานTechnology seeker
รายงานTechnology seeker
 
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมการบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
 
กลุ่มกิงก่องแก้ว --ทุนนิยมที่มีหัวใจ สรุปเนื้อหา
กลุ่มกิงก่องแก้ว --ทุนนิยมที่มีหัวใจ สรุปเนื้อหากลุ่มกิงก่องแก้ว --ทุนนิยมที่มีหัวใจ สรุปเนื้อหา
กลุ่มกิงก่องแก้ว --ทุนนิยมที่มีหัวใจ สรุปเนื้อหา
 
Innovation
InnovationInnovation
Innovation
 
Km cream
Km creamKm cream
Km cream
 
การพัฒนาองค์การ (Organization Development:OD)
การพัฒนาองค์การ (Organization Development:OD)การพัฒนาองค์การ (Organization Development:OD)
การพัฒนาองค์การ (Organization Development:OD)
 
Leveraging innovation for social opportunity
Leveraging innovation for social opportunityLeveraging innovation for social opportunity
Leveraging innovation for social opportunity
 
Modern management techniques in digital economy
Modern management techniques in digital economyModern management techniques in digital economy
Modern management techniques in digital economy
 
Chapter 7 technology development trends in the 21st century
Chapter 7 technology development trends in the 21st centuryChapter 7 technology development trends in the 21st century
Chapter 7 technology development trends in the 21st century
 
The Power of Big Data for a new economy (Sample)
The Power of Big Data for a new economy (Sample)The Power of Big Data for a new economy (Sample)
The Power of Big Data for a new economy (Sample)
 
Organization Theory
Organization TheoryOrganization Theory
Organization Theory
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 
InnoCreative Manageent การจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ (การท่าเรือแห่งประเทศไทย)
InnoCreative Manageent การจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ (การท่าเรือแห่งประเทศไทย)InnoCreative Manageent การจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ (การท่าเรือแห่งประเทศไทย)
InnoCreative Manageent การจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ (การท่าเรือแห่งประเทศไทย)
 
ใบงานที่ 2-4
ใบงานที่ 2-4ใบงานที่ 2-4
ใบงานที่ 2-4
 
Csrmono2013
Csrmono2013Csrmono2013
Csrmono2013
 
ความคิดสร้างสรรค์จากการรวมกลุ่ม : บทเรียนเพื่อการพัฒนาสังคมไทย
ความคิดสร้างสรรค์จากการรวมกลุ่ม : บทเรียนเพื่อการพัฒนาสังคมไทยความคิดสร้างสรรค์จากการรวมกลุ่ม : บทเรียนเพื่อการพัฒนาสังคมไทย
ความคิดสร้างสรรค์จากการรวมกลุ่ม : บทเรียนเพื่อการพัฒนาสังคมไทย
 
HR and Organization Innovation@RU
HR and Organization Innovation@RUHR and Organization Innovation@RU
HR and Organization Innovation@RU
 
2 นวัตกรรมนำสู่อนาคตประเทศไทย
2 นวัตกรรมนำสู่อนาคตประเทศไทย2 นวัตกรรมนำสู่อนาคตประเทศไทย
2 นวัตกรรมนำสู่อนาคตประเทศไทย
 
Change for the future : New concept and New management tools
Change for the future : New concept and New management toolsChange for the future : New concept and New management tools
Change for the future : New concept and New management tools
 
Peter drucker
Peter druckerPeter drucker
Peter drucker
 

More from Teetut Tresirichod

ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership and Communication)
ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership and Communication)ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership and Communication)
ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership and Communication)Teetut Tresirichod
 
บทที่ 1 ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม.pdf
บทที่ 1 ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม.pdfบทที่ 1 ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม.pdf
บทที่ 1 ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม.pdfTeetut Tresirichod
 
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLSPartial Least Square Path Modeling with SmartPLS
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLSTeetut Tresirichod
 
Chapter 3 SHRM in a changing and shrinking world
Chapter 3 SHRM in a changing and shrinking worldChapter 3 SHRM in a changing and shrinking world
Chapter 3 SHRM in a changing and shrinking worldTeetut Tresirichod
 
Chapter 2 Strategic human resource management
Chapter 2 Strategic human resource managementChapter 2 Strategic human resource management
Chapter 2 Strategic human resource managementTeetut Tresirichod
 
Chapter 1 Strategy and human resource management
Chapter 1 Strategy and human resource managementChapter 1 Strategy and human resource management
Chapter 1 Strategy and human resource managementTeetut Tresirichod
 
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS.pdf
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS.pdfPartial Least Square Path Modeling with SmartPLS.pdf
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS.pdfTeetut Tresirichod
 
การใช้โปรแกรม QDA Miner.pdf
การใช้โปรแกรม QDA Miner.pdfการใช้โปรแกรม QDA Miner.pdf
การใช้โปรแกรม QDA Miner.pdfTeetut Tresirichod
 
Partial least square path modeling with adanco
Partial least square path modeling with adancoPartial least square path modeling with adanco
Partial least square path modeling with adancoTeetut Tresirichod
 
Chapter 9 business organization leadership and change management
Chapter 9 business organization leadership and change managementChapter 9 business organization leadership and change management
Chapter 9 business organization leadership and change managementTeetut Tresirichod
 
Waste reduction and productivity improvement
Waste reduction and productivity improvementWaste reduction and productivity improvement
Waste reduction and productivity improvementTeetut Tresirichod
 

More from Teetut Tresirichod (16)

ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership and Communication)
ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership and Communication)ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership and Communication)
ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership and Communication)
 
บทที่ 1 ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม.pdf
บทที่ 1 ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม.pdfบทที่ 1 ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม.pdf
บทที่ 1 ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม.pdf
 
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLSPartial Least Square Path Modeling with SmartPLS
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS
 
Chapter 3 SHRM in a changing and shrinking world
Chapter 3 SHRM in a changing and shrinking worldChapter 3 SHRM in a changing and shrinking world
Chapter 3 SHRM in a changing and shrinking world
 
Chapter 2 Strategic human resource management
Chapter 2 Strategic human resource managementChapter 2 Strategic human resource management
Chapter 2 Strategic human resource management
 
Chapter 1 Strategy and human resource management
Chapter 1 Strategy and human resource managementChapter 1 Strategy and human resource management
Chapter 1 Strategy and human resource management
 
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS.pdf
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS.pdfPartial Least Square Path Modeling with SmartPLS.pdf
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS.pdf
 
การใช้ VoSViewer
การใช้ VoSViewerการใช้ VoSViewer
การใช้ VoSViewer
 
การใช้โปรแกรม QDA Miner.pdf
การใช้โปรแกรม QDA Miner.pdfการใช้โปรแกรม QDA Miner.pdf
การใช้โปรแกรม QDA Miner.pdf
 
SPSS software application.pdf
SPSS software application.pdfSPSS software application.pdf
SPSS software application.pdf
 
PSPP software application
PSPP software applicationPSPP software application
PSPP software application
 
LINE OA
LINE OALINE OA
LINE OA
 
Partial least square path modeling with adanco
Partial least square path modeling with adancoPartial least square path modeling with adanco
Partial least square path modeling with adanco
 
Chapter 9 business organization leadership and change management
Chapter 9 business organization leadership and change managementChapter 9 business organization leadership and change management
Chapter 9 business organization leadership and change management
 
System management
System managementSystem management
System management
 
Waste reduction and productivity improvement
Waste reduction and productivity improvementWaste reduction and productivity improvement
Waste reduction and productivity improvement
 

Chapter 3 innovation challenge

  • 2. เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทนี้แล้วสามารถ 3.1 เข้าใจโอกาสและความท้าทายในภูมิทัศน์นวัตกรรมใหม่ 3.2 อธิบายปัจจัยสาคัญที่นาไปสู่การเป็นองค์การนวัตกรรม 3.3 อธิบายบทบาทของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการสร้างองค์การนวัตกรรม 3.4 ทราบแนวคิดของการบริหารจัดการนวัตกรรม 3.5 อธิบายผลกระทบของการจัดการนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 2
  • 3. “กระบวนการผลิตและสภาพต่าง ๆ ของสังคม ไม่มีสิ่งใดที่แน่นอนตลอดไป... อุตสาหกรรม แบบเก่านับวันจะยิ่งสูญสลายไปและแทนที่ด้วยอุตสาหกรรมแบบใหม่...ที่ ไม่ได้ผลิตสินค้าเพื่อบริโภคเท่านั้น แต่ผลิตเพื่อจาหน่ายไปทั่วโลก โลกแบบเก่าที่แข่งขันกัน ที่การผลิตภายในประเทศ แต่ต่อไปนี้ ความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญา (intellectual creativity) ต่างหากที่จะกลายเป็นสิ่งสาคัญ” คากล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่าความไม่ แน่นอนโลกาภิวัตน์และนวัตกรรมไม่ใช่เรื่องใหม่ และสิ่งเดียว ที่แน่นอนสาหรับพรุ่งนี้ก็คือ ความไม่แน่นอนเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในวันนี้ เห็นได้ชัดจากการที่เราต้องเผชิญกับภาวะ ความยากลาบากในการจัดการนวัตกรรม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงเกิดเป็น ความท้าทายสาคัญในการปริหารจัดการและนาความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพใน เชิงกลยุทธ์ขององค์การ ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 3
  • 4.  ปิดตานาน การล้มละลายของ Kodak และการกาเนิด Instagram https://www.youtube.com/watch?v=i7FAGlN95tE  ทรานส์ฟอร์มครั้งใหม่ ขององค์กรแห่งนวัตกรรม https://www.youtube.com/watch?v=fYVc5SfFnPs ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 4
  • 5. จันทนา อุดม และคณะ (2563) กล่าวว่า ปัจจัยสาคัญที่นาไปสู่การเป็นองค์การ แห่งนวัตกรรม ประกอบด้วยปัจจัยทั้งภายนอกและภายในองค์การซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 5
  • 6. 1. ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป (Diversity of customer needs) ส่งผลทาให้องค์การต้องคิดค้นนวัตกรรมใหม่ในตัวของผลิตภัณฑ์ และบริการ ตลอดจน กระบวนการเพื่อสร้างความแตกต่างให้แก่ตลาด การเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากรศาสตร์ เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษาและสถานะทางสังคม ล้วนส่งผลต่อความต้องการที่แตกต่างกันทาให้ องค์การต้องวิเคราะห์และตอบสนองในแนวทางที่แตกต่างกัน 2. การแข่งขันจากคู่แข่งที่รุนแรง (Extremely competition) เพื่อช่วงชิงความ ได้เปรียบในการแข่งขันทาให้หลายองค์การเร่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และองค์การให้มีศักยภาพ และขีดความสามารถสูงเพื่อสามารถสร้างแนวคิดนวัตกรรม และองค์ความรู้ใหม่ เพื่อนามาใช้ใน การสร้างกลยุทธ์ ปรับปรุงกระบวนการทางานและการผลิตผลิตภัณฑ์ และบริการ 3. เทคโนโลยี (Technology) เทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่สาคัญในการสนับสนุนองค์การ และเอื้อต่อการเป็นองค์การนวัตกรรม เช่น การนาเทคโนโลยีมาใช้ในการลดเวลาในการทางาน การกระจายข่าวสารและสร้างการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์ในยุคโลกาภิวัฒน์ เป็นต้น ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 6
  • 7. ปัจจัยในระดับบุคคล (Individual) ประกอบไปด้วย 1. Cognitive Abilities ซึ่งประกอบไปด้วยความสามารถทางด้านความคิด อันได้แก่ ความคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) ซึ่งเป็นการใช้ความสามารถในการเข้าใจความรู้ เฉพาะด้าน ความคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) เป็นความสามารถในการรวมเอาความรู้ ในหลายด้าน และสร้างเป็นความคิดและแนวทางใหม่และความคิดเชิงบริบท (Contextual Thinking) ซึ่งเป็นความสามารถในการ สร้างความรู้เพื่อปรับใช้จริง 2. Personality ซึ่งเป็นคุณลักษณะส่วนบุคคลที่แสดงออกในด้านของความเป็นอิสระ (Autonomy) ความกล้าเสี่ยง (Risk-taking) การมีความคิดริเริ่ม (Originality) และการเปิดกว้าง ยอมรับ(Openness) ประกอบกับทักษะทางความคิด (Conceptual Skills) ในด้านของการมี วิสัยทัศน์ (Visioning)การจัดระบบ (Organizing) การสร้างความคิด (Generating ideas) เป็นต้น 3. Intrinsic Motivation ซึ่งเป็นแรงขับภายในของตัวบุคคลเอง 4. Knowledge and Expertise องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญของบุคคล ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 7
  • 8. ปัจจัยในระดับกลุ่ม (Group) 1. การทางานร่วมกันของทุกแผนก (Collaboration) องค์การนวัตกรรมต้องมี การรวบรวมองค์ความรู้และความสามารถจากพนักงานทุกแผนกขององค์การมาทางาน ร่วมกันเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทรัพยากรและองค์ความรู้ 2. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision) ของพนักงานทุกคนในองค์การเพื่อ เดินไปในทิศทางเดียวกันโดยเฉพาะองค์การนวัตกรรมจะมีวิสัยทัศน์เชิงสร้างสรรค์ที่เป็น นวัตกรรม และประกาศให้ พนักงานทราบถึงวิสัยทัศน์ดังกล่าวเพื่อให้พนักงานทางานร่วมกันภายใต้วิสัยทัศน์ร่วมกัน ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 8
  • 9. ปัจจัยในระดับองค์การ (Organization) 1. Culture วัฒนธรรมองค์การจะเป็นตัวสนับสนุนให้พนักงานในองค์การมีการสร้างสรรค์ แนวคิดใหม่และส่งเสริมต่อการสร้างนวัตกรรมองค์การที่มีวัฒนธรรมของการแลกเปลี่ยนความคิดความรู้จะ ก่อให้เกิดวัฒนธรรมของการเรียนรู้ทั่วทั้งองค์การ และก่อให้เกิดองค์ความรู้ และสร้างเป็นนวัตกรรมของ องค์การ 2. Resources องค์การต้องสนับสนุนทรัพยากรเช่น เวลา สถานที่ เงิน บุคลากรตลอดจน เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทางานเพื่อช่วยให้เกิดนวัตกรรม 3. Structure ขององค์การ จากงานวิจัยพบว่า โครงสร้างขององค์การควรจะมีลักษณะเป็น Organic Structure กล่าวคือ เป็นองค์การที่มีความยืดหยุ่นสูง (Flexible) ไม่ยึดติดกับขั้นตอนเดิม และมี การกระจายอานาจในการบริหาร (Decentralized) แต่ละแผนกไม่ยึดติดกับการทางานเฉพาะงานที่ได้รับ มอบหมายแต่เป็นการทางานแบบ Team work มากขึ้นและมีสายการบังคับบัญชาน้อย (Low Hierarchies) 4. Motivation องค์การต้องปรับใช้จิตวิทยาเพื่อสร้างแรงจูงใจทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน (monetary and nonmonetary) เพื่อเสริมแรงและขับให้บุคลากรคิดนวัตกรรมให้แก่องค์การ 5. Climate, Work Environment การสร้างบรรยากาศในการทางานและสภาพแวดล้อมที่เอื้อ ต่อการเกิดนวัตกรรมจะส่งเสริมให้เป็นองค์การนวัตกรรมได้เร็วขึ้น ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 9
  • 10. นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสริมที่ช่วยผลักดันการเป็นองค์การนวัตกรรม ได้แก่ การ สื่อสาร(Communication) ซึ่งควรเป็นแบบไม่เป็นทางการและควรมีแผนการจัดการความ เสี่ยง และการเปลี่ยนแปลงรองรับกับสิ่งที่ไม่คาดคิด (Risk and Change Management) ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 10
  • 11.  A Cup of Culture ❘ 6 องค์ประกอบสร้างองค์กรนวัตกรรม ❘ Ep31 https://www.youtube.com/watch?v=BhM3RZXY62M  Module 1 : What is innovation ??? ... เปลี่ยนพนักงานธรรมดาเป็นนวัตกรสร้าง กาไร ... นวัตกรรมสร้างได้ https://www.youtube.com/watch?v=I_xgjqWRfYg ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 11
  • 12. การสร้างองค์การนวัตกรรมจาเป็นต้องบริหารจัดการกระบวนการขององค์การ (managing operations) ให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ 1. การจัดการด้านกลยุทธ์ (strategy management) 2. การพัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ (product and market innovation management) 3. การจัดการการปฏิบัติการ (operations management) ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 12
  • 13. 1. บทบาทของนักสถาปนิกในการออกแบบองค์การ นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มืออาชีพ เปรียบได้กับสถาปนิกในการคิดหาแนวทางสรรสร้างคุณค่าที่สวยงามและเป็นไปตามความต้องการ ของลูกค้า โดยมีทีมงานที่เข้มแข็งเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์และนาไปสู่การปฏิบัติ สถาปนิกที่ดีต้อง พยายามสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออานวยต่อการสร้างสรรค์คุณค่า (created supporting system) คอยอานวยความสะดวก ชี้แนะ ให้กาลังใจ ดูแลในชิ้นงานที่ร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้นมาเป็น ชิ้นงานที่มีคุณค่าและพร้อมที่จะส่งมอบ 2. บทบาทของผู้อานวยความสะดวก (Facilitator) ในการช่วยสร้างบรรยากาศและ สภาพแวดล้อมในการทางานให้เอื้อต่อการคิดนวัตกรรม แนวคิดสิ่งใหม่ๆ เช่น จัดสถานที่ทางานที่ เป็นแบบ mobile office หรือมุมพักผ่อนที่เหมาะกับการแลกเปลี่ยนความคิดและแบ่งปัน ประสบการณ์ 3. บทบาทของนักสื่อสาร (Communicator) ที่คอยสื่อสารข้อมูล ข่าวสาร ตลอดจน กิจกรรมต่าง ๆ ที่องค์การจัดขึ้นเพื่อให้มั่นใจได้ว่าสมาชิกทุกคนในองค์การจะได้รับข้อมูล ข่าวสาร เดียวกัน เพื่อเดินไปในทิศทางเดียวกัน ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 13
  • 14.  ทรานส์ฟอร์มราชการให้ Agile ได้จริงหรือ กรณีศึกษาจากกรมสรรพากร | Executive Espresso EP.111 https://www.youtube.com/watch?v=EmI8hUh0mHs ให้นักศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษานี้ โดยใช้หัวข้อ ปัจจัยสาคัญที่นาไปสู่การเป็นองค์การ นวัตกรรม มาเป็นตัววิเคราะห์ ว่าองค์กรเหล่านี้มีปัจจัยอะไรบ้าง ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 14
  • 15. Adair (1996) ได้กล่าวถึง นวัตกรรมและการบริหารจัดการภายใต้องค์ประกอบขององค์การที่มี การสร้างสรรค์ และพัฒนานวัตกรรม ไว้ดังนี้ 1) ผู้บริหารจะต้องมีความมุ่งมั่นในการสร้างนวัตกรรม เนื่องจากผู้บริหารมีส่วนสาคัญอย่างยิ่งใน การผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรม และการสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรให้มีคุณภาพ ยิ่งขึ้น ผู้นาจะต้องเป็นผู้ที่เอื้ออานวยต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์การและมีบทบาทเป็นผู้นาเชิงกลยุทธ์ผู้นา จะต้องเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและมีภาวะผู้นาในการจัดการและสร้างแรงบันดาลให้แก่บุคลากรใน องค์การ 2) มีบรรยากาศในการทางานที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมสร้าง บรรยากาศในองค์การที่เอื้อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัยที่สาคัญ 3 ปัจจัย คือ การกระตุ้นซึ่งกันและกัน (Mutual Stimulation) การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) และการ วิพากษ์วิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ (Constructive Criticism) องค์การที่ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและทางาน เป็นทีมจะต้องกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วม มีการแบ่งปันข้อเท็จจริงและข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก่พนักงาน รวมทั้งการเตรียมพร้อมในการจัดสรรให้ทรัพยากรที่สาคัญสาหรับการศึกษาและการฝึกอบรม มีการสื่อสาร ภายในองค์การซึ่งเน้นการสื่อสารโดยการพูดคุยมากกว่าการใช้ลายลักษณ์อักษรและจะให้การเคารพกัน ระหว่างเพื่อนร่วมงาน นวัตกรรมต้องการทีมงานที่มีการสื่อสารในแนวขวาง (Lateral Communication) ที่ดีเยี่ยมและมีความยืดหยุ่นของโครงสร้าง ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 15
  • 16. 3) การยอมรับความผิดพลาดหรือความล้มเหลวอันเป็นผลจากความกล้าเสี่ยง องค์การต้องทาให้พนักงานรับรู้ว่าความผิดพลาดหรือล้มเหลวเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ เสมอในการสร้างนวัตกรรมและไม่ใช้สิ่งที่น่ากลัว ความผิดพลาดหรือล้มเหลวจะกลายเป็น บทเรียนที่มีประโยชน์ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน องค์การและหัวหน้าต้อง ยอมรับความผิดพลาดหรือความล้มเหลวจากการสร้างนวัตกรรมได้และจะไม่มีการทาโทษ สาหรับความผิดพลาดหรือล้มเหลวนั้น แต่พนักงานก็สามารถระมัดระวัง ความผิดพลาด และล้มเหลวที่จะเกิดขึ้นได้โดยการประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นก่อนการลงมือสร้างสรรค์ นวัตกรรม 4) การสื่อสารในระดับเดียวกัน ความเป็นอิสระของการไหลเวียนข้อมูลทาให้ ผู้จัดการค้นพบความคิดใหม่ การรวบรวมข้อมูลและสนับสนุนให้เป็นนวัตกรรม ซึ่งเกิดจาก การติดต่อสื่อสารที่ใกล้ชิดและความถี่ระหว่างหน่วยงาน ควรเน้นที่การสื่อสารใน แนวขวาง เช่นเดียวกับการสื่อสารแนวดิ่งที่เป็นการจัดเตรียมทรัพยากรและข้อมูล ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 16
  • 17. 5) โครงสร้างองค์การที่มีความยืดหยุ่น โครงสร้างองค์การแบบสิ่งมีชีวิต (Organism) จะ มีความยืดหยุ่นและจะส่งผลต่อบรรยากาศที่ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม มากกว่าโครงสร้างองค์การแบบเครื่องจักร (Mechanism) ที่มีการควบคุมเข้มงวด ความยืดหยุ่น เป็นกุญแจสาคัญต่อองค์การอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นความยืดหยุ่นของบุคคล ทีมงาน หรือ องค์การและสามารถช่วยในการเผชิญหน้าหรือตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ได้สิ่งหนึ่งที่ สาคัญคือการสื่อสารจึงจาเป็นต้องลดอุปสรรคระหว่างพนักงานที่แตกต่างกันน้อยลงด้วย การให้มี ช่องการสื่อสารแบบเปิดกว้างระหว่างผู้วิจัยกับพนักงานฝ่ายผลิต ผู้วิจัยกับพนักงานการตลาด และ ผู้วิจัยกับลูกค้า ในองค์การที่ยืดหยุ่นและเปิดนั้น มีการปรับตัวให้เข้ากับการพัฒนาแบบใหม่และ การเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทาให้มีแนวโน้มให้เกิดการเรียนรู้และความอยากรู้อยากเห็น 6) การมีมุมมองในระยะยาว การสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นได้อย่างทันทีทันใด เพราะจะต้องมีการดาเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ ก่อนที่จะ เกิดเป็นนวัตกรรมขึ้นมา ดังนั้น องค์การต้องมีความมุ่งมั่นในการสนับสนุนทางการเงินแก่การวิจัย และการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อให้ได้เป็นนวัตกรรมที่สร้างผลกาไรและความสาเร็จให้กับ องค์การในอนาคต ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 17
  • 18. 1) วิสัยทัศน์และกลยุทธ์(Vision and Strategy) วิสัยทัศน์จะเป็นการกาหนดแนว ทางการพัฒนาองค์การว่าจะพัฒนาไปอย่างไร จะบอกถึงแนวทางการตลาดเทคโนโลยีและ บทบาทขององค์การในอนาคต ดังนั้น การมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและมีความเป็นไปได้จึงช่วย สร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งจะนาไปสู่การสร้างนวัตกรรม องค์การที่จะพัฒนาไปสู่องค์การ นวัตกรรมนั้น จะต้องให้ความสาคัญกับนวัตกรรมในทุกระดับ ดังนั้น องค์การจะต้องมีกล ยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมอย่างจริงจังในระยะยาว ซึ่งจะทาให้การบริหารจัดการใน องค์การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความคิดใหม่ ๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรให้กับการ สร้างนวัตกรรม กลยุทธ์องค์การที่ให้ความสาคัญกับนวัตกรรมจะส่งผลให้บุคลากรใน องค์การมีความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Idea) ซึ่งได้แบ่งกลยุทธ์ออกเป็น 3 ระดับ คือ กลยุทธ์ระดับองค์การ (Corporate Strategy) กลยุทธ์ระดับหน่วยธุรกิจ (Business Unit Strategy) และระดับหน้าที่รับผิดชอบในกลยุทธ์ (Responsibility for Strategy) ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 18
  • 19. 2) ระบบการจัดการความสามารถ (The Competence Management System) องค์การจะต้องมีระบบการจัดการความสามารถที่จะทาให้ทราบถึงความสามารถ ขององค์การหรือบุคลากรภายในองค์การ ที่มีอยู่นั้นว่า สนับสนุนเป้าหมายหรือการ ปฏิบัติงานขององค์การในปัจจุบันหรือในอนาคตหรือไม่ ซึ่งระบบนี้จะทาให้ทราบถึง ช่องว่างหรือ ระยะห่างของความสามารถที่องค์การมีอยู่ในปัจจุบันกับเป้าหมายที่องค์การ อยากจะเป็นในอนาคต ระบบนี้จะกาหนดและตัดสินว่า องค์การควรจะสร้างและพัฒนา ความสามารถและทักษะอะไรที่จะส่งเสริมให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ในการสนับสนุน นวัตกรรมนั้นระบบการจัดการความสามารถจะต้องสนับสนุนเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร (Information) และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยให้เกิดนวัตกรรมรวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการถ่าย โอนความสามารถเกี่ยวนวัตกรรมภายในองค์การ เช่น การลงทุนเพื่อสร้างการเรียนรู้ที่ช่วย สร้างหรือเพิ่มทักษะในการสร้างนวัตกรรม การสร้างห้องค้นคว้าเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ ของพนักงาน ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 19
  • 20. 3) มีเป้าหมาย (Goal) เป้าหมายในการสร้างนวัตกรรมนั้นต้องระบุไว้อย่างชัดเจน เกี่ยวกับนวัตกรรมในทุกระดับ คือ ระดับองค์การ ระดับหน่วยธุรกิจ ระดับทีมงานและ ระดับบุคคล แต่ทั้งนี้เป้าหมายในทุกระดับต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน การตั้งเป้าหมาย ที่ดีควรตั้งขึ้นมาจากการเปรียบเทียบกับผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา ผลการปฏิบัติงานของ คู่แข่งการกาหนดจากความต้องการของลูกค้า และจากวิสัยทัศน์ภายในขององค์การ โดย เป้าหมายที่กาหนดขึ้นนั้นจะต้องสามารถวัดได้ ซึ่งอาจวัดจากมิติทางด้านเทคโนโลยีด้าน ความรู้สึก ด้านการยอมรับของตลาด และอาจเพิ่มเติมมุมมองทางด้านการเงินเข้าไปด้วย สิ่งสาคัญในการกาหนดเป้าหมายทางด้านนวัตกรรมที่ควรคานึงถึง คือ การให้ความสาคัญ กับลูกค้าด้วย ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 20
  • 21. 4) มีโครงสร้างองค์การที่ชัดเจน (Organization Structure) โครงสร้างองค์การสามารถ ทาให้เกิดผลกระทบที่แตกต่างหลากหลายของความสามารถทางด้านนวัตกรรมขององค์การได้ผล กระทบพื้นฐานได้แก่ การทางานของพนักงาน การให้ความสนใจของพนักงานและการสื่อสารใน องค์การ โครงสร้างองค์การแบบแบ่งชั้นสายการบังคับบัญชา (Hierarchy) แบบดั้งเดิมนั้นจะแบ่ง ตามหน้าที่การทางาน (Functional Organization) โดยที่พนักงานที่ทางานในฝ่ายใดก็จะรายงาน ผลการปฏิบัติงานไปยังหัวหน้าฝ่ายงานของตน ส่วนหัวหน้าฝ่ายแต่ละฝ่ายนั้นก็จะรายงานผลการ ปฏิบัติงานไปยังผู้จัดการทั่วไป ดังนั้นแล้ว ผู้จัดการทั่วไปจึงเป็นบุคคลเดียวที่ทางานแบบข้ามสาย งาน (Cross-Functional) ซึ่งโครงสร้างองค์การที่แบ่งตามหน้าที่การทางานนี้ก็ยังคงมีอยู่ทั้งใน องค์การขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทั้งนี้โครงสร้างองค์การแบบแบ่งชั้นสายการบังคับบัญชานี้ นอกจากจะแบ่งตามหน้าที่การทางาน (Function) แล้วยังสามารถแบ่งตามผลิตภัณฑ์ที่รับผิดชอบ หรือผลิต (Product Line) และการแบ่งตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (Geography) เช่น สถานที่หรือ ประเทศที่ตั้งของโรงงานหรือองค์การ ต่อมามีการแบ่งแบบเมตริกซ์ (Matrix) คือ ให้รายงานผล การทางานไปยังหัวหน้างานตามหน้าที่และหัวหน้าผลิตภัณฑ์ด้วย การรวมทีมงานที่เน้นในเรื่องที่ แตกต่างกันเข้าไว้นั้น เช่น ทีมเน้นผลิตภัณฑ์ทีมเน้นลูกค้า ทีมพัฒนา เป็นต้น ได้รับการยอมรับและ ถูกเรียกว่าองค์การที่มีการทางานแบบโครงการ (Project-based Organization) ซึ่งจะไวต่อการ เปลี่ยนแปลงมีความยืดหยุ่น และมีความเป็นนวัตกรรมได้มากกว่า โครงสร้างองค์การแบบอื่น ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 21
  • 22. สมบัติ นามบุรี (2562) กล่าวว่า นวัตกรรมและการบริหารจัดการองค์การที่ สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ ต้องมีผู้บริหารมีความมุ่งมั่นในการสร้างนวัตกรรม การมี บรรยากาศในการทางานที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม การยอมรับความผิดพลาดหรือ ความล้มเหลวอันเป็นผลจากความกล้าเสี่ยง การสื่อสารในระดับเดียวกัน การมีโครงสร้าง องค์การที่มีความยืดหยุ่น การมีมุมมองในระยะยาว ตลอดจนการมีวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ แนวทางการพัฒนาองค์การว่าจะพัฒนาไปอย่างไร รวมถึงระบบการจัดการความสามารถ และสายการบังคับบัญชาที่แบ่งตามหน้าที่การทางานของแต่ละฝ่ายไว้อย่างชัดเจน สรุปได้ว่า การบริหารจัดการองค์การนวัตกรรม เริ่มจากการกาหนดวิสัยทัศน์ของ องค์การ กาหนดกลยุทธ์และเป้าหมาย โดยกาหนดโครงสร้างองค์การที่ชัดเจนรวมถึงการ จัดทาระบบการจัดการความสามารถ โดยที่ผู้บริหารจะต้องมีความมุ่งมั่นในการสร้าง นวัตกรรม สร้างบรรยากาศในการทางานที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมและการยอมรับ ความผิดพลาดหรือความล้มเหลวอันเป็นผลจากความกล้าเสี่ยง รวมถึงการมีมุมมองใน ระยะยาวเนื่องจากการสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่เป็นสิ่งที่ไม่ได้ เกิดขึ้นได้อย่างทันทีทันใด เพราะจะต้องมีการดาเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ ก่อนที่จะเกิด เป็นนวัตกรรมขึ้นมา ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 22
  • 23.  EP.6 : INNOVATION IN ORGANIZATION (องค์กรแห่งนวัตกรรม จุดเปลี่ยนธุรกิจใน อนาคต) https://www.youtube.com/watch?v=P5tG6Af_1Tg  ปตท. กับการสร้างวัฒนธรรม Startup เพื่อปลุกนวัตกรรมขององค์กรใหญ่ https://www.youtube.com/watch?v=zafimq1UI-s ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 23
  • 24. กองวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (2563) ได้กล่าวไว้ในคู่มือ การปฏิบัติงานเพื่อการบริหารจัดการนวัตกรรมว่า การจัดการนวัตกรรม เราจัดการอะไร? โดยเป็น การจัดการทางด้านกระบวนการที่ก่อให้เกิดนวัตกรรม โดยมีกระบวนการที่สาคัญ ดังนี้ 1. ไอเดีย (Ideas) คือ การรวบรวมความคิดสร้างสรรค์ทั้งหมด ทั้งที่สามารถทาได้จริง และยังไม่สามารถทาได้จริง เพื่อเป็นแหล่งข้อมูล (Pool of Ideas) ในการหาจุดร่วม จุดแข็ง และ จุดอ่อน เพื่อการพัฒนาต่อยอดในอนาคต 2. ทรัพยากร (Resources) คือ การเปลี่ยนไอเดียสู่ผลงานต้นแบบ (Pilot Project) เพื่อ การทดสอบ ทดลอง ผ่านการจัดสรร จัดการทรัพยากรที่เพียงพอ 3. วัฒนธรรม (Culture) คือ การสร้างบรรยากาศ ธรรมเนียมปฏิบัติที่เปิดโอกาสให้คิด สร้างสรรค์ และพัฒนาสิ่งใหม่ 4. วิธีคิด (Mindset) คือ การเปลี่ยนกรอบแนวคิดของบุคลากรซึ่งสอดคล้องกับ วัฒนธรรมองค์การ เพื่อให้เกิดการตีความของปัญหา และมุมมองใหม่ ๆ ต่อการแก้ไขปัญหา 5. อนาคต (Future) คือ การสร้างสิ่งใหม่ที่สามารถแก้ปัญหา หรือสร้างโอกาสในการ แข่งขันขององค์การในอนาคต ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 24
  • 25. 1. นวัตกร (Innovators) คือ เกิดบุคลากรที่สนใจ หรือให้ความสาคัญเรื่อง นวัตกรรมมากขึ้น 2. คุณค่า (Value & Worth) คือ เกิดการปรับปรุง พัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการ หรือบริการ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะก่อให้เกิดมูลค่าทั้งทางการเงิน และไม่ใช่การเงินต่อองค์การ 3. ความหลากหลาย (Diversity) คือ เกิดการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ กระบวนการ หรือบริการ ที่มีความหลากหลาย เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจขององค์การ 4. การขยายผล (Diffusion) คือ การขยายฐาน การแพร่ การเติบโตของ นวัตกรรมที่องค์การพัฒนาขึ้นมา ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 25
  • 26. มาตรฐาน ISO 56000, Innovation management – Fundamentals and vocabulary เป็นชุดมาตรฐานที่ประกอบด้วย 8 ส่วนและเอกสารแนวทางอื่น ๆ ซึ่งช่วยให้ องค์การสามารถใช้คาศัพท์เกี่ยวกับกระบวนการได้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย สามารถบรรลุ เป้าหมายและเส้นทางการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี โดยมีการจัดเตรียมคาศัพท์ แนวคิดพื้นฐาน และหลักการของการจัดการนวัตกรรมซึ่งเป็นประโยชน์สาหรับองค์การที่ต้องการทา กิจกรรมการจัดการนวัตกรรมให้มีความโดดเด่นอย่างเห็นได้ชัดและมีความเชื่อถือได้ อลิส เดอ กาสซาโนฟ ประธานคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอที่รับผิดชอบ มาตรฐานดังกล่าวระบุว่าองค์การทุกประเภท ทุกขนาด จาเป็นต้องมีการปรับปรุงและ พัฒนาอยู่เสมอเพื่อความอยู่รอด และชุดมาตรฐาน ISO 56000 จะช่วยให้เราทาเช่นนั้นได้ ด้วยวิธีการที่มีโครงสร้างและมีประสิทธิผล ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 26
  • 27. MASCI ซึ่งเป็นสถาบันสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ได้กล่าวถึง สาระสาคัญของ มาตรฐาน ISO 56002 ไว้ดังนี้ หลักการของระบบการจัดการนวัตกรรม (innovation management system) ประกอบด้วย a) การสร้างคุณค่า (realization of value) b) ผู้นาที่มุ่งสู่อนาคต (future-focused leaders) c) ทิศทางกลยุทธ์ (strategic direction) d) วัฒนธรรม (culture) e) การใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึก (exploiting insights) f) การจัดการความไม่แน่นอน (managing uncertainty) g) การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง (adaptability) h) การมุ่งเน้นระบบ (systems approach) ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 27
  • 28. ในมาตรฐาน ISO 56002:2019 อ้างอิงการใช้โครงสร้าง High Level Structure ตาม ANNEX SL ของ ISO ดังนี้ มาตรฐานนี้ กล่าวถึงขอบข่าย บทนิยาม และข้อกาหนดของระบบการจัดการนวัตกรรม ประกอบด้วยสาระสาคัญ ดังนี้ ข้อ 4 บริบทองค์การ (Context of the organization) – การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ทั้งปัจจัยภายในและภายนอก องค์การ – การวิเคราะห์ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย – การกาหนดขอบข่ายของระบบการจัดการนวัตกรรม – การสร้างระบบการจัดการนวัตกรรม ซึ่งจะดาเนินการให้สอดคล้องตาม หลักการของการจัดการนวัตกรรม การส่งเสริมและสร้างให้มีวัฒนธรรมที่เป็นองค์การแห่ง นวัตกรรม และรวมไปถึงการสร้างความร่วมมือ ไม่ว่าจะหน่วยงานภายในและภายนอก เพื่อให้เกิด การแบ่งปันความรู้และทรัพยากรต่าง ๆ และลดความเสี่ยง และลดระยะเวลาของการดาเนินการ ทางนวัตกรรม ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 28
  • 29. ข้อ 5 บทบาทของผู้นา (Leadership) – มุ่งไปยังการสร้างมูลค่าที่แท้จริงต่อการสร้างนวัตกรรม – ผู้บริหารต้องกาหนดวิสัยทัศน์ด้านนวัตกรรมขององค์การ – ผู้บริหารต้องแสดงให้เห็นถึงภาวะความเป็นผู้นาและความเอาใจใส่ต่อหน้าที่ ความรับผิดชอบในระบบบริหารจัดการนวัตกรรม ผ่านสิ่งต่าง ๆ เช่น การกาหนดกลยุทธ์ นโยบายและวัตถุประสงค์ด้านนวัตกรรม การสนับสนุนทรัพยากร อานวยความสะดวกและ สนับสนุนบุคลากรเพื่อให้เกิดประสิทธิผล เป็นต้น – กาหนดความรับผิดชอบ บทบาท และหน้าที่ ของผู้จะดาเนินการต่อระบบการ จัดการนวัตกรรม และ ผู้ที่รับผิดชอบในส่วนของโครงการนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อรายงานถึง สมรรถนะของระบบการจัดการนวัตกรรม และโอกาสในการปรับปรุงตามเวลาที่กาหนด ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 29
  • 30. ข้อ 6 การวางแผน (Planning) – วางแผนการปฏิบัติ โดยพิจารณาถึงบริบทองค์การ และความต้องการของผู้มี ส่วนได้เสีย และให้มีการระบุความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างนวัตกรรม – ระบุประเด็นปัญหาด้านนวัตกรรมทั้งภายในและภายนอกองค์การ – มีการวางแผนวิธีการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านนวัตกรรม กาหนดกิจกรรม ทรัพยากร ความรับผิดชอบ ปัจจัยผลักดัน ขั้นตอนการจัดการนวัตกรรมและสร้างตัวชี้วัด ในการตรวจสอบความสาเร็จในระยะสั้นและระยะยาวของระบบบริหารจัดการนวัตกรรม – กาหนดโครงสร้างองค์การ ที่ให้มั่นใจต่อการดาเนินการได้ในระบบการจัดการ นวัตกรรม – การจัดทาแฟ้มสะสมงาน (Innovation portfolio) เพื่อเป็นการวิเคราะห์ถึง ความเสี่ยง และระดับของนวัตกรรม ตามขอบข่ายและเวลา และให้สอดคล้องไปกับกลยุทธ์ และวัตถุประสงค์ของนวัตกรรม ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 30
  • 31. ข้อ 7 การสนับสนุน (Support) – องค์การต้องจัดโครงสร้าง บทบาท ความรับผิดชอบ และทรัพยากร – องค์การต้องจัดสรรทรัพยากรในด้านบุคลากร เวลา องค์ความรู้ การเงิน และ โครงสร้างพื้นที่ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อระบบการจัดการนวัตกรรมและโครงการด้านนวัตกรรม – องค์การต้องกาหนดคุณสมบัติของบุคลากรที่รับผิดชอบ และจัดให้มีการพัฒนาทักษะ ความรู้ และความสามารถที่จาเป็น – การสร้างความตระหนักให้แก่บุคลากรขององค์การ และสร้างแรงจูงใจ/วัฒนธรรม องค์การด้านนวัตกรรม – การสื่อสารภายในและภายนอกองค์การ – ระบบเอกสารสารสนเทศ – เครื่องมือและวิธีการ – การจัดการปัญญาเชิงกลยุทธ์ – การจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและความรู้ ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 31
  • 32. ข้อ 8 การดาเนินการ (Operation) – การวางแผนและการควบคุม องค์การต้องสร้างแผนการดาเนินการและการควบคุม สาหรับ การริเริ่ม กระบวนการ โครงสร้าง และการสนับสนุนที่ความต้องการที่ได้ระบุโอกาส และการต้องการที่จะ ดาเนินการทางนวัตกรรมให้บรรลุได้ตามวัตถุประสงค์ – ความคิดริเริ่มด้านนวัตกรรม – กระบวนการทางนวัตกรรม ซึ่งประกอบไปด้วย การชี้บ่งโอกาส การสร้างแนวคิด การทวน สอบแนวคิด การพัฒนารูปแบบนวัตกรรม และการดาเนินการและติดตามผลของนวัตกรรมดังกล่าว ข้อ 9 การประเมินสมรรถนะ (Performance evaluation) – กาหนดตัวชี้วัด วิธีการสาหรับการตรวจติดตามและเกณฑ์ในการตรวจวัด – การตรวจประเมินภายใน – การทบทวนฝ่ายบริหาร ข้อ 10 การปรับปรุง (Improvement) – ชี้บ่งความเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้น และกาหนดวิธีการแก้ไข เพื่อกาจัดสาเหตุของความเบี่ยงเบน หรือสร้างการดาเนินการแก้ไขเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและผลลัพธ์ของระบบการบริหารจัดการนวัตกรรม – การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 32
  • 33. ประโยชน์ที่ได้รับในด้านการตลาด ให้คาแนะนาเกี่ยวกับวิธีการที่องค์การสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า ที่ยังไม่บรรลุผล (ยังเป็นปัญหา) ❑ เพิ่มโอกาสทางธุรกิจและการเปิดตลาดใหม่ ❑ นาไปสู่การลดลงของผลกระทบอันเนื่องมาจากการกีดกันทางการค้า ❑ ลดเวลาในการวางตลาด (ทาได้รวดเร็วขึ้น) ❑ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันขององค์การต่าง ๆ ❑ ตอบความต้องการของทั้งผู้พัฒนา และระบบเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 33
  • 34. ประโยชน์ที่ได้รับในด้านวัฒนธรรม • เปิดใจที่จะยอมรับรูปแบบวิธีการและธุรกิจใหม่ๆ • ส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมแบบนวัตกรรมในระดับโลก • อานวยความสะดวกในการดาเนินงานร่วมมือกับพันธมิตร • ปรับปรุงการร่วมกันทางานกับภาคีเครือข่ายในระดับโลก • การดาเนินความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการนวัตกรรมขององค์การ ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 34
  • 35. ประโยชน์ที่ได้รับภายในองค์การ • ประหยัดค่าใช้จ่ายและลดความเสี่ยงเมื่อการสร้างนวัตกรรมและการทางานร่วมกันข้ามพรมแดน เนื่องจากการพัฒนาเครื่องมือที่มีมาตรฐาน • เพิ่มความสามารถในการตัดสินใจองค์การ: การทดลองที่ล้มเหลวอย่างรวดเร็วและความสามารถในการ รับความเสี่ยงที่เหมาะสมเผชิญกับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงของโลก “(ความล้มเหลวต่าง ๆ จึง เป็นส่วนหนึ่งของความสาเร็จนั้น ซึ่ง Startup จึงมีคาบอกว่า Fail Fast Succeed Faster ข้อดีของ Fail Fast Succeed Faster นั้นคือการที่คุณล้มเหลวรวดเร็วเท่าใด จะทาให้คุณประหยัดเงินได้เท่านั้น เพราะ ลองนึกถึงว่าในขั้นตอนการทาธุรกิจหรือเปิดตัวธุรกิจออกไปการใช้งบประมาณต่าง ๆ นั้นยังไม่เยอะมาก มี การลงทุนในเรื่องต่าง ๆ ในขั้นนี้ยังไม่เยอะเมื่อการล้มเหลวในขั้นนี้จะทาให้เกิดการกลับตัวมาใหม่ได้เร็ว กว่า เพราะคุณยังเหลืองบประมาณต่าง ๆ ในมืออย่างมาก แต่ถ้าคุณยังคงทาต่อไปเมื่อยิ่งโตขึ้น ความ ล้มเหลวนั้นจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดี เพราะการที่โตมากแปลว่าเงินหรืองบประมาณนั้นลงไปมากแล้ว การล้ม ในตอนนี้แทบจะทาให้คุณกลับตัวไม่ได้เลย เพราะเงินที่ลงไปในการทาธุรกิจนั้นเป็นจานวนมากมาย)” • ปรับปรุงประสิทธิภาพและสมรรถนะการทางานขององค์การในการผลิตนวัตกรรม • ปรับปรุงผลลัพธ์ของกระบวนการนวัตกรรมและมีส่วนช่วยในการตรวจสอบผลตอบแทนของการลงทุนที่ เกิดขึ้นในการสร้างสรรค์นวัตกรรม • การแบ่งปัน (Share) ทั่วโลกยอมรับ “ภาษากลาง” สาหรับการจัดการนวัตกรรม • ประเมินความคืบหน้าขององค์การและการระบุและการแบ่งปันวิธีปฏิบัติที่ดีในการจัดการนวัตกรรม ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 35
  • 37. สามารถแบ่งองค์ประกอบของการบริหารจัดการนวัตกรรมออกเป็น 7 องค์ประกอบ คือ 1. บริบทขององค์การ (Context of the Organization) 2. ผู้นาองค์การ (Leadership) 3. การวางแผน (Planning) 4. ทรัพยากรสนับสนุน (Support) 5. การปฏิบัติงาน (Operation) 6. การประเมินประสิทธิภาพการดาเนินงาน (Performance Evaluation) 7. การปรับปรุงและพัฒนา (Improvement) ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 37
  • 38. โดยแบ่งการบริหารออกเป็น 3 องค์ประกอบดังนี้ 1. วิสัยทัศน์แห่งนวัตกรรม (Innovation Vision) 2. แนวทางการปฏิบัติงานด้านนวัตกรรม (Innovation Operation) 3 คุณค่าของนวัตกรรม (Innovation Value) ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 38
  • 39. แนวทางการบริหารเพื่อให้องค์การมีวิสัยทัศน์แห่งนวัตกรรมประกอบไปด้วย บริบทของ องค์การ (Context of Organization) และผู้นาองค์การ (Leadership) ซึ่งมีความสาคัญอย่างยิ่ง ในการกาหนดทิศทางการดาเนินงานด้านนวัตกรรมขององค์การ โดยมีแนวทางการดาเนินงานดังนี้ A. ความเข้าใจในองค์การ กล่าวถึง การวิเคราะห์ขีดความสามารถด้านนวัตกรรมของ องค์การด้วยการประเมินผลกระทบภายใน และผลกระทบภายนอกองค์การ เช่น ยุทธศาสตร์ ภารกิจ ค่านิยม ขั้นตอนการดาเนินการ ความสามารถของบุคลากร วัฒนธรรม ระบบนิเวศ เศรษฐกิจ สภาพเศรษฐกิจ กฎหมาย นโยบายระดับชาติ เทคโนโลยี คู่แข่ง คู่ค้า เป็นต้น เพื่อนามา ประกอบการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ (SWOT Analysis) B. ความเข้าใจถึงเสียงของลูกค้าและเสียงของพนักงาน กล่าวถึง การจัดการ การ รวบรวม การคัดเลือกเสียงของลูกค้า เพื่อให้ทราบถึงความพึงพอใจ คามไม่พึงพอใจ ความต้องการ ความคาดหวังทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต นามาเปรียบเทียบเพื่อพัฒนากับผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการทางานที่มีอยู่ในปัจจุบัน ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 39
  • 40. C. ความตระหนักถึงการสร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมนวัตกรรม กล่าวถึง การ ขับเคลื่อนองค์การแห่งนวัตกรรมด้วยการสร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมกิจกรรมด้านนวัตกรรม เพื่อให้บุคลากรทุกระดับในองค์การตระหนักถึงความสาคัญ เปลี่ยนความคิดผิด ๆ เกี่ยวกับ การสร้างนวัตกรรม การให้ความสาคัญกับความคิดสร้างสรรค์ทุกรูปแบบ การสร้าง แรงจูงใจในการพัฒนานวัตกร เป็นต้น D. ความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กล่าวถึง การแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ การเข้าถึงความรู้ การจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและแหล่งทรัพยากร โดย การรวบรวมบุคลากรจากทีม แผนก หรือฝ่ายที่มีหน้าที่การทางานแตกต่างกัน ซึ่งอาจรวม ไปถึงการเชิญตัวแทนจากกลุ่มลูกค้า พันธมิตร สถาบันการศึกษา หรือ กลุ่มอุตสาหกรรมเข้าร่วมด้วยด้วย เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการพัฒนาที่ ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 40
  • 41. E. มุมมองของผู้บริหาร กล่าวถึง การแสดงถึงวิสัยทัศน์ในการดาเนินงานด้าน นวัตกรรมของผู้บริหาร มุมมองการพัฒนานวัตกรรมขององค์การทั้งในปัจจุบันและใน อนาคต โอกาส และความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา รวมไปถึงการสร้างแรงจูงใจแก่ ผู้พัฒนานวัตกรรม เช่น การมอบรางวัลให้แก่ผลงานทั้งที่ประสบ ความสาเร็จและไม่ประสบความสาเร็จ การตระหนักถึงความเสี่ยงในการพัฒนานวัตกรรม และการเก็บแนวความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาต่อยอด เป็นต้น F. นโยบายและความรับผิดชอบ กล่าวถึง การกาหนดแนวทางในการพัฒนา องค์การเพื่อไปสู่เป้าหมายด้านนวัตกรรมในอนาคต ซึ่งต้องมีความท้าทาย ให้แรงบัลดาลใจ แก่บุคลากรที่จะพัฒนานวัตกรรม ซึ่งต้องกาหนดให้เป็นลายลักษณ์อักษร ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 41
  • 42. ระบบบริหารจัดการนวัตกรรมสามารถพัฒนาต่อเนื่องได้ตามหลักการวงจร คุณภาพ PDCA Cycles (Plan – Do – Check – Act Cycles) เพื่อให้ความคิดสร้างสรรค์ กิจกรรม และกระบวนการได้รับทรัพยากรสนับสนุนอย่างเพียงพอ รวมไปถึงให้มีการระบุ โอกาสและความเสี่ยงขององค์การด้วย วงจรคุณภาพ PDCA Cycle สามารถนามาประยุกต์ใช้กับระบบบริหารจัดการ นวัตกรรมได้ดังแสดงความสัมพันธ์ในรูปที่ 3-1 โดยมีคาอธิบายดังนี้ ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 42
  • 43. กล่าวถึง การกาหนดวัตถุประสงค์และการดาเนินงานที่จาเป็นในการจัดการกับความ เสี่ยงและโอกาส ขั้นตอนการวางแผนเป็นขั้นตอนแรกในวงจรควบคุมคุณภาพในการกาหนดวัตถุประสงค์ และจัดลาดับความสาคัญของแผนงาน ประมาณการใช้ทรัพยากรเพื่อการสนับสนุน การจัดการ ความเสี่ยงที่เหมาะสมกับแผนงาน/โครงการ เพื่อนาไปสู่การวางกลยุทธ์ที่ตอบสนองต่อ วัตถุประสงค์ของการดาเนินงาน โดยจะต้องคานึงถึงนโยบาย พันธกิจ และวิสัยทัศน์ขององค์การ โดยทุกแผนงานจะต้องแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ หรือการลด ผลกระทบ หรือการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง กาหนดผู้รับผิดชอบและผู้ใช้งาน วิธีวัดผลการ ดาเนินงานและการติดตามผลการดาเนินงานนั้น รวมถึงวิธีการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา การ สื่อสาร/ถ่ายทอดให้บุคลากรทุกระดับในองค์การและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทราบถึงผลการดาเนินการ นั้น ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 43
  • 44. กล่าวถึง การวางแผนด้านการสนับสนุนและการดาเนินงาน โดยมีความสัมพันธ์กับ ทรัพยากรสนับสนุน (Support) และการปฏิบัติงาน (Operation) ขั้นตอนการวางแผนด้านทรัพยากรสนับสนุนองค์การจะต้องคานึงถึงข้อจากัดของ ทรัพยากรที่ใช้ในการดาเนินการตามแผนนวัตกรรม ความต้องการจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและลูกค้า การทางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายในองค์การ โดยปัจจัยด้านทรัพยากรที่สาคัญประกอบไป ด้วย ▪ บุคลากร (People) กล่าวถึง การสร้างแรงจูงใจ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ ความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา เพื่อการพัฒนาต่อยอดสู่การสร้างนวัตกรรม โดยอาจสร้างทีม ที่มีบุคลากรที่มีความสามารถและประสบการณ์ที่หลากหลายเพศ วัย สาขาวิชาเพื่อให้เกิดการ วิเคราะห์ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคลจนเกิดเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม ▪ เวลา (Time) กล่าวถึง การจัดสรรเวลาในการทางานของบุคลากร ให้มีช่วงเวลาใน การเสนอความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาที่พบเจอในการดาเนินการต่าง ๆ ภายในองค์การ เช่น การจัดสรรเวลา 2-4 ชั่วโมงเพื่อประชุมกลุ่มย่อยรายสัปดาห์ หรือรายเดือน เป็นต้น ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 44
  • 45. ▪ องค์ความรู้ (Knowledge) กล่าวถึง การรวบรวมความรู้ทั้งภายในและ ภายนอกองค์การจากการเรียนรู้ อบรม สัมมนา และประสบการณ์ เช่น ผลการเรียนรู้จาก โครงการนวัตกรรมที่ประสบผลสาเร็จและไม่ประสบผลสาเร็จ แล้วนามาวิเคราะห์ถึงสาเหตุ และโอกาสในการพัฒนา ซึ่งต้องให้ความสาคัญกับแนวความคิด (Ideas) ของทุก ๆ แผนงาน/โครงการเพื่อโอกาสนามาเรียนรู้ ประยุกต์ใช้งานกับแผนงาน/โครงการในอนาคต ต่อไป ▪ การเงิน (Finance) กล่าวถึง การจัดสรรงบประมาณตามระดับความเสี่ยง หรือ ตามระดับของนวัตกรรม รวมถึงการลงทุนในปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม เช่น ลงทุนในบริษัทร่วมทุนหรือ SMEs หรือจัดตั้งกองทุนสาหรับการพัฒนานวัตกรรม เป็นต้น ▪ โครงสร้างองค์การ (Infrastructure) กล่าวถึง สิ่งอานวยความสะดวกในการ ส่งเสริมกิจกรรมนวัตกรรม เช่น พื้นที่การแสดงออกความคิดสร้างสรรค์ ห้องปฏิบัติการ ทดสอบสาหรับการวิจัยและพัฒนา พื้นที่ทดสอบสิ่งประดิษฐ์ เครื่องมือในการสร้างสรรค์ สิ่งประดิษฐ์ ข้อมูลการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต เป็นต้น ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 45
  • 46. ▪ ความคิดริเริ่มนวัตกรรม (Innovation Initiatives) คือ การส่งเสริมทักษะการ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยการสอนที่สร้างสรรค์ (Creative Pedagogy) ที่บูรณาการกับ เนื้อหาในด้านต่าง ๆ โดยการสอนที่สร้างสรรค์สามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ การโค้ช อย่างสร้างสรรค์ (Creative Coaching) การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ (Creative Learning) และการโค้ชที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ (Coaching for Creativity) ดังแสดงในรูปที่ 3-2 เพื่อให้เกิดการกระตุ้นการเรียนรู้ (Feed - Up) การให้ผลตอบกลับ (Feedback) และการ เรียนรู้ต่อยอด (Feed - Forward) ต่อไป ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 46
  • 47. ▪ กระบวนการนวัตกรรม (Innovation Process) คือ กระบวนการที่ยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนได้ขึ้นอยู่กับประเภทของนวัตกรรมและบริบทขององค์การ โดย กระบวนการนวัตกรรมต้องสามารถเชื่อมโยงกับกระบวนการอื่น ๆ เช่น การวิจัยและ พัฒนา การตลาด หรือการดาเนินงานทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น โดยมีภาพรวมของ กระบวนการนวัตกรรมดังแสดงในรูปที่ 3-3 รูปที่ 3-3 ภาพรวมกระบวนการนวัตกรรม ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 47
  • 48. 1. การระบุโอกาส (Identify opportunities) คือ การรับรู้ความต้องการและ ความคาดหวังของลูกค้า รวมไปถึงแนวโน้มความท้าทายที่เกี่ยวข้อง เช่น คู่แข่ง เทคโนโลยี เป็นต้น เพื่อนามาจัดลาดับความสาคัญ และระบุผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งด้านดีและไม่ดี 2. การสร้างกรอบความคิด (Create Concept) คือ การสร้างแนวคิด วิธีการ แก้ไขปัญหารูปแบบใหม่ ๆ ซึ่งอาจมาจากแหล่งข้อมูลเอกสารภายใน การอบรมจาก ภายนอก โดยใช้วิธีการที่แตกต่างจากเดิม โดยจะต้องกาหนดให้แสดงผลลัพธ์ของนวัตกรรม ที่สามารถตรวจสอบได้ ผู้ตรวจสอบทาความเข้าใจกับสมมติฐานที่จะตรวจสอบอย่างถ่องแท้ และนาไปประเมินความเสี่ยง เพื่อวัดผลกระทบจากการพัฒนานวัตกรรม ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 48
  • 49. 3. การตรวจสอบแนวคิด (Validate Concepts) คือ ต้องทาการตรวจสอบ แนวความคิด (Ideas) ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้น โดยควรพิจารณาวิธีการตรวจสอบที่มากกว่า 1 วิธี เช่น การศึกษา การทดลอง หรือการทดสอบ เป็นต้น เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของ แนวความคิด และหากมีข้อสงสัยต้องทาการตั้งสมมติฐานเพื่อทาการทดสอบ 4. การพัฒนาผลลัพธ์ (Develop Solutions) คือ การพัฒนาผลลัพธ์จาก แนวความคิด ให้เกิดเป็นผลลัพธ์การทางาน รวมถึงการทาให้เกิดคุณค่าและการป้องกัน ทรัพย์สินทางปัญญา โดยต้องคานึงถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อกาหนดทางกฎหมาย งบประมาณ และเวลา เป็นต้น 5. การประยุกต์ใช้ผลลัพธ์ (Deploy Solutions) คือ การส่งมอบผลลัพธ์ของ นวัตกรรม ให้สามารถเข้าถึงผู้ใช้งาน ลูกค้า พันธมิตร หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ได้ รวมถึงการส่งเสริมการแก้ปัญหาทางการตลาด การสื่อสาร การสร้างความรับรู้ และการ สร้างความมีส่วนร่วมและต้องมีการติดตามผลกระทบการการใช้งงานนวัตกรรมนั้นด้วย ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 49
  • 50. กล่าวถึง การติดตามและประเมินผลการดาเนินการตามแผนงานที่วางไว้ให้บรรลุตาม วัตถุประสงค์ โดยอาศัยการวิเคราะห์และประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ความถี่ เครื่องมือ และวิธีการที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละองค์การ เพื่อให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพของ นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีเครื่องมือและวิธีการติดตามและประเมินผลที่แนะนาดังนี้ ▪ การตรวจสอบภายใน (Internal Audit) คือ การตรวจสอบแผน ผลการดาเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และให้ข้อเสนอแนะการปรับปรุง รวมถึงการรายงานผลไปยังหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง โดยผู้ตรวจสอบภายในต้องทาการกาหนดขอบเขต วัตถุประสงค์ หรือเกณฑ์ที่ต้องการวัด ในแต่ละหัวข้อที่ต้องการประเมิน ▪ การทบทวนการจัดการ (Management Review) คือ การทบทวน/ประเมินของ ผู้บริหารระดับสูงถึงการบริหารตามแผนที่กาหนดไว้ว่ามีความต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลอยู่หรือไม่ โดยอาจเปลี่ยนแปลงแนวทางการประเมินปัจจัยทั้งภายในและภายนอก องค์การที่เกี่ยวข้องกับการจัดการนวัตกรรม ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ทิศทาง และนโยบายของ องค์การ ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 50
  • 51. กล่าวถึง การดาเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการจัดการนวัตกรรมอย่าง ต่อเนื่อง องค์การควรพิจารณาและเลือกโอกาสในการปรับปรุงและดาเนินการระบบบริหาร จัดการนวัตกรรม โดยพิจารณาจากผลการประเมินประสิทธิภาพ ซึ่งมีแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการจัดการนวัตกรรม 3 แนวทาง คือ เพิ่มจุดแข็ง, แก้ไขจุดอ่อน และป้องกันหรือลดข้อเบี่ยงเบนที่ทาให้ไม่เป็นไปตามเป้าประสงค์ ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 51
  • 52. คุณค่าทั้งหมดของนวัตกรรมถูกวัดโดยผลกระทบด้านบวก และด้านลบของสิ่งที่ ได้รับออกมาหรือผลลัพธ์ที่ให้เชิงพาณิชย์และสังคมสาหรับผู้บริโภค ดังนั้นผลกระทบเชิง บวกจะช่วยประชาชนปรับปรุงองค์การ และสังคม ในขณะเดียวกันผลกระทบเชิงลบก็จะ สร้างปัญหา และเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้แก่องค์การและสังคม โดยคุณค่าของนวัตกรรม สามารถวัดได้ทั้งในด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน (การเงิน [Financial] / ความพึงพอใจ ของลูกค้า [Customer Perspective] / กระบวนการภายใน [Internal Processes] / การเติบโตและเรียนรู้ [Learning & Growth]) เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทาให้สิ่งต่าง ๆ มีการ เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ก่อให้เกิดผลผลิตเพิ่มขึ้น อันเป็นที่มาของความมั่งคั่งทาง เศรษฐกิจของประเทศ เพื่อส่งเสริมระบบนวัตกรรมแห่งชาติให้มีความเข้มแข็ง ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 52
  • 53.  Thailandplus │ซีพีเอฟได้รับมาตรฐานองค์กรจัดการนวัตกรรม ISO56002 https://www.youtube.com/watch?v=jVFaSZWsvtk ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 53
  • 54. 1. ปัจจัยอะไรที่นาไปสู่การเป็นองค์การนวัตกรรม 2. บทบาทของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการสร้างองค์การนวัตกรรมเป็นอย่างไร 3. จงอธิบายแนวคิดการบริหารจัดการนวัตกรรม 4. ระบบบริหารจัดการนวัตกรรม ISO56002:2019 เป็นอย่างไร 5. ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบการบริหารจัดการนวัตกรรมมีอะไรบ้าง 6. จงอธิบายแนวทางการปฏิบัติงานด้านนวัตกรรม ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 54