SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
ยารักษาโรคเบาหวาน
ฉัตรเลิศ พงษ์ไชย
กุล
ปัจจุบันวิวัฒนาการของการรักษาโรคเบาหวานมีมากขึ้น โดยเฉพาะยาใหม่ๆทั้งยาเม็ดลดระดับ
นำ้าตาลในเลือดและยาฉีดอินสุลิน การเลือกและปรับยาอย่างเหมาะสมจะช่วยให้การควบคุมโรคเบาหวาน
ให้ถึงเป้าหมายเพิ่มขึ้น ส่งผลช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง นอกจากนี้ยัง
ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น
ยาที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. ยาเม็ดลดระดับนำ้าตาลในเลือด ( oral hypoglycemic agents )
2. ยาฉีดอินสุลิน
1. ยาเม็ดลดระดับนำ้าตาลในเลือด ( oral hypoglycemic agents )1-4
ยาเม็ดลดระดับนำ้าตาลในเลือด ส่วนใหญ่ใช้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นหลัก ซึ่งสามารถ
แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ตามกลไกการออกฤทธ์ดังนี้
1.1 Sulfonylurea ยาจะกระตุ้นการหลั่งอินสุลินจากตับอ่อนโดยผ่านทาง
sulfonylurea receptor ซึ่งเป็น ATP-dependent K+
channel ที่
plasma membrane ของ beta cell ทำาให้ cytosolic calcium
เพิ่มขึ้นทำาให้มีการหลั่งอินสุลิน นอกจากนี้ยายังช่วยลด hepatic glucose output
และเพิ่ม insulin sensitivity ยาในกลุ่มนี้แบ่งเป็น 3 generation ได้แก่
First generation : Chlorpropamide
Second generation : Glibencamide , Glipizide ,
Glicazide , Gliquidone
Third generation : Glimepiride , Glicazide MR
ปัจจุบันยา Chlorpropamide ไม่นิยมใช้เนื่องจากเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยาว ทำาให้เกิดผล
ข้างเคียงได้แก่ SIADH ส่งผลให้เกิด hyponatremia ร่วมทั้งทำาให้เกิด
hypoglycemia ในผู้ป่วยสูงอายุได้บ่อย
1.2 Rapid acting non-sulfonylurea insulin
secretagogue เป็นยากลุ่มใหม่ที่ไม่ใช่กลุ่มซัลฟา ออกฤทธิ์เช่นเดียวกันกับ
sulfonylurea แต่ที่ตำาแหน่ง receptor ต่างกัน มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ
sulfonylurea แต่ออกฤทธิ์เร็วกว่า เนื่องจากมี half life สั้นเพียง 1 ชั่วโมง ทำาให้มี
อุบัติการของการเกิด hypoglycemia น้อยกว่า ยาตัวนี้ต้องรับประทานก่อนอาหารแต่ละมื้อ
ประมาณ 15 นาที ควรเลือกใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ยาซัลฟาหรือผู้ที่ทานอาหารไม่ค่อยเป็นเวลาหรือในผู้
ป่วยสูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด hypoglycemia ได้มาก ยาในกลุ่มนี้ได้แก่
Repaglinide ( Novonorm ) และ Nateglinide ( Starlix )
2.ยาที่เพิ่มการออกฤทธิ์ของอินสุลิน ( insulin sensitizer )
2.1 Metformin ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างกลูโคสจากตับเป็นหลัก ทำาให้อินสุลินออก
ฤทธิ์ที่กล้ามเนื้อดีขึ้น บางส่วนทำาให้นำ้าตาลเข้าเซลล์กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น ข้อดีของ metformin คือ
ไม่ทำาให้เกิด hypoglycemia และนำ้าหนักตัวจะไม่เพิ่มขึ้นหรืออาจลดลงในบางราย ผลข้าง
เคียงที่พบบ่อยได้แก่ เบื่ออาหาร ลิ้นไม่รับรส คลื่นไส้ ท้องเสีย ไม่สบายท้อง แต่อาการจะดีขึ้นได้เองเมื่อใช้
ยาติดต่อกันไปสักระยะ ผลข้างเคียงที่สำาคัญคือ lactic acidosis ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในผู้
ป่วยที่มี renal insufficiency ( serum creatinine มากกว่า 1.5
มก./ดล.) หรือในผู้ป่วยที่มีโรคที่เสี่ยงต่อการเกิด ภาวะ lactic acidosis เช่น โรคตับ โรค
หัวใจล้มเหลว เป็นต้น
2.2 Thiazolidinedione ออกฤทธิ์โดยทำาให้อินสุลินออกฤทธิ์ที่กล้ามเนื้อ เป็น
ผลทำาให้นำ้าตาลเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังทำาให้อินสุลินออกฤทธิ์ที่ตับเพิ่มขึ้นและยับยั้ง
การสร้างกลูโคสจากตับด้วย ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Rosiglitazone ( Avandia ) และ
Pioglitazone ( Actos ) ยากลุ่มนี้เป็นยาใหม่สามารถใช้เป็นยาเดี่ยวในการรักษา
( monotherapy ) หรือใช้ร่วมกับยากลุ่มอื่นหรืออินสุลิน ผลเสียของยาได้แก่ ทำาให้นำ้าหนัก
เพิ่มขึ้นประมาณ 4-5 กิโลกรัมเนื่องจากการคั่งของนำ้า พบว่าระดับ hemoglobin ลดลง และ
ทำาให้เกิดตับอักเสบได้ ผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับยากลุ่มนี้ควรได้รับการตรวจเอนไซม์ตับก่อนการใช้ยาและ
ภายหลังได้รับยาเป็นระยะและถ้าระดับเอนไซม์ตับมีค่าสูงขึ้นกว่าค่าปกติเกิน 2 เท่าควรหยุดยา
3.ยาที่ยับยั้งการดูดซึมอาหารคาร์โบไฮเดรตในลำาไส้ ( alpha- glucosidase
inhibitor )
ยาออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ alpha- glucosidase ที่ผนังลำาไส้ทำาให้การดูดซึมกลูโคส
ลดลงและช้าลง มีผลในการลดระดับนำ้าตาลหลังอาหาร ( postprandial glucose )
เป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ลดระดับนำ้าตาลขณะอดอาหาร ( fasting plasma
glucose ) ได้ไม่มากนัก ยาในกลุ่มนี้ถูกดูดซึมเข้าร่างกายน้อยมากทำาให้ไม่มี systemic
side effects ผลข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่ ท้องอืด แน่นท้อง ผายลมบ่อย ถ่ายเหลว ปวดท้อง
โดยเฉพาะถ้าได้รับยาในขนาดสูง การเริ่มยาในขนาดตำ่าๆและค่อยๆปรับเพิ่มขึ้นจะช่วยลดการเกิดผลข้าง
เคียงดังกล่า ยากลุ่มนี้ ได้แก่ acarbose ( Glucobay ) และ voglibose
( Basen )
สำาหรับรายละเอียดของขนาดของยาที่ใช้ จำานวนครั้งที่ใช้ต่อวันและระยะเวลาการออกฤทธิ์ได้
แสดงไว้ในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 แสดงชนิดของยาเม็ดลดระดับนำ้าตาลที่ใช้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
ชื่อยา ขนาดยาต่อวัน (มก.) จำานวนครั้งต่อวัน ระยะเวลาออกฤทธิ์
( ชั่วโมง )
Chlorpropamide 125 – 500 1
> 48
Glibencamide 2.5 – 20 1 – 2
12 – 24
Glipizide 2.5 – 30
1 – 2 12 – 18
Glicazide 40 – 320 1
– 2 12 – 24
Gliquidone 30 – 240
1 – 2 12 – 18
Glimepiride 1 – 8
1 24
Glicazide MR 30 – 120
1 24
Repaglinide 0.5 – 2 มก.(ต่อมื้อ) ก่อนอาหารทุกมื้อ
2 – 6
Nateglinide 120 มก. (ต่อมื้อ) ก่อนอาหารทุกมื้อ
2 – 4
Metformin 500 – 3,000
2 – 3 5 – 6
Rosiglitazone 4 – 8 1 –
2 สัปดาห์
Pioglitazone 15 – 45
1 สัปดาห์
Acarbose 50 –100 มก. (ต่อมื้อ) พร้อมอาหารทุกมื้อ
2 – 4
Voglibose 0.2 – 0.3 มก.(ต่อมื้อ) ) พร้อมอาหารทุก
มื้อ 2 – 4
การเลือกใช้ยากลุ่มใดเป็นยาตัวแรกนั้น ให้พิจารณาว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติที่ส่วนใดเป็นหลัก
ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นกลไกการเกิดโรคประกอบด้วยความบกพร่องของตับอ่อนในหลั่งอินสุลิน
( insulin defeciency ) และ/หรือภาวะดื้อต่ออินสุลิน ( insulin
resistance ) ในผู้ป่วยที่ไม่อ้วน ( body mass index :BMI น้อยกว่า 25
กก.ต่อต.ร.ม. ) ส่วนใหญ่มักมีความผิดปกติในการหลั่งอินสุลิน จึงควรเลือกใช้ยาในกลุ่มที่กระตุ้นการ
หลั่งอินสุลินเป็นตัวแรก เช่น sulfonylurea ส่วนจะใช้ยาตัวใดนั้นขึ้นอยู่กับ
compliance ในการรับประทานยา การรับประทานอาหารสมำ่าเสมอ ตรงเวลาหรือไม่ อายุ โรค
ประจำาตัวอื่นๆรวมทั้งเศรษฐานะของผู้ป่วย และควรหลีกเลี่ยง chlorpropamide ส่วนในผู้
ป่วยเบาหวานที่อ้วน (body mass index :BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 25 กก.ต่อ
ต.ร.ม.) หรือมีลักษณะอื่นของ metabolic syndrome เช่นอ้วนลงพุง , ความดัน
โลหิตสูง , HDL-cholesterol ตำ่า มักจะมีภาวะดื้อต่ออินสุลิน ควรเลือกใช้ยากลุ่มที่ออก
ฤทธิ์ลดการดื้อต่ออินสุลินเป็นตัวแรก เช่น metformin ส่วนยาที่ลดระดับนำ้าตาลหลังอาหารเป็น
หลัก เช่น ยากลุ่ม alpha- glucosidase inhibitor เนื่องจากยาสามารถระดับ
นำ้าตาลขณะอดอาหารได้น้อยมากจึงไม่ควรใช้เป็นยาตัวเดี่ยวในการรักษายกเว้นระดับนำ้าตาลขณะอด
อาหารไม่เกิน 140 มก./ดล. สำาหรับยาในกลุ่ม rapid acting non-
sulfonylurea secretagogue นั้นสามารถใช้เป็นยาตัวแรกหรือยาเดี่ยวในการ
รักษาผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีระดับนำ้าตาลหลังอาหารสูงและผู้ที่รับประทานอาหารไม่ตรง
เวลา ส่วนยากลุ่ม thiazolidinedione นั้นมีข้อมูลการศึกษาว่าสามารถใช้เป็นยาเดี่ยวใน
การรักษาได้ แต่เนื่องจากราคาแพงจึงไม่แนะนำาให้ใช้เป็นยาตัวแรก
สำาหรับการใช้ยาเม็ดลดระดับนำ้าตาลร่วมกันในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นมีหลัก
การดังนี้
1. ในกรณีที่ใช้ยากลุ่มหนึ่งในขนาดที่เกินครึ่งหนึ่งของยาสูงสุดที่สามารถใช้ได้แล้วระดับ
นำ้าตาลยังไม่สามารถควบคุมให้ถึงเกณฑ์ที่ต้องการ อาจใช้ยากลุ่มอื่นที่ออกฤทธิ์ต่างกันเข้ามาเสริมเพื่อลด
ระดับนำ้าตาลได้ เช่นผู้ป่วยได้รับยากลุ่ม sulfonylurea อยู่แล้วระดับนำ้าตาลยังไม่ลด ควรเพิ่ม
ยากลุ่มที่ลดภาวะดื้อต่ออินสุลินเข้ามาเสริม เช่น metformin หรือ
thiazolidinedione เป็นต้น เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มักจะมีความผิดปกติของ
การหลั่งอินสุลินร่วมกับภาวะดื้อต่ออิน สุลิน
2. ไม่ควรใช้ยาที่ออกฤทธิ์เหมือนกันร่วมกัน เช่น sulfonylurea กับ rapid
acting non-sulfonyourea insulin secretagogue ซึ่งเป็นยาที่
ออกฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินสุลินจากตับอ่อน แต่ยาที่ออกฤทธิ์ลดภาวะดื้อต่ออินสุลิน เช่น
metformin และ thiazolidinedione สามารถใช้ร่วมกันได้ เนื่องจาก
metformin ออกฤทธิ์เด่นที่ตับ ในขณะที่ thiazolidinedione นั้นออกฤทธิ์เด่นที่
กล้ามเนื้อ
3. ยาในกลุ่ม alpha-glucosidase inhibitor สามารถใช้ร่วมกับยา
เม็ดลดระดับนำ้าตาลทุกชนิดรวมทั้งอินสุลินเพื่อลดระดับนำ้าตาลหลังอาหาร
4. สามารถใช้ยามากกว่า 2 ชนิดร่วมกันในการรักษาผู้ป่วยได้ โดยควรเลือกใช้ยาที่ออก
ฤทธิ์ต่างกัน
ในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถใช้หลักการพิจารณาการรักษาดังแผนภูมิที่ 1
แผนภูมิที่ 1 หลักการพิจารณาการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
ความดัน
BMI < 25BMI > 25 targrtnotreachin4-8wktargrtnotreachin4-8wktarget not reach in
At Diagnosis
Fasting plasma
glucose < 200 mg/dL
Casual plasma
glucose < 250 mg/dL
Medical Nutrition
Therapy
And Exercise (
At Diagnosis
Fasting plasma
glucose 200-350
mg/dL
Casual plasma
glucose 250-400 Sulfony
Oral
Hypoglycemic
Metfor
Combination
Different group of
oral drugs target not reach in
Combination of Oral Agent +
Bedtime Insulintarget not reach in
Insulin stage 2 + insulin
enhancer (BID Regimen)
Insulin stage 3A : (R/N-0-R/N,
LP/N-0-LP-N)Insulin stage 4A : (R-R-R-N, LP-Consult or Refer to Endocrinologist
At Diagnosis
Fasting plasma
glucose > 350 mg/dL
Target control
FPG 80-140
mg/dL
2 hr PP PG < 160
mg/dL
2. อินสุลิน
5-9
การออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการปล่อยกลูโคสจากตับ เพิ่มการใช้กลูโคสโดยเนื้อเยื่อส่วนปลายที่ไวต่อ
อินสุลิน เช่น กล้ามเนื้อหรือไขมัน นอกจากนี้ยังทำาให้เกิดการสะสมพลังงานในรูปไขมัน
ชนิดของอินสุลิน
การแบ่งขนิดของอินสุลินนั้นสามารถแบ่งได้ตามลักษณะต่างๆเช่น ตาม species ของ
อินสุลิน ตามความบริสุทธิ์ หรือตามระยะเวลาการออกฤทธิ์ ในปัจจุบันนิยมใช้ชนิดที่เป็น human
insulin ซึ่งผลิตโดยวิธี biogenetic engineering ( recombinant
DNA techniques ) เป็นอินสุลินที่มีความบริสุทธิ์และมีโครงสร้างเหมือนคน จึงทำาให้เกิด
antibody น้อยเป็นผลทำาให้คุมเบาหวานได้ดีขึ้น สิ่งที่แพทย์ควรทราบซึ่งมีความสำาคัญในการปรับ
ขนาดหรือเวลาของการฉีดได้แก่ ระยะเวลาของการออกฤทธิ์ ดังตารางที่ 2 นอกจากนั้นปัจจุบันมีการ
ผลิตอินสุลินชนิดใหม่ที่เรียกว่า insulin analogue ซึ่งมีทั้งชนิดที่ออกฤทธิ์เร็วได้แก่
insulin lispro, aspart และชนิดที่ออกฤทธิ์ยาวเป็น basal insulin ได้แก่
insulin glargine
ตารางที่ 2 Human insulin แบ่งตามระยะเวลาการออกฤทธิ์
Insulin preparation trade names
onset peak effect maximum
of action of action
duration duration
Rapid acting
Lispro , aspart Humalog,Novorapid 15-30
min 30-90 min 3-4 hr 4-6 hr
Short acting
Regular ActrapidHM,HumulinR 30-60
min 2-4 hr 3-6 hr 6-8 hr
Intermediate acting
NPH (isophane) HumalinN,InsulatardHM 1.5-4 hr
4-12 hr 10-16 hr 14-24 hr
Lente ( zinc ) Monotard HM 3-4 hr
6-12 hr 12-18 hr 16-24 hr
Long acting
Ultralente Ultratard HM 6-10 hr
10-16 hr 18-20 hr 20-24 hr
Glargine Lantus 4-12 hr
No peak 18-20 hr 20-24 hr
Combinations
NPH/Regular
80/20,70/30, Mixtard 20,30,40,50 30-60
min Dual 10-16 hr 14-18 hr
60/40, 50/50 Humulin80/20,70/30,
60/40,50/50
ข้อบ่งชี้
- สามารถใช้ได้ในทุกกรณีที่มีภาวะนำ้าตาลในเลือดสูง
- ข้อบ่งชี้จำาเพาะได้แก่เบาหวานชนิดที่ 1 โรคตับอ่อน, ภาวะ diabetic
ketoacidosis, hyperosmolar non-acidotic diabetes ,
ภาวะตั้งครรภ์, ภาวะแพ้ยาเม็ด, ภาวะเครียด, ภาวะติดเชื้อรุนแรง, การบาดเจ็บ, ได้รับการผ่าตัด,
ตับและไตวาย, ภาวะนำ้าตาลในเลือดสูงรุนแรง และในกรณที่ไม่สามารถควบคุมระดับนำ้าตาลในเลือดได้
ด้วยการควบคุมอาหารหรือยาเม็ดลดระดับนำ้าตาล
ข้อบ่งชี้จำาเพาะของการใช้ human insulin มีดังนี้
-ผู้ที่แพ้ ( allergy ) หรือดื้อ ( resistance ) ต่อการใช้อินสุลินจากสัตว์
-ผู้ที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์และเพราะไม่ต้องการให้เกิดแอนติบอดีย์ต่ออินสุลินซึ่ง
สามารถผ่านจากมารดาไปยังทารกได้
-ผู้ป่วยที่จำาเป็นต้องใช้อินสุลินเพียงชั่วคราว แล้วจะเปลี่ยนไปใช้ยาเม็ดลดระดับนำ้าตาล การ
ใช้ human insulin ในกรณีนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอินสุลินแอนติบอดีย์โดยไม่จำาเป็น เช่น
ภาวะติดเชื้อเฉียบพลัน การผ่าตัด ภาวะตั้งครรภ์ โรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน
- ผู้ป่วยที่มี lipoatrophy จากการฉีดอินสุลินจากสัตว์ชนิด conventional
ข้อห้ามให้อินสุลิน
- การฉีดอินสุลินไม่มีข้อห้าม ยกเว้น กรณีแพ้ยาอย่างรุนแรง ซึ่งพบได้น้อยมาก
- ในภาวะดื้อยาต่ออินสุลิน และมีภาวะนำ้าตาลในเลือดสูง ควรหาสาเหตุแล้วแก้ไขตามเหตุ เช่น ผู้
ป่วยที่อ้วนมากควรพยายามลดนำ้าหนักหรือกินยาเม็ดก่อน เมื่อไม่ได้ผลจึงควรฉีดยา
ผลข้างเคียง
- ภาวะนำ้าตาลในเลือดตำ่า
- Lipodystrophy
- ภาวะแพ้ยา
- ในระยะแรก ๆ ที่ฉีดยา ผู้ป่วยอาจมีอาการบวมเนื่องจากมีการเก็บกักโซเดียมเพิ่มขึ้น อาจมี
อาการตามัวมากขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลง ความเข้มข้นของกลูโคสใน aqueous
humor ภายในตา และนำ้าหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
การเลือกใช้อินสุลิน
1. อินสุลินออกฤทธิ์สั้น
1.1 รายที่ต้องฉีดยาอินสุลินเข้าหลอดเลือดดำาหรือกล้ามเนื้อ เพื่อให้ออกฤทธิ์ได้เร็วยิ่งขึ้นหรือ
เพื่อความแน่นอนในการออกฤทธิ์หรือกรณีที่ผู้ป่วยมี bleeding disorder รุนแรงซึ่งควร
ฉีดทาง หลอดเลือดเท่านั้น
1.2 Diabetic ketoacidosis, hyperosmolar non-
acidotic diabetes
1.3 Severe hyperglycemia เช่น fasting plasma
glucose มากกว่า 300-350 มก./ดล. และต้องการควบคุมให้ระดับกลูโคสในเลือดลดลง
อย่างรวดเร็ว การใช้ยาออกฤทธิ์สั้นจะสามารถทำาให้ปรับยาได้บ่อยขึ้นและควบคุมนำ้าตาลในเลือดได้เร็ว
ขึ้น
2. อินสุลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลางมักใช้ในกรณีผู้ป่วยนอก และไม่มีภาวะในข้อ 1.1-
1.3 ข้างต้น หรือในผู้ป่วยในอาการเบาหวานไม่รุนแรง การรักษาลักษณะนี้จะใช้ในบางกรณีเช่น ใน
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 บางราย ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการฉีดก่อนนอนร่วมกับการใช้ยาเม็ด
ลดระดับนำ้าตาลหรือในผู้ป่วยเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
3. อินสุลินชนิดผสม มีที่ใช้ในกรณีที่ต้องใช้สุลิน 2 อย่างผสมกันเพื่อให้ควบคุมระดับนำ้าตาล
ในเลือดได้ดียิ่งขึ้น ถ้าสัดส่วนของอินสุลินที่ต้องการใช้มีชนิดที่ผลิตมาสำาเร็จรูปแล้ว การใช้อินสุลินผสมก็
จะสะดวกกว่า ข้อบ่งชี้การใช้จะคล้ายกับในอินสุลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง
วิธีการรักษาด้วยอินสุลิน
- ในผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉิน เช่น diabetic ketoacidosis,
hyperosmolar non- acidotic diabetes ควรใช้อินสุลินชนิดออกฤทธิ์สั้น
ให้หยดทางหลอดเลือดดำาอย่างต่อเนื่องหรืออาจฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุกชั่วโมง ภายหลังพ้นจากภาวะฉุกเฉิน
ในระยะแรกควรฉีดด้วยอินสุลินชนิดออกฤทธิ์สั้นก่อนรับประทานอาหารทุกมื้อร่วมกับฉีดอินสุลินชนิดออก
ฤทธิ์ปานกลางก่อนนอน ( multiple sucutanious injection )
- ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 มักต้องฉีดวันละ 2 ครั้งขึ้นไป โดยใช้อินสุลินชนิดออกฤทธิ์ปาน
กลาง หรือชนิดผสม การคาดคะเนปริมาณอินสุลินในระยะเริ่มต้นควรใช้วิธี titration คือฉีดขนาด
น้อย ๆ วันละไม่เกิน 20 ยูนิต ในกรณีที่ระดับนำ้าตาลในเลือดไม่สูงมาก โดยแบ่งเป็น 2/3 ในช่วง
เช้าและ 1/3 ในช่วงเย็น แล้วค่อย ๆ ปรับขนาดยาตามผลการตรวจเลือด ถ้าต้องใช้อินสุลินชนิดใส
ด้วย มักเริ่มด้วย 1/3 ของจำานวนยาในมื้อนั้น ในกรณีนำ้าตาลในเลือดในช่วงเช้ายังสูงโดยที่มีมื้ออื่นคุม
ได้ดีแล้วหรือกรณีที่เกิดภาวะนำ้าตาลในเลือดตำ่าในเวลากลางคืนบ่อย ๆ อาจเลื่อนการฉีดอินสุลินชนิดออก
ฤทธิ์ปานกลางมาฉีดช่วง 3 ถึง 4 ทุ่มแทนที่จะเป็นก่อนอาหารเย็น สำาหรับสัดส่วนการผสม NPH ต่อ
RI ในตอนเช้าสัดส่วนประมาณ 70/30 ส่วนตอนเย็นควรมีสัดส่วนประมาณ 50/50
- สำาหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 การฉีดใช้หลักการเดียวกัน คือ ให้ในขนาดน้อย ๆ ก่อน
แล้วค่อย ๆ ปรับ แต่ในกรณีนี้มักเริ่มโดยฉีดยาวันละครั้งเดียวในช่วงเช้าก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง
- ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่อ้วนและจำาเป็นต้องได้รับการฉีดอินสุลิน ขนาดอินสุลินที่จะควบคุม
เบาหวานได้มักจะต้องสูงมาก อาจถึงวันละ 100 ยูนิต ผู้ป่วยที่ต้องฉีดอินสุลินมากกว่าวันละ 60
ยูนิต ควรแบ่งฉีดเป็นวันละ 2 ครั้งหรืออาจพิจารณาการใช้ยาเม็ดลดระดับนำ้าตาลเช่น
thiazolididione ร่วมด้วยเพื่อลดขนาดของยาฉีด
- ถ้าต้องการให้ระดับนำ้าตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติมากที่สุดอยู่ตลอดเวลาทั้งวัน จำาเป็นต้อง
ฉีดอินสุลินวันละมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป การควบคุมอาหารต้องเข้มงวดและที่สำาคัญที่สุดคือ จำาเป็น
ต้องเจาะเลือดตรวจระดับนำ้าตาลในเลือดวันละหลายครั้ง การรักษาลักษณะนี้ใช้ในบางกรณีเท่านั้น เช่น ผู้
ป่วยเบาหวานที่ตั้งครรภ์ และเบาหวานชนิดที่ 1 บางราย
- การควบคุมระดับนำ้าตาลในเลือดแบบเข้มงวดที่สุดคือ การฉีดอินสุลินชนิดออกฤทธิ์สั้น 3 เวลา
ก่อนอาหาร และฉีดอินสุลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลางหรือยาวหรืออาจใช้ basal insulin ฉีดตอน
ก่อนนอนซึ่งจะเป็นวิธีการฉีดเลียนแบบธรรมชาติ
- ในเวชปฏิบัติทั่วไป การฉีดยาวันละ 2 ครั้งโดยวิธี mixed and split หรือ
premixed น่าจะเป็นวิธีการที่เหมาะสมในผู้ป่วยเบาหวาน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายอาจมี
ปัญหา hypoglycemia ตอนตี 3 อาจต้องฉีด 3 ครั้งคือเลื่อน NPH ไปฉีดก่อนนอน ใน
บางรายอาจมีปัญหา hypoglycemia ในช่วงเช้า อินสุลินมื้อเย็นอาจใช้ short
acting อย่างเดียว
- การฉีดยามากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป ( multiple injection ) ต้องให้การดูแลผู้
ป่วยอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยจะต้องสนใจในการที่จะดูแลตนเองโดยการทำา home
monitoring ซึ่งต้องเจาะเลือดบ่อยๆทั้งก่อนและหลังอาหาร การฉีดยาวิธีนี้ควรเลือกใช้ในผู้ป่วย
เบาหวานชนิดที่ 1 และผู้ป่วยเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
- การเริ่มฉีดอินสุลิน ในกรณีที่สามารถติดตามดูแลผู้ป่วยใกล้ชิด เช่น นอนรักษาในโรง
พยาบาล หรือผู้ป่วยที่สามารถตรวจระดับนำ้าตาลกลูโคสด้วยตนเองได้ อายุไม่มากและอ้วน สามารถเริ่มยา
ในขนาด 0.6 ยูนิตต่อกิโลกรัมต่อวัน โดยฉีดแบบ mixed and split จะทำาให้ควบคุมได้
เร็ว ในกรณีที่อาจเกิดอันตรายจากการได้รับอินสุลินขนาดสูง เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ที่มีรูปร่างผอม
ระดับกลูโคสไม่สูงมาก ควรเริ่มขนาดน้อยก่อนคือ ประมาณ 10-20 ยูนิตต่อวัน
- การปรับขนาดของยานั้น ควรเพิ่มยาเมื่อฉีดไปแล้วประมาณอย่างน้อย 3 วัน ในการ
ปรับยาในโรงพยาบาล หรือประมาณ 7 วันในการรักษาแบบผู้ป่วยนอก เนื่องจากความแตกต่างกันใน
การดูดซึมในการดูดซึมแต่ละวัน ความแตกต่างในเรื่องอาหาร กิจกรรม ภาวะเครียดต่างๆ และการตอบ
สนองของอินสุลิน
-สำาหรับการปรับเพิ่มยานั้นพิจารณาปรับยาดังนี้ คือ ปรับ RI ตอนเช้าโดยการดูระดับกลูโคส
หลังอาหารเช้าและก่อนอาหารเที่ยง ปรับยา NPH ตอนเช้าโดยการดูระดับกลูโคสก่อนอาหารเย็น
ปรับ RI เย็นโดยการดูระดับกลูโคสหลังอาหารเย็นและก่อนนอน ปรับ NPH เย็นโดยการดูระดับ
กลูโคสในเวลาก่อนอาหารเช้า การปรับยานี้อาศัยระดับกลูโคสวันที่ผ่านมาเพื่อปรับในวันต่อไป ส่วนใน
กรณีที่ฉีด multiple injection อาจปรับแบบ algorithm คือปรับตามระดับกลูโคส
ที่เจาะได้ก่อนอาหารโดยปรับ 1-2 ยูนิตต่อระดับกลูโคสที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง 40-50 มก./ดล.
และในกรณีที่เริ่มฉีดยาขนาดมากและเพิ่มยาเร็ว เมื่อระดับกลูโคสลดลงมาสู่ปกติ จะทำาให้เกิด post-
receptor defect ที่เกิดจากภาวะระดับกลูโคสสูงเป็นเวลานานได้รับการแก้ไข เป็นผลทำาให้
ความต้องการอินสุลินต่อวันลดลง จำาเป็นต้องลดขนาดอินสุลินลง มิฉะนั้นอาจเกิดภาวะนำ้าตาลตำ่าได้
การใช้อินสุลินร่วมกับยาเม็ดลดนำ้าตาล
- กรณีใช้ร่วมกับ metformin มักจะหวังผลให้เบื่ออาหาร และช่วยลดจำานวนยาฉีดลง
- กรณีที่ใช้ร่วมกับ alpha-glucosidase inhibitor มักจะหวังผลลดระดับ
นำ้าตาลหลังอาหาร
- กรณีใช้ร่วมกับ sulfonylurea มักใช้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่กินยาอยู่ใน
ขนาดเต็มที่แล้ว แต่ยังไม่สามารถควบคุมระดับนำ้าตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยที่เชื่อว่ายา
ชนิดเม็ดยังมีผลในการลดระดับนำ้าตาลอยู่ควรใช้วิธีฉีดอินสุลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลางขนาดน้อย ๆ
(0.1 ยูนิตต่อนำ้าหนักตัว 1 กก.) ช่วงก่อนนอน โดยคงยาเม็ดลดนำ้าตาลเอาไว้เพื่อควบคุมเบาหวาน
ให้ดีขึ้น
- กรณีใช้ร่วมกับ thiazolidinedone เพื่อช่วยลดจำานวนยาฉีดลง
Reference
1. American Diabetes Association. Pharmacologic
intervention. In management of type 2 diabetes,4th
edition.Verginia : Library of congress, 1998:56-72.
2. Williams G, Pickup JC. Management of type 2
diabetes. In handbook of diabetes,2nd
edition.Oxford: Blackwell Science Ltd, 1999:87-94.
3. Schnell U, Mehnert H, Standl E. Oral antidiabetic
agents: Sulfonylureas. In diabetes in the new
millennium. Sydney: Pot still press,1999:195-202.
4. Kikuchi M. New antidiabetic drugs. In diabetes in
the new millennium. Sydney: Pot still
press,1999:239-50..
5. American Diabetes Association: Insulin
administration ( Position statement ) Diabetes Care
2001; 24 ( Suppl 1 ):S94-S97.
6. Linde B. The pharmacokinetics of insulin. In :
Pickup J, Williams G,eds. Textbook of diabetes.
Oxford: Blackwell Science Ltd,1991:371-83.
7. European diabetes policy group. A desktop guide
to type 1 ( insulin dependent ) diabetes mellitus.
Diabet Med 1999;16:253-6.
8. Yki-Jarvinen H, Kauppila M, Kujansuu E, Lahti J,
Marjanen T, Niskanen L, et al. Comparison of
insulin regimens in patients with non- insulin
dependent diabetes mellitus.N Engl J Med
1992;327(20):1426-33.
ยารักษาโรคเบาหวาน  โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล

More Related Content

What's hot

What's hot (20)

ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
 
หลักการเภสัชกรรมบําบัดในเด็ก principle-of-pediatic-care-2014
หลักการเภสัชกรรมบําบัดในเด็ก  principle-of-pediatic-care-2014 หลักการเภสัชกรรมบําบัดในเด็ก  principle-of-pediatic-care-2014
หลักการเภสัชกรรมบําบัดในเด็ก principle-of-pediatic-care-2014
 
ความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscine
ความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscineความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscine
ความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscine
 
Diuretics drugs
 Diuretics drugs Diuretics drugs
Diuretics drugs
 
ยารักษาโรคเบาหวาน
ยารักษาโรคเบาหวานยารักษาโรคเบาหวาน
ยารักษาโรคเบาหวาน
 
คู่มือยาจิตเวชชุมชน
คู่มือยาจิตเวชชุมชนคู่มือยาจิตเวชชุมชน
คู่มือยาจิตเวชชุมชน
 
สรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลา
สรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลาสรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลา
สรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลา
 
Naranjo
NaranjoNaranjo
Naranjo
 
คู่มือ fatal DI&ยาจิตเวช
คู่มือ fatal DI&ยาจิตเวช คู่มือ fatal DI&ยาจิตเวช
คู่มือ fatal DI&ยาจิตเวช
 
เภสัชวิทยาของยา warfarin โดย ภญ. อายุรภา ปริกสุวรรณ,
เภสัชวิทยาของยา warfarin โดย ภญ. อายุรภา ปริกสุวรรณ, เภสัชวิทยาของยา warfarin โดย ภญ. อายุรภา ปริกสุวรรณ,
เภสัชวิทยาของยา warfarin โดย ภญ. อายุรภา ปริกสุวรรณ,
 
IESAC
IESACIESAC
IESAC
 
คู่มือการจ่ายยาเด็ก (Drugs in Pediatrics)
คู่มือการจ่ายยาเด็ก  (Drugs in Pediatrics)คู่มือการจ่ายยาเด็ก  (Drugs in Pediatrics)
คู่มือการจ่ายยาเด็ก (Drugs in Pediatrics)
 
คู่มือการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง
คู่มือการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูงคู่มือการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง
คู่มือการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง
 
Aerius drug monograph
Aerius drug monograph Aerius drug monograph
Aerius drug monograph
 
Pc18
Pc18Pc18
Pc18
 
Guideline diabetes-care-2017
Guideline diabetes-care-2017Guideline diabetes-care-2017
Guideline diabetes-care-2017
 
Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.
Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.
Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.
 
คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554
คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554
คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554
 
Berodual salbutamol solution
Berodual salbutamol solutionBerodual salbutamol solution
Berodual salbutamol solution
 
Hypertension
HypertensionHypertension
Hypertension
 

Viewers also liked

คู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชน
คู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชนคู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชน
คู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชน
Surapol Imi
 
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพวิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
Utai Sukviwatsirikul
 

Viewers also liked (20)

Current Pharmacotherapy in Diabetes
Current Pharmacotherapy in DiabetesCurrent Pharmacotherapy in Diabetes
Current Pharmacotherapy in Diabetes
 
Pharmacotherapy stroke
Pharmacotherapy strokePharmacotherapy stroke
Pharmacotherapy stroke
 
แนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติ เพื่อป็องกันโรคหัวใจและหลอดเลื...
แนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติ  เพื่อป็องกันโรคหัวใจและหลอดเลื...แนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติ  เพื่อป็องกันโรคหัวใจและหลอดเลื...
แนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติ เพื่อป็องกันโรคหัวใจและหลอดเลื...
 
Endocrine pancreas
Endocrine pancreasEndocrine pancreas
Endocrine pancreas
 
วิระพล ภิมาลย์, เภสัชกรรมบำบัดโรคมะเร็งเต้านม
วิระพล ภิมาลย์, เภสัชกรรมบำบัดโรคมะเร็งเต้านม วิระพล ภิมาลย์, เภสัชกรรมบำบัดโรคมะเร็งเต้านม
วิระพล ภิมาลย์, เภสัชกรรมบำบัดโรคมะเร็งเต้านม
 
Pharmacotherapy of gout, osteoarthritis and rheumatoid arthritis
Pharmacotherapy of gout, osteoarthritis and rheumatoid arthritisPharmacotherapy of gout, osteoarthritis and rheumatoid arthritis
Pharmacotherapy of gout, osteoarthritis and rheumatoid arthritis
 
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50
 
โรคเรื้อรังที่พบบ่อย
โรคเรื้อรังที่พบบ่อยโรคเรื้อรังที่พบบ่อย
โรคเรื้อรังที่พบบ่อย
 
Cpg hyperlipidemia 2558
Cpg hyperlipidemia 2558Cpg hyperlipidemia 2558
Cpg hyperlipidemia 2558
 
Ag 16 in_1.2.4_896(2555)
Ag 16 in_1.2.4_896(2555)Ag 16 in_1.2.4_896(2555)
Ag 16 in_1.2.4_896(2555)
 
ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...
ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...
ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...
 
Pharmacotherapy in patient with stroke 2555
Pharmacotherapy in patient with stroke 2555Pharmacotherapy in patient with stroke 2555
Pharmacotherapy in patient with stroke 2555
 
หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่
หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่
หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่
 
คู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชน
คู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชนคู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชน
คู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชน
 
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงบทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
 
Pharmacotherapy anticoagulation 56 01 24
Pharmacotherapy anticoagulation 56 01 24Pharmacotherapy anticoagulation 56 01 24
Pharmacotherapy anticoagulation 56 01 24
 
แนวทางการรักษาสิว 2010
แนวทางการรักษาสิว 2010แนวทางการรักษาสิว 2010
แนวทางการรักษาสิว 2010
 
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพวิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
 
Cpg for acne
Cpg for acneCpg for acne
Cpg for acne
 
บทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวาน
บทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวานบทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวาน
บทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวาน
 

Similar to ยารักษาโรคเบาหวาน โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล

Diabete Mellitus 01
Diabete Mellitus 01Diabete Mellitus 01
Diabete Mellitus 01
vora kun
 
ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน โดย พ.ญ. พรรณทิพย์ ตันติวงษ์
ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน โดย พ.ญ. พรรณทิพย์ ตันติวงษ์ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน โดย พ.ญ. พรรณทิพย์ ตันติวงษ์
ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน โดย พ.ญ. พรรณทิพย์ ตันติวงษ์
Utai Sukviwatsirikul
 
ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่4
ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่4ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่4
ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่4
Surang Judistprasert
 
Adverse Drug Reactions and Drug Allergy Adverse Drug Reactions and Drug All...
Adverse Drug Reactions and Drug Allergy 	 Adverse Drug Reactions and Drug All...Adverse Drug Reactions and Drug Allergy 	 Adverse Drug Reactions and Drug All...
Adverse Drug Reactions and Drug Allergy Adverse Drug Reactions and Drug All...
MedicineAndHealth
 

Similar to ยารักษาโรคเบาหวาน โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล (20)

DM diagnosis and management
DM diagnosis and managementDM diagnosis and management
DM diagnosis and management
 
Diabete Mellitus 01
Diabete Mellitus 01Diabete Mellitus 01
Diabete Mellitus 01
 
Ncep atp iii
Ncep atp iiiNcep atp iii
Ncep atp iii
 
ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน โดย พ.ญ. พรรณทิพย์ ตันติวงษ์
ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน โดย พ.ญ. พรรณทิพย์ ตันติวงษ์ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน โดย พ.ญ. พรรณทิพย์ ตันติวงษ์
ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน โดย พ.ญ. พรรณทิพย์ ตันติวงษ์
 
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบันยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
 
Diabetic control - Thai
Diabetic control - ThaiDiabetic control - Thai
Diabetic control - Thai
 
การใช้ยาในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
การใช้ยาในผู้ป่วยไตเรื้อรังการใช้ยาในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
การใช้ยาในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
 
HandOut Nutrition รุ่น1
HandOut Nutrition รุ่น1HandOut Nutrition รุ่น1
HandOut Nutrition รุ่น1
 
อาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
อาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรังอาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
อาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
 
Thai guidelines on the treatment of hypertension update 2015
Thai guidelines on the treatment of hypertension update 2015Thai guidelines on the treatment of hypertension update 2015
Thai guidelines on the treatment of hypertension update 2015
 
ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่4
ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่4ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่4
ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่4
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและการดูแลรักษาโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา
แนวทางการตรวจคัดกรองและการดูแลรักษาโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตาแนวทางการตรวจคัดกรองและการดูแลรักษาโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา
แนวทางการตรวจคัดกรองและการดูแลรักษาโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา
 
เบาหวาน
เบาหวานเบาหวาน
เบาหวาน
 
Cpg and care map alcohol
Cpg and care map alcoholCpg and care map alcohol
Cpg and care map alcohol
 
Adverse Drug Reactions and Drug Allergy Adverse Drug Reactions and Drug All...
Adverse Drug Reactions and Drug Allergy 	 Adverse Drug Reactions and Drug All...Adverse Drug Reactions and Drug Allergy 	 Adverse Drug Reactions and Drug All...
Adverse Drug Reactions and Drug Allergy Adverse Drug Reactions and Drug All...
 
โภชนบำบัด
โภชนบำบัดโภชนบำบัด
โภชนบำบัด
 
เอกสารประกอบการเรียนวิชาโภชนบำบัด
เอกสารประกอบการเรียนวิชาโภชนบำบัดเอกสารประกอบการเรียนวิชาโภชนบำบัด
เอกสารประกอบการเรียนวิชาโภชนบำบัด
 
โรคไตเรื้อรัง Chronic Kidney Disease
โรคไตเรื้อรัง Chronic Kidney Diseaseโรคไตเรื้อรัง Chronic Kidney Disease
โรคไตเรื้อรัง Chronic Kidney Disease
 
Clinical Pharmacokinetic of thenophylline
Clinical Pharmacokinetic of thenophyllineClinical Pharmacokinetic of thenophylline
Clinical Pharmacokinetic of thenophylline
 
Ppt. HAD
Ppt. HADPpt. HAD
Ppt. HAD
 

More from Utai Sukviwatsirikul

More from Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 

ยารักษาโรคเบาหวาน โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล

  • 1. ยารักษาโรคเบาหวาน ฉัตรเลิศ พงษ์ไชย กุล ปัจจุบันวิวัฒนาการของการรักษาโรคเบาหวานมีมากขึ้น โดยเฉพาะยาใหม่ๆทั้งยาเม็ดลดระดับ นำ้าตาลในเลือดและยาฉีดอินสุลิน การเลือกและปรับยาอย่างเหมาะสมจะช่วยให้การควบคุมโรคเบาหวาน ให้ถึงเป้าหมายเพิ่มขึ้น ส่งผลช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง นอกจากนี้ยัง ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น ยาที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1. ยาเม็ดลดระดับนำ้าตาลในเลือด ( oral hypoglycemic agents ) 2. ยาฉีดอินสุลิน 1. ยาเม็ดลดระดับนำ้าตาลในเลือด ( oral hypoglycemic agents )1-4 ยาเม็ดลดระดับนำ้าตาลในเลือด ส่วนใหญ่ใช้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นหลัก ซึ่งสามารถ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ตามกลไกการออกฤทธ์ดังนี้ 1.1 Sulfonylurea ยาจะกระตุ้นการหลั่งอินสุลินจากตับอ่อนโดยผ่านทาง sulfonylurea receptor ซึ่งเป็น ATP-dependent K+ channel ที่ plasma membrane ของ beta cell ทำาให้ cytosolic calcium เพิ่มขึ้นทำาให้มีการหลั่งอินสุลิน นอกจากนี้ยายังช่วยลด hepatic glucose output และเพิ่ม insulin sensitivity ยาในกลุ่มนี้แบ่งเป็น 3 generation ได้แก่ First generation : Chlorpropamide Second generation : Glibencamide , Glipizide , Glicazide , Gliquidone Third generation : Glimepiride , Glicazide MR ปัจจุบันยา Chlorpropamide ไม่นิยมใช้เนื่องจากเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยาว ทำาให้เกิดผล ข้างเคียงได้แก่ SIADH ส่งผลให้เกิด hyponatremia ร่วมทั้งทำาให้เกิด hypoglycemia ในผู้ป่วยสูงอายุได้บ่อย 1.2 Rapid acting non-sulfonylurea insulin secretagogue เป็นยากลุ่มใหม่ที่ไม่ใช่กลุ่มซัลฟา ออกฤทธิ์เช่นเดียวกันกับ sulfonylurea แต่ที่ตำาแหน่ง receptor ต่างกัน มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ sulfonylurea แต่ออกฤทธิ์เร็วกว่า เนื่องจากมี half life สั้นเพียง 1 ชั่วโมง ทำาให้มี อุบัติการของการเกิด hypoglycemia น้อยกว่า ยาตัวนี้ต้องรับประทานก่อนอาหารแต่ละมื้อ ประมาณ 15 นาที ควรเลือกใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ยาซัลฟาหรือผู้ที่ทานอาหารไม่ค่อยเป็นเวลาหรือในผู้ ป่วยสูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด hypoglycemia ได้มาก ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Repaglinide ( Novonorm ) และ Nateglinide ( Starlix ) 2.ยาที่เพิ่มการออกฤทธิ์ของอินสุลิน ( insulin sensitizer ) 2.1 Metformin ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างกลูโคสจากตับเป็นหลัก ทำาให้อินสุลินออก ฤทธิ์ที่กล้ามเนื้อดีขึ้น บางส่วนทำาให้นำ้าตาลเข้าเซลล์กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น ข้อดีของ metformin คือ ไม่ทำาให้เกิด hypoglycemia และนำ้าหนักตัวจะไม่เพิ่มขึ้นหรืออาจลดลงในบางราย ผลข้าง เคียงที่พบบ่อยได้แก่ เบื่ออาหาร ลิ้นไม่รับรส คลื่นไส้ ท้องเสีย ไม่สบายท้อง แต่อาการจะดีขึ้นได้เองเมื่อใช้
  • 2. ยาติดต่อกันไปสักระยะ ผลข้างเคียงที่สำาคัญคือ lactic acidosis ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในผู้ ป่วยที่มี renal insufficiency ( serum creatinine มากกว่า 1.5 มก./ดล.) หรือในผู้ป่วยที่มีโรคที่เสี่ยงต่อการเกิด ภาวะ lactic acidosis เช่น โรคตับ โรค หัวใจล้มเหลว เป็นต้น 2.2 Thiazolidinedione ออกฤทธิ์โดยทำาให้อินสุลินออกฤทธิ์ที่กล้ามเนื้อ เป็น ผลทำาให้นำ้าตาลเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังทำาให้อินสุลินออกฤทธิ์ที่ตับเพิ่มขึ้นและยับยั้ง การสร้างกลูโคสจากตับด้วย ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Rosiglitazone ( Avandia ) และ Pioglitazone ( Actos ) ยากลุ่มนี้เป็นยาใหม่สามารถใช้เป็นยาเดี่ยวในการรักษา ( monotherapy ) หรือใช้ร่วมกับยากลุ่มอื่นหรืออินสุลิน ผลเสียของยาได้แก่ ทำาให้นำ้าหนัก เพิ่มขึ้นประมาณ 4-5 กิโลกรัมเนื่องจากการคั่งของนำ้า พบว่าระดับ hemoglobin ลดลง และ ทำาให้เกิดตับอักเสบได้ ผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับยากลุ่มนี้ควรได้รับการตรวจเอนไซม์ตับก่อนการใช้ยาและ ภายหลังได้รับยาเป็นระยะและถ้าระดับเอนไซม์ตับมีค่าสูงขึ้นกว่าค่าปกติเกิน 2 เท่าควรหยุดยา 3.ยาที่ยับยั้งการดูดซึมอาหารคาร์โบไฮเดรตในลำาไส้ ( alpha- glucosidase inhibitor ) ยาออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ alpha- glucosidase ที่ผนังลำาไส้ทำาให้การดูดซึมกลูโคส ลดลงและช้าลง มีผลในการลดระดับนำ้าตาลหลังอาหาร ( postprandial glucose ) เป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ลดระดับนำ้าตาลขณะอดอาหาร ( fasting plasma glucose ) ได้ไม่มากนัก ยาในกลุ่มนี้ถูกดูดซึมเข้าร่างกายน้อยมากทำาให้ไม่มี systemic side effects ผลข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่ ท้องอืด แน่นท้อง ผายลมบ่อย ถ่ายเหลว ปวดท้อง โดยเฉพาะถ้าได้รับยาในขนาดสูง การเริ่มยาในขนาดตำ่าๆและค่อยๆปรับเพิ่มขึ้นจะช่วยลดการเกิดผลข้าง เคียงดังกล่า ยากลุ่มนี้ ได้แก่ acarbose ( Glucobay ) และ voglibose ( Basen ) สำาหรับรายละเอียดของขนาดของยาที่ใช้ จำานวนครั้งที่ใช้ต่อวันและระยะเวลาการออกฤทธิ์ได้ แสดงไว้ในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 แสดงชนิดของยาเม็ดลดระดับนำ้าตาลที่ใช้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ชื่อยา ขนาดยาต่อวัน (มก.) จำานวนครั้งต่อวัน ระยะเวลาออกฤทธิ์ ( ชั่วโมง ) Chlorpropamide 125 – 500 1 > 48 Glibencamide 2.5 – 20 1 – 2 12 – 24
  • 3. Glipizide 2.5 – 30 1 – 2 12 – 18 Glicazide 40 – 320 1 – 2 12 – 24 Gliquidone 30 – 240 1 – 2 12 – 18 Glimepiride 1 – 8 1 24 Glicazide MR 30 – 120 1 24 Repaglinide 0.5 – 2 มก.(ต่อมื้อ) ก่อนอาหารทุกมื้อ 2 – 6 Nateglinide 120 มก. (ต่อมื้อ) ก่อนอาหารทุกมื้อ 2 – 4 Metformin 500 – 3,000 2 – 3 5 – 6 Rosiglitazone 4 – 8 1 – 2 สัปดาห์ Pioglitazone 15 – 45 1 สัปดาห์ Acarbose 50 –100 มก. (ต่อมื้อ) พร้อมอาหารทุกมื้อ 2 – 4 Voglibose 0.2 – 0.3 มก.(ต่อมื้อ) ) พร้อมอาหารทุก มื้อ 2 – 4 การเลือกใช้ยากลุ่มใดเป็นยาตัวแรกนั้น ให้พิจารณาว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติที่ส่วนใดเป็นหลัก ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นกลไกการเกิดโรคประกอบด้วยความบกพร่องของตับอ่อนในหลั่งอินสุลิน ( insulin defeciency ) และ/หรือภาวะดื้อต่ออินสุลิน ( insulin resistance ) ในผู้ป่วยที่ไม่อ้วน ( body mass index :BMI น้อยกว่า 25 กก.ต่อต.ร.ม. ) ส่วนใหญ่มักมีความผิดปกติในการหลั่งอินสุลิน จึงควรเลือกใช้ยาในกลุ่มที่กระตุ้นการ หลั่งอินสุลินเป็นตัวแรก เช่น sulfonylurea ส่วนจะใช้ยาตัวใดนั้นขึ้นอยู่กับ compliance ในการรับประทานยา การรับประทานอาหารสมำ่าเสมอ ตรงเวลาหรือไม่ อายุ โรค ประจำาตัวอื่นๆรวมทั้งเศรษฐานะของผู้ป่วย และควรหลีกเลี่ยง chlorpropamide ส่วนในผู้ ป่วยเบาหวานที่อ้วน (body mass index :BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 25 กก.ต่อ ต.ร.ม.) หรือมีลักษณะอื่นของ metabolic syndrome เช่นอ้วนลงพุง , ความดัน โลหิตสูง , HDL-cholesterol ตำ่า มักจะมีภาวะดื้อต่ออินสุลิน ควรเลือกใช้ยากลุ่มที่ออก ฤทธิ์ลดการดื้อต่ออินสุลินเป็นตัวแรก เช่น metformin ส่วนยาที่ลดระดับนำ้าตาลหลังอาหารเป็น
  • 4. หลัก เช่น ยากลุ่ม alpha- glucosidase inhibitor เนื่องจากยาสามารถระดับ นำ้าตาลขณะอดอาหารได้น้อยมากจึงไม่ควรใช้เป็นยาตัวเดี่ยวในการรักษายกเว้นระดับนำ้าตาลขณะอด อาหารไม่เกิน 140 มก./ดล. สำาหรับยาในกลุ่ม rapid acting non- sulfonylurea secretagogue นั้นสามารถใช้เป็นยาตัวแรกหรือยาเดี่ยวในการ รักษาผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีระดับนำ้าตาลหลังอาหารสูงและผู้ที่รับประทานอาหารไม่ตรง เวลา ส่วนยากลุ่ม thiazolidinedione นั้นมีข้อมูลการศึกษาว่าสามารถใช้เป็นยาเดี่ยวใน การรักษาได้ แต่เนื่องจากราคาแพงจึงไม่แนะนำาให้ใช้เป็นยาตัวแรก สำาหรับการใช้ยาเม็ดลดระดับนำ้าตาลร่วมกันในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นมีหลัก การดังนี้ 1. ในกรณีที่ใช้ยากลุ่มหนึ่งในขนาดที่เกินครึ่งหนึ่งของยาสูงสุดที่สามารถใช้ได้แล้วระดับ นำ้าตาลยังไม่สามารถควบคุมให้ถึงเกณฑ์ที่ต้องการ อาจใช้ยากลุ่มอื่นที่ออกฤทธิ์ต่างกันเข้ามาเสริมเพื่อลด ระดับนำ้าตาลได้ เช่นผู้ป่วยได้รับยากลุ่ม sulfonylurea อยู่แล้วระดับนำ้าตาลยังไม่ลด ควรเพิ่ม ยากลุ่มที่ลดภาวะดื้อต่ออินสุลินเข้ามาเสริม เช่น metformin หรือ thiazolidinedione เป็นต้น เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มักจะมีความผิดปกติของ การหลั่งอินสุลินร่วมกับภาวะดื้อต่ออิน สุลิน 2. ไม่ควรใช้ยาที่ออกฤทธิ์เหมือนกันร่วมกัน เช่น sulfonylurea กับ rapid acting non-sulfonyourea insulin secretagogue ซึ่งเป็นยาที่ ออกฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินสุลินจากตับอ่อน แต่ยาที่ออกฤทธิ์ลดภาวะดื้อต่ออินสุลิน เช่น metformin และ thiazolidinedione สามารถใช้ร่วมกันได้ เนื่องจาก metformin ออกฤทธิ์เด่นที่ตับ ในขณะที่ thiazolidinedione นั้นออกฤทธิ์เด่นที่ กล้ามเนื้อ 3. ยาในกลุ่ม alpha-glucosidase inhibitor สามารถใช้ร่วมกับยา เม็ดลดระดับนำ้าตาลทุกชนิดรวมทั้งอินสุลินเพื่อลดระดับนำ้าตาลหลังอาหาร 4. สามารถใช้ยามากกว่า 2 ชนิดร่วมกันในการรักษาผู้ป่วยได้ โดยควรเลือกใช้ยาที่ออก ฤทธิ์ต่างกัน ในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถใช้หลักการพิจารณาการรักษาดังแผนภูมิที่ 1 แผนภูมิที่ 1 หลักการพิจารณาการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ความดัน BMI < 25BMI > 25 targrtnotreachin4-8wktargrtnotreachin4-8wktarget not reach in At Diagnosis Fasting plasma glucose < 200 mg/dL Casual plasma glucose < 250 mg/dL Medical Nutrition Therapy And Exercise ( At Diagnosis Fasting plasma glucose 200-350 mg/dL Casual plasma glucose 250-400 Sulfony Oral Hypoglycemic Metfor Combination Different group of oral drugs target not reach in Combination of Oral Agent + Bedtime Insulintarget not reach in Insulin stage 2 + insulin enhancer (BID Regimen) Insulin stage 3A : (R/N-0-R/N, LP/N-0-LP-N)Insulin stage 4A : (R-R-R-N, LP-Consult or Refer to Endocrinologist At Diagnosis Fasting plasma glucose > 350 mg/dL Target control FPG 80-140 mg/dL 2 hr PP PG < 160 mg/dL
  • 5. 2. อินสุลิน 5-9 การออกฤทธิ์ ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการปล่อยกลูโคสจากตับ เพิ่มการใช้กลูโคสโดยเนื้อเยื่อส่วนปลายที่ไวต่อ อินสุลิน เช่น กล้ามเนื้อหรือไขมัน นอกจากนี้ยังทำาให้เกิดการสะสมพลังงานในรูปไขมัน ชนิดของอินสุลิน การแบ่งขนิดของอินสุลินนั้นสามารถแบ่งได้ตามลักษณะต่างๆเช่น ตาม species ของ อินสุลิน ตามความบริสุทธิ์ หรือตามระยะเวลาการออกฤทธิ์ ในปัจจุบันนิยมใช้ชนิดที่เป็น human insulin ซึ่งผลิตโดยวิธี biogenetic engineering ( recombinant DNA techniques ) เป็นอินสุลินที่มีความบริสุทธิ์และมีโครงสร้างเหมือนคน จึงทำาให้เกิด antibody น้อยเป็นผลทำาให้คุมเบาหวานได้ดีขึ้น สิ่งที่แพทย์ควรทราบซึ่งมีความสำาคัญในการปรับ ขนาดหรือเวลาของการฉีดได้แก่ ระยะเวลาของการออกฤทธิ์ ดังตารางที่ 2 นอกจากนั้นปัจจุบันมีการ ผลิตอินสุลินชนิดใหม่ที่เรียกว่า insulin analogue ซึ่งมีทั้งชนิดที่ออกฤทธิ์เร็วได้แก่ insulin lispro, aspart และชนิดที่ออกฤทธิ์ยาวเป็น basal insulin ได้แก่ insulin glargine
  • 6. ตารางที่ 2 Human insulin แบ่งตามระยะเวลาการออกฤทธิ์ Insulin preparation trade names onset peak effect maximum of action of action duration duration Rapid acting Lispro , aspart Humalog,Novorapid 15-30 min 30-90 min 3-4 hr 4-6 hr Short acting Regular ActrapidHM,HumulinR 30-60 min 2-4 hr 3-6 hr 6-8 hr Intermediate acting NPH (isophane) HumalinN,InsulatardHM 1.5-4 hr 4-12 hr 10-16 hr 14-24 hr Lente ( zinc ) Monotard HM 3-4 hr 6-12 hr 12-18 hr 16-24 hr Long acting Ultralente Ultratard HM 6-10 hr 10-16 hr 18-20 hr 20-24 hr Glargine Lantus 4-12 hr No peak 18-20 hr 20-24 hr Combinations NPH/Regular 80/20,70/30, Mixtard 20,30,40,50 30-60 min Dual 10-16 hr 14-18 hr 60/40, 50/50 Humulin80/20,70/30, 60/40,50/50 ข้อบ่งชี้ - สามารถใช้ได้ในทุกกรณีที่มีภาวะนำ้าตาลในเลือดสูง - ข้อบ่งชี้จำาเพาะได้แก่เบาหวานชนิดที่ 1 โรคตับอ่อน, ภาวะ diabetic ketoacidosis, hyperosmolar non-acidotic diabetes , ภาวะตั้งครรภ์, ภาวะแพ้ยาเม็ด, ภาวะเครียด, ภาวะติดเชื้อรุนแรง, การบาดเจ็บ, ได้รับการผ่าตัด, ตับและไตวาย, ภาวะนำ้าตาลในเลือดสูงรุนแรง และในกรณที่ไม่สามารถควบคุมระดับนำ้าตาลในเลือดได้ ด้วยการควบคุมอาหารหรือยาเม็ดลดระดับนำ้าตาล ข้อบ่งชี้จำาเพาะของการใช้ human insulin มีดังนี้ -ผู้ที่แพ้ ( allergy ) หรือดื้อ ( resistance ) ต่อการใช้อินสุลินจากสัตว์ -ผู้ที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์และเพราะไม่ต้องการให้เกิดแอนติบอดีย์ต่ออินสุลินซึ่ง สามารถผ่านจากมารดาไปยังทารกได้ -ผู้ป่วยที่จำาเป็นต้องใช้อินสุลินเพียงชั่วคราว แล้วจะเปลี่ยนไปใช้ยาเม็ดลดระดับนำ้าตาล การ ใช้ human insulin ในกรณีนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอินสุลินแอนติบอดีย์โดยไม่จำาเป็น เช่น ภาวะติดเชื้อเฉียบพลัน การผ่าตัด ภาวะตั้งครรภ์ โรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน - ผู้ป่วยที่มี lipoatrophy จากการฉีดอินสุลินจากสัตว์ชนิด conventional ข้อห้ามให้อินสุลิน - การฉีดอินสุลินไม่มีข้อห้าม ยกเว้น กรณีแพ้ยาอย่างรุนแรง ซึ่งพบได้น้อยมาก - ในภาวะดื้อยาต่ออินสุลิน และมีภาวะนำ้าตาลในเลือดสูง ควรหาสาเหตุแล้วแก้ไขตามเหตุ เช่น ผู้ ป่วยที่อ้วนมากควรพยายามลดนำ้าหนักหรือกินยาเม็ดก่อน เมื่อไม่ได้ผลจึงควรฉีดยา
  • 7. ผลข้างเคียง - ภาวะนำ้าตาลในเลือดตำ่า - Lipodystrophy - ภาวะแพ้ยา - ในระยะแรก ๆ ที่ฉีดยา ผู้ป่วยอาจมีอาการบวมเนื่องจากมีการเก็บกักโซเดียมเพิ่มขึ้น อาจมี อาการตามัวมากขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลง ความเข้มข้นของกลูโคสใน aqueous humor ภายในตา และนำ้าหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การเลือกใช้อินสุลิน 1. อินสุลินออกฤทธิ์สั้น 1.1 รายที่ต้องฉีดยาอินสุลินเข้าหลอดเลือดดำาหรือกล้ามเนื้อ เพื่อให้ออกฤทธิ์ได้เร็วยิ่งขึ้นหรือ เพื่อความแน่นอนในการออกฤทธิ์หรือกรณีที่ผู้ป่วยมี bleeding disorder รุนแรงซึ่งควร ฉีดทาง หลอดเลือดเท่านั้น 1.2 Diabetic ketoacidosis, hyperosmolar non- acidotic diabetes 1.3 Severe hyperglycemia เช่น fasting plasma glucose มากกว่า 300-350 มก./ดล. และต้องการควบคุมให้ระดับกลูโคสในเลือดลดลง อย่างรวดเร็ว การใช้ยาออกฤทธิ์สั้นจะสามารถทำาให้ปรับยาได้บ่อยขึ้นและควบคุมนำ้าตาลในเลือดได้เร็ว ขึ้น 2. อินสุลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลางมักใช้ในกรณีผู้ป่วยนอก และไม่มีภาวะในข้อ 1.1- 1.3 ข้างต้น หรือในผู้ป่วยในอาการเบาหวานไม่รุนแรง การรักษาลักษณะนี้จะใช้ในบางกรณีเช่น ใน ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 บางราย ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการฉีดก่อนนอนร่วมกับการใช้ยาเม็ด ลดระดับนำ้าตาลหรือในผู้ป่วยเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ 3. อินสุลินชนิดผสม มีที่ใช้ในกรณีที่ต้องใช้สุลิน 2 อย่างผสมกันเพื่อให้ควบคุมระดับนำ้าตาล ในเลือดได้ดียิ่งขึ้น ถ้าสัดส่วนของอินสุลินที่ต้องการใช้มีชนิดที่ผลิตมาสำาเร็จรูปแล้ว การใช้อินสุลินผสมก็ จะสะดวกกว่า ข้อบ่งชี้การใช้จะคล้ายกับในอินสุลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง วิธีการรักษาด้วยอินสุลิน - ในผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉิน เช่น diabetic ketoacidosis, hyperosmolar non- acidotic diabetes ควรใช้อินสุลินชนิดออกฤทธิ์สั้น ให้หยดทางหลอดเลือดดำาอย่างต่อเนื่องหรืออาจฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุกชั่วโมง ภายหลังพ้นจากภาวะฉุกเฉิน ในระยะแรกควรฉีดด้วยอินสุลินชนิดออกฤทธิ์สั้นก่อนรับประทานอาหารทุกมื้อร่วมกับฉีดอินสุลินชนิดออก ฤทธิ์ปานกลางก่อนนอน ( multiple sucutanious injection ) - ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 มักต้องฉีดวันละ 2 ครั้งขึ้นไป โดยใช้อินสุลินชนิดออกฤทธิ์ปาน กลาง หรือชนิดผสม การคาดคะเนปริมาณอินสุลินในระยะเริ่มต้นควรใช้วิธี titration คือฉีดขนาด น้อย ๆ วันละไม่เกิน 20 ยูนิต ในกรณีที่ระดับนำ้าตาลในเลือดไม่สูงมาก โดยแบ่งเป็น 2/3 ในช่วง เช้าและ 1/3 ในช่วงเย็น แล้วค่อย ๆ ปรับขนาดยาตามผลการตรวจเลือด ถ้าต้องใช้อินสุลินชนิดใส ด้วย มักเริ่มด้วย 1/3 ของจำานวนยาในมื้อนั้น ในกรณีนำ้าตาลในเลือดในช่วงเช้ายังสูงโดยที่มีมื้ออื่นคุม ได้ดีแล้วหรือกรณีที่เกิดภาวะนำ้าตาลในเลือดตำ่าในเวลากลางคืนบ่อย ๆ อาจเลื่อนการฉีดอินสุลินชนิดออก ฤทธิ์ปานกลางมาฉีดช่วง 3 ถึง 4 ทุ่มแทนที่จะเป็นก่อนอาหารเย็น สำาหรับสัดส่วนการผสม NPH ต่อ RI ในตอนเช้าสัดส่วนประมาณ 70/30 ส่วนตอนเย็นควรมีสัดส่วนประมาณ 50/50
  • 8. - สำาหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 การฉีดใช้หลักการเดียวกัน คือ ให้ในขนาดน้อย ๆ ก่อน แล้วค่อย ๆ ปรับ แต่ในกรณีนี้มักเริ่มโดยฉีดยาวันละครั้งเดียวในช่วงเช้าก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง - ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่อ้วนและจำาเป็นต้องได้รับการฉีดอินสุลิน ขนาดอินสุลินที่จะควบคุม เบาหวานได้มักจะต้องสูงมาก อาจถึงวันละ 100 ยูนิต ผู้ป่วยที่ต้องฉีดอินสุลินมากกว่าวันละ 60 ยูนิต ควรแบ่งฉีดเป็นวันละ 2 ครั้งหรืออาจพิจารณาการใช้ยาเม็ดลดระดับนำ้าตาลเช่น thiazolididione ร่วมด้วยเพื่อลดขนาดของยาฉีด - ถ้าต้องการให้ระดับนำ้าตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติมากที่สุดอยู่ตลอดเวลาทั้งวัน จำาเป็นต้อง ฉีดอินสุลินวันละมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป การควบคุมอาหารต้องเข้มงวดและที่สำาคัญที่สุดคือ จำาเป็น ต้องเจาะเลือดตรวจระดับนำ้าตาลในเลือดวันละหลายครั้ง การรักษาลักษณะนี้ใช้ในบางกรณีเท่านั้น เช่น ผู้ ป่วยเบาหวานที่ตั้งครรภ์ และเบาหวานชนิดที่ 1 บางราย - การควบคุมระดับนำ้าตาลในเลือดแบบเข้มงวดที่สุดคือ การฉีดอินสุลินชนิดออกฤทธิ์สั้น 3 เวลา ก่อนอาหาร และฉีดอินสุลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลางหรือยาวหรืออาจใช้ basal insulin ฉีดตอน ก่อนนอนซึ่งจะเป็นวิธีการฉีดเลียนแบบธรรมชาติ - ในเวชปฏิบัติทั่วไป การฉีดยาวันละ 2 ครั้งโดยวิธี mixed and split หรือ premixed น่าจะเป็นวิธีการที่เหมาะสมในผู้ป่วยเบาหวาน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายอาจมี ปัญหา hypoglycemia ตอนตี 3 อาจต้องฉีด 3 ครั้งคือเลื่อน NPH ไปฉีดก่อนนอน ใน บางรายอาจมีปัญหา hypoglycemia ในช่วงเช้า อินสุลินมื้อเย็นอาจใช้ short acting อย่างเดียว - การฉีดยามากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป ( multiple injection ) ต้องให้การดูแลผู้ ป่วยอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยจะต้องสนใจในการที่จะดูแลตนเองโดยการทำา home monitoring ซึ่งต้องเจาะเลือดบ่อยๆทั้งก่อนและหลังอาหาร การฉีดยาวิธีนี้ควรเลือกใช้ในผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 1 และผู้ป่วยเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ - การเริ่มฉีดอินสุลิน ในกรณีที่สามารถติดตามดูแลผู้ป่วยใกล้ชิด เช่น นอนรักษาในโรง พยาบาล หรือผู้ป่วยที่สามารถตรวจระดับนำ้าตาลกลูโคสด้วยตนเองได้ อายุไม่มากและอ้วน สามารถเริ่มยา ในขนาด 0.6 ยูนิตต่อกิโลกรัมต่อวัน โดยฉีดแบบ mixed and split จะทำาให้ควบคุมได้ เร็ว ในกรณีที่อาจเกิดอันตรายจากการได้รับอินสุลินขนาดสูง เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ที่มีรูปร่างผอม ระดับกลูโคสไม่สูงมาก ควรเริ่มขนาดน้อยก่อนคือ ประมาณ 10-20 ยูนิตต่อวัน - การปรับขนาดของยานั้น ควรเพิ่มยาเมื่อฉีดไปแล้วประมาณอย่างน้อย 3 วัน ในการ ปรับยาในโรงพยาบาล หรือประมาณ 7 วันในการรักษาแบบผู้ป่วยนอก เนื่องจากความแตกต่างกันใน การดูดซึมในการดูดซึมแต่ละวัน ความแตกต่างในเรื่องอาหาร กิจกรรม ภาวะเครียดต่างๆ และการตอบ สนองของอินสุลิน -สำาหรับการปรับเพิ่มยานั้นพิจารณาปรับยาดังนี้ คือ ปรับ RI ตอนเช้าโดยการดูระดับกลูโคส หลังอาหารเช้าและก่อนอาหารเที่ยง ปรับยา NPH ตอนเช้าโดยการดูระดับกลูโคสก่อนอาหารเย็น ปรับ RI เย็นโดยการดูระดับกลูโคสหลังอาหารเย็นและก่อนนอน ปรับ NPH เย็นโดยการดูระดับ กลูโคสในเวลาก่อนอาหารเช้า การปรับยานี้อาศัยระดับกลูโคสวันที่ผ่านมาเพื่อปรับในวันต่อไป ส่วนใน กรณีที่ฉีด multiple injection อาจปรับแบบ algorithm คือปรับตามระดับกลูโคส ที่เจาะได้ก่อนอาหารโดยปรับ 1-2 ยูนิตต่อระดับกลูโคสที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง 40-50 มก./ดล. และในกรณีที่เริ่มฉีดยาขนาดมากและเพิ่มยาเร็ว เมื่อระดับกลูโคสลดลงมาสู่ปกติ จะทำาให้เกิด post- receptor defect ที่เกิดจากภาวะระดับกลูโคสสูงเป็นเวลานานได้รับการแก้ไข เป็นผลทำาให้ ความต้องการอินสุลินต่อวันลดลง จำาเป็นต้องลดขนาดอินสุลินลง มิฉะนั้นอาจเกิดภาวะนำ้าตาลตำ่าได้
  • 9. การใช้อินสุลินร่วมกับยาเม็ดลดนำ้าตาล - กรณีใช้ร่วมกับ metformin มักจะหวังผลให้เบื่ออาหาร และช่วยลดจำานวนยาฉีดลง - กรณีที่ใช้ร่วมกับ alpha-glucosidase inhibitor มักจะหวังผลลดระดับ นำ้าตาลหลังอาหาร - กรณีใช้ร่วมกับ sulfonylurea มักใช้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่กินยาอยู่ใน ขนาดเต็มที่แล้ว แต่ยังไม่สามารถควบคุมระดับนำ้าตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยที่เชื่อว่ายา ชนิดเม็ดยังมีผลในการลดระดับนำ้าตาลอยู่ควรใช้วิธีฉีดอินสุลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลางขนาดน้อย ๆ (0.1 ยูนิตต่อนำ้าหนักตัว 1 กก.) ช่วงก่อนนอน โดยคงยาเม็ดลดนำ้าตาลเอาไว้เพื่อควบคุมเบาหวาน ให้ดีขึ้น - กรณีใช้ร่วมกับ thiazolidinedone เพื่อช่วยลดจำานวนยาฉีดลง Reference 1. American Diabetes Association. Pharmacologic intervention. In management of type 2 diabetes,4th edition.Verginia : Library of congress, 1998:56-72. 2. Williams G, Pickup JC. Management of type 2 diabetes. In handbook of diabetes,2nd edition.Oxford: Blackwell Science Ltd, 1999:87-94. 3. Schnell U, Mehnert H, Standl E. Oral antidiabetic agents: Sulfonylureas. In diabetes in the new millennium. Sydney: Pot still press,1999:195-202. 4. Kikuchi M. New antidiabetic drugs. In diabetes in the new millennium. Sydney: Pot still press,1999:239-50.. 5. American Diabetes Association: Insulin administration ( Position statement ) Diabetes Care 2001; 24 ( Suppl 1 ):S94-S97. 6. Linde B. The pharmacokinetics of insulin. In : Pickup J, Williams G,eds. Textbook of diabetes. Oxford: Blackwell Science Ltd,1991:371-83. 7. European diabetes policy group. A desktop guide to type 1 ( insulin dependent ) diabetes mellitus. Diabet Med 1999;16:253-6. 8. Yki-Jarvinen H, Kauppila M, Kujansuu E, Lahti J, Marjanen T, Niskanen L, et al. Comparison of insulin regimens in patients with non- insulin dependent diabetes mellitus.N Engl J Med 1992;327(20):1426-33.