SlideShare a Scribd company logo
1 of 45
Download to read offline
แผนงานวิจัยหลัก
การพัฒนารูปแบบการวางแผนการจำ�หน่ายผู้สูงอายุ
โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ
Research for developing of discharge planning model
for elderly patient by multidisciplinary team of
The Supreme Patriarch Center on Aging
งานวิจัยย่อย เรื่อง
รูปแบบการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม
โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
Discharge planning model for elderly patient
with Osteoarthritis by multidisciplinary team
คำ�นำ�
	 ในประเทศไทยปัญหาโรคกระดูกและข้อที่ไม่ได้เกิดจากการบาดเจ็บยัง
พบอยู่เป็นจำ�นวนมาก ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสึกหรอของข้อต่อต่างๆ ของ
ร่างกายภายหลังการใช้งานมานานภาวะข้อเสื่อมตามสภาพร่างกายนั้นจึงเกิดขึ้น
กับทุกคนเมื่อมีอายุมากขึ้น แต่จะเป็นปัญหาสำ�หรับภาวะข้อเสื่อมที่ทำ�ให้เกิด
อาการปวดเท้านั้น โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดถึงร้อยละ 50 ของจำ�นวน
ผู้ป่วยที่ไปพบแพทย์ด้วยอาการปวดข้อที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป บางรายพบตั้งแต่อายุ
30ปีพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายและมีอาการปวดรุนแรงมากกว่าในจำ�นวนนี้
พบว่าเป็นอาการของข้อเข่าเสื่อมและอักเสบถึงร้อยละ 28.34 เนื่องจากเป็นข้อที่
รับนํ้าหนักและใช้งานมากการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมนับว่ามีความสำ�คัญที่จะ
ช่วยให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการดูแลช่วยเหลือตนเองลดอาการปวด ลดอาการ
แทรกซ้อน ชะลอการเสื่อมของข้อ ป้องกันความพิการ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
	 ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ จึงจัดทำ�คู่มือการดูแล
ตนเองโรคข้อเข่าเสื่อมฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดย
สหสาขาวิชาชีพขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไปมีแนวทางการดูแลตนเอง
โรคข้อเข่าเสื่อมที่สามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ได้ โอกาสนี้ใคร่ขอขอบคุณคณะทำ�งาน
และผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่สละเวลาและทุ่มเทแรงกายแรงใจให้คู่มือฉบับนี้ สำ�เร็จ
ลุล่วง เพื่อเผยแพร่เป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์และสาธารณสุขต่อไป
	 คณะทำ�งานวิจัย
	 มกราคม 2554
กคู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
ข คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
สารบัญ
หน้า
โรคข้อเสื่อม 			 1
พยาธิสภาพของข้อเสื่อม 	 2
ปัจจัยเสี่ยง 			 3
อาการและอาการแสดงของเข่าเสื่อม 	 4
แนวทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม 	 6
อาหารสำ�หรับผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม 	 11
แนวทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค 	 12
ตัวอย่างปริมาณอาหาร 1 ส่วน	 14
ตัวอย่างท่าการออกกำ�ลังกายข้อเข่าเสื่อม 	 21
ข้อแนะนำ�ในการออกกำ�ลังกายสำ�หรับข้อเข่าเสื่อม 	 31
บรรณานุกรม 		 33
คคู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
ง คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
1
โรคข้อเสื่อม
(Degenerative joint disease)
	 โรคข้อเสื่อมเป็นโรคในกลุ่มข้ออักเสบ (Osteoarthritis, OA) ชนิดหนึ่งที่
พบได้บ่อยที่สุด พบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป โดยพบว่า
ในกลุ่มผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 45 ผู้ชายเป็นมากกว่าผู้หญิง ในกลุ่มอายุมากกว่า 45 ปี
ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย และในผู้ที่มีอายุเกินกว่า75 ปีขึ้นไปทั้งชายและหญิงจะมี
ข้อเสื่อมมากกว่าร้อยละ 80 - 90 แต่อาจมีอาการต่างกันไป เช่น มีข้อเสื่อมแต่ไม่มี
อาการปวดถ้าไม่ใช้งานข้อนั้นๆ มาก ข้อต่อที่มักพบการเสื่อม ได้แก่ ข้อนิ้ว ข้อเข่า
ข้อสะโพก ข้อกระดูกหลังทั้งกระดูกสันหลังระดับคอ และกระดูกสันหลังระดับเอว
ดังแสดงในรูปที่ 1
รูปที่ 1 	แสดงตำ�แหน่งเกิดโรคข้อเสื่อมที่พบบ่อย ได้แก่ บริเวณข้อนิ้วมือ ข้อเข่า
ข้อสะโพก และกระดูกสันหลัง
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
2
พยาธิสภาพของข้อเข่าเสื่อม
	 การดำ�เนินของโรคข้อเสื่อมเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ปกติแล้ว
ผิวกระดูกอ่อนที่อยู่ปลายกระดูกยาวจะช่วยให้ข้อเคลื่อนไหวราบลื่นและ
รองรับแรงกระแทกจากการลงนํ้าหนักได้ดี แต่ในผู้สูงอายุที่มีอาการของ
โรคข้อเข่าเสื่อม พบว่ามีการสึกกร้อนบริเวณผิวกระดูกอ่อนทำ�ให้กระดูกบริเวณ
ข้อต่อเกิดการเสียดสีกันและเกิดเสียงดังกรอบแกรบที่เรียกว่าข้อลั่นร่วมกับมีการ
อักเสบซึ่งมีอาการแสดงปวดบวมแดงร้อนบริเวณข้อนั้น การเสื่อมสลายของผิว
ในของข้อต่อ การอักเสบซํ้าๆ จะได้รับการตอบสนองโดยมีกระดูกงอก เมื่อมีการ
เสื่อมของข้อเป็นระยะเวลานานอาการมักเริ่มด้วยอาการปวดตลอดเวลาโดยเฉพาะ
ตอนกลางคืนและในขณะที่มีการเคลื่อนไหวข้อข้อติดในตอนเช้าหลังตื่นนอนหรือ
อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน แต่จะเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น เมื่อขยับข้อสักครู่หนึ่ง
ผู้สูงอายุจึงไม่พยายามขยับข้อมากนัก เมื่อร่วมกับการมีนํ้าหนักตัวมากขึ้นและ
กล้ามเนื้อรอบข้ออ่อนแรง จะทำ�ให้เกิดการผิดรูปของข้อต่อ ทำ�ให้ปวดข้อมากขึ้น
เมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อ โดยเฉพาะข้อเข่า และข้อสะโพกที่ต้องรับนํ้าหนักของ
ร่างกาย ดังตัวอย่างข้อเข่าเสื่อมที่แสดงในรูปที่ 2
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
3
รูปที่ 2 	แสดงภาพข้อเข่าปกติเปรียบเทียบกับข้อเข่าที่เกิดภาวะข้อเสื่อม
ปัจจัยเสี่ยง
	 โรคข้อเข่าเสื่อมมีปัจจัยเสี่ยงหลายองค์ประกอบ ได้แก่
	 1. 	อายุ เป็นองค์ประกอบที่สำ�คัญที่สุด อายุที่มากขึ้นจะมีความชุกของ
ข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้น
	 2. 	โรคเมตาบอลิค เช่น โรคเก๊าท์ โรคเก๊าท์เทียม โครงเชื่อมกระดูกอ่อน
แข็งขึ้นกว่าปกติ ทำ�ให้การรับส่งแรงของข้อเข่าเปลี่ยนแปลงส่งผลทำ�ให้พบ
โรคข้อเข่าเสื่อมบ่อยขึ้น
	 3. 	โรคข้อที่มีการอักเสบ ผลจากเยื่อบุข้ออักเสบทำ�ให้เกิดการทำ�ลาย
โครงสร้างของกระดูกอ่อน เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
	 4. 	ความอ้วน บางรายงาน พบว่าโรคข้อเสื่อมเป็นมากขึ้นในคนอ้วน
โดยเฉพาะเพศหญิง และเกิดกับข้อที่รับนํ้าหนัก เช่น ข้อเข่า
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
4
	 5. 	ปัจจัยการรับแรงกระทำ�ที่ข้อเข่าเบี่ยงเบนไป เช่น การใช้งาน
มากเกินไป ทำ�ให้แนวเข่าโก่งงอกว่าปกติ การได้รับบาดเจ็บของข้อ
	 6. 	พันธุกรรม โรคข้อเสื่อมมีหลักฐานการถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่ที่
ตำ�แหน่งของข้อเข่ามีหลักฐานทางพันธุกรรมน้อยกว่าที่ข้อนิ้วมือ
	 7. 	กีฬาและการออกกำ�ลัง ประเภทที่เสี่ยงคือ ประเภทที่มีการกระแทก
ที่รุนแรงและซํ้าที่ต่อข้อ และประเภทที่มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บจากการกระแทก
อาการและอาการแสดงโรคข้อเข่าเสื่อม
อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม
	 1. 	ปวด มีลักษณะปวดตื้อๆทั่วๆไปบริเวณข้อ ไม่สามารถระบุตำ�แหน่ง
ชัดเจนได้และมักปวดเรื้อรังอาการปวดจะมากขึ้นเมื่อมีการใช้งาน หรือลงนํ้าหนัก
ลงบนข้อนั้นๆ และจะทุเลาลง เมื่อพักการใช้งาน เมื่อการดำ�เนินโรครุนแรงขึ้นอาจ
ทำ�ให้มีอาการปวดตลอดเวลา หรือปวดในช่วงเวลากลางคืนร่วมด้วย
	 2. 	ข้อฝืดตึง พบได้บ่อย จะมีการฝืดของข้อในช่วงเช้าและช่วงหลังจาก
การพักข้อนานๆ เช่นหลังจากตื่นนอนหรือนั่งนานๆ แต่มักไม่เกิน 30 นาที อาจพบ
อาการฝืดเกิดขึ้นชั่วคราวในท่างอหรือเหยียดข้อในช่วงแรกที่เรียกว่าปรากฏการณ์
ข้อฝืด
	 3. 	ข้อใหญ่ผิดรูป พบมีข้อบวมใหญ่ซึ่งเกิดจากกระดูกที่งอกโปนบริเวณ
ข้อ และเมื่อโรครุนแรงมากขึ้น อาจพบขาโก่ง ซึ่งพบได้บ่อยกว่าเข่าฉิ่ง อาจมีการ
บวมจากนํ้าซึมซ่านในข้อ อันเป็นผลจากการอักเสบในข้อเข่า แต่การบวมไม่ใช้
อาการจำ�เพาะของข้อเข่าเสื่อม
	 4. 	มีเสียงดังกรอบแกรบ ในข้อเข่าขณะเคลื่อนไหว
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
5
	 5. 	ทุพพลภาพในการเคลื่อนไหวและการทำ�งานมีความลำ�บากในการ
นั่ง ลุก เดิน หรือขึ้นลงบันได และหากเป็นมากอาจรบกวนการทำ�งานในหน้าที่
ประจำ�วัน ทำ�ให้คุณภาพชีวิตด้อยลง
	 6. 	ข้อเข่าเคลื่อนไหวได้จำ�กัด เหยียดตรงได้ลำ�บาก และเมื่อมีอาการ
มากขึ้น จะทำ�ให้งอเข่าได้ลดลงด้วย
อาการแสดงของข้อเข่าเสื่อม
	 ผู้ที่เป็นโรคข้อเสื่อมส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดงก่อนอายุ 40 ปีนอกจาก
ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุของข้อต่อและในผู้ที่อ้วนมากๆ หากแต่อาการของโรคข้อเสื่อมที่
เกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปสามารถสังเกตได้จากภาพถ้ายรังสีอาการแสดงของโรค
ข้อเสื่อมสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่
	 1. 	ระยะเริ่มต้น อาการแสดงที่สำ�คัญ คือ อาการปวด บวม แดงร้อน
ของข้อ
	 2. 	ระยะปานกลาง ในระยะนี้จะพบว่าผู้สูงอายุจะมีอาการปวดเมื่อย
ร่วมกับมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อมากขึ้น เริ่มสังเกตเห็นการผิดรูป
ของข้อ ซึ่งจะสามารถมองเห็นการโก่ง งออย่างชัดเจน การเคลื่อนไหวของข้อเริ่ม
ติดขัด
	 3. 	ระยะรุนแรง อาการแสดงในระยะนี้จะพบเมื่อมีการสึกกร้อนของ
กระดูกอ่อนอย่างมาก ทำ�ให้ข้อหลวม ไม่มั่นคง และผิวข้อหนาตัวขึ้นจากกระดูก
งอกหนา ข้อโก่ง งอ ผิดรูปชัดเจน งอหรือเหยียดเข่าได้ไม่สุดช่วงการเคลื่อนไหว
เมื่อเดินต้องกางขาให้กว่างขึ้น เพื่อสร่างความมั่นคงกล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล็กลง
ขณะลุกขึ้นจากท่านั่ง และขณะเดินขึ้นลงบันไดจะมีอาการปวดที่รุนแรง อาจมี
เสียงดังกรอบแกรบ ในข้อขณะเคลื่อนไหว
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
6
แนวทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
	 การรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในทางปฏิบัติเริ่มจากการรักษาที่ไม่ใช้ยา
การใช้ยา และการผ่าตัด ดังแสดงในรูปที่ 3
รูปที่ 3 ขั้นตอนการรักษาโรคข้อเสื่อม
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
7
การรักษาโดยวิธีไม่ใช้ยา
	 1. 	การให้ความรู้เรื่องข้อเข่าเสื่อมการดำ�เนินของโรคและการลดปัจจัย
เสี่ยงต่างๆ เพื่อลดความเจ็บปวดและเพิ่มทักษะการอยู่ร่วมกับโรคการให้ความรู้
อาจเป็นแบบเฉพาะตัวหรือเป็นกลุ่มย่อย ดังนี้
		 	 การพัก ช่วยป้องกันข้อไม่ให้เสียหายเพิ่มขึ้น ควรพักการใช้งาน
ของข้อนั้นในช่วงที่มีการอักเสบเฉียบพลันและมีอาการปวดมาก เมื่ออาการปวด
ลดลงจึงเริ่มให้มีการเคลื่อนไหวเบาๆ เท่าที่จะทำ�ได้
		 	 การปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำ�วันและหลีกเลี่ยงกิจกรรมบาง
อย่าง เช่น ลดการเดินขึ้นลงบันได หลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานๆ
ไม่นั่งพับเพียบ ไม่คุกเข่า ไม่นั่งยองๆ ไม่นั่งขัดสมาธิ
		 	 การลดปวดด้วยการประคบความร้อน หรือความเย็น
	 2. 	การออกกำ�ลังกายและการบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า เป็นธีการ
รักษาที่ได้ผลดีสำ�หรับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม มีประสิทธิภาพในการลดอาการปวด
รวมทั้งเพิ่มความสามารถในการใช้งานข้อเข่า รูปแบบอาจเป็นการออกกำ�ลังกาย
บนบกหรือในนํ้า ที่โรงพยาบาลหรือบ้าน ส่วนชนิดของการออกกำ�ลังกายที่ดี
ประกอบด้วย
		 	 การบริหารเพื่อเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวข้อเข่า ให้ข้อมีช่วงการ
เคลื่อนไหวได้มากเท่าที่จะทำ�ได้โดยไม่เจ็บ มีความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและ
เนื้อเยื่อรอบข้อป้องกันการตึงและยึดติด
		 	 การบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าขาและ
กล้ามเนื้อท้องขา ที่มีการเกร็งกล้ามเนื้อโดยไม่มีการเคลื่อนไหวข้อ ช่วงสั้นๆ วิธีนี้
อาจให้ทำ�ได้ในขณะที่มีอาการปวดข้อ หรือขณะที่มีการอักเสบเฉียบพลัน
เพื่อป้องกันการฝ่อลีบจากการไม่ได้ใช้งานและรักษาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
โดยให้เกร็งค้างไว้ 5 - 6 วินาที พักประมาณ 10 วินาที ให้ทำ�ซํ้า 10 ครั้งถือเป็น 1
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
8
ชุด ทำ� 1 - 2 ชุดต่อเนื่อง หากไม่เมื่อยหรือปวดมากขึ้นอาจทำ�ๆ พักๆ ได้ตลอดวัน
ยกเว้น ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงการออกกำ�ลังกายด้วย
วิธีนี้เพราะทำ�ให้มีแรงต้านทานของเส้นเลือดส่วนปลายเพิ่มขึ้นและทำ�ให้	
ความดันโลหิตสูงได้
		  	การบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแบบที่กล้ามเนื้อ
รอบเข่ามีการเคลื่อนไหว ให้เริ่มวิธีนี้เมื่อการอักเสบทุเลาลงแล้วการออกกำ�ลังวิธีนี้
จะเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยเพิ่มความต้านทาน ทีละน้อย อาจใช้การจัด
ท่าให้ออกกำ�ลังต้านแรงโน้มถ่วงของโลก การต้านด้วยการใช้แขนหรือขาด้านตรง
ข้ามฝืนไว้ การต้านด้วยการใช้ตุ้มนํ้าหนัก ถุงทราย ดัมเบล ขวดนํ้า สปริง แนะนำ�
ให้ทำ� 10 ครั้งต่อชุด ทำ� 3 ชุด สัปดาห์ละ 2 - 3 วัน แต่นํ้าหนักที่ใช้ต้องไม่มาก
เกินไป
		  	การออกกำ�ลังแบบแอโรบิค เป็นการออกกำ�ลังกายเพื่อความ
ฟิตพร้อมของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น หัวใจแข็งแรง ปอดดี กระดูกไม่บาง
กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ กระชับ มีความแข็งแรงและใช้งานได้ทนทาน ได้แก่ การ
เดินช้าๆ การปั่นจักรยาน หรือการออกกำ�ลังกายในนํ้าซึ่งจะดีมากสำ�หรับผู้ป่วย
ข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากนํ้ามีแรงพยุงตัวทำ�ให้ข้อเข่ารับนํ้าหนักน้อยลงขณะ
ออกกำ�ลังกายนอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการออกกำ�ลังชนิดที่มีแรงกระทำ�ต่อข้อ
มากๆ เช่น การวิ่ง การกระโดดเชือก หรือการเต้นแอโรบิคที่มีการกระโดด
จะเป็นผลร้ายต่อข้อเข่ามากกว่าผลดี
	 3.	 การใช้อุปกรณ์ เครื่องช่วยต่างๆ พิจารณาตามความรุนแรงของโรค
และสภาวะผู้ป่วยการใช้เครื่องช่วยพยุงข้ออุปกรณ์รัดข้อชนิดต่างๆ จะเสริมความ
มั่นคงของข้อให้กระชับขึ้น ลดโอกาสการผิดรูปของข้อ
		 	 การใช้ไม้เท้าหรือร่มจะช่วยแบ่งเบาแรงกระทำ�ต่อข้อเข่าได้
ประมาณร้อยละ 25 ของนํ้าหนักตัว ในกรณีที่ปวดมากควรถือไม้เท้าหรือร่มใน
มือด้านตรงข้ามกับข้างที่ปวด เพื่อช่วยในการลดแรงกระทำ�ต่อข้อ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
9
		  	การเสริมรองเท้าเป็นลิ่มทางด้านนอก (heel wedging) ในผู้ที่
เริ่มมีขาโก่งน้อยๆ มีรายงานว่าได้ผลดีต่อข้อเข่า
		 	 การใช้สนับเข่าช่วยเพิ่มประสาทสัมผัส ช่วยเสริมความมั่นคง
ข้อเข่า รวมทั้งช่วยลดอาการปวดข้อเข่า
	 4. 	การลดนํ้าหนัก นํ้าหนักที่เกินจะกระตุ้นการเสื่อมของข้อเข่าโดยตรง
แม้จะได้ยาจากแพทย์แต่หากนํ้าหนักตัวยังมากอยู่ ข้อเข่าก็จะมีโอกาสอักเสบ
ได้อีก การตรวจสอบนํ้าหนักตัวว่าอยู่ในเกณฑ์ตามอายุหรืออ้วนเกินไปใช้ดัชนี
มวลกาย (Body mass index, BMI) หาได้จากนํ้าหนักตัวในหน่วยกิโลกรัมหาร
ด้วยส่วนสูงในหน่วยเมตรยกกำ�ลังสอง) คนที่รูปร่างสมส่วนมีค่า ดัชนีมวลกาย
ไม่เกิน 25 กก./ม2
หาก ดัชนีมวลกายเกิน 30 กก./ม2
จัดว่าอ้วน การควบคุม
นํ้าหนักทำ�ได้ด้วยการควบคุมทั้งชนิดและปริมาณอาหาร อาทิการลดอาหาร
รสหวาน งดของมันรับประทานอาหารแต่พออิ่ม ดื่มนํ้าให้มาก
	 5.	 การรักษาทางกายภาพบำ�บัด ได้แก่ การบำ�บัดด้วยความร้อนหรือ
ความเย็น ความร้อนตื้นและความร้อนลึก เลเซอร์ การบำ�บัดด้วยกระแสไฟฟ้า
ความถี่ตํ่า และการใช้สนามแม่เหล็ก เพื่อลดอาการเจ็บปวดและลดการอักเสบ
ของข้อ รวมไปถึงการให้คำ�แนะนำ�ในการปฏิบัติตนการออกกำ�ลังกายเฉพาะ
โรคข้อเสื่อม เพื่อป้องกันการเกิดความพิการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
	 6. 	การใช้วิธีการอื่นๆ ได้แก่ การฝังเข็ม ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนใน
ด้านประสิทธิภาพของการรักษา แต่อาจนำ�มาใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดและเพิ่ม
ประสิทธิภาพของการใช้ข้อเข่าวิธีการเหล่านี้ควรให้แพทย์ผู้ชำ�นาญเฉพาะทางเป็น
ผู้พิจารณาสั่งการรักษา
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
10
การรักษาโดยวิธีใช้ยา
	 การใช้ยา จุดประสงค์หลักของการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดทำ�ให้
ผู้ป่วยสามารถมีการเคลื่อนไหวและใช้ข้อทำ�งานได้ดีขึ้น ในปัจจุบันมีการใช้
ยาหลายชนิดในการรักษาอาการปวด และการอักเสบในโรคข้อเสื่อม ได้แก่
ยา acetaminophen ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ (Nonsteroidal
anti-inflammatory drugs: NSAIDS) ยาระงับอาการ
	 ปวดที่เข่าสารเสพติด(Narcoticanalgesics)รวมทั้งการให้ยาทางช่องข้อ
(Intrasynovial medication) นอกจากนี้ยังมีการศึกษาการใช้ยาในกลุ่มที่
เรียกว่ายาระงับอาการปวดที่ออกฤทธิ์ช้า (Symptomatic slowacting drugs)
ในโรคข้อเสื่อมเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างของยากลุ่มนี้ ได้แก่ glucosamine sulfate,
chondroitin sulfate และ diacerein เป็นต้น มีรายงานการใช้ยากลุ่มนี้เป็น
ระยะเวลานานอาจมีผลชะลอไม่ให้ข้อเสื่อมมากขึ้น หรืออาจมีส่วนทำ�ให้กระดูก
ผิวข้อเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นด้วย
การรักษาโดยวิธีผ่าตัด
	 การผ่าตัด จะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการใช้ยา และวิธีการ
ใช้ยาแล้วไม่ได้ผล ผู้ป่วยยังคงมีอาการปวดอยู่มาก หรือมีข้อถูกทำ�ลายอย่างมาก
และมีข้อผิดรูปเกิดขึ้น หรือมีภาวะแทรกซ้อน เช่น มีกระดูกทรุดตัว เป็นต้น การ
รักษาด้วยวิธีการผ่าตัดมีหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อบ่งชี้ในการทำ� ข้อดีและข้อเสีย
ที่แตกต่างกันออกไป อาจมีการส่องกล้องเข้าในข้อเข่า เพื่อขจัดสิ่งแปลกปลอม
และตกแต่งสภาพในข้อ การตัดแต่งกระดูกและจัดกระดูกที่โก่งงอให้ตรง รวมถึง
การเปลี่ยนข้อเทียม
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
11
อาหารสำ�หรับผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม
	 โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นภาวะเสื่อมที่มีผลต่อข้อและเนื้อเยื่อ
ของข้อ มีอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อมีการใช้งานของอวัยวะส่วนนั้น
ต่อมามีอาการข้อบวม ฯลฯ เมื่ออาการมากในขั้นท่ายๆ ข้อจะมีลักษณะผิดรูป
ผิดร่าง นอกจากการรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวดหรือการอักเสบเพื่อ
ป้องกันการลุกลามของโรคแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่น่าจะเป็นประโยชน์
	 กลูโคซามีนซัลเฟต (Glucosamine sulfate) เป็นสารประกอบที่พบใน
รูปแบบของยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยทั่วไปมักรับประทานในขนาดวันละ
1,500 มิลลิกรัม การศึกษาในหลอดทดลอง พบว่ากลูโคซามีนซัลเฟตมีผลกระตุ้น
การสังเคราะห์และยับยั้งการสลายตัวของโปรติโอไกลแคน (Proteoglycans) ซึ่ง
เป็นส่วนประกอบสำ�คัญในกระดูกอ่อนที่ทำ�หน้าที่กันการกระแทกระหว่างกระดูก
ข้อ นอกจากนี้กลูโคซามีนยังแสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบอย่างอ่อนๆ ด้วย สำ�หรับ
การศึกษาทางคลินิก (การศึกษาในมนุษย์) พบว่า ผลการรักษาคล้ายคลึงกับยา
ต้านการอักเสบ กลุ่มที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ (NSAIDs) แต่ผลเริ่มต้นจะช้ากว่า และ
การบรรเทาอาการจะค่อยเป็นค่อยไป ไม่รวดเร็วเหมือนการใช้ยา ผลการบรรเทา
อาการมีตั้งแต่ปานกลางไปจนถึงมาก (รายงานการศึกษา 14 ใน 15 ฉบับ) ข้อดี
ของกลูโคซามีนซัลเฟต เหนือ ยาต้านการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ (NSAIDs)
คือ ชะลอการเคลื่อนตัวเข้าหากันของข้อกระดูกที่ข้อเข่าเห็นผลนี้ชัดเจนเมื่อใช้ใน
ระยะยาว ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปและต่อเนื่องไป ชัดเจนมากขึ้นอีกหลัง 3 ปี
	 อาการไม่พึงประสงค์ ที่พบบ่อย คือ คลื่นไส้ ท้องเสีย แสบท้อง ปวดท้อง
อาการอื่นๆที่พบไม่บ่อยคือมึนงงปวดศีรษะนอนไม่หลับบวมอาการทางผิวหนัง
หัวใจเต้นเร็วข้อควรระวังคือไม่ควรใช้ในคนที่แพ้อาหารทะเลเนื่องจากกลูโคซามีน
อาจเตรียมจากสัตว์ทะเล อาจทำ�ให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
12
	 การลดนํ้าหนักเป็นแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมอย่างหนึ่ง
เนื่องจากเวลายืนเดิน เข่าต้องรับนํ้าหนัก 3 - 4 เท่าของนํ้าหนักตัวในผู้ที่มี
นํ้าหนักตัวมาก เข่าจะยิ่งต้องรับนํ้าหนักมากกว่าปกติ ดังนั้นการลดนํ้าหนักจะช่วย
ลดแรงกระทำ�ต่อข้อเข่าได้มาก แบบแผนการลดนํ้าหนักที่ถูกต้องประกอบด้วย
3ประการคือการเรียนรู้โภชนาการที่ดีการออกกำ�ลังกายและเรียนรู้การปรับเปลี่ยน
พฤติกรรม
แนวทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
	 1. 	กินให้ครบ3มื้อตามเวลาอาหารห้ามงดมื้อใดมื้อหนึ่งเพราะจะทำ�ให้
หิวและกินมากในมื้อถัดไป
	 2. 	ห้ามงดอาหารเช้า การงดอาหารเช้าจนเป็นนิสัยทำ�ให้การเผาผลาญ
ลดลงจากปกติ 1 - 2% อาจทำ�ให้นํ้าหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ 4 กิโลแคลอรี่ ใน 1 ปี แม้ว่า
ไม่ได้กินเพิ่มก็ตาม
	 3. 	งดการกินอาหารจุกจิก ควรดื่มเครื่องดื่มที่ไม่มีพลังงาน เช่น นํ้า
นํ้าตะไคร้ นํ้าใบเตย นํ้าชา จะลดความรู้สึกหิวได้
	 4. 	หลีกเลี่ยงการกินอาหารกลางคืนหรือใกล้เวลานอน
	 5. 	งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งกระตุ้นความอยากอาหาร
	 6. 	กินช้าๆเคี้ยวช้าๆการรีบร้อนทำ�ให้กินเกินอัตรากลไกการส่งสัญญาณ
ความอิ่มระหว่างกระเพาะอาหารและสมองใช้เวลาประมาณ 20 นาที
	 7. 	แยกแยะความหิวและความอยากให้ชัดเจน คนอ้วนมักกินเพราะ
ความอยากและความเคยชินมากกว่าหิว
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
13
	 วิธีลดไขมันในอาหาร
	 1. 	ใช้ปิรามิดแนะแนวอาหารหรือธงโภชนบัญญัติของคนไทยเป็น
แนวทางในการเลือกอาหาร
	 2. 	เลี่ยงอาหารทอดกรอบ อาหารผัดมาก หรือหนังสัตว์
	 3. 	รู้จักแยกแยะไขมันซ้อนรูป และเรียนรู้ปริมาณที่กิน เช่นไอศกรีม
ถั่วเปลือกแข็งประเภทนัท เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน เป็นต้น
	 4. 	เลือกเนื้อล้วนไม่ติดมันและจำ�กัดไม่เกินวันละ 6 ส่วนแลกเปลี่ยน
	 5. 	เลือกอาหารทะเลโดยเฉพาะปลา และเต้าหู้มากขึ้น
	 6. 	เพิ่มผัก ผลไม้
	 7. 	ลดอาหารแป้งและนํ้าตาล
	 8. 	งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ปริมาณอาหารที่แนะนำ� 1 วัน สำ�หรับผู้ป่วยที่มีนํ้าหนักตัวเกิน
(พลังงาน 1,200 กิโลแคลอรี่)
กลุ่มอาหารต่างๆ ปริมาณที่แนะนำ�
ข้าว แป้ง 6 ทัพพี
ผัก 3 - 4 ทัพพี
ผลไม้ 2 - 3 ส่วน
เนื้อสัตว์ไขมันตํ่า 5 ช้อนโต๊ะ
นมพร่องมันเนย 1 แก้ว
นํ้ามันพืช 3 - 4 ช้อนชา
นํ้าตาลทราย ไม่เกิน 3 ช้อน
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
14
ตัวอย่างปริมาณอาหาร 1 ส่วน
	 1.	 ข้าว แป้ง 1 ทัพพี มีพลังงาน 80 กิโลแคลอรี่
	
	 ข้าวกล้อง 1 ทัพพี 	 วุุ้นเส้น 1 ทัพพี
	 ขนมปัง 1 แผ่น 	 ข้าวเหนียว 1 ทัพพี
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
15
	 2. 	ผัก 1 ทัพพี มีพลังงาน 25 กิโลแคลอรี่
	 กะหลํ่าดอก 1 ทัพพี 	 ข้าวโพดอ่อน 1 ทัพพี
	 ผักบุ้งจีน 1 ทัพพี 	 มะเขือเทศ 1 ทัพพี
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
16
	 3. 	ผลไม้ 1 ส่วน มีพลังงาน 60 กิโลแคลอรี่
	 มะละกอสุก 1 ส่วน	 มังคุด 1 ส่วน
	 แก้วมังกร 1 ส่วน	 กล้วยนํ้าว้า 1 ส่วน
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
17
	 4. 	เนื้อสัตว์ไขมันตํ่า 2 ช้อนโต๊ะ มีพลังงาน 55 กิโลแคลอรี่
	 เนื้อหมู 2 ช้อนโต๊ะ 	 ปลาทู 1 ตัว
	 ลูกชิ้น 5 ลูก 	 เต้าหู้ หลอด
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
18
	 5. 	นมพร่องมันเนย 1 แก้ว (240 ซีซี) มีพลังงาน 120 กิโลแคลอรี่
นมพร่องมันเนย 1 แก้ว
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
19
	 6. 	นํ้ามันพืช ไขมัน 1 ส่วน พลังงาน 45 กิโลแคลอรี่
	 นํ้ามันพืช 1 ช้อนชา 	 เนย ก่อน
	 หัวกะทิ 1 ช้อนโต๊ะ 	 นํ้าสลัด 1 ช้อนโต๊ะ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
20
	 7. 	นํ้าตาลทราย 1 ช้อนชา พลังงาน 20 กิโลแคลอรี่
นํ้ามันตาลทราย 1 ช้อนชา
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
21
ตัวอย่างท่าการออกกำ�ลังกายข้อเข่าเสื่อม
	 ข้อเข่าเสื่อมถือเป็นความเสื่อมทางโครงสร่างที่ไม่สามารถนำ�กลับคืนมาได้
การออกกำ�ลังกายเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำ�หรับโรคข้อเสื่อม สามารถช่วยปรับ
สภาพอารมณ์และรูปลักษณ์ของร่างกายช่วยลดอาการปวดช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น
ช่วยให้การไหลเวียนเลือดและหัวใจทำ�งานดีขึ้น ช่วยควบคุมนํ้าหนัก และช่วยเพิ่ม
สมรรถภาพทางกายโดยรวมให้ดีขึ้น
1. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา
ท่าที่ 1 นอน - กดเข่า
	 นั่งเหยียดขาข้างที่จะออกกำ�ลังใช้หมอนเล็กรองใต้เข่าออกแรงกล้ามเนื้อ
หน้าขากดหมอนลงโดยปลายเท้าไม่ยกลอย เกร็งค้างไว้ นับ 1 ถึง 10 พัก (ไม่นาน)
ทำ�ซํ้า 10 ครั้งต่อเนื่อง (นับเป็น 1 เซต) ให้ทำ� 3 เซต วันละ 3 รอบ (ท่านี้เหมาะ
มากสำ�หรับผู้ที่ขยับเข่ามากแล้วเจ็บ)
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
22
ท่าที่ 2 นั่ง - เหยียดเข่า
	 นั่งห้อยขาบนเก้าอี้ อาจมีหมอนเล็กรองใต้เข่า เหยียดข้อเข่าให้ขายืน
ออกตรงๆ อย่างช้าๆ เกร็งเข่าค้างไว้ นับ 1 ถึง 10 แล้วค่อยๆ วางขาลงอย่างช้าๆ
(นับเป็น 1 เซต) พัก แล้วเหยียดขาอีกข้างหนึ่ง แบบเดียวกัน ทำ�สลับกันข้างละ
10 ครั้งต่อเนื่อง ให้ทำ� 3 เซต วันละ 3 รอบ
ท่าที่ 3 นอน – เหยียดเข่า - ยกขา
	 นอนหงาย เหยียดขาข้างที่จะออกกำ�ลังให้ตรง ชันเข่าอีกข้างหนึ่งไว้
ยกขาข้างที่เหยียดตรงให้สูงจากพื้นประมาณ 12 - 18 นิ้ว ค้างไว้ 3-10 วินาที
แล้วปล่อยวางลงช้าๆ พัก (ไม่นาน) ทำ�ซํ้า 10 ครั้ง ต่อเนื่อง (นับเป็น 1 เซต) ให้ทำ�
3 เซต วันละ 3 รอบ (เมื่อเก่งขึ้นอาจเพิ่มถุงทรายนํ้าหนักที่ข้อเท้า เพื่อเพิ่ม
ความแข็งแรง)
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
23
ท่าที่ 4 นอนควํ่า - งอเข่า
	 นอนควํ่าโดยให้ขาทั้งสองข้างเหยียดตรงพับเข่าข้างหนึ่งให้งอมาชิดกันให้
มากที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ ค้างไว้ 3 - 10 วินาที แล้วปล่อยวางลงช้าๆ พัก (ไม่นาน)
ทำ�ซํ้า 10 ครั้งต่อเนื่อง (นับเป็น 1 เซต) ให้ทำ� 3 เซต วันละ 3 รอบ (เมื่อเก่งขึ้น
อาจเพิ่มถุงทรายนํ้าหนักที่ข้อเท้า เพื่อเพิ่มความแข็งแรง)
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
24
ท่าที่ 5 นอนควํ่า-ยกขา
	 นอนควํ่า ยกขาข้างที่จะออกกำ�ลังขึ้นโดยเข่าเหยียดตรงวางลงช้าๆ
พัก (ไม่นาน) ทำ�ซํ้า 10 ครั้งต่อเนื่อง (นับเป็น 1 เซต) ให้ทำ� 3 เซต วันละ 3 รอบ
(ในคนอ้วนมากหรือมีปัญหาระบบหายใจ หัวใจ ไม่ควรนอนควํ่า)
ท่าที่ 6 ยืน-ย่อเข่า
	 - 	 ยืนตรงด้วยขา 2 ข้าง หรือขาข้างเดียว มือจับพนักเก้าอี้ไว้ค่อยๆ
ย่อเข่าลงเพียงเล็กน้อย (อย่าให้เกิน 30 องศา) โดยลำ�ตัวเหยียดตรง แล้วค่อยๆ
เหยียดตัวขึ้นตรง พัก (ไม่นาน) ทำ�ซํ้า 10 ครั้งต่อเนื่อง (นับเป็น 1 เซต) ให้ทำ�
3 เซต วันละ 3 รอบ (หากมีนํ้าหนักตัวมากหรือเข่าเสื่อมมาก ไม่ควรทำ�ท่านี้)
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
25
ท่าที่ 7 พิงผนัง - ย่อเข่า
	 สำ�หรับผู้สูงอายุให้ทำ�ท่าย่อเข่าโดยการยืนพิงผนังห่างจากผนังประมาณ
1 ฟุต กดหลังให้แนบฝา ค่อยๆ ย่อเข่าลง เกร็งไว้ 5 - 10 วินาที แล้วค่อยๆ เหยียด
ตัวขึ้นตรง พัก (ไม่นาน) ทำ�ซํ้า 10 ครั้งต่อเนื่อง (นับเป็น 1 เซต) ให้ทำ� 3 เซต
วันละ 3 รอบ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
26
ท่าที่ 8 นอนตะแคง - ยกขา - หุบ
	  	นอนตะแคง ขาข้างที่จะออกกำ�ลังอยู่ด้านล่าง ขาอีกข้างวางบนเก้าอี้
ยกขาด้านล่างขึ้นมาให้ชิดเก้าอี้ วางลงช้าๆ พัก (ไม่นาน) ทำ�ซํ้า 10 ครั้งต่อเนื่อง
(นับเป็น 1 เซต) ให้ทำ� 3 เซต วันละ 3 รอบ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
27
ท่าที่ 9 นอนตะแคง - ยกขา - กาง
	 นอนตะแคง เหยียดขา 2 ข้างตรง ยกขาที่อยู่ด้านบนขึ้นตรงๆ ค้างไว้
แล้ววางลงช้าๆ พัก (ไม่นาน) ทำ�ซํ้า 10 ครั้งต่อเนื่อง (นับเป็น 1 เซต) ให้ทำ� 3 เซต
วันละ 3 รอบ (เหมาะมากสำ�หรับการลดและกระชับสะโพก)
2. เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
ท่าที่ 10 ยืดกล้ามเนื้อหน้าขาด้านหน้า
	 ยืนเกาะพนักเก้าอี้ หรือกำ�แพง สะโพกเหยียดตรง งอเข่าข้างที่ต้องการ
จะยืด ใช้มือข้างเดียวกันจับข้อเท้าไว้ ดันขึ้นเบาๆ ให้เท้าชิดกันมากที่สุด จนรู้สึก
ตึงต้นขาด้านหน้า ค้างไว้ 10 - 20 วินาที ทำ� 5 ครั้ง (อาจทำ�ในท่านอนตะแคง)
(ไม่แนะนำ�หากยังมีอาการปวดเข่าอยู่)
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
28
ท่าที่ 11 ยืดกล้ามเนื้อหน้าขาด้านหลัง
	 นอนหงาย เหยียดขาตรงขึ้นบนกำ�แพง หรือใช้มือช้อนใต้เข่ายกขาขึ้น
ตรงๆ ค้างไว้ 10 - 20 วินาที ทำ� 5 ครั้ง
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
29
ท่าที่ 12 ยืดกล้ามเนื้อหมุนสะโพก
	 นอนไขว่ห้างด้วยขาข้างที่ต้องการจะยืด ค่อยๆ ใช้มือกดเข่าลงช้าๆ
จนรู้สึกตึงรอบๆ สะโพก ค้างไว้ 10 - 20 วินาที ทำ� 5 ครั้ง
ท่าที่ 13 ยืดกล้ามเนื้อด้านข้างลำ�ตัวและขา
	 นั่งเหยียดขาตรง ไขว้ขาที่ต้องการจะยืดไปด้านตรงข้าม หมุนตัวและไหล่
ไปอีกด้านหนึ่ง โดยใช้ข้อศอกด้านตรงข้ามกับขาที่ไขว่ดันหัวเข่าค้างไว้ 10 - 30
วินาที ทำ� 5 ครั้ง
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
30
	 ยืนไขว้ขาเข่า2ข้างเหยียดตรงโดยขาที่ต้องการจะยืดอยู่ด้านหลังค่อยๆ
ก้มแตะปลายเท้า แบบหลังตรง ค้างไว้ 10 - 30 วินาที ทำ� 5 ครั้ง
ท่าที่ 14 ยืดกล้ามเนื้อน่อง
	 ยืนเอามือ 2 ข้างดันกำ�แพงโดยขาที่ต้องการจะยืดอยู่ด้านหลังเข่าเหยียด
ตรง ส้นเท้าติดพื้น ค้างไว้ 10 - 30 วินาที ทำ� 5 ครั้ง
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
31
ข้อแนะนำ�ในการออกกำ�ลังกายสำ�หรับโรคข้อเข่าเสื่อม
	 ข้อต่อที่เสื่อมไปแล้วจะเป็นไปอย่างถาวร การออกกำ�ลังกายจึงต้องทำ�ให้
ถูกวิธี ควรระวัง ไม่ให้ไปเร่งการเสื่อมของข้อ การออกกำ�ลังกายในผู้ที่มีปัญหา
ข้อเข่าเสื่อมจึงควรได้รับการแนะนำ�จากแพทย์หรือนักกายภาพบำ�บัด โดยทั่วไป
การออกกำ�ลังกายต้องดำ�เนินตามข้อแนะนำ�ดังนี้
	 1. 	ต้องมีการอบอุ่นร่างกาย(Warmup)และยืดกล้ามเนื้อ(Stretching)
เป็นอันดับแรก ใช้เวลาประมาณ 5 - 10 นาที การยืดกล้ามเนื้อทำ�ให้มีการเตรียม
ของข้อต่อและกล้ามเนื้อ ป้องกันการเกิดการบาดเจ็บ ส่วนการ warm up ก็เพื่อ
ให้หัวใจค่อยๆ เพิ่มการทำ�งาน เช่น เริ่มจากเดินช้าๆ ก่อน
	 2.	 การออกกำ�ลังกายอย่างต่อเนื่อง (Exercise) เช่น เดิน ว่ายนํ้าใช้เวลา
ประมาณ 30 นาที สำ�หรับในผู้สูงอายุที่ปวดเข่าหรือสะโพกการเดินหรือวิ่งจึงไม่
สามารถทำ�ได้ อาจเปลี่ยนมาใช้วิธีเดินในนํ้าซึ่งจะช่วยลดแรงกระทำ�ที่เกิดต่อข้อลง
เนื่องจากมีแรงพยุงตัวจากนํ้ามาช่วยหรือจะว่ายนํ้าก็ได้ ข้อจำ�กัดคือหาสระว่ายนํ้า
ได้ยาก
	 3. 	การผ่อนคลายหลังจากออกกำ�ลังกาย (Cool down) และยืดกล้าม
เนื้ออีกครั้ง ให้หัวใจที่เคยทำ�งานหนักได้ทำ�งานช้าลงอย่างเป็นระบบ โดยเมื่อออก
กำ�ลังกายมาแล้วไม่ควรหยุดทันทีเพราะจะทำ�ให้เลือดกลับมาที่หัวใจได้ไม่มากพอ
ทำ�ให้เป็นอันตรายได้เช่นถ้าวิ่งก่อนให้ค่อยเปลี่ยนมาเป็นเดินช้าๆและจบด้วยการ
ยืดกล้ามเนื้ออีกครั้ง ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 5- 10 นาที
	 4. 	ไม่ควรออกกำ�ลังกายที่มีการเคลื่อนไหวรุนแรง เร็วหรือกระชาก
เพราะจะทำ�ให้บาดเจ็บได้
	 5. 	ควรออกกำ�ลังกายเป็นกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจับกลุ่ม
ออกกำ�ลังกับคนในวัยเดียวกัน มีความสามารถใกล้เคียงกันทำ�ให้ไม่มีบรรยากาศ
ของการแข็งขัน
	 6. 	หลีกเลี่ยงท่าที่ทำ�ให้เข่าบิด พับงอ รับนํ้าหนักเป็นเวลานาน
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
32
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
33
บรรณานุกรม
LaBotz M (2004). Patellofemoral syndrome. Physician and Sports-
medicine: http://www.physsportsmed.com
K S Thomas, K R Muir, M Doherty, A C Jones, S C O’Reilly, EJ Bassey.
Home based exercise programme for knee pain and knee
osteoarthritis: randomised controlled trial BMJ 2002; 325
(7367):752
Lawrence JS, Bremner JM, Bier F. Osteoarthritis-Prevalence in the
Population and Relationship between Symptom and X-ray
Changes. Ann Rheum Dis 1986; 25: 1-24.
Alta J. Strengthening Muscle. Exerc Sport Sci Rev. 1981; 9: 1-74.
Hochberg MC, Altma RD, Brandt KD, Clark BM, Dieppe PA, Griffin MR,
et al. Guidelines for the Medical Management of Osteoar-
thritis. Arthritis Rheum 1995; 38: 1541-6.
Felson DT, Zhang Y, Hannan MT, et al. The incidence and natural
history of knee osteoarthritis in elderly. The Framingham
osteoarthritis Study. Arthritis Rheum 1995; 38: 1500-5.
โครงการควบคุมโรคปวดข้อและปวดเมื่อย กระทรวงสาธารณสุขระบาดวิทยาของ
โรคปวดข้อและปวดเมื่อย. กรุงเทพมหานคร : งานแผนงานและสถิติ
ฝ่ายวิชาการโรงพยาบาลเลิดสิน 2530:39-48.
สมชาย อรรฆศิลป์, อุทิศ ดีสมโชค. โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis). ใน :
สุรศักดิ์ นิลนุกาวงศ์, สุรวุฒิ ปรีชานนท์ (บรรณาธิการ), คู่มือโรคข้อ
หน้า 272-278. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ เรือนแก้ว
การพิมพ์, 2541.
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
34
สุรวุฒิ ปรีชานนท์. โรคข้อเสื่อม. ตำ�ราโรคข้อ หน้า 89-126. พิมพ์ครั้งที่ 1
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, 2538.
สุจิตรา เลิศวีระศิริกุล, เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม, ธวัชชัย วงพงศธร, ชาญยุทธ
ศุภชาติวงศ์.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม.Rama
Med J 1992; 15:34-40.
อุดม ชมชาญ, สารเนตร ไวคกุล, ภาวะข้อเข่าเสื่อม : สภาพของผู้ป่วยและการ
รักษาที่เคยได้รับมาก่อน. สงขลานครินทร์เวชสาร 2527; 2:135-8.
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
35
คณะผู้จัดทำ�
	 1. 	ดร.อภิวรรณ 	 ณัฐมนวรกุล
	 2. 	จันทนงค์ 	 อินทร์สุข
	 3. 	จิรนันท์ 		 ทองสัมฤทธิ์
	 4. 	ดลินพร 		 สนธิรักษ์
ผู้เชี่ยวชาญทบทวน
	 1. 	นพ.คมวุฒิ 	 คนฉลาด
	 2. 	ผศ.ดร.รุ่งชัย 	 ชวนไชยะกูล
	 3. 	ดร.วีรวัฒน์ 	 ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์
	 4. 	นพ.ชาวิท		 ตันวีรชัยสกุล
ที่ปรึกษา
	 1. 	นายแพทย์นันทศักดิ์ 	ธรรมานวัตร
	 2. 	นพ.สฐาปกร 		ศิริพงศ์
	 3. 	นพ.สมรักษ์ 	 สันติเบ็ญจกุล
	 4. 	พญ.อรพิชญา 	 ไกรฤทธิ์
	 5. 	ผศ.ดร.วารี 	 กังใจ
	 6. 	ดร.ชนิดา 	 ปโชติการ
พิมพ์ครั้งที่ 1 : 	 กุมภาพันธ์ 2554
จำ�นวนพิมพ์ : 	 500 เล่ม
พิมพ์ที่ :			 บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำ�กัด
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
36
บันทึก
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
37
บันทึก
คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม

More Related Content

What's hot

การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
techno UCH
 
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
Sureerut Physiotherapist
 
การพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfการพยาบาลDhf
การพยาบาลDhf
Maytinee Beudam
 
การพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆการพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆ
Dashodragon KaoKaen
 
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
Utai Sukviwatsirikul
 

What's hot (20)

การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
 
งานนำเสนอเบาหวาน
งานนำเสนอเบาหวานงานนำเสนอเบาหวาน
งานนำเสนอเบาหวาน
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
 
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุอาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
 
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
 
การพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfการพยาบาลDhf
การพยาบาลDhf
 
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุคู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
 
การพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆการพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆ
 
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
 
Case study : dengue fever
Case study : dengue feverCase study : dengue fever
Case study : dengue fever
 
TAEM10: Endocrine Emergency - Nurse
TAEM10: Endocrine Emergency - NurseTAEM10: Endocrine Emergency - Nurse
TAEM10: Endocrine Emergency - Nurse
 
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ภาวะซีด
ภาวะซีดภาวะซีด
ภาวะซีด
 
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ
 
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
 
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุการใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
อาหาร Dm
อาหาร Dmอาหาร Dm
อาหาร Dm
 
อาหารและโภชนาการ
อาหารและโภชนาการอาหารและโภชนาการ
อาหารและโภชนาการ
 
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม Oa kneeguideline
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม Oa kneeguidelineการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม Oa kneeguideline
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม Oa kneeguideline
 

Viewers also liked

Oa knee guideline
Oa knee guidelineOa knee guideline
Oa knee guideline
Aimmary
 
นโยบายหลักประกันสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยปฐมภูมิ
นโยบายหลักประกันสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยปฐมภูมินโยบายหลักประกันสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยปฐมภูมิ
นโยบายหลักประกันสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยปฐมภูมิ
Chuchai Sornchumni
 
หนังสือ"วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ"
หนังสือ"วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ"หนังสือ"วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ"
หนังสือ"วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ"
Thira Woratanarat
 

Viewers also liked (20)

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม OA knee Guideline
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม OA knee Guidelineการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม OA knee Guideline
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม OA knee Guideline
 
Lifestyle and Knee Osteoarthritis
Lifestyle and Knee OsteoarthritisLifestyle and Knee Osteoarthritis
Lifestyle and Knee Osteoarthritis
 
ยากันลืม: คู่มือป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
ยากันลืม: คู่มือป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุยากันลืม: คู่มือป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
ยากันลืม: คู่มือป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
 
แนวเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 2557
แนวเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 2557แนวเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 2557
แนวเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 2557
 
คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
 
Oa knee guideline
Oa knee guidelineOa knee guideline
Oa knee guideline
 
เข่าเสื่อม
เข่าเสื่อมเข่าเสื่อม
เข่าเสื่อม
 
คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับประชาชน (อัมพาต อัมพฤกษ์)
คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับประชาชน (อัมพาต อัมพฤกษ์)คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับประชาชน (อัมพาต อัมพฤกษ์)
คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับประชาชน (อัมพาต อัมพฤกษ์)
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูคู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
 
แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2007
แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง  2007แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง  2007
แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2007
 
Traction
TractionTraction
Traction
 
Foods and common musculokeletal problems
Foods and common musculokeletal problemsFoods and common musculokeletal problems
Foods and common musculokeletal problems
 
เมื่อนิสิตแพทย์เรียนข้างนอก เวชศาสตร์ร่วมสมัย 2559
เมื่อนิสิตแพทย์เรียนข้างนอก เวชศาสตร์ร่วมสมัย 2559เมื่อนิสิตแพทย์เรียนข้างนอก เวชศาสตร์ร่วมสมัย 2559
เมื่อนิสิตแพทย์เรียนข้างนอก เวชศาสตร์ร่วมสมัย 2559
 
Lifestyle and spine
Lifestyle and spineLifestyle and spine
Lifestyle and spine
 
แจ้งอัตราค่าบริการสาธารณสุข
แจ้งอัตราค่าบริการสาธารณสุขแจ้งอัตราค่าบริการสาธารณสุข
แจ้งอัตราค่าบริการสาธารณสุข
 
นโยบายหลักประกันสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยปฐมภูมิ
นโยบายหลักประกันสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยปฐมภูมินโยบายหลักประกันสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยปฐมภูมิ
นโยบายหลักประกันสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยปฐมภูมิ
 
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
 
หนังสือ"วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ"
หนังสือ"วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ"หนังสือ"วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ"
หนังสือ"วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ"
 
ธรรมนูญสุขภาพ
ธรรมนูญสุขภาพธรรมนูญสุขภาพ
ธรรมนูญสุขภาพ
 
การพัฒนารูปแบบและระบบบริการปฐมภูมิเขตเมือง
การพัฒนารูปแบบและระบบบริการปฐมภูมิเขตเมืองการพัฒนารูปแบบและระบบบริการปฐมภูมิเขตเมือง
การพัฒนารูปแบบและระบบบริการปฐมภูมิเขตเมือง
 

Similar to คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม

361 การศึกษาติตตามผลผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า
361 การศึกษาติตตามผลผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า361 การศึกษาติตตามผลผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า
361 การศึกษาติตตามผลผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า
สายชล ชินชัยพงษ์
 
กระดูกพรุน 4 3
กระดูกพรุน 4 3กระดูกพรุน 4 3
กระดูกพรุน 4 3
Wan Ngamwongwan
 
Step3 Tutorial by SWU book1
Step3 Tutorial by SWU book1Step3 Tutorial by SWU book1
Step3 Tutorial by SWU book1
vora kun
 

Similar to คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม (20)

361 การศึกษาติตตามผลผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า
361 การศึกษาติตตามผลผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า361 การศึกษาติตตามผลผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า
361 การศึกษาติตตามผลผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า
 
Muscle Skeletal (Thai)
Muscle Skeletal (Thai)Muscle Skeletal (Thai)
Muscle Skeletal (Thai)
 
45 ผลการเปรียบเทียบการใช้ Water Support กับ Jel Support ที่มีผลต่อการป้องกันก...
45 ผลการเปรียบเทียบการใช้ Water Support กับ Jel Support ที่มีผลต่อการป้องกันก...45 ผลการเปรียบเทียบการใช้ Water Support กับ Jel Support ที่มีผลต่อการป้องกันก...
45 ผลการเปรียบเทียบการใช้ Water Support กับ Jel Support ที่มีผลต่อการป้องกันก...
 
12
1212
12
 
แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ. 2553
แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ. 2553แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ. 2553
แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ. 2553
 
Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee 2553
Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee 2553Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee 2553
Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee 2553
 
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม Oa knee guideline
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม Oa knee guidelineการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม Oa knee guideline
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม Oa knee guideline
 
กระดูกพรุน 4 3
กระดูกพรุน 4 3กระดูกพรุน 4 3
กระดูกพรุน 4 3
 
Fracture Clavicle
Fracture ClavicleFracture Clavicle
Fracture Clavicle
 
Inflammatory & Infection orthopaedics disease for nursing students 2017
Inflammatory & Infection orthopaedics disease for nursing students 2017Inflammatory & Infection orthopaedics disease for nursing students 2017
Inflammatory & Infection orthopaedics disease for nursing students 2017
 
Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee)
Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee)Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee)
Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee)
 
Cpg osteoarthritis or osteoarthrosis 2554
Cpg osteoarthritis or osteoarthrosis 2554Cpg osteoarthritis or osteoarthrosis 2554
Cpg osteoarthritis or osteoarthrosis 2554
 
Cpg osteoarthritis of knee 2554
Cpg osteoarthritis of knee 2554Cpg osteoarthritis of knee 2554
Cpg osteoarthritis of knee 2554
 
Cpg osteoarthritis
Cpg osteoarthritisCpg osteoarthritis
Cpg osteoarthritis
 
Kinematics (Thai)
Kinematics (Thai)Kinematics (Thai)
Kinematics (Thai)
 
Step3 Tutorial by SWU book1
Step3 Tutorial by SWU book1Step3 Tutorial by SWU book1
Step3 Tutorial by SWU book1
 
ปวดกระดูกและข้อ ปัญหาที่รอไม่ได้
ปวดกระดูกและข้อ ปัญหาที่รอไม่ได้ปวดกระดูกและข้อ ปัญหาที่รอไม่ได้
ปวดกระดูกและข้อ ปัญหาที่รอไม่ได้
 
Ortho osteoarthritis
Ortho osteoarthritisOrtho osteoarthritis
Ortho osteoarthritis
 
Lifestyle and musculoskeletal diseases in children
Lifestyle and musculoskeletal diseases in childrenLifestyle and musculoskeletal diseases in children
Lifestyle and musculoskeletal diseases in children
 
skeletal system
skeletal systemskeletal system
skeletal system
 

More from Utai Sukviwatsirikul

More from Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptives
 

คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม

  • 1.
  • 2.
  • 3. แผนงานวิจัยหลัก การพัฒนารูปแบบการวางแผนการจำ�หน่ายผู้สูงอายุ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ Research for developing of discharge planning model for elderly patient by multidisciplinary team of The Supreme Patriarch Center on Aging งานวิจัยย่อย เรื่อง รูปแบบการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ Discharge planning model for elderly patient with Osteoarthritis by multidisciplinary team
  • 4. คำ�นำ� ในประเทศไทยปัญหาโรคกระดูกและข้อที่ไม่ได้เกิดจากการบาดเจ็บยัง พบอยู่เป็นจำ�นวนมาก ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสึกหรอของข้อต่อต่างๆ ของ ร่างกายภายหลังการใช้งานมานานภาวะข้อเสื่อมตามสภาพร่างกายนั้นจึงเกิดขึ้น กับทุกคนเมื่อมีอายุมากขึ้น แต่จะเป็นปัญหาสำ�หรับภาวะข้อเสื่อมที่ทำ�ให้เกิด อาการปวดเท้านั้น โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดถึงร้อยละ 50 ของจำ�นวน ผู้ป่วยที่ไปพบแพทย์ด้วยอาการปวดข้อที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป บางรายพบตั้งแต่อายุ 30ปีพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายและมีอาการปวดรุนแรงมากกว่าในจำ�นวนนี้ พบว่าเป็นอาการของข้อเข่าเสื่อมและอักเสบถึงร้อยละ 28.34 เนื่องจากเป็นข้อที่ รับนํ้าหนักและใช้งานมากการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมนับว่ามีความสำ�คัญที่จะ ช่วยให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการดูแลช่วยเหลือตนเองลดอาการปวด ลดอาการ แทรกซ้อน ชะลอการเสื่อมของข้อ ป้องกันความพิการ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ จึงจัดทำ�คู่มือการดูแล ตนเองโรคข้อเข่าเสื่อมฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดย สหสาขาวิชาชีพขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไปมีแนวทางการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อมที่สามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ได้ โอกาสนี้ใคร่ขอขอบคุณคณะทำ�งาน และผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่สละเวลาและทุ่มเทแรงกายแรงใจให้คู่มือฉบับนี้ สำ�เร็จ ลุล่วง เพื่อเผยแพร่เป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์และสาธารณสุขต่อไป คณะทำ�งานวิจัย มกราคม 2554 กคู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
  • 6. สารบัญ หน้า โรคข้อเสื่อม 1 พยาธิสภาพของข้อเสื่อม 2 ปัจจัยเสี่ยง 3 อาการและอาการแสดงของเข่าเสื่อม 4 แนวทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม 6 อาหารสำ�หรับผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม 11 แนวทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค 12 ตัวอย่างปริมาณอาหาร 1 ส่วน 14 ตัวอย่างท่าการออกกำ�ลังกายข้อเข่าเสื่อม 21 ข้อแนะนำ�ในการออกกำ�ลังกายสำ�หรับข้อเข่าเสื่อม 31 บรรณานุกรม 33 คคู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ
  • 8. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 1 โรคข้อเสื่อม (Degenerative joint disease) โรคข้อเสื่อมเป็นโรคในกลุ่มข้ออักเสบ (Osteoarthritis, OA) ชนิดหนึ่งที่ พบได้บ่อยที่สุด พบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป โดยพบว่า ในกลุ่มผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 45 ผู้ชายเป็นมากกว่าผู้หญิง ในกลุ่มอายุมากกว่า 45 ปี ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย และในผู้ที่มีอายุเกินกว่า75 ปีขึ้นไปทั้งชายและหญิงจะมี ข้อเสื่อมมากกว่าร้อยละ 80 - 90 แต่อาจมีอาการต่างกันไป เช่น มีข้อเสื่อมแต่ไม่มี อาการปวดถ้าไม่ใช้งานข้อนั้นๆ มาก ข้อต่อที่มักพบการเสื่อม ได้แก่ ข้อนิ้ว ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อกระดูกหลังทั้งกระดูกสันหลังระดับคอ และกระดูกสันหลังระดับเอว ดังแสดงในรูปที่ 1 รูปที่ 1 แสดงตำ�แหน่งเกิดโรคข้อเสื่อมที่พบบ่อย ได้แก่ บริเวณข้อนิ้วมือ ข้อเข่า ข้อสะโพก และกระดูกสันหลัง
  • 9. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 2 พยาธิสภาพของข้อเข่าเสื่อม การดำ�เนินของโรคข้อเสื่อมเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ปกติแล้ว ผิวกระดูกอ่อนที่อยู่ปลายกระดูกยาวจะช่วยให้ข้อเคลื่อนไหวราบลื่นและ รองรับแรงกระแทกจากการลงนํ้าหนักได้ดี แต่ในผู้สูงอายุที่มีอาการของ โรคข้อเข่าเสื่อม พบว่ามีการสึกกร้อนบริเวณผิวกระดูกอ่อนทำ�ให้กระดูกบริเวณ ข้อต่อเกิดการเสียดสีกันและเกิดเสียงดังกรอบแกรบที่เรียกว่าข้อลั่นร่วมกับมีการ อักเสบซึ่งมีอาการแสดงปวดบวมแดงร้อนบริเวณข้อนั้น การเสื่อมสลายของผิว ในของข้อต่อ การอักเสบซํ้าๆ จะได้รับการตอบสนองโดยมีกระดูกงอก เมื่อมีการ เสื่อมของข้อเป็นระยะเวลานานอาการมักเริ่มด้วยอาการปวดตลอดเวลาโดยเฉพาะ ตอนกลางคืนและในขณะที่มีการเคลื่อนไหวข้อข้อติดในตอนเช้าหลังตื่นนอนหรือ อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน แต่จะเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น เมื่อขยับข้อสักครู่หนึ่ง ผู้สูงอายุจึงไม่พยายามขยับข้อมากนัก เมื่อร่วมกับการมีนํ้าหนักตัวมากขึ้นและ กล้ามเนื้อรอบข้ออ่อนแรง จะทำ�ให้เกิดการผิดรูปของข้อต่อ ทำ�ให้ปวดข้อมากขึ้น เมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อ โดยเฉพาะข้อเข่า และข้อสะโพกที่ต้องรับนํ้าหนักของ ร่างกาย ดังตัวอย่างข้อเข่าเสื่อมที่แสดงในรูปที่ 2
  • 10. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 3 รูปที่ 2 แสดงภาพข้อเข่าปกติเปรียบเทียบกับข้อเข่าที่เกิดภาวะข้อเสื่อม ปัจจัยเสี่ยง โรคข้อเข่าเสื่อมมีปัจจัยเสี่ยงหลายองค์ประกอบ ได้แก่ 1. อายุ เป็นองค์ประกอบที่สำ�คัญที่สุด อายุที่มากขึ้นจะมีความชุกของ ข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้น 2. โรคเมตาบอลิค เช่น โรคเก๊าท์ โรคเก๊าท์เทียม โครงเชื่อมกระดูกอ่อน แข็งขึ้นกว่าปกติ ทำ�ให้การรับส่งแรงของข้อเข่าเปลี่ยนแปลงส่งผลทำ�ให้พบ โรคข้อเข่าเสื่อมบ่อยขึ้น 3. โรคข้อที่มีการอักเสบ ผลจากเยื่อบุข้ออักเสบทำ�ให้เกิดการทำ�ลาย โครงสร้างของกระดูกอ่อน เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 4. ความอ้วน บางรายงาน พบว่าโรคข้อเสื่อมเป็นมากขึ้นในคนอ้วน โดยเฉพาะเพศหญิง และเกิดกับข้อที่รับนํ้าหนัก เช่น ข้อเข่า
  • 11. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 4 5. ปัจจัยการรับแรงกระทำ�ที่ข้อเข่าเบี่ยงเบนไป เช่น การใช้งาน มากเกินไป ทำ�ให้แนวเข่าโก่งงอกว่าปกติ การได้รับบาดเจ็บของข้อ 6. พันธุกรรม โรคข้อเสื่อมมีหลักฐานการถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่ที่ ตำ�แหน่งของข้อเข่ามีหลักฐานทางพันธุกรรมน้อยกว่าที่ข้อนิ้วมือ 7. กีฬาและการออกกำ�ลัง ประเภทที่เสี่ยงคือ ประเภทที่มีการกระแทก ที่รุนแรงและซํ้าที่ต่อข้อ และประเภทที่มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บจากการกระแทก อาการและอาการแสดงโรคข้อเข่าเสื่อม อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม 1. ปวด มีลักษณะปวดตื้อๆทั่วๆไปบริเวณข้อ ไม่สามารถระบุตำ�แหน่ง ชัดเจนได้และมักปวดเรื้อรังอาการปวดจะมากขึ้นเมื่อมีการใช้งาน หรือลงนํ้าหนัก ลงบนข้อนั้นๆ และจะทุเลาลง เมื่อพักการใช้งาน เมื่อการดำ�เนินโรครุนแรงขึ้นอาจ ทำ�ให้มีอาการปวดตลอดเวลา หรือปวดในช่วงเวลากลางคืนร่วมด้วย 2. ข้อฝืดตึง พบได้บ่อย จะมีการฝืดของข้อในช่วงเช้าและช่วงหลังจาก การพักข้อนานๆ เช่นหลังจากตื่นนอนหรือนั่งนานๆ แต่มักไม่เกิน 30 นาที อาจพบ อาการฝืดเกิดขึ้นชั่วคราวในท่างอหรือเหยียดข้อในช่วงแรกที่เรียกว่าปรากฏการณ์ ข้อฝืด 3. ข้อใหญ่ผิดรูป พบมีข้อบวมใหญ่ซึ่งเกิดจากกระดูกที่งอกโปนบริเวณ ข้อ และเมื่อโรครุนแรงมากขึ้น อาจพบขาโก่ง ซึ่งพบได้บ่อยกว่าเข่าฉิ่ง อาจมีการ บวมจากนํ้าซึมซ่านในข้อ อันเป็นผลจากการอักเสบในข้อเข่า แต่การบวมไม่ใช้ อาการจำ�เพาะของข้อเข่าเสื่อม 4. มีเสียงดังกรอบแกรบ ในข้อเข่าขณะเคลื่อนไหว
  • 12. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 5 5. ทุพพลภาพในการเคลื่อนไหวและการทำ�งานมีความลำ�บากในการ นั่ง ลุก เดิน หรือขึ้นลงบันได และหากเป็นมากอาจรบกวนการทำ�งานในหน้าที่ ประจำ�วัน ทำ�ให้คุณภาพชีวิตด้อยลง 6. ข้อเข่าเคลื่อนไหวได้จำ�กัด เหยียดตรงได้ลำ�บาก และเมื่อมีอาการ มากขึ้น จะทำ�ให้งอเข่าได้ลดลงด้วย อาการแสดงของข้อเข่าเสื่อม ผู้ที่เป็นโรคข้อเสื่อมส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดงก่อนอายุ 40 ปีนอกจาก ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุของข้อต่อและในผู้ที่อ้วนมากๆ หากแต่อาการของโรคข้อเสื่อมที่ เกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปสามารถสังเกตได้จากภาพถ้ายรังสีอาการแสดงของโรค ข้อเสื่อมสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1. ระยะเริ่มต้น อาการแสดงที่สำ�คัญ คือ อาการปวด บวม แดงร้อน ของข้อ 2. ระยะปานกลาง ในระยะนี้จะพบว่าผู้สูงอายุจะมีอาการปวดเมื่อย ร่วมกับมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อมากขึ้น เริ่มสังเกตเห็นการผิดรูป ของข้อ ซึ่งจะสามารถมองเห็นการโก่ง งออย่างชัดเจน การเคลื่อนไหวของข้อเริ่ม ติดขัด 3. ระยะรุนแรง อาการแสดงในระยะนี้จะพบเมื่อมีการสึกกร้อนของ กระดูกอ่อนอย่างมาก ทำ�ให้ข้อหลวม ไม่มั่นคง และผิวข้อหนาตัวขึ้นจากกระดูก งอกหนา ข้อโก่ง งอ ผิดรูปชัดเจน งอหรือเหยียดเข่าได้ไม่สุดช่วงการเคลื่อนไหว เมื่อเดินต้องกางขาให้กว่างขึ้น เพื่อสร่างความมั่นคงกล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล็กลง ขณะลุกขึ้นจากท่านั่ง และขณะเดินขึ้นลงบันไดจะมีอาการปวดที่รุนแรง อาจมี เสียงดังกรอบแกรบ ในข้อขณะเคลื่อนไหว
  • 13. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 6 แนวทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม การรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในทางปฏิบัติเริ่มจากการรักษาที่ไม่ใช้ยา การใช้ยา และการผ่าตัด ดังแสดงในรูปที่ 3 รูปที่ 3 ขั้นตอนการรักษาโรคข้อเสื่อม
  • 14. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 7 การรักษาโดยวิธีไม่ใช้ยา 1. การให้ความรู้เรื่องข้อเข่าเสื่อมการดำ�เนินของโรคและการลดปัจจัย เสี่ยงต่างๆ เพื่อลดความเจ็บปวดและเพิ่มทักษะการอยู่ร่วมกับโรคการให้ความรู้ อาจเป็นแบบเฉพาะตัวหรือเป็นกลุ่มย่อย ดังนี้  การพัก ช่วยป้องกันข้อไม่ให้เสียหายเพิ่มขึ้น ควรพักการใช้งาน ของข้อนั้นในช่วงที่มีการอักเสบเฉียบพลันและมีอาการปวดมาก เมื่ออาการปวด ลดลงจึงเริ่มให้มีการเคลื่อนไหวเบาๆ เท่าที่จะทำ�ได้  การปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำ�วันและหลีกเลี่ยงกิจกรรมบาง อย่าง เช่น ลดการเดินขึ้นลงบันได หลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานๆ ไม่นั่งพับเพียบ ไม่คุกเข่า ไม่นั่งยองๆ ไม่นั่งขัดสมาธิ  การลดปวดด้วยการประคบความร้อน หรือความเย็น 2. การออกกำ�ลังกายและการบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า เป็นธีการ รักษาที่ได้ผลดีสำ�หรับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม มีประสิทธิภาพในการลดอาการปวด รวมทั้งเพิ่มความสามารถในการใช้งานข้อเข่า รูปแบบอาจเป็นการออกกำ�ลังกาย บนบกหรือในนํ้า ที่โรงพยาบาลหรือบ้าน ส่วนชนิดของการออกกำ�ลังกายที่ดี ประกอบด้วย  การบริหารเพื่อเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวข้อเข่า ให้ข้อมีช่วงการ เคลื่อนไหวได้มากเท่าที่จะทำ�ได้โดยไม่เจ็บ มีความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและ เนื้อเยื่อรอบข้อป้องกันการตึงและยึดติด  การบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าขาและ กล้ามเนื้อท้องขา ที่มีการเกร็งกล้ามเนื้อโดยไม่มีการเคลื่อนไหวข้อ ช่วงสั้นๆ วิธีนี้ อาจให้ทำ�ได้ในขณะที่มีอาการปวดข้อ หรือขณะที่มีการอักเสบเฉียบพลัน เพื่อป้องกันการฝ่อลีบจากการไม่ได้ใช้งานและรักษาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยให้เกร็งค้างไว้ 5 - 6 วินาที พักประมาณ 10 วินาที ให้ทำ�ซํ้า 10 ครั้งถือเป็น 1
  • 15. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 8 ชุด ทำ� 1 - 2 ชุดต่อเนื่อง หากไม่เมื่อยหรือปวดมากขึ้นอาจทำ�ๆ พักๆ ได้ตลอดวัน ยกเว้น ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงการออกกำ�ลังกายด้วย วิธีนี้เพราะทำ�ให้มีแรงต้านทานของเส้นเลือดส่วนปลายเพิ่มขึ้นและทำ�ให้ ความดันโลหิตสูงได้  การบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแบบที่กล้ามเนื้อ รอบเข่ามีการเคลื่อนไหว ให้เริ่มวิธีนี้เมื่อการอักเสบทุเลาลงแล้วการออกกำ�ลังวิธีนี้ จะเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยเพิ่มความต้านทาน ทีละน้อย อาจใช้การจัด ท่าให้ออกกำ�ลังต้านแรงโน้มถ่วงของโลก การต้านด้วยการใช้แขนหรือขาด้านตรง ข้ามฝืนไว้ การต้านด้วยการใช้ตุ้มนํ้าหนัก ถุงทราย ดัมเบล ขวดนํ้า สปริง แนะนำ� ให้ทำ� 10 ครั้งต่อชุด ทำ� 3 ชุด สัปดาห์ละ 2 - 3 วัน แต่นํ้าหนักที่ใช้ต้องไม่มาก เกินไป  การออกกำ�ลังแบบแอโรบิค เป็นการออกกำ�ลังกายเพื่อความ ฟิตพร้อมของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น หัวใจแข็งแรง ปอดดี กระดูกไม่บาง กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ กระชับ มีความแข็งแรงและใช้งานได้ทนทาน ได้แก่ การ เดินช้าๆ การปั่นจักรยาน หรือการออกกำ�ลังกายในนํ้าซึ่งจะดีมากสำ�หรับผู้ป่วย ข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากนํ้ามีแรงพยุงตัวทำ�ให้ข้อเข่ารับนํ้าหนักน้อยลงขณะ ออกกำ�ลังกายนอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการออกกำ�ลังชนิดที่มีแรงกระทำ�ต่อข้อ มากๆ เช่น การวิ่ง การกระโดดเชือก หรือการเต้นแอโรบิคที่มีการกระโดด จะเป็นผลร้ายต่อข้อเข่ามากกว่าผลดี 3. การใช้อุปกรณ์ เครื่องช่วยต่างๆ พิจารณาตามความรุนแรงของโรค และสภาวะผู้ป่วยการใช้เครื่องช่วยพยุงข้ออุปกรณ์รัดข้อชนิดต่างๆ จะเสริมความ มั่นคงของข้อให้กระชับขึ้น ลดโอกาสการผิดรูปของข้อ  การใช้ไม้เท้าหรือร่มจะช่วยแบ่งเบาแรงกระทำ�ต่อข้อเข่าได้ ประมาณร้อยละ 25 ของนํ้าหนักตัว ในกรณีที่ปวดมากควรถือไม้เท้าหรือร่มใน มือด้านตรงข้ามกับข้างที่ปวด เพื่อช่วยในการลดแรงกระทำ�ต่อข้อ
  • 16. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 9  การเสริมรองเท้าเป็นลิ่มทางด้านนอก (heel wedging) ในผู้ที่ เริ่มมีขาโก่งน้อยๆ มีรายงานว่าได้ผลดีต่อข้อเข่า  การใช้สนับเข่าช่วยเพิ่มประสาทสัมผัส ช่วยเสริมความมั่นคง ข้อเข่า รวมทั้งช่วยลดอาการปวดข้อเข่า 4. การลดนํ้าหนัก นํ้าหนักที่เกินจะกระตุ้นการเสื่อมของข้อเข่าโดยตรง แม้จะได้ยาจากแพทย์แต่หากนํ้าหนักตัวยังมากอยู่ ข้อเข่าก็จะมีโอกาสอักเสบ ได้อีก การตรวจสอบนํ้าหนักตัวว่าอยู่ในเกณฑ์ตามอายุหรืออ้วนเกินไปใช้ดัชนี มวลกาย (Body mass index, BMI) หาได้จากนํ้าหนักตัวในหน่วยกิโลกรัมหาร ด้วยส่วนสูงในหน่วยเมตรยกกำ�ลังสอง) คนที่รูปร่างสมส่วนมีค่า ดัชนีมวลกาย ไม่เกิน 25 กก./ม2 หาก ดัชนีมวลกายเกิน 30 กก./ม2 จัดว่าอ้วน การควบคุม นํ้าหนักทำ�ได้ด้วยการควบคุมทั้งชนิดและปริมาณอาหาร อาทิการลดอาหาร รสหวาน งดของมันรับประทานอาหารแต่พออิ่ม ดื่มนํ้าให้มาก 5. การรักษาทางกายภาพบำ�บัด ได้แก่ การบำ�บัดด้วยความร้อนหรือ ความเย็น ความร้อนตื้นและความร้อนลึก เลเซอร์ การบำ�บัดด้วยกระแสไฟฟ้า ความถี่ตํ่า และการใช้สนามแม่เหล็ก เพื่อลดอาการเจ็บปวดและลดการอักเสบ ของข้อ รวมไปถึงการให้คำ�แนะนำ�ในการปฏิบัติตนการออกกำ�ลังกายเฉพาะ โรคข้อเสื่อม เพื่อป้องกันการเกิดความพิการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 6. การใช้วิธีการอื่นๆ ได้แก่ การฝังเข็ม ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนใน ด้านประสิทธิภาพของการรักษา แต่อาจนำ�มาใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดและเพิ่ม ประสิทธิภาพของการใช้ข้อเข่าวิธีการเหล่านี้ควรให้แพทย์ผู้ชำ�นาญเฉพาะทางเป็น ผู้พิจารณาสั่งการรักษา
  • 17. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 10 การรักษาโดยวิธีใช้ยา การใช้ยา จุดประสงค์หลักของการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดทำ�ให้ ผู้ป่วยสามารถมีการเคลื่อนไหวและใช้ข้อทำ�งานได้ดีขึ้น ในปัจจุบันมีการใช้ ยาหลายชนิดในการรักษาอาการปวด และการอักเสบในโรคข้อเสื่อม ได้แก่ ยา acetaminophen ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ (Nonsteroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDS) ยาระงับอาการ ปวดที่เข่าสารเสพติด(Narcoticanalgesics)รวมทั้งการให้ยาทางช่องข้อ (Intrasynovial medication) นอกจากนี้ยังมีการศึกษาการใช้ยาในกลุ่มที่ เรียกว่ายาระงับอาการปวดที่ออกฤทธิ์ช้า (Symptomatic slowacting drugs) ในโรคข้อเสื่อมเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างของยากลุ่มนี้ ได้แก่ glucosamine sulfate, chondroitin sulfate และ diacerein เป็นต้น มีรายงานการใช้ยากลุ่มนี้เป็น ระยะเวลานานอาจมีผลชะลอไม่ให้ข้อเสื่อมมากขึ้น หรืออาจมีส่วนทำ�ให้กระดูก ผิวข้อเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นด้วย การรักษาโดยวิธีผ่าตัด การผ่าตัด จะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการใช้ยา และวิธีการ ใช้ยาแล้วไม่ได้ผล ผู้ป่วยยังคงมีอาการปวดอยู่มาก หรือมีข้อถูกทำ�ลายอย่างมาก และมีข้อผิดรูปเกิดขึ้น หรือมีภาวะแทรกซ้อน เช่น มีกระดูกทรุดตัว เป็นต้น การ รักษาด้วยวิธีการผ่าตัดมีหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อบ่งชี้ในการทำ� ข้อดีและข้อเสีย ที่แตกต่างกันออกไป อาจมีการส่องกล้องเข้าในข้อเข่า เพื่อขจัดสิ่งแปลกปลอม และตกแต่งสภาพในข้อ การตัดแต่งกระดูกและจัดกระดูกที่โก่งงอให้ตรง รวมถึง การเปลี่ยนข้อเทียม
  • 18. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 11 อาหารสำ�หรับผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นภาวะเสื่อมที่มีผลต่อข้อและเนื้อเยื่อ ของข้อ มีอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อมีการใช้งานของอวัยวะส่วนนั้น ต่อมามีอาการข้อบวม ฯลฯ เมื่ออาการมากในขั้นท่ายๆ ข้อจะมีลักษณะผิดรูป ผิดร่าง นอกจากการรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวดหรือการอักเสบเพื่อ ป้องกันการลุกลามของโรคแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่น่าจะเป็นประโยชน์ กลูโคซามีนซัลเฟต (Glucosamine sulfate) เป็นสารประกอบที่พบใน รูปแบบของยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยทั่วไปมักรับประทานในขนาดวันละ 1,500 มิลลิกรัม การศึกษาในหลอดทดลอง พบว่ากลูโคซามีนซัลเฟตมีผลกระตุ้น การสังเคราะห์และยับยั้งการสลายตัวของโปรติโอไกลแคน (Proteoglycans) ซึ่ง เป็นส่วนประกอบสำ�คัญในกระดูกอ่อนที่ทำ�หน้าที่กันการกระแทกระหว่างกระดูก ข้อ นอกจากนี้กลูโคซามีนยังแสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบอย่างอ่อนๆ ด้วย สำ�หรับ การศึกษาทางคลินิก (การศึกษาในมนุษย์) พบว่า ผลการรักษาคล้ายคลึงกับยา ต้านการอักเสบ กลุ่มที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ (NSAIDs) แต่ผลเริ่มต้นจะช้ากว่า และ การบรรเทาอาการจะค่อยเป็นค่อยไป ไม่รวดเร็วเหมือนการใช้ยา ผลการบรรเทา อาการมีตั้งแต่ปานกลางไปจนถึงมาก (รายงานการศึกษา 14 ใน 15 ฉบับ) ข้อดี ของกลูโคซามีนซัลเฟต เหนือ ยาต้านการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ (NSAIDs) คือ ชะลอการเคลื่อนตัวเข้าหากันของข้อกระดูกที่ข้อเข่าเห็นผลนี้ชัดเจนเมื่อใช้ใน ระยะยาว ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปและต่อเนื่องไป ชัดเจนมากขึ้นอีกหลัง 3 ปี อาการไม่พึงประสงค์ ที่พบบ่อย คือ คลื่นไส้ ท้องเสีย แสบท้อง ปวดท้อง อาการอื่นๆที่พบไม่บ่อยคือมึนงงปวดศีรษะนอนไม่หลับบวมอาการทางผิวหนัง หัวใจเต้นเร็วข้อควรระวังคือไม่ควรใช้ในคนที่แพ้อาหารทะเลเนื่องจากกลูโคซามีน อาจเตรียมจากสัตว์ทะเล อาจทำ�ให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้
  • 19. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 12 การลดนํ้าหนักเป็นแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมอย่างหนึ่ง เนื่องจากเวลายืนเดิน เข่าต้องรับนํ้าหนัก 3 - 4 เท่าของนํ้าหนักตัวในผู้ที่มี นํ้าหนักตัวมาก เข่าจะยิ่งต้องรับนํ้าหนักมากกว่าปกติ ดังนั้นการลดนํ้าหนักจะช่วย ลดแรงกระทำ�ต่อข้อเข่าได้มาก แบบแผนการลดนํ้าหนักที่ถูกต้องประกอบด้วย 3ประการคือการเรียนรู้โภชนาการที่ดีการออกกำ�ลังกายและเรียนรู้การปรับเปลี่ยน พฤติกรรม แนวทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค 1. กินให้ครบ3มื้อตามเวลาอาหารห้ามงดมื้อใดมื้อหนึ่งเพราะจะทำ�ให้ หิวและกินมากในมื้อถัดไป 2. ห้ามงดอาหารเช้า การงดอาหารเช้าจนเป็นนิสัยทำ�ให้การเผาผลาญ ลดลงจากปกติ 1 - 2% อาจทำ�ให้นํ้าหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ 4 กิโลแคลอรี่ ใน 1 ปี แม้ว่า ไม่ได้กินเพิ่มก็ตาม 3. งดการกินอาหารจุกจิก ควรดื่มเครื่องดื่มที่ไม่มีพลังงาน เช่น นํ้า นํ้าตะไคร้ นํ้าใบเตย นํ้าชา จะลดความรู้สึกหิวได้ 4. หลีกเลี่ยงการกินอาหารกลางคืนหรือใกล้เวลานอน 5. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งกระตุ้นความอยากอาหาร 6. กินช้าๆเคี้ยวช้าๆการรีบร้อนทำ�ให้กินเกินอัตรากลไกการส่งสัญญาณ ความอิ่มระหว่างกระเพาะอาหารและสมองใช้เวลาประมาณ 20 นาที 7. แยกแยะความหิวและความอยากให้ชัดเจน คนอ้วนมักกินเพราะ ความอยากและความเคยชินมากกว่าหิว
  • 20. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 13 วิธีลดไขมันในอาหาร 1. ใช้ปิรามิดแนะแนวอาหารหรือธงโภชนบัญญัติของคนไทยเป็น แนวทางในการเลือกอาหาร 2. เลี่ยงอาหารทอดกรอบ อาหารผัดมาก หรือหนังสัตว์ 3. รู้จักแยกแยะไขมันซ้อนรูป และเรียนรู้ปริมาณที่กิน เช่นไอศกรีม ถั่วเปลือกแข็งประเภทนัท เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน เป็นต้น 4. เลือกเนื้อล้วนไม่ติดมันและจำ�กัดไม่เกินวันละ 6 ส่วนแลกเปลี่ยน 5. เลือกอาหารทะเลโดยเฉพาะปลา และเต้าหู้มากขึ้น 6. เพิ่มผัก ผลไม้ 7. ลดอาหารแป้งและนํ้าตาล 8. งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปริมาณอาหารที่แนะนำ� 1 วัน สำ�หรับผู้ป่วยที่มีนํ้าหนักตัวเกิน (พลังงาน 1,200 กิโลแคลอรี่) กลุ่มอาหารต่างๆ ปริมาณที่แนะนำ� ข้าว แป้ง 6 ทัพพี ผัก 3 - 4 ทัพพี ผลไม้ 2 - 3 ส่วน เนื้อสัตว์ไขมันตํ่า 5 ช้อนโต๊ะ นมพร่องมันเนย 1 แก้ว นํ้ามันพืช 3 - 4 ช้อนชา นํ้าตาลทราย ไม่เกิน 3 ช้อน
  • 21. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 14 ตัวอย่างปริมาณอาหาร 1 ส่วน 1. ข้าว แป้ง 1 ทัพพี มีพลังงาน 80 กิโลแคลอรี่ ข้าวกล้อง 1 ทัพพี วุุ้นเส้น 1 ทัพพี ขนมปัง 1 แผ่น ข้าวเหนียว 1 ทัพพี
  • 22. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 15 2. ผัก 1 ทัพพี มีพลังงาน 25 กิโลแคลอรี่ กะหลํ่าดอก 1 ทัพพี ข้าวโพดอ่อน 1 ทัพพี ผักบุ้งจีน 1 ทัพพี มะเขือเทศ 1 ทัพพี
  • 23. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 16 3. ผลไม้ 1 ส่วน มีพลังงาน 60 กิโลแคลอรี่ มะละกอสุก 1 ส่วน มังคุด 1 ส่วน แก้วมังกร 1 ส่วน กล้วยนํ้าว้า 1 ส่วน
  • 24. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 17 4. เนื้อสัตว์ไขมันตํ่า 2 ช้อนโต๊ะ มีพลังงาน 55 กิโลแคลอรี่ เนื้อหมู 2 ช้อนโต๊ะ ปลาทู 1 ตัว ลูกชิ้น 5 ลูก เต้าหู้ หลอด
  • 26. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 19 6. นํ้ามันพืช ไขมัน 1 ส่วน พลังงาน 45 กิโลแคลอรี่ นํ้ามันพืช 1 ช้อนชา เนย ก่อน หัวกะทิ 1 ช้อนโต๊ะ นํ้าสลัด 1 ช้อนโต๊ะ
  • 28. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 21 ตัวอย่างท่าการออกกำ�ลังกายข้อเข่าเสื่อม ข้อเข่าเสื่อมถือเป็นความเสื่อมทางโครงสร่างที่ไม่สามารถนำ�กลับคืนมาได้ การออกกำ�ลังกายเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำ�หรับโรคข้อเสื่อม สามารถช่วยปรับ สภาพอารมณ์และรูปลักษณ์ของร่างกายช่วยลดอาการปวดช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ช่วยให้การไหลเวียนเลือดและหัวใจทำ�งานดีขึ้น ช่วยควบคุมนํ้าหนัก และช่วยเพิ่ม สมรรถภาพทางกายโดยรวมให้ดีขึ้น 1. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา ท่าที่ 1 นอน - กดเข่า นั่งเหยียดขาข้างที่จะออกกำ�ลังใช้หมอนเล็กรองใต้เข่าออกแรงกล้ามเนื้อ หน้าขากดหมอนลงโดยปลายเท้าไม่ยกลอย เกร็งค้างไว้ นับ 1 ถึง 10 พัก (ไม่นาน) ทำ�ซํ้า 10 ครั้งต่อเนื่อง (นับเป็น 1 เซต) ให้ทำ� 3 เซต วันละ 3 รอบ (ท่านี้เหมาะ มากสำ�หรับผู้ที่ขยับเข่ามากแล้วเจ็บ)
  • 29. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 22 ท่าที่ 2 นั่ง - เหยียดเข่า นั่งห้อยขาบนเก้าอี้ อาจมีหมอนเล็กรองใต้เข่า เหยียดข้อเข่าให้ขายืน ออกตรงๆ อย่างช้าๆ เกร็งเข่าค้างไว้ นับ 1 ถึง 10 แล้วค่อยๆ วางขาลงอย่างช้าๆ (นับเป็น 1 เซต) พัก แล้วเหยียดขาอีกข้างหนึ่ง แบบเดียวกัน ทำ�สลับกันข้างละ 10 ครั้งต่อเนื่อง ให้ทำ� 3 เซต วันละ 3 รอบ ท่าที่ 3 นอน – เหยียดเข่า - ยกขา นอนหงาย เหยียดขาข้างที่จะออกกำ�ลังให้ตรง ชันเข่าอีกข้างหนึ่งไว้ ยกขาข้างที่เหยียดตรงให้สูงจากพื้นประมาณ 12 - 18 นิ้ว ค้างไว้ 3-10 วินาที แล้วปล่อยวางลงช้าๆ พัก (ไม่นาน) ทำ�ซํ้า 10 ครั้ง ต่อเนื่อง (นับเป็น 1 เซต) ให้ทำ� 3 เซต วันละ 3 รอบ (เมื่อเก่งขึ้นอาจเพิ่มถุงทรายนํ้าหนักที่ข้อเท้า เพื่อเพิ่ม ความแข็งแรง)
  • 30. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 23 ท่าที่ 4 นอนควํ่า - งอเข่า นอนควํ่าโดยให้ขาทั้งสองข้างเหยียดตรงพับเข่าข้างหนึ่งให้งอมาชิดกันให้ มากที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ ค้างไว้ 3 - 10 วินาที แล้วปล่อยวางลงช้าๆ พัก (ไม่นาน) ทำ�ซํ้า 10 ครั้งต่อเนื่อง (นับเป็น 1 เซต) ให้ทำ� 3 เซต วันละ 3 รอบ (เมื่อเก่งขึ้น อาจเพิ่มถุงทรายนํ้าหนักที่ข้อเท้า เพื่อเพิ่มความแข็งแรง)
  • 31. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 24 ท่าที่ 5 นอนควํ่า-ยกขา นอนควํ่า ยกขาข้างที่จะออกกำ�ลังขึ้นโดยเข่าเหยียดตรงวางลงช้าๆ พัก (ไม่นาน) ทำ�ซํ้า 10 ครั้งต่อเนื่อง (นับเป็น 1 เซต) ให้ทำ� 3 เซต วันละ 3 รอบ (ในคนอ้วนมากหรือมีปัญหาระบบหายใจ หัวใจ ไม่ควรนอนควํ่า) ท่าที่ 6 ยืน-ย่อเข่า - ยืนตรงด้วยขา 2 ข้าง หรือขาข้างเดียว มือจับพนักเก้าอี้ไว้ค่อยๆ ย่อเข่าลงเพียงเล็กน้อย (อย่าให้เกิน 30 องศา) โดยลำ�ตัวเหยียดตรง แล้วค่อยๆ เหยียดตัวขึ้นตรง พัก (ไม่นาน) ทำ�ซํ้า 10 ครั้งต่อเนื่อง (นับเป็น 1 เซต) ให้ทำ� 3 เซต วันละ 3 รอบ (หากมีนํ้าหนักตัวมากหรือเข่าเสื่อมมาก ไม่ควรทำ�ท่านี้)
  • 32. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 25 ท่าที่ 7 พิงผนัง - ย่อเข่า สำ�หรับผู้สูงอายุให้ทำ�ท่าย่อเข่าโดยการยืนพิงผนังห่างจากผนังประมาณ 1 ฟุต กดหลังให้แนบฝา ค่อยๆ ย่อเข่าลง เกร็งไว้ 5 - 10 วินาที แล้วค่อยๆ เหยียด ตัวขึ้นตรง พัก (ไม่นาน) ทำ�ซํ้า 10 ครั้งต่อเนื่อง (นับเป็น 1 เซต) ให้ทำ� 3 เซต วันละ 3 รอบ
  • 33. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 26 ท่าที่ 8 นอนตะแคง - ยกขา - หุบ  นอนตะแคง ขาข้างที่จะออกกำ�ลังอยู่ด้านล่าง ขาอีกข้างวางบนเก้าอี้ ยกขาด้านล่างขึ้นมาให้ชิดเก้าอี้ วางลงช้าๆ พัก (ไม่นาน) ทำ�ซํ้า 10 ครั้งต่อเนื่อง (นับเป็น 1 เซต) ให้ทำ� 3 เซต วันละ 3 รอบ
  • 34. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 27 ท่าที่ 9 นอนตะแคง - ยกขา - กาง นอนตะแคง เหยียดขา 2 ข้างตรง ยกขาที่อยู่ด้านบนขึ้นตรงๆ ค้างไว้ แล้ววางลงช้าๆ พัก (ไม่นาน) ทำ�ซํ้า 10 ครั้งต่อเนื่อง (นับเป็น 1 เซต) ให้ทำ� 3 เซต วันละ 3 รอบ (เหมาะมากสำ�หรับการลดและกระชับสะโพก) 2. เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ท่าที่ 10 ยืดกล้ามเนื้อหน้าขาด้านหน้า ยืนเกาะพนักเก้าอี้ หรือกำ�แพง สะโพกเหยียดตรง งอเข่าข้างที่ต้องการ จะยืด ใช้มือข้างเดียวกันจับข้อเท้าไว้ ดันขึ้นเบาๆ ให้เท้าชิดกันมากที่สุด จนรู้สึก ตึงต้นขาด้านหน้า ค้างไว้ 10 - 20 วินาที ทำ� 5 ครั้ง (อาจทำ�ในท่านอนตะแคง) (ไม่แนะนำ�หากยังมีอาการปวดเข่าอยู่)
  • 35. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 28 ท่าที่ 11 ยืดกล้ามเนื้อหน้าขาด้านหลัง นอนหงาย เหยียดขาตรงขึ้นบนกำ�แพง หรือใช้มือช้อนใต้เข่ายกขาขึ้น ตรงๆ ค้างไว้ 10 - 20 วินาที ทำ� 5 ครั้ง
  • 36. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 29 ท่าที่ 12 ยืดกล้ามเนื้อหมุนสะโพก นอนไขว่ห้างด้วยขาข้างที่ต้องการจะยืด ค่อยๆ ใช้มือกดเข่าลงช้าๆ จนรู้สึกตึงรอบๆ สะโพก ค้างไว้ 10 - 20 วินาที ทำ� 5 ครั้ง ท่าที่ 13 ยืดกล้ามเนื้อด้านข้างลำ�ตัวและขา นั่งเหยียดขาตรง ไขว้ขาที่ต้องการจะยืดไปด้านตรงข้าม หมุนตัวและไหล่ ไปอีกด้านหนึ่ง โดยใช้ข้อศอกด้านตรงข้ามกับขาที่ไขว่ดันหัวเข่าค้างไว้ 10 - 30 วินาที ทำ� 5 ครั้ง
  • 37. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 30 ยืนไขว้ขาเข่า2ข้างเหยียดตรงโดยขาที่ต้องการจะยืดอยู่ด้านหลังค่อยๆ ก้มแตะปลายเท้า แบบหลังตรง ค้างไว้ 10 - 30 วินาที ทำ� 5 ครั้ง ท่าที่ 14 ยืดกล้ามเนื้อน่อง ยืนเอามือ 2 ข้างดันกำ�แพงโดยขาที่ต้องการจะยืดอยู่ด้านหลังเข่าเหยียด ตรง ส้นเท้าติดพื้น ค้างไว้ 10 - 30 วินาที ทำ� 5 ครั้ง
  • 38. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 31 ข้อแนะนำ�ในการออกกำ�ลังกายสำ�หรับโรคข้อเข่าเสื่อม ข้อต่อที่เสื่อมไปแล้วจะเป็นไปอย่างถาวร การออกกำ�ลังกายจึงต้องทำ�ให้ ถูกวิธี ควรระวัง ไม่ให้ไปเร่งการเสื่อมของข้อ การออกกำ�ลังกายในผู้ที่มีปัญหา ข้อเข่าเสื่อมจึงควรได้รับการแนะนำ�จากแพทย์หรือนักกายภาพบำ�บัด โดยทั่วไป การออกกำ�ลังกายต้องดำ�เนินตามข้อแนะนำ�ดังนี้ 1. ต้องมีการอบอุ่นร่างกาย(Warmup)และยืดกล้ามเนื้อ(Stretching) เป็นอันดับแรก ใช้เวลาประมาณ 5 - 10 นาที การยืดกล้ามเนื้อทำ�ให้มีการเตรียม ของข้อต่อและกล้ามเนื้อ ป้องกันการเกิดการบาดเจ็บ ส่วนการ warm up ก็เพื่อ ให้หัวใจค่อยๆ เพิ่มการทำ�งาน เช่น เริ่มจากเดินช้าๆ ก่อน 2. การออกกำ�ลังกายอย่างต่อเนื่อง (Exercise) เช่น เดิน ว่ายนํ้าใช้เวลา ประมาณ 30 นาที สำ�หรับในผู้สูงอายุที่ปวดเข่าหรือสะโพกการเดินหรือวิ่งจึงไม่ สามารถทำ�ได้ อาจเปลี่ยนมาใช้วิธีเดินในนํ้าซึ่งจะช่วยลดแรงกระทำ�ที่เกิดต่อข้อลง เนื่องจากมีแรงพยุงตัวจากนํ้ามาช่วยหรือจะว่ายนํ้าก็ได้ ข้อจำ�กัดคือหาสระว่ายนํ้า ได้ยาก 3. การผ่อนคลายหลังจากออกกำ�ลังกาย (Cool down) และยืดกล้าม เนื้ออีกครั้ง ให้หัวใจที่เคยทำ�งานหนักได้ทำ�งานช้าลงอย่างเป็นระบบ โดยเมื่อออก กำ�ลังกายมาแล้วไม่ควรหยุดทันทีเพราะจะทำ�ให้เลือดกลับมาที่หัวใจได้ไม่มากพอ ทำ�ให้เป็นอันตรายได้เช่นถ้าวิ่งก่อนให้ค่อยเปลี่ยนมาเป็นเดินช้าๆและจบด้วยการ ยืดกล้ามเนื้ออีกครั้ง ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 5- 10 นาที 4. ไม่ควรออกกำ�ลังกายที่มีการเคลื่อนไหวรุนแรง เร็วหรือกระชาก เพราะจะทำ�ให้บาดเจ็บได้ 5. ควรออกกำ�ลังกายเป็นกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจับกลุ่ม ออกกำ�ลังกับคนในวัยเดียวกัน มีความสามารถใกล้เคียงกันทำ�ให้ไม่มีบรรยากาศ ของการแข็งขัน 6. หลีกเลี่ยงท่าที่ทำ�ให้เข่าบิด พับงอ รับนํ้าหนักเป็นเวลานาน
  • 40. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 33 บรรณานุกรม LaBotz M (2004). Patellofemoral syndrome. Physician and Sports- medicine: http://www.physsportsmed.com K S Thomas, K R Muir, M Doherty, A C Jones, S C O’Reilly, EJ Bassey. Home based exercise programme for knee pain and knee osteoarthritis: randomised controlled trial BMJ 2002; 325 (7367):752 Lawrence JS, Bremner JM, Bier F. Osteoarthritis-Prevalence in the Population and Relationship between Symptom and X-ray Changes. Ann Rheum Dis 1986; 25: 1-24. Alta J. Strengthening Muscle. Exerc Sport Sci Rev. 1981; 9: 1-74. Hochberg MC, Altma RD, Brandt KD, Clark BM, Dieppe PA, Griffin MR, et al. Guidelines for the Medical Management of Osteoar- thritis. Arthritis Rheum 1995; 38: 1541-6. Felson DT, Zhang Y, Hannan MT, et al. The incidence and natural history of knee osteoarthritis in elderly. The Framingham osteoarthritis Study. Arthritis Rheum 1995; 38: 1500-5. โครงการควบคุมโรคปวดข้อและปวดเมื่อย กระทรวงสาธารณสุขระบาดวิทยาของ โรคปวดข้อและปวดเมื่อย. กรุงเทพมหานคร : งานแผนงานและสถิติ ฝ่ายวิชาการโรงพยาบาลเลิดสิน 2530:39-48. สมชาย อรรฆศิลป์, อุทิศ ดีสมโชค. โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis). ใน : สุรศักดิ์ นิลนุกาวงศ์, สุรวุฒิ ปรีชานนท์ (บรรณาธิการ), คู่มือโรคข้อ หน้า 272-278. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ เรือนแก้ว การพิมพ์, 2541.
  • 41. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 34 สุรวุฒิ ปรีชานนท์. โรคข้อเสื่อม. ตำ�ราโรคข้อ หน้า 89-126. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, 2538. สุจิตรา เลิศวีระศิริกุล, เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม, ธวัชชัย วงพงศธร, ชาญยุทธ ศุภชาติวงศ์.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม.Rama Med J 1992; 15:34-40. อุดม ชมชาญ, สารเนตร ไวคกุล, ภาวะข้อเข่าเสื่อม : สภาพของผู้ป่วยและการ รักษาที่เคยได้รับมาก่อน. สงขลานครินทร์เวชสาร 2527; 2:135-8.
  • 42. คู่มือการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมโดยสหสาขาวิชาชีพ 35 คณะผู้จัดทำ� 1. ดร.อภิวรรณ ณัฐมนวรกุล 2. จันทนงค์ อินทร์สุข 3. จิรนันท์ ทองสัมฤทธิ์ 4. ดลินพร สนธิรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญทบทวน 1. นพ.คมวุฒิ คนฉลาด 2. ผศ.ดร.รุ่งชัย ชวนไชยะกูล 3. ดร.วีรวัฒน์ ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์ 4. นพ.ชาวิท ตันวีรชัยสกุล ที่ปรึกษา 1. นายแพทย์นันทศักดิ์ ธรรมานวัตร 2. นพ.สฐาปกร ศิริพงศ์ 3. นพ.สมรักษ์ สันติเบ็ญจกุล 4. พญ.อรพิชญา ไกรฤทธิ์ 5. ผศ.ดร.วารี กังใจ 6. ดร.ชนิดา ปโชติการ พิมพ์ครั้งที่ 1 : กุมภาพันธ์ 2554 จำ�นวนพิมพ์ : 500 เล่ม พิมพ์ที่ : บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำ�กัด