SlideShare a Scribd company logo
1 of 43
Download to read offline
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดารงชีวิตของพืช
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
นางเอเดียน คุณาสิทธิ์
โรงเรียนบ้านกาเกาะระโยง
อาเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ข
คานา
ชุดกิจกรรมนี้ จัดทาขึ้นเพื่อใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ รหัสวิชา ว 23101 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและชีวิตพืช ซึ่งเป็นชุดกิจกรรมที่เน้นทักษะการทา
โครงงานวิทยาศาสตร์ควบคู่กับการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนสามารถปฏิบัติ
กิจกรรมได้ตามความสนใจ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้นี้มี จานวน 8 ชุด เวลาเรียน 24 ชั่วโมง ดังนี้
1. ชุดกิจกรรมที่ 1 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์ (เวลา 3 ชั่วโมง)
2. ชุดกิจกรรมที่ 2 เรื่อง โครงสร้างหน้าที่และส่วนประกอบของเซลล์ (เวลา 3 ชั่วโมง)
3. ชุดกิจกรรมที่ 3 เรื่อง การเคลื่อนที่ของสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ (เวลา 3 ชั่วโมง)
4. ชุดกิจกรรมที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช (เวลา 3 ชั่วโมง)
5. ชุดกิจกรรมที่ 5 เรื่อง การลาเลียงของสารในพืช (เวลา 3 ชั่วโมง)
6. ชุดกิจกรรมที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช (เวลา 3 ชั่วโมง)
7. ชุดกิจกรรมที่ 7 เรื่อง การเจริญเติบโตและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช(เวลา3ชั่วโมง)
8. ชุดกิจกรรมที่ 8 เรื่อง เทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับพืช (เวลา 3 ชั่วโมง)
ชุดกิจกรรมนี้เป็นชุดกิจกรรมที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช ในการใช้ชุดกิจกรรม
ให้นักเรียนปฏิบัติตามคาชี้แจงของชุดกิจกรรมแต่ละชุดอย่างละเอียดโดยปฏิบัติกิจกรรมตามลาดับที่
ของชุดกิจกรรม
ค
สารบัญ
เรื่อง หน้า
ปก ............................................................................................................................................ ก
คานา......................................................................................................................................... ข
สารบัญ..................................................................................................................................... ค
สารบัญภาพประกอบ..................................................................................................................ง
ส่วนประกอบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ..................................................................................... ฉ
คาชี้แจงสาหรับครู .....................................................................................................................ช
คาชี้แจงสาหรับนักเรียน..................................................................................................................ซ
แผนผังการจัดกลุ่มการเรียน........................................................................................................... ฌ
ชุดกิจกรรมที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช.................................................................1
ใบความรู้ที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช...........................................................................2
กิจกรรมที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช..........................................................................16
ตอนที่ 1 เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างของดอกไม้......................................16
ตอนที่ 2 เรื่อง การงอกของละอองเรณู ..................................................................19
แนวการตอบกิจกรรมที่ 6...............................................................................................................23
เกณฑ์การให้คะแนนกิจกรรมที่ 6..................................................................................................31
บรรณานุกรม..................................................................................................................................33
ง
สารบัญภาพประกอบ
ภาพที่ หน้า
ภาพที่ 6.1 ดอกมะเขือ.....................................................................................................................1
ภาพที่ 6.2 โครงสร้างของดอกไม้..............................................................................................3
ภาพที่ 6.3 ดอกชงโค ................................................................................................................4
ภาพที่ 6.4 ดอกบานบุรี..............................................................................................................4
ภาพที่ 6.5 ดอกต้อยติ่ง ............................................................................................................4
ภาพที่ 6.6 ดอกการเวก.............................................................................................................4
ภาพที่ 6.7 ดอกแพงพวย............................................................................................................4
ภาพที่ 6.8 ดอกพู่ระหง.............................................................................................................4
ภาพที่ 6.9 ดอกมะละกอตัวเมีย ....................................................................................................5
ภาพที่ 6.10 ดอกมะละกอตัวผู้..................................................................................................5
ภาพที่ 6.11 ดอกบานเย็น..........................................................................................................5
ภาพที่ 6.12 ดอกแตงกวา...........................................................................................................5
ภาพที่ 6.13 ดอกกล้วยไม้ ............................................................................................................5
ภาพที่ 6.14 ดอกเงาะ................................................................................................................5
ภาพที่ 6.15 ดอกเฟื่องฟ้า ..........................................................................................................6
ภาพที่ 6.16 ดอกกุหลาบ...........................................................................................................6
ภาพที่ 6.17 ดอกอัญชัน............................................................................................................6
ภาพที่ 6.18 ดอกแค ..................................................................................................................6
ภาพที่ 6.19 ดอกอุตพิด.............................................................................................................7
ภาพที่ 6.20 ดอกหน้าวัว ........................................................................................................7
ภาพที่ 6.21 ดอกมะเดื่อ.............................................................................................................7
ภาพที่ 6.22 ดอกละหุ่ง ..............................................................................................................7
ภาพที่ 6.23 ดอกตาลึง...............................................................................................................7
ภาพที่ 6.24 ดอกบวบ ..............................................................................................................7
ภาพที่ 6.25 การงอกของหลอดเรณูเพื่อนาสเปิร์มเซลล์ไปผสมกับไข่ในออวูล..........................8
จ
สารบัญภาพประกอบ (ต่อ)
ภาพที่ หน้า
ภาพที่ 6.26 มังคุด.....................................................................................................................9
ภาพที่ 6.27 ทุเรียน ..................................................................................................................9
ภาพที่ 6.28 น้อยหน่า...............................................................................................................10
ภาพที่ 6.29 กระดังงา .............................................................................................................10
ภาพที่ 6.30 สับปะรด ..............................................................................................................10
ภาพที่ 6.31 ลูกยอ....................................................................................................................10
ภาพที่ 6.32 ผลมะเดื่อ..............................................................................................................10
ภาพที่ 6.33 ผลมะเดื่อผ่าซีก....................................................................................................10
ภาพที่ 6.34 ว่านสี่ทิศ ............................................................................................................. 11
ภาพที่ 6.35 เศรษฐีพันล้าน........................................................................................................... 11
ภาพที่ 6.36 โคมญี่ปุ่น..............................................................................................................12
ภาพที่ 6.37 เฟิร์นใบมะขาม ...................................................................................................12
ภาพที่ 6.38 ลิเวอร์เวิร์ต ...........................................................................................................12
ภาพที่ 6.39 มอสส์ ............................................................................................................12
ภาพที่ 6.40 ขั้นตอนการตอนกิ่ง.............................................................................................13
ภาพที่ 6.41 ขั้นตอนการติดตา................................................................................................13
ภาพที่ 6.42 ขั้นตอนการทาบกิ่ง..............................................................................................14
ภาพที่ 6.43 ขั้นตอนการต่อกิ่ง................................................................................................14
ภาพที่ 6.44 การทดลองการงอกของละอองเรณู......................................................................20
ฉ
ชุดกิจกรรมที่6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช มีส่วนประกอบที่สาคัญดังนี้
1. เป็นชุดกิจกรรมที่ใช้ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11 และ 12
2. ใบความรู้ที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช
3. ใบกิจกรรมที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช
ตอนที่ 1 เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างของดอกไม้(1ชั่วโมง)
ตอนที่ 2 เรื่อง การงอกของละอองเรณู ( 2 ชั่วโมง)
4. แนวการตอบกิจกรรมที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช
5. เกณฑ์การให้คะแนนกิจกรรมที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช
ส่วนประกอบของชุดกิจกรรมที่ 6
เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช
ช
คาชี้แจงสาหรับครู
การใช้ชุดกิจกรรมเพื่อให้บรรลุผลตามจุดประสงค์ที่กาหนดไว้ สิ่งที่ครูผู้สอนต้องเตรียม
มีดังนี้
1. ศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11 และ 12 ในคู่มือการใช้ชุดกิจกรรมให้ละเอียด
2. ศึกษาเนื้อหาและคาชี้แจงในการใช้ชุดกิจกรรมแต่ละชุด และปฏิบัติตามขั้นตอนใน
คาชี้แจงของกิจกรรมตามลาดับอย่าข้ามขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง
3. ครูเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในชุดกิจกรรมไว้ล่วงหน้าก่อนทาการเรียนการสอน
4. ครูจัดชั้นเรียนโดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 8 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน ตามแผนผังที่กาหนดไว้
โดยมีหัวหน้าประจาทุกกลุ่ม ผู้นากลุ่มอาจมีการผลัดเปลี่ยนกันแต่ละกลุ่มควรเป็นกลุ่มเดิมเพื่อจะได้
ทางานที่ต่อเนื่องกัน
5. ครูต้องชี้แจงให้นักเรียนมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และรู้บทบาทหน้าที่ของตนในกลุ่ม
โดยไม่ให้ดูเฉลยก่อน หลังจากปฏิบัติกิจกรรมเสร็จแล้วจึงเปิดดูเฉลยได้และมีการแลกเปลี่ยนกัน
ตรวจตามเกณฑ์การให้คะแนนที่กาหนดไว้ในแต่ละกิจกรรม
6. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ แบ่งออกเป็น 5
ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างความสนใจ 2) ขั้นสารวจและค้นหา 3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
4) ขั้นขยายความรู้ 5) ขั้นประเมินผล
7. ชุดกิจกรรมที่ 4 เป็นการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในเนื้อหาประจาหน่วย ซึ่ง
บูรณาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์
ไปพร้อม ๆ กัน
8. ขณะที่นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมครูต้องคอยดูแลและแนะนาการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด
เมื่อนักเรียนพบปัญหาในการเรียนจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้ทันที
9. เมื่อนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นักเรียนเก็บสื่อและวัสดุอุปกรณ์ของ
แต่ละกลุ่มให้เรียบร้อย โดยเน้นการเก็บและดูแลรักษาความสะอาดฝึกให้เป็นระเบียบจนเป็นนิสัย
10. เมื่อสิ้นสุดการเรียนชุดกิจกรรมที่ 8 แล้วให้นักเรียนทาแบบทดสอบหลังเรียน
จานวน 40 ข้อซึ่งเป็นแบบทดสอบคู่ขนานกับแบบทดสอบก่อนเรียน
11. แจ้งผลการเรียนจากการปฏิบัติกิจกรรมทันทีที่ตรวจเสร็จแล้ว
ซ
คาชี้แจงสาหรับนักเรียน
การใช้ชุดกิจกรรมนักเรียนควรทราบถึงบทบาทของตนเองดังนี้
1. ศึกษาคาชี้แจงในการใช้ชุดกิจกรรมแต่ละชุดอย่างละเอียด
2. ศึกษาใบความรู้ที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช แล้วปฏิบัติกิจกรรม
ตามใบกิจกรรม ดังนี้
ตอนที่ 1 เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างของดอกไม้(1ชั่วโมง)
ตอนที่ 2 เรื่อง การงอกของละอองเรณู ( 2 ชั่วโมง)
3. นักเรียนต้องตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมอย่างจริงจังไม่เล่นหรือทาให้ล่าช้า
4. กิจกรรมการทดลองต้องทาตามขั้นตอนทุกขั้นตอนด้วยความระมัดระวังเพราะ
อุปกรณ์อาจแตกหรือเสียหายได้
5. หลังทากิจกรรมเสร็จแล้วให้นักเรียนส่งผลงานการทากิจกรรมให้ครูตรวจหรือ
แลกเปลี่ยนกันตรวจก่อนที่จะดาเนินการศึกษากิจกรรมต่อไป ถ้ามีอะไรชารุดเสียหายต้องแจ้งให้ครู
ทราบทันที
6. เมื่อทากิจกรรมเสร็จทั้ง 8 ชุดแล้วให้นักเรียนทาแบบทดสอบหลังเรียน 40 ข้อ
เพื่อประเมินความรู้หลังเรียน
ฌ
แผนผังการจัดกลุ่มการเรียน
การประเมินผล
1. ประเมินจากการทาแบบทดสอบก่อนเรียน -หลังเรียน จานวน 40 ข้อ
2. ประเมินผลจากการทากิจกรรมที่ 6 ตอนที่ 1ตอนที่ 1 เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบ
โครงสร้างของดอกไม้ตามเกณฑ์การประเมินที่กาหนด
3. ประเมินการทากิจกรรมการทดลองตอนที่ 2 เรื่อง การงอกของละอองเรณู
ตามเกณฑ์การประเมินที่กาหนด
4. สังเกตความสนใจและความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมและพฤติกรรมการทางาน
กลุ่มทุกครั้งที่เรียน
โต๊ะครู
กลุ่มที่ 7 กลุ่มที่ 1
กลุ่มที่ 6 กลุ่มที่ 2
กลุ่มที่ 3
กลุ่มที่ 8
กลุ่มที่ 5
กลุ่มที่ 4
1
ชุดกิจกรรมที่ 6
เรื่องย่อยที่ 6 กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช
ใช้ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11 – 12 (เวลา 3 ชั่วโมง)
คาชี้แจง
1. ให้นักเรียนทากิจกรรมที่ 6 ตอนที่ 1 เรื่อง ส่วนประกอบและหน้าที่ของ
ส่วนประกอบของดอกไม้ ตอบคาถามและสรุปผลการศึกษา
2.ให้นักเรียนทากิจกรรมที่ 6 ตอนที่ 2 เรื่อง การงอกของละอองเรณู
ตอบคาถามและสรุปผลการศึกษา
3. ศึกษาใบความรู้ที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช ประกอบการทา
กิจกรรมแล้วร่วมกันอภิปราย เสนอแนะแนวทางการทาโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
กับกระบวนการสืบพันธุ์ของพืช และการนาความรู้ไปใช้ประโยชน์
4. ตรวจคาตอบจากแนวการตอบ
ภาพที่ 6.1 ดอกมะเขือ
(ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th)
2
ใบความรู้ที่ 6
เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช
จุดประสงค์การเรียนรู้
เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืชแล้ว สามารถ
1. สังเกต และเปรียบเทียบส่วนประกอบและหน้าที่ของส่วนประกอบของดอกไม้ได้
2. อธิบายกระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกได้
3. ยกตัวอย่างและอธิบายกระบวนการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชได้
4. ยกตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสืบพันธุ์ของพืชได้
1. กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องมีการสืบพันธุ์เพื่อแพร่พันธุ์และขยายพันธุ์ เพื่อให้ดารงเผ่าพันธุ์ได้
โดยไม่สูญพันธุ์ไป พืชก็เช่นเดียวกัน มีการสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ โดยใช้ส่วน
ต่าง ๆ ในการขยายพันธุ์ การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศจะเกิดขึ้นในอวัยวะสืบพันธุ์ คือ ดอก มีเซลล์
สืบพันธุ์คือ เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ดอกบางชนิดมีเซลล์สืบพันธุ์ครบทั้งเกสรตัวผู้และเกสร
ตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน เช่น ดอกกุหลาบ ดอกชบา แต่พืชบางชนิด มีเฉพาะเกสรตัวผู้หรือเกสร
ตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ดอกมะละกอ ดอกฟักทอง ดอกตาลึง เป็นต้น
1.1 การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual Reproduction)
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเป็นการสืบพันธุ์ที่เกิดจากการผสมระหว่างเซลล์สืบพันธุ์
เพศผู้ คือ สเปิร์ม (Sprem) และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย คือ ไข่ (Egg) ซึ่งจะเจริญไปเป็นต้นอ่อน
(Embryo) ที่มีลักษณะเหมือนต้นพ่อและต้นแม่ ซึ่งอาจจะกลายพันธุ์ได้โครงสร้างของพืชที่
เกี่ยวกับการขยายพันธุ์คือ ดอก (Flower)
1.1.1 โครงสร้างของดอก
ดอกเป็นอวัยวะที่ทาหน้าที่ในการสืบพันธุ์ มีส่วนประกอบดังนี้
1) กลีบเลี้ยง (Sepal) เป็นส่วนที่อยู่นอกสุด มีสีเขียว ทาหน้าที่ห่อหุ้มกลีบดอก
ป้ องกันอันตรายให้กับดอกที่ยังตูมอยู่
2) กลีบดอก (Petal) เป็นส่วนที่ติดอยู่กับกลีบเลี้ยงเข้าไป มีสีสวย กลิ่นหอมหรือมี
ต่อมน้าหวานบริเวณโคนกลีบดอก ทาหน้าที่ล่อแมลงให้มาช่วยในการผสมเกสร
3
3) เกสรตัวผู้(Stamen) อยู่ถัดจากกลีบดอก ประกอบด้วย
3.1) อับเรณู (Anther) ภายในอับเรณูมีถุง (Pollen Sac) อยู่ 2 - 4 ถุง ภายใน
บรรจุละอองเรณูไว้จานวนมาก
3.2) ก้านชูอับเรณู (Filament) ทาหน้าที่ชูอับเรณูเพื่อประโยชน์ในการผสมเกสร
4) เกสรตัวเมีย (Pistil) เป็นส่วนที่อยู่ในสุด ทาหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย
ประกอบด้วย
4.1) ยอดเกสรตัวเมีย (Stigma) มีน้าหวานเหนียว ๆ และขนเล็ก ๆ คอยดักจับ
ละอองเรณู และน้าหวานยังใช้เป็นอาหารในการงอกของละอองเรณูอีกด้วย
4.2) ก้านชูเกสรตัวเมีย (Style) ทาหน้าที่ชูยอดเกสรตัวเมียให้สูง เพื่อ
ประโยชน์ในการผสมพันธุ์
4.3) รังไข่ (Ovary) ภายในมี ไข่อ่อน (Ovule) ภายในไข่อ่อนมีไข่ (Egg)
ทาหน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย
ภาพที่ 6.2 โครงสร้างของดอกไม้
(ที่มาของภาพ : ประดับ นาคแก้วและดาวัลย์ เสริมบุญสุข. 2551 :60)
4
ภาพที่ 6.3 ดอกชงโค ภาพที่ 6.4 ดอกบานบุรี
(ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th )
ภาพที่ 6.5 ดอกต้อยติ่ง ภาพที่ 6.6 ดอกการเวก
(ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th )
ภาพที่ 6.7 ดอกแพงพวย ภาพที่ 6.8 ดอกพู่ระหง
(ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th )
1.1.2 ประเภทของดอก ในการจาแนกประเภทของดอกมีการใช้เกณฑ์ในการแบ่ง ดังนี้
1.1.2.1) แบ่งโดยใช้ส่วนประกอบเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ดังนี้
1) ดอกครบส่วน (Complete Flower) เป็นดอกที่มีส่วนประกอบครบ 4
ส่วน คือ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย เช่น กุหลาบ ชบา ต้อยติ่ง บานบุรี มะลิ ชงโค
อัญชัน มะแว้ง มะเขือ พู่ระหง ผักบุ้ง แค แพงพวย บัวหลวง การเวก เป็นต้น
5
ภาพที่ 6.9 ดอกมะละกอตัวเมีย ภาพที่ 6.10 ดอกมะละกอตัวผู้
(ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th )
ภาพที่ 6.11 ดอกบานเย็น ภาพที่ 6.12 ดอกแตงกวา
(ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th )
ภาพที่ 6.13 ดอกกล้วยไม้ ภาพที่ 6.14 ดอกเงาะ
(ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th )
2) ดอกไม่ครบส่วน (Incomplete Flower) เป็นดอกที่มีส่วนประกอบ
ไม่ครบ 4 ส่วน ขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ขาดกลีบเลี้ยง ขาดเกสรตัวผู้หรือขาด
เกสรตัวเมีย เช่น ตาลึง กล้วยไม้ ฟักทอง ข้าว ข้าวโพด จาปา บานเย็น เฟื่องฟ้า อุตพิด หน้าวัว
มะละกอ เงาะ แตงกวา มะยม มะเดื่อ มะพร้าว ตาล บวบ ละหุ่ง หญ้า เป็นต้น
6
1.2.2) แบ่งโดยใช้เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ดังนี้
1) ดอกสมบูรณ์เพศ (Perfect Flower) เป็นดอกที่มีเกสรตัวผู้และเกสร
ตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน เช่น บัว กุหลาบ พู่ระหง ชงโค ถั่ว มะเขือ พริก กล้วยไม้ มะม่วง
ชบา ข้าว หญ้า ต้อยติ่ง จาปา มะลิ เฟื่องฟ้า อัญชัน แค ผักบุ้ง แพงพวย เป็นต้น
2) ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (Imperfect Flower) เป็นดอกที่มีเกสรตัวผู้และ
เกสรตัวเมียอยู่คนละดอก เช่น มะละกอ ตาลึง ข้าวโพด มะพร้าว ตาล เงาะ ฟักทอง บวบ
แตงกวา มะยม มะระ ละหุ่ง หน้าวัว มะเดื่อ ขนุน อุตพิด เป็นต้น
ภาพที่ 6.15 ดอกเฟื่องฟ้า ภาพที่ 6.16 ดอกกุหลาบ
(ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th )
ภาพที่ 6.17 ดอกอัญชัน ภาพที่ 6.18 ดอกแค
(ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th )
7
ภาพที่ 6.19 ดอกอุตพิด ภาพที่ 6.20 ดอกหน้าวัว
(ที่มาของภาพ : http://topicstock.pantip.com) ( ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th)
ภาพที่ 6.21 ดอกมะเดื่อ ภาพที่ 6.22 ดอกละหุ่ง
(ที่มาของภาพ : http://topicstock.pantip.com) (ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th)
ภาพที่ 6.23 ดอกตาลึง ภาพที่ 6.24 ดอกบวบ
(ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th) ( ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th)
8
1.1.3 กระบวนการสืบพันธุ์ของพืชดอก
การสืบพันธุ์ของพืชดอกมีกระบวนการที่เกี่ยวข้องคือ การถ่ายละอองเรณู
การงอกของละอองเรณูและการปฏิสนธิ
1) การถ่ายละอองเรณู (Pollination) หมายถึง การที่ละอองเรณูไปตกบนยอด
เกสรตัวเมีย จะเกิดขึ้นเมื่ออับละอองเรณูที่แก่จัดแตกออก ทาให้ละอองเรณูกระจายออกไปตกบน
ยอดเกสรตัวเมีย ซึ่งมีสารเหนียว ๆ คอยดักจับละอองเรณู ซึ่งจะผสมกันในดอกเดียวกันหรือผสม
ข้ามดอกก็ได้ โดยมีปัจจัยในการพาไป เช่น ลม น้า สัตว์ แมลง และคน
2) การงอกของละอองเรณู เมื่อละอองเรณูตกบนยอดเกสรตัวเมีย นิวเคลียสใน
ละอองเรณูมี 2 นิวเคลียสคือ ทิวบ์นิวเคลียส (Tube Nucleus) และเจเนอเรทีฟนิวเคลียส (Generative
Nucleus) ทิวบ์นิวเคลียสจะงอกหลอดลงไปในก้านเกสรเพศเมียจนไปถึงออวุล ทิวบ์นิวเคลียสจะ
สลายตัวไป ส่วนเจเนอเรทีฟนิวเคลียสจะแบ่งตัวให้สเปิร์มนิวเคลียส 2 อัน
ภาพที่ 6.25 การงอกของหลอดเรณูเพื่อนาสเปิร์มเซลล์ไปผสมกับไข่ในออวูล
(ที่มาของภาพ : ถนัดศรีบุญเรืองและคณะ. ม.ป.ป. : 100)
9
3) การปฏิสนธิ (Fertilization) คือ การที่เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้(สเปิร์ม) ผสม
กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (เซลล์ไข่) ในออวุลได้ไซโกต (Zygote) และเจริญไปเป็น เอ็มบริโอ
(Embryo) ซึ่งการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นเมื่อ เจเนเรทีฟนิวเคลียสแบ่งตัวให้สเปิร์มนิวเคลียส 2 อัน และ
เกิดการผสมโดย สเปิร์มตัวที่ 1 ผสมกับไข่ ได้ไซโกต เจริญไปเป็นเอ็มบริโอ และสเปิร์มตัวที่ 2
ผสมกับโพลานิวเคลียส (Pola Necleus) ได้เอ็นโดสเปิร์ม (Endosperm) ซึ่งเป็นอาหารสาหรับเลี้ยง
เอ็มบริโอ เรียกการปฏิสนธิแบบนี้ว่า การปฏิสนธิซ้อน (Double Fertilization) หลังการปฏิสนธิ
จะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
3.1) กลีบเลี้ยงจะเหี่ยวแห้งและหลุดไปเป็นส่วนใหญ่ แต่บางชนิดยัง
คงอยู่ เช่น มังคุด มะเขือ
3.2) กลีบดอก ยอดเกสรตัวเมีย และก้านเกสรตัวเมียจะเหี่ยวแห้งและ
ร่วงหลุดไป แต่มีผลไม้บางชนิดเจริญมาจากส่วนของกลีบดอก เช่น เนื้อขนุน สับปะรด เป็นต้น
3.3) รังไข่ เจริญไปเป็นผล แต่มีผลไม้บางชนิดเกิดจากฐานรองดอก เช่น
ชมพู่ แอลเปิล สาลี่ แพร์
3.4) ผนังรังไข่ เจริญไปเป็นเปลือกและเนื้อของผล
3.5) ออวุล เจริญไปเป็นเมล็ด
3.6) ไข่ เจริญไปเป็นต้นอ่อน (เอ็มบริโอในเมล็ด
3.7) เยื่อหุ้มออวุล จะเจริญไปเป็นเปลือกหุ้มเมล็ด
4) ผล (Fruit) ผลส่วนใหญ่เกิดจากการเจริญเติบโตของรังไข่ หลังจาก
การปฏิสนธิแล้ว แต่ผลบางชนิดอาจเกิดจากการกระตุ้นจากละอองเรณูหรือฮอร์โมนบางชนิด
ทาให้ผลชนิดนี้ไม่มีเมล็ด เช่น กล้วยหอม สับปะรด ผลแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
4.1) ผลเดี่ยว คือผลที่เกิดจากรังไข่เพียงอันเดียวอยู่ภายในดอกเดียว ซึ่ง
ภายในรังไข่จะมีออวุลอันเดียว เช่น มะยม มะพร้าว มะม่วง มะปราง เป็นต้น หรืออาจหลายออวุล
ก็ได้เช่น แตงโม มะนาว ทุเรียน มังคุด มะขาม
ภาพที่ 6.26 มังคุด ภาพที่ 6.27 ทุเรียน
(ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th) ( ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th)
10
4.2) ผลกลุ่ม คือผลที่เกิดจากรังไข่หลายอันอยู่ในดอกเดียวกันรังไข่แต่ละ
อันเมื่อได้รับการผสมแล้วเจริญไปเป็นผลหนึ่งผล เช่น กระดังงา ลูกจาก การเวก เป็นต้น บางชนิด
มีรังไข่อัดอยู่บนฐานรองเดอกเดียวกันจนทาให้ดูเหมือนเป็นผลเดี่ยว เช่น น้อยหน่า สตรอเบอรี
ฝักบัว เป็นต้น
4.3) ผลรวม คือ ผลที่เกิดจากรังไข่ของช่อดอก โดยแต่ละดอกมีรังไข่
อันเดียว รังไข่แต่ละดอกเมื่อเจริญไปเป็นผลจะเชื่อมรวมกันเป็นเนื้อเดียวจนดูคล้ายผลเดี่ยว เช่น
สับปะรด ขนุน มะเดื่อ ลูกยอ เป็นต้น
ภาพที่ 6.28 น้อยหน่า ภาพที่ 6.29 กระดังงา
(ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th) ( ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th)
ภาพที่ 6.30 สับปะรด ภาพที่ 6.31 ลูกยอ
(ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th) ( ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th)
ภาพที่ 6.32 ผลมะเดื่อ ภาพที่ 6.33 ผลมะเดื่อผ่าซีก
(ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th) ( ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th)
11
1.2 การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual Reproduction)
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เป็นการสืบพันธุ์ที่ไม่อาศัยดอก และไม่มีการผสม
ระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย การขยายพันธุ์ของพืชดอกจะใช้เมล็ดใน
การปลูก แต่มีพืชดอกหลายชนิดสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศก็ได้แม้ว่าจะมีดอกก็ตาม อาจเกิดได้เอง
ตามธรรมชาติหรือเกิดจากการกระทาของมนุษย์ก็ได้ พืชต้นใหม่ที่เกิดขึ้นโดยวิธีนี้จะไม่กลายพันธุ์
แต่อาจเป็นต้นใหม่ที่ไม่ทนทานหรือแข็งแรงเท่าเดิม
1.2.1 การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
พืชต้นใหม่ที่เจริญมาจากส่วนที่เป็นต้นพ่อต้นแม่ เรียกว่า การแพร่พันธุ์โดยใช้
ส่วนที่เป็นต้นพ่อต้นแม่ ได้แก่
1) การแตกหน่อหรือเหง้า เช่น ต้นกล้วย ไผ่ หญ้า กล้วยไม้ประเภทแคทรียา
2) การแตกต้นใหม่จากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น
2.1) ลาต้นใต้ดินเช่นขิง ข่า ขมิ้น ตะไคร้ พุทธรักษา ว่านสี่ทิศ เผือก
แห้ว มันฝรั่ง
2.2) กิ่ง ใช้วิธีการปักชา เช่น พู่ระหง พลูด่าง มะลิ
2.3) ใบ เช่น กุหลาบหิน โคมญี่ปุ่น ต้นคว่าตายใบเป็น เศรษฐีพันล้าน
2.4) ราก เช่น มันเทศ มันสาปะหลัง หัวผักกาด แครอท
3) การสร้างสปอร์ พืชที่สืบพันธุ์ด้วยวิธีนี้มักไม่มีดอก เช่น มอสส์ เฟิร์น
ลิเวอร์เวิร์ต
ภาพที่ 6.34 ว่านสี่ทิศ ภาพที่ 6.35 เศรษฐีพันล้าน
( ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th)
12
1.2.2 การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศที่เกิดจากการกระทาของมนุษย์
การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศที่เกิดจากการกระทาของมนุษย์นี้ จะทาให้ได้
ต้นใหม่ที่เหมือนต้นพ่อต้นแม่จานวนมากและใช้เวลาน้อย ต้นใหม่จะไม่กลายพันธุ์และมี
ความต้านทานโรคสูง ดอกมีรูปร่างสายงาม ผลมีขนาดใหญ่และรสชาติดี ดังนั้นผู้ปลูกต้นไม้จึงคิด
หาวิธีการแพร่พันธุ์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
1) การตอนกิ่ง ใช้กับพืชใบเลี้ยงคู่ที่มีเปลือกไม้และเนื้อไม่แยกจากกัน โดยควั่น
เปลือกไม้ออก แล้วลอกเนื้อเยื่ออาหารเพื่อตัดท่อลาเลียงอาหาร ทาให้อาหารมาคั่งอยู่บริเวณรอบ
ควั่น นาดินและธาตุอาหารพืชที่ชุ่มน้ามาพอกไว้ หุ้มด้วยพลาสติกหรือใบตองแห้ง ผูกเชือกให้
แน่นและรดน้าทุกวัน จะมีรากงอกบริเวณเหนือรอยควั่น เมื่อรากมากพอจึงตัดออกจากลาต้นแล้ว
นาไปปลูก แต่จะไม่มีรากแก้ว ดังภาพที่ 6.40
ภาพที่ 6.36 โคมญี่ปุ่น ภาพที่ 6.37 เฟิร์นใบมะขาม
(ที่มาของภาพ : http://prathom.swu.ac.th) ( ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th)
ภาพที่ 6.38 ลิเวอร์เวิร์ต ภาพที่ 6.39 มอสส์
( ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th)
13
2) การติดตา การทาบกิ่งและการต่อกิ่ง มีหลักการสาคัญคือ ให้เนื้อเยื่อของพืช
ทั้งสองส่วนเจริญประสานกัน เพื่อให้เนื้อเยื่อลาเลียงน้า แร่ธาตุและเนื้อเยื่อลาเลียงอาหารเชื่อม
ต่อกันได้สนิท โดยการนาส่วนของพืช ได้แก่ ตา และกิ่งจากต้นพ่อต้นแม่ไปติด ต่อ หรือทาบกับ
ต้นตอแล้วหุ้มรอยต่อให้แน่น ป้ องกันไม่ให้รอยต่อถูกน้าจนกว่าเนื้อเยื่อของพืชทั้งสองจะเชื่อม
ติดกัน ดังภาพที่ 6.41
ภาพที่ 6.40 ขั้นตอนการตอนกิ่ง
(ที่มาของภาพ : ประดับ นาคแก้วและดาวัลย์ เสริมบุญสุข. 2551 : 69)
ภาพที่ 6.41 ขั้นตอนการติดตา
(ที่มาของภาพ : ประดับ นาคแก้วและดาวัลย์ เสริมบุญสุข. 2551 : 70)
14
3) การปักชา เป็นการใช้ส่วนต่าง ๆ ของพืชมาปักชา เช่น ใบ กิ่ง ราก ลาต้น ซึ่ง
ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช เช่น วาสนา โกศล ใช้กิ่งปักชา
4) การแยกส่วนและการแบ่งส่วน เช่น สับปะรด ใช้ตะเกียง (จุก) สตรอเบอรี่
ใช้ไหล (ลาต้น) หอม กระเทียม ใช้หัวที่แยกเป็นกลีบ
(ที่มา ปรับปรุงจาก : ประดับ นาคแก้วและดาวัลย์ เสริมบุญสุข. (2551). หนังสือเรียนสาระ
การเรียนรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. รัตน์ธรา การพิมพ์ : กรุงเทพฯ.)
ภาพที่ 6.43 ขั้นตอนการต่อกิ่ง
(ที่มาของภาพ : ประดับ นาคแก้วและดาวัลย์ เสริมบุญสุข. (2551 : 70)
ภาพที่ 6.42 ขั้นตอนการทาบกิ่ง
(ที่มาของภาพ : ประดับ นาคแก้วและดาวัลย์ เสริมบุญสุข. 2551 : 70)
15
กิจกรรมที่ 6
เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช
จุดประสงค์การเรียนรู้
เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชแล้ว สามารถ
1. สังเกต อธิบายและเปรียบเทียบโครงสร้างและหน้าที่ของส่วนประกอบของดอกไม้ได้
2. ทดลองและอธิบายกระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกได้
3. ยกตัวอย่างและอธิบายกระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศของพืชได้
4. ยกตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสืบพันธุ์ของพืชได้
คาชี้แจง
1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 8 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน โดยคละเพศและความสามารถ
ควรเป็นกลุ่มเดิม
2. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนรับอุปกรณ์การทดลองและชุดกิจกรรมที่ 6 แล้ว
ทากิจกรรมที่ 6 ตอนที่ 1 และตอนที่ 2
ตอนที่ 1 เรื่อง ศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างของดอกไม้
1. กาหนดปัญหา ................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
2. จุดประสงค์ของกิจกรรม
.............................................................................................................................................................
3. ตั้งสมมุติฐาน .................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
4. อุปกรณ์
1) ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ ที่มีในท้องถิ่น
2) แว่นขยาย
16
5. วิธีศึกษาทดลอง
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาว่า ส่วนประกอบของดอกไม้ว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง และ
จัดเป็นดอกประเภทใด โดยปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอน ดังนี้
1) นาดอกไม้ชนิดต่าง ๆ ที่มีในท้องถิ่นมาศึกษาส่วนประกอบของดอกว่ามีส่วนประกอบ
อะไรบ้าง
2) ทาเครื่องหมาย ลงในช่องที่พบส่วนประกอบ และทาเครื่องหมาย ลงในช่องที่ไม่พบ
ส่วนประกอบ
3) จัดกลุ่มประเภทของดอกไม้โดยใช้เกณฑ์ตามที่กาหนดว่าเป็นดอกประเภทใด
4) สรุปผลการศึกษา
6. ตารางบันทึกผลการทดลอง
ชื่อดอกไม้
ส่วนประกอบของดอก
ประเภทของดอก
กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย
7. คาถามท้ายการทดลอง
1) ดอกไม้ที่นามาศึกษามีกี่ชนิด
.............................................................................................................................................................
2) ดอกไม้ชนิดใดบ้างที่มีส่วนประกอบครบทั้ง 4 ส่วน และดอกไม้ชนิดใดมีส่วนประกอบ
ไม่ครบทั้ง 4 ส่วน
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
3) ดอกไม้ชนิดใดบ้างที่มีเฉพาะเกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมีย
.............................................................................................................................................................
17
4) ส่วนประกอบของดอกไม้แต่ละส่วนทาหน้าที่อะไร ให้วาดภาพประกอบ
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
5) ถ้าจาแนกประเภทของดอกไม้โดยใช้ส่วนประกอบเป็นเกณฑ์ นักเรียนจะจาแนกได้เป็น
กี่ประเภท อะไรบ้าง
.............................................................................................................................................................
6) ถ้าใช้เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเป็นเกณฑ์จะจาแนกได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
.............................................................................................................................................................
7) ดอกไม้ที่เป็นดอกครบส่วนเป็นดอกสมบูรณ์เพศเสมอไปหรือไม่ เพราะเหตุใด
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
8) ดอกไม้ที่เป็นดอกสมบูรณ์เพศเป็นดอกครบส่วนเสมอไปหรือไม่ เพราะเหตุใด
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
9) นักเรียนคิดว่ามีเกณฑ์ใดอีกที่สามารถจาแนกประเภทของดอกไม้ได้
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
8. สรุปผลการศึกษา
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
18
9. ถ้านักเรียนศึกษาดอกไม้ชนิดต่าง ๆ แล้วมีการจาแนกประเภทของดอกไม้โดยกาหนดเกณฑ์ใน
การจาแนก เช่น ใช้เกสรตัวผู้เกสรตัวเมีย ส่วนประกอบของดอก สีของดอก กลิ่นหอมของดอก
หรือการใช้ประโยชน์ของดอก เป็นเกณฑ์ จัดว่าเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์หรือไม่ และเป็น
โครงงานประเภทใด
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
ตอนที่ 2 เรื่อง การงอกของละอองเรณู
1. กาหนดปัญหา ................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
2. จุดประสงค์ของกิจกรรม
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
3. ตั้งสมมุติฐาน .................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
4. ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม ของการศึกษาเรื่องนี้คืออะไร
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
5. อุปกรณ์
1) ดอกแพงพวย จานวน 1 ดอกต่อกลุ่ม
2) กระจกสไลด์และกระจกปิดสไลด์ จานวน 1 ชุด ต่อกลุ่ม
3) กล้องจุลทรรศน์ จานวน 1 เครื่องต่อกลุ่ม
4) หลอดหยด จานวน 1 อันต่อกลุ่ม
5) สารละลายน้าตาลทราย เข้มข้น 5 % โดยมวลต่อปริมาตร จานวน 2 หยดต่อกลุ่ม
6) เข็มหมุด จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม
7) แท่งแก้ว จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม
19
6. วิธีศึกษาทดลอง
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาเกี่ยวกับ การงอกของละอองเรณู โดยปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนดังนี้
1) นาดอกแพงพวย มา 1 ดอก
2) หยดสารละลายน้าตาลเข้มข้น 5 % ลงบนกระจกสไลด์ 2 หยด
3) ใช้ปลายเข็มเขี่ยอับเรณูให้ตกบนสารละลายน้าตาลแล้วใช้แท่งแก้วเขี่ยให้แตก ปิดด้วย
กระจกปิดสไลด์ แล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ กาลังขยาย 100 เท่า วาดรูปละอองเรณูที่เห็นจาก
กล้อง
4) หยดด้วยสารละลายน้าตาลข้าง ๆ กระจกปิดสไลด์อยู่เสมอไม่ให้แห้ง สังเกตและวาด
รูปการเปลี่ยนแปลงของละอองเรณูที่เห็นจากกล้องทุก ๆ 15 นาที เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ดัง
ภาพประกอบ
ภาพที่ 6.44 การทดลองการงอกของละอองเรณู
(ที่มาของภาพ ปรับปรุงจาก : ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะและคณะ. 2545 :83)
20
7. ตารางบันทึกผลการทดลอง
ระยะเวลาที่
ทดลอง ลักษณะของละอองเรณู
ผลการสังเกตจานวนละอองเรณู
ที่มี
การเปลี่ยนแปลง
ที่ไม่มี
การเปลี่ยนแปลง
เริ่มทดลอง
15 นาที
30 นาที
45 นาที
60 นาที
8. คาถามท้ายการทดลอง
1) จากผลการทดลองเมื่อหยดสารละลายน้าตาลเข้มข้น 5%ลงบนละอองเรณู มีการเปลี่ยนแปลง
อย่างไร เมื่อเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมง
.............................................................................................................................................................
2) การงอกของละอองเรณูทุกอันเท่ากันหรือไม่ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
.............................................................................................................................................................
3) นักเรียนคิดว่า การงอกของละอองเรณูจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
21
4) ถ้านักเรียนต้องการทดสอบว่า ความเข้มข้นของสารละลายน้าตาลมีผลต่อการงอกของ
ละอองเรณูหรือไม่ นักเรียนจะออกแบบการทดลองอย่างไร
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
9. สรุปผลการศึกษา
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
10. ให้นักเรียนเสนอชื่อเรื่องของโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสืบพันธุ์ของพืช
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
23
แนวการตอบกิจกรรมที่ 6
เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช
จุดประสงค์การเรียนรู้
เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืชแล้ว สามารถ
1. สังเกต และเปรียบเทียบส่วนประกอบและหน้าที่ของส่วนประกอบของดอกไม้ได้
2. ทดลองและอธิบายกระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกได้
3. ยกตัวอย่างและอธิบายกระบวนการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชได้
4. ยกตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสืบพันธุ์ของพืชได้
คาชี้แจง
1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 8 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน โดยคละเพศและความสามารถ
ควรเป็นกลุ่มเดิม
2. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนรับอุปกรณ์การทดลองและชุดกิจกรรมที่ 6 แล้ว
ทากิจกรรมที่ 6 ตอนที่ 1 และตอนที่ 2
ตอนที่ 1 เรื่อง ศึกษาเปรียบเทียบส่วนประกอบของดอกไม้
1. กาหนดปัญหา ดอกไม้แต่ละชนิดมีส่วนประกอบเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
2. จุดประสงค์ของกิจกรรม
1) เพื่อศึกษาส่วนประกอบของดอกไม้แต่ละชนิด
2) เพื่อจาแนกประเภทของดอกไม้โดยใช้ส่วนประกอบของดอก และเกสรตัวผู้และเกสร
ตัวเมียเป็นเกณฑ์ในการจาแนก
3. ตั้งสมมุติฐาน
ถ้าดอกไม้แต่ละชนิดมีส่วนประกอบแตกต่างกันแล้ว ดังนั้นดอกไม้ที่นามาศึกษาจึงมี
ส่วนประกอบ ทั้ง 4 ส่วน คือ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย ไม่เหมือนกัน
4. อุปกรณ์
1) ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ ที่มีในท้องถิ่น
2) แว่นขยาย
24
5. วิธีศึกษาทดลอง
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาว่า ส่วนประกอบของดอกไม้ว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง และ
จัดเป็นดอกประเภทใด โดยปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอน ดังนี้
1) นาดอกไม้ชนิดต่าง ๆ ที่มีในท้องถิ่นมาศึกษาส่วนประกอบของดอกว่ามีส่วนประกอบ
อะไรบ้าง
2) ทาเครื่องหมาย ลงในช่องที่พบส่วนประกอบ และทาเครื่องหมาย ลงในช่องที่ไม่พบ
ส่วนประกอบ
3) จัดกลุ่มประเภทของดอกไม้โดยใช้เกณฑ์ตามที่กาหนดว่าเป็นดอกประเภทใด
4) ตอบคาถามท้ายกิจกรรมและสรุปผลการศึกษา
6. ตารางบันทึกผลการทดลอง
ชื่อดอกไม้
ส่วนประกอบของดอก
ประเภทของดอก
กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย
1. ดอกชบา     ดอกครบส่วน
2. ดอกมะเขือ     ดอกครบส่วน
3. ดอกตาลึง     ดอกไม่ครบส่วน
4. ดอกต้อยติ่ง     ดอกครบส่วน
5. ดอกกุหลาบ     ดอกครบส่วน
6. ดอกมะละกอ     ดอกไม่ครบส่วน
7. ดอกแตงกวา     ดอกไม่ครบส่วน
8. ดอกโมก     ดอกครบส่วน
9. ดอกบานบุรี     ดอกครบส่วน
10. ดอกพู่ระหง     ดอกครบส่วน
7. คาถามท้ายการทดลอง
1) ดอกไม้ที่นามาศึกษามีกี่ชนิด มี 10 ชนิด
2) ดอกไม้ชนิดใดบ้างที่มีส่วนประกอบครบทั้ง 4 ส่วน และดอกไม้ชนิดใดมีส่วนประกอบ
ไม่ครบทั้ง 4 ส่วน จัดว่าเป็นดอกชนิดใด
ดอกไม้ที่มีส่วนประกอบครบทั้ง 4 ส่วนได้แก่ ชบา มะเขือ ต้อยติ่ง กุหลาบ โมก บานบุรี
พู่ระหง
ดอกไม้ที่มีส่วนประกอบไม่ครบทั้ง 4 ส่วนได้แก่ ดอกตาลึง ดอกมะละกอ ดอกแตงกวา
25
3) ดอกไม้ชนิดใดบ้างที่มีเฉพาะเกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมีย
ดอกมะละกอ ดอกแตงกวา และดอกตาลึง
4) ส่วนประกอบของดอกไม้แต่ละส่วนทาหน้าที่อะไร ให้วาดภาพประกอบ
4.1) กลีบเลี้ยง (Sepal) เป็นส่วนที่อยู่นอกสุด มีสีเขียว ทาหน้าที่ห่อหุ้มกลีบดอกป้ องกัน
อันตรายให้กับดอกที่ยังตูมอยู่
4.2) กลีบดอก (Petal) เป็นส่วนที่ติดอยู่กับกลีบเลี้ยงเข้าไป มีสีสวย กลิ่นหอมหรือมีต่อม
น้าหวานบริเวณโคนกลีบดอก ทาหน้าที่ล่อแมลงให้มาช่วยในการผสมเกสร
4.3) เกสรตัวผู้(Stamen) อยู่ถัดจากกลีบดอก ประกอบด้วย
4.3.1) อับเรณู (Anther) ภายในอับเรณูมีถุง (Pollen Sac) อยู่ 2 หรือ 4 ถุง ภายในบรรจุ
ละอองเรณูไว้จานวนมาก
4.3.2) ก้านชูอับเรณู (Filament) ทาหน้าที่ชูอับเรณูเพื่อประโยชน์ในการผสมเกสร
4.4) เกสรตัวเมีย (Pistil) เป็นส่วนที่อยู่ในสุด ทาหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย
ประกอบด้วย
4.4.1) ยอดเกสรตัวเมีย (Stigma) มีน้าหวานเหนียว ๆ และขนเล็ก ๆ คอยดักจับละออง
เรณู และน้าหวานยังใช้เป็นอาหารในการงอกของละอองเรณูอีกด้วย
4.4.2) ก้านชูเกสรตัวเมีย (Style) ทาหน้าที่ชูยอดเกสรตัวเมียให้สูง เพื่อประโยชน์ใน
การผสมพันธุ์
4.4.3) รังไข่ (Ovary) ภายในมี ไข่อ่อน (Ovule) ภายในไข่อ่อนมีไข่ (Egg) ทา
หน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย
26
5) ถ้าจาแนกประเภทของดอกไม้โดยใช้ส่วนประกอบเป็นเกณฑ์ นักเรียนจะจาแนกได้เป็น
กี่ประเภท อะไรบ้าง
การจาแนกประเภทของดอกไม้โดยใช้ส่วนประกอบเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
ดอกครบส่วน ได้แก่ ชบา มะเขือ ต้อยติ่ง กุหลาบ โมก บานบุรี พู่ระหง
ดอกไม่ครบส่วน ได้แก่ ดอกตาลึง ดอกมะละกอ ดอกแตงกวา
6) ถ้าใช้เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเป็นเกณฑ์จะจาแนกได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ถ้าใช้เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเป็นเกณฑ์จะจาแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
ดอกสมบูรณ์เพศและดอกไม่สมบูรณ์เพศ
7) ดอกไม้ที่เป็นดอกครบส่วนเป็นดอกสมบูรณ์เพศเสมอหรือไม่ เพราะเหตุใด
ดอกไม้ที่เป็นดอกครบส่วนเป็นดอกสมบูรณ์เพศเสมอ เพราะมีส่วนประกอบครบทั้ง 4 ส่วน
คือ กลีบดอก กลีบเลี้ยง เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย
8) ดอกไม้ที่เป็นดอกสมบูรณ์เพศเป็นดอกไม่ครบส่วนเสมอไปหรือไม่ เพราะเหตุใด
ดอกไม้ที่เป็นดอกสมบูรณ์เพศไม่เป็นดอกครบส่วนเสมอไป เพราะว่า ดอกไม้ที่มีเกสรตัวผู้
และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน อาจไม่มีกลีบเลี้ยงหรือกลีบดอก ก็ได้เช่น ดอกเฟื่องฟ้า ไม่มี
กลีบเลี้ยง
9) นักเรียนคิดว่ามีเกณฑ์ใดอีกที่สามารถจาแนกประเภทของดอกไม้ได้
ใช้สีของดอกเป็นเกณฑ์ เช่น ดอกไม้ที่มีสีเหลือง ได้แก่ ดอกดาวเรือง ดอกบานบุรี
ดอกทานตะวัน ดอกไม้ที่มี สีขาว เช่น ดอกมะลิ ดอกปีบ เป็นต้น
8. สรุปผลการศึกษา
การจาแนกประเภทของดอกไม้โดยใช้ส่วนประกอบเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
ดอกครบส่วน ได้แก่ ชบา มะเขือ ต้อยติ่ง กุหลาบ โมก บานบุรี พู่ระหง และดอกไม่ครบส่วน
ได้แก่ ดอกตาลึง ดอกมะละกอ ดอกแตงกวา ถ้าใช้เกณฑ์เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเป็นเกณฑ์
จาแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ ดอกสมบูรณ์เพศและดอกไม่สมบูรณ์เพศ
9. ถ้านักเรียนศึกษาดอกไม้ชนิดต่าง ๆ แล้วมีการจาแนกประเภทของดอกไม้โดยกาหนดเกณฑ์
ในการจาแนก เช่น ใช้เกสรตัวผู้เกสรตัวเมีย ส่วนประกอบของดอก สีของดอก กลิ่นหอมของดอก
หรือการใช้ประโยชน์ของดอก เป็นเกณฑ์ จัดว่าเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์หรือไม่ และเป็น
โครงงานประเภทใด
จัดเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภท สารวจข้อมูล
27
ตอนที่ 2 เรื่อง การงอกของละอองเรณู
1. กาหนดปัญหา สารละลายน้าตาลทรายเข้มข้น 5% มีผลต่อการงอกของละอองเรณูหรือไม่
2. จุดประสงค์ของกิจกรรม
เพื่อศึกษาว่า ผลของสารละลายน้าตาลทรายเข้มข้น 5% ที่มีต่อการงอกของละอองเรณู
3. ตั้งสมมุติฐาน
สารละลายน้าตาลทรายเข้มข้น 5% มีต่อการงอกของละอองเรณู โดยกระตุ้นให้ละอองเรณู
งอกหลอดยาวเพื่อให้สเปิร์มเข้าไปผสมกับนิวเคลียสในรังไข่ได้
4. ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม ของการศึกษาเรื่องนี้คืออะไร
1) ตัวแปรต้น คือ สารละลายน้าตาลทรายเข้มข้น 5%
2) ตัวแปรตาม คือ การงอกของละอองเรณู
3) ตัวแปรควบคุม คือ ความเข้มข้นของสารละลายน้าตาลทราย คือ ความเข้มข้น 5%
ชนิดของละอองเรณูของพืชที่ทดลอง (ดอกแพงพวย) เวลาที่ทดลอง (1 ชั่วโมง)
5. อุปกรณ์
1) ดอกแพงพวย จานวน 1 ดอกต่อกลุ่ม
2) กระจกสไลด์และกระจกปิดสไลด์ จานวน 1 ชุด ต่อกลุ่ม
3) กล้องจุลทรรศน์ จานวน 1 เครื่องต่อกลุ่ม
4) หลอดหยด จานวน 1 อันต่อกลุ่ม
5) สารละลายน้าตาลทราย เข้มข้น 5 % โดยมวลต่อปริมาตร จานวน 2 หยดต่อกลุ่ม
6) เข็มหมุด จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม
7) แท่งแก้ว จานวน 1 อัน
28
6. วิธีศึกษาทดลอง
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาเกี่ยวกับ การงอกของละอองเรณู โดยปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนดังนี้
1) นาดอกแพงพวย มา 1 ดอก
2) หยดสารละลายน้าตาลเข้มข้น 5 % ลงบนกระจกสไลด์ 2 หยด
3) ใช้ปลายเข็มเขี่ยอับเรณูให้ตกบนสารละลายน้าตาลแล้วใช้แท่งแก้วเขี่ยให้แตก ปิดด้วย
กระจกปิดสไลด์ แล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ กาลังขยาย 100 เท่า วาดรูปละอองเรณูที่เห็นจาก
กล้อง
4) หยดด้วยสารละลายน้าตาลข้าง ๆ กระจกปิดสไลด์อยู่เสมอไม่ให้แห้ง สังเกตและ
วาดรูปการเปลี่ยนแปลงของละอองเรณูที่เห็นจากกล้องทุก ๆ 15 นาที เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
ดังภาพประกอบ
ภาพที่ 6.44 การทดลองการงอกของละอองเรณู
(ที่มาภาพ ปรับปรุงจาก : ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะและคณะ. 2545 : 83)
29
7. ตารางบันทึกผลการทดลอง (ตัวอย่างผลการทดลอง)
ระยะเวลาที่
ทดลอง ลักษณะของละอองเรณู
ผลการสังเกตจานวนละอองเรณู
ที่มี
การเปลี่ยนแปลง
ที่ไม่มี
การเปลี่ยนแปลง
เริ่มทดลอง
- 10
15 นาที 3 7
30 นาที 6 4
45 นาที
7
3
60 นาที 7 3
8. คาถามท้ายการทดลอง
1) จากผลการทดลอง เมื่อหยดสารละลายน้าตาลเข้มข้น 5% ลงบนละอองเรณู ละอองเรณู
มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมง
ละอองเรณูจะงอกหลอดยาว ๆ และยาวมากขึ้น
2) การงอกของละอองเรณูทุกอันเท่ากันหรือไม่ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
หลอดละอองเรณูงอกยาวไม่เท่ากัน เพราะละอองเรณูไม่เท่ากันทุกอัน
3) นักเรียนคิดว่า การงอกของละอองเรณูจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง
ปริมาณน้าตาลที่ได้รับ ความเข้มข้นของสารละลายน้าตาล ระยะเลา และความอ่อน
ความแก่ของละอองเรณู
30
4) ถ้านักเรียนต้องการต้องการทดสอบว่า ความเข้มข้นของสารละลายน้าตาลมีผลต่อการงอก
ของละอองเรณูหรือไม่ นักเรียนจะออกแบบการทดลองอย่างไร
นาสารละลายน้าตาลที่มีความเข้มข้นไม่เท่ากันมาทดลองกับละอองเรณูของพืชชนิด
เดียวกัน เช่น ความเข้มข้น 5% , 10% , 15% และ 20%
9. สรุปผลการศึกษา
จากการทดลองพบว่า การงอกของละอองเรณูขึ้นอยู่กับปริมาณของสารละลายน้าตาล
ถ้าปริมาณของสารละลายน้าตาลมากจะมีการงอกหลอดละอองเรณูได้ดี และเมื่อใช้เวลามากขึ้น
การงอกของละอองเรณูจะยาวมากขึ้น
10. ให้นักเรียนเสนอชื่อเรื่องของโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสืบพันธุ์ของพืช
ชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสืบพันธุ์ของพืช เช่น
1) ความเข้มข้นของสารละลายน้าตาลกับการงอกของละอองเรณู
2) ปริมาณรากไทรที่มีผลต่อการงอกรากของกิ่งตอนมะนาว
3) น้าในเมล็ดมะละกอเร่งการงอกรากของกิ่งชาโกศล
4) สารสกัดจากผักขมเร่งการติดตาของมะม่วง
5) การสารวจชนิดของดอกไม้ในท้องถิ่นบ้านอาปึลสนวน
31
เกณฑ์การให้คะแนนกิจกรรมที่ 6
เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช
ข้อ รายการประเมิน ระดับคะแนน
ตอนที่ 1 (16 คะแนน)
1 -3 ตอบได้ถูกต้องตรงประเด็นมากไม่มีส่วนผิด 1
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ 0
4 -6 ได้ทาการทดลองตามขั้นตอนและมีการบันทึกผลการทดลองครบทุกส่วน
ไม่มีส่วนใดผิดหรือผิดไม่เกิน 1 รายการ
2
ได้ทาการทดลองตามขั้นตอนและมีการบันทึกผลการทดลองครบทุกส่วน
ไม่มีส่วนใดผิดหรือผิดไม่เกิน 2 รายการ
1
ไม่ได้ทาการทดลองตามขั้นตอนและไม่มีการบันทึกผลการทดลองหรือ
บันทึกผลการทดลองไม่ครบส่วนผิดมากกว่า 2 รายการ
0
7
(1- 9)
ตอบได้ถูกต้องตรงประเด็นมากไม่มีส่วนผิด 1
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ 0
8 สรุปผลการศึกษาได้ถูกต้องตรงตามผลการทดลอง 1
ไม่ได้สรุปผลการศึกษาหรือสรุปแต่ไม่ถูกต้อง 0
9 ตอบได้ถูกต้องตรงประเด็นมากไม่มีส่วนผิด 1
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ 0
9. ชุดที่ 6 การสืบพันธุ์ของพืช
9. ชุดที่ 6 การสืบพันธุ์ของพืช
9. ชุดที่ 6 การสืบพันธุ์ของพืช
9. ชุดที่ 6 การสืบพันธุ์ของพืช

More Related Content

What's hot

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
Wann Rattiya
 
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสารความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
dalarat
 
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
krupornpana55
 
1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ PPT เเก้ไขได้ ล่าสุด.pptx
1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  PPT เเก้ไขได้ ล่าสุด.pptx1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  PPT เเก้ไขได้ ล่าสุด.pptx
1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ PPT เเก้ไขได้ ล่าสุด.pptx
TinnakritWarisson
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
Kobwit Piriyawat
 
แบบทดสอบ บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
แบบทดสอบ บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะแบบทดสอบ บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
แบบทดสอบ บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
Jariya Jaiyot
 
แบบฝึกหัดที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์
แบบฝึกหัดที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์แบบฝึกหัดที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์
แบบฝึกหัดที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์
Wann Rattiya
 
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพแบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
Sirintip Arunmuang
 

What's hot (20)

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
 
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสารความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
 
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
 
1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ PPT เเก้ไขได้ ล่าสุด.pptx
1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  PPT เเก้ไขได้ ล่าสุด.pptx1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  PPT เเก้ไขได้ ล่าสุด.pptx
1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ PPT เเก้ไขได้ ล่าสุด.pptx
 
แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 6 (ออกตามตัวชี้วัด)
แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 6 (ออกตามตัวชี้วัด)แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 6 (ออกตามตัวชี้วัด)
แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 6 (ออกตามตัวชี้วัด)
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
 
ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ วงจรไฟฟ้ามหาสนุก
ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ วงจรไฟฟ้ามหาสนุก ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ วงจรไฟฟ้ามหาสนุก
ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ วงจรไฟฟ้ามหาสนุก
 
แบบทดสอบ บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
แบบทดสอบ บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะแบบทดสอบ บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
แบบทดสอบ บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
 
แรงพยุงหรือแรงลอยตัว
แรงพยุงหรือแรงลอยตัวแรงพยุงหรือแรงลอยตัว
แรงพยุงหรือแรงลอยตัว
 
เอกสารประกอบการเรียนเรื่องเสียงกับการได้ยิน ป.5
เอกสารประกอบการเรียนเรื่องเสียงกับการได้ยิน ป.5เอกสารประกอบการเรียนเรื่องเสียงกับการได้ยิน ป.5
เอกสารประกอบการเรียนเรื่องเสียงกับการได้ยิน ป.5
 
ระบบประสาท (Nervous System)
ระบบประสาท (Nervous System)ระบบประสาท (Nervous System)
ระบบประสาท (Nervous System)
 
เล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
เล่มที่ 2 โครงสร้างของรากเล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
เล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
 
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน หน่วย งานและพลังงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน    หน่วย งานและพลังงานแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน    หน่วย งานและพลังงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน หน่วย งานและพลังงาน
 
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิตเซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต
 
แบบฝึกหัดที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์
แบบฝึกหัดที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์แบบฝึกหัดที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์
แบบฝึกหัดที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์
 
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพแบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
 
แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่
แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่
แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่
 
โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์
 

Similar to 9. ชุดที่ 6 การสืบพันธุ์ของพืช

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีว...
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีว...ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีว...
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีว...
surapha97
 
2.แผนเรื่องโครงงานกระทงรักษ์น้ำ
2.แผนเรื่องโครงงานกระทงรักษ์น้ำ2.แผนเรื่องโครงงานกระทงรักษ์น้ำ
2.แผนเรื่องโครงงานกระทงรักษ์น้ำ
Wareerut Hunter
 
เค้าโครงพัฒนานวัตกรรม
เค้าโครงพัฒนานวัตกรรมเค้าโครงพัฒนานวัตกรรม
เค้าโครงพัฒนานวัตกรรม
somdetpittayakom school
 
4.แผนเรื่องโครงงานทองม้วน
4.แผนเรื่องโครงงานทองม้วน4.แผนเรื่องโครงงานทองม้วน
4.แผนเรื่องโครงงานทองม้วน
Wareerut Hunter
 

Similar to 9. ชุดที่ 6 การสืบพันธุ์ของพืช (20)

11. ชุดที่ 8 เทคโนโลยีชีวภาพ
11. ชุดที่ 8 เทคโนโลยีชีวภาพ11. ชุดที่ 8 เทคโนโลยีชีวภาพ
11. ชุดที่ 8 เทคโนโลยีชีวภาพ
 
5.ชุดที่ 2 โครงสร้างของเซลล์
5.ชุดที่ 2 โครงสร้างของเซลล์5.ชุดที่ 2 โครงสร้างของเซลล์
5.ชุดที่ 2 โครงสร้างของเซลล์
 
การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังการเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีว...
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีว...ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีว...
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีว...
 
เล่มที่ 3 การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
เล่มที่  3 การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลังเล่มที่  3 การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
เล่มที่ 3 การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
 
2.ส่วนหน้าแผน
2.ส่วนหน้าแผน2.ส่วนหน้าแผน
2.ส่วนหน้าแผน
 
ชุดกิจกรรมการย่อย64
ชุดกิจกรรมการย่อย64ชุดกิจกรรมการย่อย64
ชุดกิจกรรมการย่อย64
 
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
 
1.วิเคราะห์หลักสูตร วิทย์ ม.1 เรื่อง เซลล์
1.วิเคราะห์หลักสูตร วิทย์ ม.1 เรื่อง เซลล์1.วิเคราะห์หลักสูตร วิทย์ ม.1 เรื่อง เซลล์
1.วิเคราะห์หลักสูตร วิทย์ ม.1 เรื่อง เซลล์
 
Gs2561 april
Gs2561 aprilGs2561 april
Gs2561 april
 
2.แผนเรื่องโครงงานกระทงรักษ์น้ำ
2.แผนเรื่องโครงงานกระทงรักษ์น้ำ2.แผนเรื่องโครงงานกระทงรักษ์น้ำ
2.แผนเรื่องโครงงานกระทงรักษ์น้ำ
 
krongkan
krongkankrongkan
krongkan
 
เค้าโครงพัฒนานวัตกรรม
เค้าโครงพัฒนานวัตกรรมเค้าโครงพัฒนานวัตกรรม
เค้าโครงพัฒนานวัตกรรม
 
4.แผนเรื่องโครงงานทองม้วน
4.แผนเรื่องโครงงานทองม้วน4.แผนเรื่องโครงงานทองม้วน
4.แผนเรื่องโครงงานทองม้วน
 
Herbarium 11/825 ตะลิงปลิง
Herbarium 11/825 ตะลิงปลิงHerbarium 11/825 ตะลิงปลิง
Herbarium 11/825 ตะลิงปลิง
 
บทคัดย่อ
บทคัดย่อบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
 
1 รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์2557 สำรวจแมงมุม ศพว
1 รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์2557 สำรวจแมงมุม ศพว1 รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์2557 สำรวจแมงมุม ศพว
1 รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์2557 สำรวจแมงมุม ศพว
 
6 การดูแลและรักษาระบบเคลื่อนที่ของคน
6 การดูแลและรักษาระบบเคลื่อนที่ของคน6 การดูแลและรักษาระบบเคลื่อนที่ของคน
6 การดูแลและรักษาระบบเคลื่อนที่ของคน
 
เล่มที่ 5 กิจกรรม STEM และมือกล
เล่มที่ 5 กิจกรรม STEM และมือกลเล่มที่ 5 กิจกรรม STEM และมือกล
เล่มที่ 5 กิจกรรม STEM และมือกล
 
แบบบันทึกกิจกรรมระบบนิเวศ
แบบบันทึกกิจกรรมระบบนิเวศแบบบันทึกกิจกรรมระบบนิเวศ
แบบบันทึกกิจกรรมระบบนิเวศ
 

9. ชุดที่ 6 การสืบพันธุ์ของพืช

  • 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดารงชีวิตของพืช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นางเอเดียน คุณาสิทธิ์ โรงเรียนบ้านกาเกาะระโยง อาเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
  • 2. ข คานา ชุดกิจกรรมนี้ จัดทาขึ้นเพื่อใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ รหัสวิชา ว 23101 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและชีวิตพืช ซึ่งเป็นชุดกิจกรรมที่เน้นทักษะการทา โครงงานวิทยาศาสตร์ควบคู่กับการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนสามารถปฏิบัติ กิจกรรมได้ตามความสนใจ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้นี้มี จานวน 8 ชุด เวลาเรียน 24 ชั่วโมง ดังนี้ 1. ชุดกิจกรรมที่ 1 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์ (เวลา 3 ชั่วโมง) 2. ชุดกิจกรรมที่ 2 เรื่อง โครงสร้างหน้าที่และส่วนประกอบของเซลล์ (เวลา 3 ชั่วโมง) 3. ชุดกิจกรรมที่ 3 เรื่อง การเคลื่อนที่ของสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ (เวลา 3 ชั่วโมง) 4. ชุดกิจกรรมที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช (เวลา 3 ชั่วโมง) 5. ชุดกิจกรรมที่ 5 เรื่อง การลาเลียงของสารในพืช (เวลา 3 ชั่วโมง) 6. ชุดกิจกรรมที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช (เวลา 3 ชั่วโมง) 7. ชุดกิจกรรมที่ 7 เรื่อง การเจริญเติบโตและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช(เวลา3ชั่วโมง) 8. ชุดกิจกรรมที่ 8 เรื่อง เทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับพืช (เวลา 3 ชั่วโมง) ชุดกิจกรรมนี้เป็นชุดกิจกรรมที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช ในการใช้ชุดกิจกรรม ให้นักเรียนปฏิบัติตามคาชี้แจงของชุดกิจกรรมแต่ละชุดอย่างละเอียดโดยปฏิบัติกิจกรรมตามลาดับที่ ของชุดกิจกรรม
  • 3. ค สารบัญ เรื่อง หน้า ปก ............................................................................................................................................ ก คานา......................................................................................................................................... ข สารบัญ..................................................................................................................................... ค สารบัญภาพประกอบ..................................................................................................................ง ส่วนประกอบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ..................................................................................... ฉ คาชี้แจงสาหรับครู .....................................................................................................................ช คาชี้แจงสาหรับนักเรียน..................................................................................................................ซ แผนผังการจัดกลุ่มการเรียน........................................................................................................... ฌ ชุดกิจกรรมที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช.................................................................1 ใบความรู้ที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช...........................................................................2 กิจกรรมที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช..........................................................................16 ตอนที่ 1 เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างของดอกไม้......................................16 ตอนที่ 2 เรื่อง การงอกของละอองเรณู ..................................................................19 แนวการตอบกิจกรรมที่ 6...............................................................................................................23 เกณฑ์การให้คะแนนกิจกรรมที่ 6..................................................................................................31 บรรณานุกรม..................................................................................................................................33
  • 4. ง สารบัญภาพประกอบ ภาพที่ หน้า ภาพที่ 6.1 ดอกมะเขือ.....................................................................................................................1 ภาพที่ 6.2 โครงสร้างของดอกไม้..............................................................................................3 ภาพที่ 6.3 ดอกชงโค ................................................................................................................4 ภาพที่ 6.4 ดอกบานบุรี..............................................................................................................4 ภาพที่ 6.5 ดอกต้อยติ่ง ............................................................................................................4 ภาพที่ 6.6 ดอกการเวก.............................................................................................................4 ภาพที่ 6.7 ดอกแพงพวย............................................................................................................4 ภาพที่ 6.8 ดอกพู่ระหง.............................................................................................................4 ภาพที่ 6.9 ดอกมะละกอตัวเมีย ....................................................................................................5 ภาพที่ 6.10 ดอกมะละกอตัวผู้..................................................................................................5 ภาพที่ 6.11 ดอกบานเย็น..........................................................................................................5 ภาพที่ 6.12 ดอกแตงกวา...........................................................................................................5 ภาพที่ 6.13 ดอกกล้วยไม้ ............................................................................................................5 ภาพที่ 6.14 ดอกเงาะ................................................................................................................5 ภาพที่ 6.15 ดอกเฟื่องฟ้า ..........................................................................................................6 ภาพที่ 6.16 ดอกกุหลาบ...........................................................................................................6 ภาพที่ 6.17 ดอกอัญชัน............................................................................................................6 ภาพที่ 6.18 ดอกแค ..................................................................................................................6 ภาพที่ 6.19 ดอกอุตพิด.............................................................................................................7 ภาพที่ 6.20 ดอกหน้าวัว ........................................................................................................7 ภาพที่ 6.21 ดอกมะเดื่อ.............................................................................................................7 ภาพที่ 6.22 ดอกละหุ่ง ..............................................................................................................7 ภาพที่ 6.23 ดอกตาลึง...............................................................................................................7 ภาพที่ 6.24 ดอกบวบ ..............................................................................................................7 ภาพที่ 6.25 การงอกของหลอดเรณูเพื่อนาสเปิร์มเซลล์ไปผสมกับไข่ในออวูล..........................8
  • 5. จ สารบัญภาพประกอบ (ต่อ) ภาพที่ หน้า ภาพที่ 6.26 มังคุด.....................................................................................................................9 ภาพที่ 6.27 ทุเรียน ..................................................................................................................9 ภาพที่ 6.28 น้อยหน่า...............................................................................................................10 ภาพที่ 6.29 กระดังงา .............................................................................................................10 ภาพที่ 6.30 สับปะรด ..............................................................................................................10 ภาพที่ 6.31 ลูกยอ....................................................................................................................10 ภาพที่ 6.32 ผลมะเดื่อ..............................................................................................................10 ภาพที่ 6.33 ผลมะเดื่อผ่าซีก....................................................................................................10 ภาพที่ 6.34 ว่านสี่ทิศ ............................................................................................................. 11 ภาพที่ 6.35 เศรษฐีพันล้าน........................................................................................................... 11 ภาพที่ 6.36 โคมญี่ปุ่น..............................................................................................................12 ภาพที่ 6.37 เฟิร์นใบมะขาม ...................................................................................................12 ภาพที่ 6.38 ลิเวอร์เวิร์ต ...........................................................................................................12 ภาพที่ 6.39 มอสส์ ............................................................................................................12 ภาพที่ 6.40 ขั้นตอนการตอนกิ่ง.............................................................................................13 ภาพที่ 6.41 ขั้นตอนการติดตา................................................................................................13 ภาพที่ 6.42 ขั้นตอนการทาบกิ่ง..............................................................................................14 ภาพที่ 6.43 ขั้นตอนการต่อกิ่ง................................................................................................14 ภาพที่ 6.44 การทดลองการงอกของละอองเรณู......................................................................20
  • 6. ฉ ชุดกิจกรรมที่6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช มีส่วนประกอบที่สาคัญดังนี้ 1. เป็นชุดกิจกรรมที่ใช้ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11 และ 12 2. ใบความรู้ที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช 3. ใบกิจกรรมที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช ตอนที่ 1 เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างของดอกไม้(1ชั่วโมง) ตอนที่ 2 เรื่อง การงอกของละอองเรณู ( 2 ชั่วโมง) 4. แนวการตอบกิจกรรมที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช 5. เกณฑ์การให้คะแนนกิจกรรมที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช ส่วนประกอบของชุดกิจกรรมที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช
  • 7. ช คาชี้แจงสาหรับครู การใช้ชุดกิจกรรมเพื่อให้บรรลุผลตามจุดประสงค์ที่กาหนดไว้ สิ่งที่ครูผู้สอนต้องเตรียม มีดังนี้ 1. ศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11 และ 12 ในคู่มือการใช้ชุดกิจกรรมให้ละเอียด 2. ศึกษาเนื้อหาและคาชี้แจงในการใช้ชุดกิจกรรมแต่ละชุด และปฏิบัติตามขั้นตอนใน คาชี้แจงของกิจกรรมตามลาดับอย่าข้ามขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง 3. ครูเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในชุดกิจกรรมไว้ล่วงหน้าก่อนทาการเรียนการสอน 4. ครูจัดชั้นเรียนโดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 8 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน ตามแผนผังที่กาหนดไว้ โดยมีหัวหน้าประจาทุกกลุ่ม ผู้นากลุ่มอาจมีการผลัดเปลี่ยนกันแต่ละกลุ่มควรเป็นกลุ่มเดิมเพื่อจะได้ ทางานที่ต่อเนื่องกัน 5. ครูต้องชี้แจงให้นักเรียนมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และรู้บทบาทหน้าที่ของตนในกลุ่ม โดยไม่ให้ดูเฉลยก่อน หลังจากปฏิบัติกิจกรรมเสร็จแล้วจึงเปิดดูเฉลยได้และมีการแลกเปลี่ยนกัน ตรวจตามเกณฑ์การให้คะแนนที่กาหนดไว้ในแต่ละกิจกรรม 6. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างความสนใจ 2) ขั้นสารวจและค้นหา 3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป 4) ขั้นขยายความรู้ 5) ขั้นประเมินผล 7. ชุดกิจกรรมที่ 4 เป็นการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในเนื้อหาประจาหน่วย ซึ่ง บูรณาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์ ไปพร้อม ๆ กัน 8. ขณะที่นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมครูต้องคอยดูแลและแนะนาการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด เมื่อนักเรียนพบปัญหาในการเรียนจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้ทันที 9. เมื่อนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นักเรียนเก็บสื่อและวัสดุอุปกรณ์ของ แต่ละกลุ่มให้เรียบร้อย โดยเน้นการเก็บและดูแลรักษาความสะอาดฝึกให้เป็นระเบียบจนเป็นนิสัย 10. เมื่อสิ้นสุดการเรียนชุดกิจกรรมที่ 8 แล้วให้นักเรียนทาแบบทดสอบหลังเรียน จานวน 40 ข้อซึ่งเป็นแบบทดสอบคู่ขนานกับแบบทดสอบก่อนเรียน 11. แจ้งผลการเรียนจากการปฏิบัติกิจกรรมทันทีที่ตรวจเสร็จแล้ว
  • 8. ซ คาชี้แจงสาหรับนักเรียน การใช้ชุดกิจกรรมนักเรียนควรทราบถึงบทบาทของตนเองดังนี้ 1. ศึกษาคาชี้แจงในการใช้ชุดกิจกรรมแต่ละชุดอย่างละเอียด 2. ศึกษาใบความรู้ที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช แล้วปฏิบัติกิจกรรม ตามใบกิจกรรม ดังนี้ ตอนที่ 1 เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างของดอกไม้(1ชั่วโมง) ตอนที่ 2 เรื่อง การงอกของละอองเรณู ( 2 ชั่วโมง) 3. นักเรียนต้องตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมอย่างจริงจังไม่เล่นหรือทาให้ล่าช้า 4. กิจกรรมการทดลองต้องทาตามขั้นตอนทุกขั้นตอนด้วยความระมัดระวังเพราะ อุปกรณ์อาจแตกหรือเสียหายได้ 5. หลังทากิจกรรมเสร็จแล้วให้นักเรียนส่งผลงานการทากิจกรรมให้ครูตรวจหรือ แลกเปลี่ยนกันตรวจก่อนที่จะดาเนินการศึกษากิจกรรมต่อไป ถ้ามีอะไรชารุดเสียหายต้องแจ้งให้ครู ทราบทันที 6. เมื่อทากิจกรรมเสร็จทั้ง 8 ชุดแล้วให้นักเรียนทาแบบทดสอบหลังเรียน 40 ข้อ เพื่อประเมินความรู้หลังเรียน
  • 9. ฌ แผนผังการจัดกลุ่มการเรียน การประเมินผล 1. ประเมินจากการทาแบบทดสอบก่อนเรียน -หลังเรียน จานวน 40 ข้อ 2. ประเมินผลจากการทากิจกรรมที่ 6 ตอนที่ 1ตอนที่ 1 เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบ โครงสร้างของดอกไม้ตามเกณฑ์การประเมินที่กาหนด 3. ประเมินการทากิจกรรมการทดลองตอนที่ 2 เรื่อง การงอกของละอองเรณู ตามเกณฑ์การประเมินที่กาหนด 4. สังเกตความสนใจและความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมและพฤติกรรมการทางาน กลุ่มทุกครั้งที่เรียน โต๊ะครู กลุ่มที่ 7 กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 6 กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ 8 กลุ่มที่ 5 กลุ่มที่ 4
  • 10. 1 ชุดกิจกรรมที่ 6 เรื่องย่อยที่ 6 กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช ใช้ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11 – 12 (เวลา 3 ชั่วโมง) คาชี้แจง 1. ให้นักเรียนทากิจกรรมที่ 6 ตอนที่ 1 เรื่อง ส่วนประกอบและหน้าที่ของ ส่วนประกอบของดอกไม้ ตอบคาถามและสรุปผลการศึกษา 2.ให้นักเรียนทากิจกรรมที่ 6 ตอนที่ 2 เรื่อง การงอกของละอองเรณู ตอบคาถามและสรุปผลการศึกษา 3. ศึกษาใบความรู้ที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช ประกอบการทา กิจกรรมแล้วร่วมกันอภิปราย เสนอแนะแนวทางการทาโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง กับกระบวนการสืบพันธุ์ของพืช และการนาความรู้ไปใช้ประโยชน์ 4. ตรวจคาตอบจากแนวการตอบ ภาพที่ 6.1 ดอกมะเขือ (ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th)
  • 11. 2 ใบความรู้ที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช จุดประสงค์การเรียนรู้ เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืชแล้ว สามารถ 1. สังเกต และเปรียบเทียบส่วนประกอบและหน้าที่ของส่วนประกอบของดอกไม้ได้ 2. อธิบายกระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกได้ 3. ยกตัวอย่างและอธิบายกระบวนการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชได้ 4. ยกตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสืบพันธุ์ของพืชได้ 1. กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องมีการสืบพันธุ์เพื่อแพร่พันธุ์และขยายพันธุ์ เพื่อให้ดารงเผ่าพันธุ์ได้ โดยไม่สูญพันธุ์ไป พืชก็เช่นเดียวกัน มีการสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ โดยใช้ส่วน ต่าง ๆ ในการขยายพันธุ์ การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศจะเกิดขึ้นในอวัยวะสืบพันธุ์ คือ ดอก มีเซลล์ สืบพันธุ์คือ เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ดอกบางชนิดมีเซลล์สืบพันธุ์ครบทั้งเกสรตัวผู้และเกสร ตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน เช่น ดอกกุหลาบ ดอกชบา แต่พืชบางชนิด มีเฉพาะเกสรตัวผู้หรือเกสร ตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ดอกมะละกอ ดอกฟักทอง ดอกตาลึง เป็นต้น 1.1 การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual Reproduction) การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเป็นการสืบพันธุ์ที่เกิดจากการผสมระหว่างเซลล์สืบพันธุ์ เพศผู้ คือ สเปิร์ม (Sprem) และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย คือ ไข่ (Egg) ซึ่งจะเจริญไปเป็นต้นอ่อน (Embryo) ที่มีลักษณะเหมือนต้นพ่อและต้นแม่ ซึ่งอาจจะกลายพันธุ์ได้โครงสร้างของพืชที่ เกี่ยวกับการขยายพันธุ์คือ ดอก (Flower) 1.1.1 โครงสร้างของดอก ดอกเป็นอวัยวะที่ทาหน้าที่ในการสืบพันธุ์ มีส่วนประกอบดังนี้ 1) กลีบเลี้ยง (Sepal) เป็นส่วนที่อยู่นอกสุด มีสีเขียว ทาหน้าที่ห่อหุ้มกลีบดอก ป้ องกันอันตรายให้กับดอกที่ยังตูมอยู่ 2) กลีบดอก (Petal) เป็นส่วนที่ติดอยู่กับกลีบเลี้ยงเข้าไป มีสีสวย กลิ่นหอมหรือมี ต่อมน้าหวานบริเวณโคนกลีบดอก ทาหน้าที่ล่อแมลงให้มาช่วยในการผสมเกสร
  • 12. 3 3) เกสรตัวผู้(Stamen) อยู่ถัดจากกลีบดอก ประกอบด้วย 3.1) อับเรณู (Anther) ภายในอับเรณูมีถุง (Pollen Sac) อยู่ 2 - 4 ถุง ภายใน บรรจุละอองเรณูไว้จานวนมาก 3.2) ก้านชูอับเรณู (Filament) ทาหน้าที่ชูอับเรณูเพื่อประโยชน์ในการผสมเกสร 4) เกสรตัวเมีย (Pistil) เป็นส่วนที่อยู่ในสุด ทาหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย ประกอบด้วย 4.1) ยอดเกสรตัวเมีย (Stigma) มีน้าหวานเหนียว ๆ และขนเล็ก ๆ คอยดักจับ ละอองเรณู และน้าหวานยังใช้เป็นอาหารในการงอกของละอองเรณูอีกด้วย 4.2) ก้านชูเกสรตัวเมีย (Style) ทาหน้าที่ชูยอดเกสรตัวเมียให้สูง เพื่อ ประโยชน์ในการผสมพันธุ์ 4.3) รังไข่ (Ovary) ภายในมี ไข่อ่อน (Ovule) ภายในไข่อ่อนมีไข่ (Egg) ทาหน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย ภาพที่ 6.2 โครงสร้างของดอกไม้ (ที่มาของภาพ : ประดับ นาคแก้วและดาวัลย์ เสริมบุญสุข. 2551 :60)
  • 13. 4 ภาพที่ 6.3 ดอกชงโค ภาพที่ 6.4 ดอกบานบุรี (ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th ) ภาพที่ 6.5 ดอกต้อยติ่ง ภาพที่ 6.6 ดอกการเวก (ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th ) ภาพที่ 6.7 ดอกแพงพวย ภาพที่ 6.8 ดอกพู่ระหง (ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th ) 1.1.2 ประเภทของดอก ในการจาแนกประเภทของดอกมีการใช้เกณฑ์ในการแบ่ง ดังนี้ 1.1.2.1) แบ่งโดยใช้ส่วนประกอบเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ดังนี้ 1) ดอกครบส่วน (Complete Flower) เป็นดอกที่มีส่วนประกอบครบ 4 ส่วน คือ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย เช่น กุหลาบ ชบา ต้อยติ่ง บานบุรี มะลิ ชงโค อัญชัน มะแว้ง มะเขือ พู่ระหง ผักบุ้ง แค แพงพวย บัวหลวง การเวก เป็นต้น
  • 14. 5 ภาพที่ 6.9 ดอกมะละกอตัวเมีย ภาพที่ 6.10 ดอกมะละกอตัวผู้ (ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th ) ภาพที่ 6.11 ดอกบานเย็น ภาพที่ 6.12 ดอกแตงกวา (ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th ) ภาพที่ 6.13 ดอกกล้วยไม้ ภาพที่ 6.14 ดอกเงาะ (ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th ) 2) ดอกไม่ครบส่วน (Incomplete Flower) เป็นดอกที่มีส่วนประกอบ ไม่ครบ 4 ส่วน ขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ขาดกลีบเลี้ยง ขาดเกสรตัวผู้หรือขาด เกสรตัวเมีย เช่น ตาลึง กล้วยไม้ ฟักทอง ข้าว ข้าวโพด จาปา บานเย็น เฟื่องฟ้า อุตพิด หน้าวัว มะละกอ เงาะ แตงกวา มะยม มะเดื่อ มะพร้าว ตาล บวบ ละหุ่ง หญ้า เป็นต้น
  • 15. 6 1.2.2) แบ่งโดยใช้เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ดังนี้ 1) ดอกสมบูรณ์เพศ (Perfect Flower) เป็นดอกที่มีเกสรตัวผู้และเกสร ตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน เช่น บัว กุหลาบ พู่ระหง ชงโค ถั่ว มะเขือ พริก กล้วยไม้ มะม่วง ชบา ข้าว หญ้า ต้อยติ่ง จาปา มะลิ เฟื่องฟ้า อัญชัน แค ผักบุ้ง แพงพวย เป็นต้น 2) ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (Imperfect Flower) เป็นดอกที่มีเกสรตัวผู้และ เกสรตัวเมียอยู่คนละดอก เช่น มะละกอ ตาลึง ข้าวโพด มะพร้าว ตาล เงาะ ฟักทอง บวบ แตงกวา มะยม มะระ ละหุ่ง หน้าวัว มะเดื่อ ขนุน อุตพิด เป็นต้น ภาพที่ 6.15 ดอกเฟื่องฟ้า ภาพที่ 6.16 ดอกกุหลาบ (ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th ) ภาพที่ 6.17 ดอกอัญชัน ภาพที่ 6.18 ดอกแค (ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th )
  • 16. 7 ภาพที่ 6.19 ดอกอุตพิด ภาพที่ 6.20 ดอกหน้าวัว (ที่มาของภาพ : http://topicstock.pantip.com) ( ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th) ภาพที่ 6.21 ดอกมะเดื่อ ภาพที่ 6.22 ดอกละหุ่ง (ที่มาของภาพ : http://topicstock.pantip.com) (ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th) ภาพที่ 6.23 ดอกตาลึง ภาพที่ 6.24 ดอกบวบ (ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th) ( ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th)
  • 17. 8 1.1.3 กระบวนการสืบพันธุ์ของพืชดอก การสืบพันธุ์ของพืชดอกมีกระบวนการที่เกี่ยวข้องคือ การถ่ายละอองเรณู การงอกของละอองเรณูและการปฏิสนธิ 1) การถ่ายละอองเรณู (Pollination) หมายถึง การที่ละอองเรณูไปตกบนยอด เกสรตัวเมีย จะเกิดขึ้นเมื่ออับละอองเรณูที่แก่จัดแตกออก ทาให้ละอองเรณูกระจายออกไปตกบน ยอดเกสรตัวเมีย ซึ่งมีสารเหนียว ๆ คอยดักจับละอองเรณู ซึ่งจะผสมกันในดอกเดียวกันหรือผสม ข้ามดอกก็ได้ โดยมีปัจจัยในการพาไป เช่น ลม น้า สัตว์ แมลง และคน 2) การงอกของละอองเรณู เมื่อละอองเรณูตกบนยอดเกสรตัวเมีย นิวเคลียสใน ละอองเรณูมี 2 นิวเคลียสคือ ทิวบ์นิวเคลียส (Tube Nucleus) และเจเนอเรทีฟนิวเคลียส (Generative Nucleus) ทิวบ์นิวเคลียสจะงอกหลอดลงไปในก้านเกสรเพศเมียจนไปถึงออวุล ทิวบ์นิวเคลียสจะ สลายตัวไป ส่วนเจเนอเรทีฟนิวเคลียสจะแบ่งตัวให้สเปิร์มนิวเคลียส 2 อัน ภาพที่ 6.25 การงอกของหลอดเรณูเพื่อนาสเปิร์มเซลล์ไปผสมกับไข่ในออวูล (ที่มาของภาพ : ถนัดศรีบุญเรืองและคณะ. ม.ป.ป. : 100)
  • 18. 9 3) การปฏิสนธิ (Fertilization) คือ การที่เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้(สเปิร์ม) ผสม กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (เซลล์ไข่) ในออวุลได้ไซโกต (Zygote) และเจริญไปเป็น เอ็มบริโอ (Embryo) ซึ่งการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นเมื่อ เจเนเรทีฟนิวเคลียสแบ่งตัวให้สเปิร์มนิวเคลียส 2 อัน และ เกิดการผสมโดย สเปิร์มตัวที่ 1 ผสมกับไข่ ได้ไซโกต เจริญไปเป็นเอ็มบริโอ และสเปิร์มตัวที่ 2 ผสมกับโพลานิวเคลียส (Pola Necleus) ได้เอ็นโดสเปิร์ม (Endosperm) ซึ่งเป็นอาหารสาหรับเลี้ยง เอ็มบริโอ เรียกการปฏิสนธิแบบนี้ว่า การปฏิสนธิซ้อน (Double Fertilization) หลังการปฏิสนธิ จะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ 3.1) กลีบเลี้ยงจะเหี่ยวแห้งและหลุดไปเป็นส่วนใหญ่ แต่บางชนิดยัง คงอยู่ เช่น มังคุด มะเขือ 3.2) กลีบดอก ยอดเกสรตัวเมีย และก้านเกสรตัวเมียจะเหี่ยวแห้งและ ร่วงหลุดไป แต่มีผลไม้บางชนิดเจริญมาจากส่วนของกลีบดอก เช่น เนื้อขนุน สับปะรด เป็นต้น 3.3) รังไข่ เจริญไปเป็นผล แต่มีผลไม้บางชนิดเกิดจากฐานรองดอก เช่น ชมพู่ แอลเปิล สาลี่ แพร์ 3.4) ผนังรังไข่ เจริญไปเป็นเปลือกและเนื้อของผล 3.5) ออวุล เจริญไปเป็นเมล็ด 3.6) ไข่ เจริญไปเป็นต้นอ่อน (เอ็มบริโอในเมล็ด 3.7) เยื่อหุ้มออวุล จะเจริญไปเป็นเปลือกหุ้มเมล็ด 4) ผล (Fruit) ผลส่วนใหญ่เกิดจากการเจริญเติบโตของรังไข่ หลังจาก การปฏิสนธิแล้ว แต่ผลบางชนิดอาจเกิดจากการกระตุ้นจากละอองเรณูหรือฮอร์โมนบางชนิด ทาให้ผลชนิดนี้ไม่มีเมล็ด เช่น กล้วยหอม สับปะรด ผลแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ 4.1) ผลเดี่ยว คือผลที่เกิดจากรังไข่เพียงอันเดียวอยู่ภายในดอกเดียว ซึ่ง ภายในรังไข่จะมีออวุลอันเดียว เช่น มะยม มะพร้าว มะม่วง มะปราง เป็นต้น หรืออาจหลายออวุล ก็ได้เช่น แตงโม มะนาว ทุเรียน มังคุด มะขาม ภาพที่ 6.26 มังคุด ภาพที่ 6.27 ทุเรียน (ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th) ( ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th)
  • 19. 10 4.2) ผลกลุ่ม คือผลที่เกิดจากรังไข่หลายอันอยู่ในดอกเดียวกันรังไข่แต่ละ อันเมื่อได้รับการผสมแล้วเจริญไปเป็นผลหนึ่งผล เช่น กระดังงา ลูกจาก การเวก เป็นต้น บางชนิด มีรังไข่อัดอยู่บนฐานรองเดอกเดียวกันจนทาให้ดูเหมือนเป็นผลเดี่ยว เช่น น้อยหน่า สตรอเบอรี ฝักบัว เป็นต้น 4.3) ผลรวม คือ ผลที่เกิดจากรังไข่ของช่อดอก โดยแต่ละดอกมีรังไข่ อันเดียว รังไข่แต่ละดอกเมื่อเจริญไปเป็นผลจะเชื่อมรวมกันเป็นเนื้อเดียวจนดูคล้ายผลเดี่ยว เช่น สับปะรด ขนุน มะเดื่อ ลูกยอ เป็นต้น ภาพที่ 6.28 น้อยหน่า ภาพที่ 6.29 กระดังงา (ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th) ( ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th) ภาพที่ 6.30 สับปะรด ภาพที่ 6.31 ลูกยอ (ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th) ( ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th) ภาพที่ 6.32 ผลมะเดื่อ ภาพที่ 6.33 ผลมะเดื่อผ่าซีก (ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th) ( ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th)
  • 20. 11 1.2 การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual Reproduction) การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เป็นการสืบพันธุ์ที่ไม่อาศัยดอก และไม่มีการผสม ระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย การขยายพันธุ์ของพืชดอกจะใช้เมล็ดใน การปลูก แต่มีพืชดอกหลายชนิดสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศก็ได้แม้ว่าจะมีดอกก็ตาม อาจเกิดได้เอง ตามธรรมชาติหรือเกิดจากการกระทาของมนุษย์ก็ได้ พืชต้นใหม่ที่เกิดขึ้นโดยวิธีนี้จะไม่กลายพันธุ์ แต่อาจเป็นต้นใหม่ที่ไม่ทนทานหรือแข็งแรงเท่าเดิม 1.2.1 การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ พืชต้นใหม่ที่เจริญมาจากส่วนที่เป็นต้นพ่อต้นแม่ เรียกว่า การแพร่พันธุ์โดยใช้ ส่วนที่เป็นต้นพ่อต้นแม่ ได้แก่ 1) การแตกหน่อหรือเหง้า เช่น ต้นกล้วย ไผ่ หญ้า กล้วยไม้ประเภทแคทรียา 2) การแตกต้นใหม่จากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น 2.1) ลาต้นใต้ดินเช่นขิง ข่า ขมิ้น ตะไคร้ พุทธรักษา ว่านสี่ทิศ เผือก แห้ว มันฝรั่ง 2.2) กิ่ง ใช้วิธีการปักชา เช่น พู่ระหง พลูด่าง มะลิ 2.3) ใบ เช่น กุหลาบหิน โคมญี่ปุ่น ต้นคว่าตายใบเป็น เศรษฐีพันล้าน 2.4) ราก เช่น มันเทศ มันสาปะหลัง หัวผักกาด แครอท 3) การสร้างสปอร์ พืชที่สืบพันธุ์ด้วยวิธีนี้มักไม่มีดอก เช่น มอสส์ เฟิร์น ลิเวอร์เวิร์ต ภาพที่ 6.34 ว่านสี่ทิศ ภาพที่ 6.35 เศรษฐีพันล้าน ( ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th)
  • 21. 12 1.2.2 การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศที่เกิดจากการกระทาของมนุษย์ การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศที่เกิดจากการกระทาของมนุษย์นี้ จะทาให้ได้ ต้นใหม่ที่เหมือนต้นพ่อต้นแม่จานวนมากและใช้เวลาน้อย ต้นใหม่จะไม่กลายพันธุ์และมี ความต้านทานโรคสูง ดอกมีรูปร่างสายงาม ผลมีขนาดใหญ่และรสชาติดี ดังนั้นผู้ปลูกต้นไม้จึงคิด หาวิธีการแพร่พันธุ์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ 1) การตอนกิ่ง ใช้กับพืชใบเลี้ยงคู่ที่มีเปลือกไม้และเนื้อไม่แยกจากกัน โดยควั่น เปลือกไม้ออก แล้วลอกเนื้อเยื่ออาหารเพื่อตัดท่อลาเลียงอาหาร ทาให้อาหารมาคั่งอยู่บริเวณรอบ ควั่น นาดินและธาตุอาหารพืชที่ชุ่มน้ามาพอกไว้ หุ้มด้วยพลาสติกหรือใบตองแห้ง ผูกเชือกให้ แน่นและรดน้าทุกวัน จะมีรากงอกบริเวณเหนือรอยควั่น เมื่อรากมากพอจึงตัดออกจากลาต้นแล้ว นาไปปลูก แต่จะไม่มีรากแก้ว ดังภาพที่ 6.40 ภาพที่ 6.36 โคมญี่ปุ่น ภาพที่ 6.37 เฟิร์นใบมะขาม (ที่มาของภาพ : http://prathom.swu.ac.th) ( ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th) ภาพที่ 6.38 ลิเวอร์เวิร์ต ภาพที่ 6.39 มอสส์ ( ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th)
  • 22. 13 2) การติดตา การทาบกิ่งและการต่อกิ่ง มีหลักการสาคัญคือ ให้เนื้อเยื่อของพืช ทั้งสองส่วนเจริญประสานกัน เพื่อให้เนื้อเยื่อลาเลียงน้า แร่ธาตุและเนื้อเยื่อลาเลียงอาหารเชื่อม ต่อกันได้สนิท โดยการนาส่วนของพืช ได้แก่ ตา และกิ่งจากต้นพ่อต้นแม่ไปติด ต่อ หรือทาบกับ ต้นตอแล้วหุ้มรอยต่อให้แน่น ป้ องกันไม่ให้รอยต่อถูกน้าจนกว่าเนื้อเยื่อของพืชทั้งสองจะเชื่อม ติดกัน ดังภาพที่ 6.41 ภาพที่ 6.40 ขั้นตอนการตอนกิ่ง (ที่มาของภาพ : ประดับ นาคแก้วและดาวัลย์ เสริมบุญสุข. 2551 : 69) ภาพที่ 6.41 ขั้นตอนการติดตา (ที่มาของภาพ : ประดับ นาคแก้วและดาวัลย์ เสริมบุญสุข. 2551 : 70)
  • 23. 14 3) การปักชา เป็นการใช้ส่วนต่าง ๆ ของพืชมาปักชา เช่น ใบ กิ่ง ราก ลาต้น ซึ่ง ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช เช่น วาสนา โกศล ใช้กิ่งปักชา 4) การแยกส่วนและการแบ่งส่วน เช่น สับปะรด ใช้ตะเกียง (จุก) สตรอเบอรี่ ใช้ไหล (ลาต้น) หอม กระเทียม ใช้หัวที่แยกเป็นกลีบ (ที่มา ปรับปรุงจาก : ประดับ นาคแก้วและดาวัลย์ เสริมบุญสุข. (2551). หนังสือเรียนสาระ การเรียนรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. รัตน์ธรา การพิมพ์ : กรุงเทพฯ.) ภาพที่ 6.43 ขั้นตอนการต่อกิ่ง (ที่มาของภาพ : ประดับ นาคแก้วและดาวัลย์ เสริมบุญสุข. (2551 : 70) ภาพที่ 6.42 ขั้นตอนการทาบกิ่ง (ที่มาของภาพ : ประดับ นาคแก้วและดาวัลย์ เสริมบุญสุข. 2551 : 70)
  • 24. 15 กิจกรรมที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช จุดประสงค์การเรียนรู้ เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชแล้ว สามารถ 1. สังเกต อธิบายและเปรียบเทียบโครงสร้างและหน้าที่ของส่วนประกอบของดอกไม้ได้ 2. ทดลองและอธิบายกระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกได้ 3. ยกตัวอย่างและอธิบายกระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศของพืชได้ 4. ยกตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสืบพันธุ์ของพืชได้ คาชี้แจง 1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 8 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน โดยคละเพศและความสามารถ ควรเป็นกลุ่มเดิม 2. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนรับอุปกรณ์การทดลองและชุดกิจกรรมที่ 6 แล้ว ทากิจกรรมที่ 6 ตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ตอนที่ 1 เรื่อง ศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างของดอกไม้ 1. กาหนดปัญหา ................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................. 2. จุดประสงค์ของกิจกรรม ............................................................................................................................................................. 3. ตั้งสมมุติฐาน ................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 4. อุปกรณ์ 1) ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ ที่มีในท้องถิ่น 2) แว่นขยาย
  • 25. 16 5. วิธีศึกษาทดลอง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาว่า ส่วนประกอบของดอกไม้ว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง และ จัดเป็นดอกประเภทใด โดยปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอน ดังนี้ 1) นาดอกไม้ชนิดต่าง ๆ ที่มีในท้องถิ่นมาศึกษาส่วนประกอบของดอกว่ามีส่วนประกอบ อะไรบ้าง 2) ทาเครื่องหมาย ลงในช่องที่พบส่วนประกอบ และทาเครื่องหมาย ลงในช่องที่ไม่พบ ส่วนประกอบ 3) จัดกลุ่มประเภทของดอกไม้โดยใช้เกณฑ์ตามที่กาหนดว่าเป็นดอกประเภทใด 4) สรุปผลการศึกษา 6. ตารางบันทึกผลการทดลอง ชื่อดอกไม้ ส่วนประกอบของดอก ประเภทของดอก กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย 7. คาถามท้ายการทดลอง 1) ดอกไม้ที่นามาศึกษามีกี่ชนิด ............................................................................................................................................................. 2) ดอกไม้ชนิดใดบ้างที่มีส่วนประกอบครบทั้ง 4 ส่วน และดอกไม้ชนิดใดมีส่วนประกอบ ไม่ครบทั้ง 4 ส่วน ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 3) ดอกไม้ชนิดใดบ้างที่มีเฉพาะเกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมีย .............................................................................................................................................................
  • 26. 17 4) ส่วนประกอบของดอกไม้แต่ละส่วนทาหน้าที่อะไร ให้วาดภาพประกอบ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 5) ถ้าจาแนกประเภทของดอกไม้โดยใช้ส่วนประกอบเป็นเกณฑ์ นักเรียนจะจาแนกได้เป็น กี่ประเภท อะไรบ้าง ............................................................................................................................................................. 6) ถ้าใช้เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเป็นเกณฑ์จะจาแนกได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง ............................................................................................................................................................. 7) ดอกไม้ที่เป็นดอกครบส่วนเป็นดอกสมบูรณ์เพศเสมอไปหรือไม่ เพราะเหตุใด ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 8) ดอกไม้ที่เป็นดอกสมบูรณ์เพศเป็นดอกครบส่วนเสมอไปหรือไม่ เพราะเหตุใด ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 9) นักเรียนคิดว่ามีเกณฑ์ใดอีกที่สามารถจาแนกประเภทของดอกไม้ได้ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 8. สรุปผลการศึกษา ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................
  • 27. 18 9. ถ้านักเรียนศึกษาดอกไม้ชนิดต่าง ๆ แล้วมีการจาแนกประเภทของดอกไม้โดยกาหนดเกณฑ์ใน การจาแนก เช่น ใช้เกสรตัวผู้เกสรตัวเมีย ส่วนประกอบของดอก สีของดอก กลิ่นหอมของดอก หรือการใช้ประโยชน์ของดอก เป็นเกณฑ์ จัดว่าเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์หรือไม่ และเป็น โครงงานประเภทใด ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ตอนที่ 2 เรื่อง การงอกของละอองเรณู 1. กาหนดปัญหา ................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................. 2. จุดประสงค์ของกิจกรรม ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 3. ตั้งสมมุติฐาน ................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 4. ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม ของการศึกษาเรื่องนี้คืออะไร ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 5. อุปกรณ์ 1) ดอกแพงพวย จานวน 1 ดอกต่อกลุ่ม 2) กระจกสไลด์และกระจกปิดสไลด์ จานวน 1 ชุด ต่อกลุ่ม 3) กล้องจุลทรรศน์ จานวน 1 เครื่องต่อกลุ่ม 4) หลอดหยด จานวน 1 อันต่อกลุ่ม 5) สารละลายน้าตาลทราย เข้มข้น 5 % โดยมวลต่อปริมาตร จานวน 2 หยดต่อกลุ่ม 6) เข็มหมุด จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม 7) แท่งแก้ว จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม
  • 28. 19 6. วิธีศึกษาทดลอง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาเกี่ยวกับ การงอกของละอองเรณู โดยปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนดังนี้ 1) นาดอกแพงพวย มา 1 ดอก 2) หยดสารละลายน้าตาลเข้มข้น 5 % ลงบนกระจกสไลด์ 2 หยด 3) ใช้ปลายเข็มเขี่ยอับเรณูให้ตกบนสารละลายน้าตาลแล้วใช้แท่งแก้วเขี่ยให้แตก ปิดด้วย กระจกปิดสไลด์ แล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ กาลังขยาย 100 เท่า วาดรูปละอองเรณูที่เห็นจาก กล้อง 4) หยดด้วยสารละลายน้าตาลข้าง ๆ กระจกปิดสไลด์อยู่เสมอไม่ให้แห้ง สังเกตและวาด รูปการเปลี่ยนแปลงของละอองเรณูที่เห็นจากกล้องทุก ๆ 15 นาที เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ดัง ภาพประกอบ ภาพที่ 6.44 การทดลองการงอกของละอองเรณู (ที่มาของภาพ ปรับปรุงจาก : ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะและคณะ. 2545 :83)
  • 29. 20 7. ตารางบันทึกผลการทดลอง ระยะเวลาที่ ทดลอง ลักษณะของละอองเรณู ผลการสังเกตจานวนละอองเรณู ที่มี การเปลี่ยนแปลง ที่ไม่มี การเปลี่ยนแปลง เริ่มทดลอง 15 นาที 30 นาที 45 นาที 60 นาที 8. คาถามท้ายการทดลอง 1) จากผลการทดลองเมื่อหยดสารละลายน้าตาลเข้มข้น 5%ลงบนละอองเรณู มีการเปลี่ยนแปลง อย่างไร เมื่อเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมง ............................................................................................................................................................. 2) การงอกของละอองเรณูทุกอันเท่ากันหรือไม่ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ............................................................................................................................................................. 3) นักเรียนคิดว่า การงอกของละอองเรณูจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง ............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................
  • 30. 21 4) ถ้านักเรียนต้องการทดสอบว่า ความเข้มข้นของสารละลายน้าตาลมีผลต่อการงอกของ ละอองเรณูหรือไม่ นักเรียนจะออกแบบการทดลองอย่างไร ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 9. สรุปผลการศึกษา ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 10. ให้นักเรียนเสนอชื่อเรื่องของโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสืบพันธุ์ของพืช ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................
  • 31. 23 แนวการตอบกิจกรรมที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช จุดประสงค์การเรียนรู้ เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืชแล้ว สามารถ 1. สังเกต และเปรียบเทียบส่วนประกอบและหน้าที่ของส่วนประกอบของดอกไม้ได้ 2. ทดลองและอธิบายกระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกได้ 3. ยกตัวอย่างและอธิบายกระบวนการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชได้ 4. ยกตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสืบพันธุ์ของพืชได้ คาชี้แจง 1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 8 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน โดยคละเพศและความสามารถ ควรเป็นกลุ่มเดิม 2. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนรับอุปกรณ์การทดลองและชุดกิจกรรมที่ 6 แล้ว ทากิจกรรมที่ 6 ตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ตอนที่ 1 เรื่อง ศึกษาเปรียบเทียบส่วนประกอบของดอกไม้ 1. กาหนดปัญหา ดอกไม้แต่ละชนิดมีส่วนประกอบเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร 2. จุดประสงค์ของกิจกรรม 1) เพื่อศึกษาส่วนประกอบของดอกไม้แต่ละชนิด 2) เพื่อจาแนกประเภทของดอกไม้โดยใช้ส่วนประกอบของดอก และเกสรตัวผู้และเกสร ตัวเมียเป็นเกณฑ์ในการจาแนก 3. ตั้งสมมุติฐาน ถ้าดอกไม้แต่ละชนิดมีส่วนประกอบแตกต่างกันแล้ว ดังนั้นดอกไม้ที่นามาศึกษาจึงมี ส่วนประกอบ ทั้ง 4 ส่วน คือ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย ไม่เหมือนกัน 4. อุปกรณ์ 1) ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ ที่มีในท้องถิ่น 2) แว่นขยาย
  • 32. 24 5. วิธีศึกษาทดลอง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาว่า ส่วนประกอบของดอกไม้ว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง และ จัดเป็นดอกประเภทใด โดยปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอน ดังนี้ 1) นาดอกไม้ชนิดต่าง ๆ ที่มีในท้องถิ่นมาศึกษาส่วนประกอบของดอกว่ามีส่วนประกอบ อะไรบ้าง 2) ทาเครื่องหมาย ลงในช่องที่พบส่วนประกอบ และทาเครื่องหมาย ลงในช่องที่ไม่พบ ส่วนประกอบ 3) จัดกลุ่มประเภทของดอกไม้โดยใช้เกณฑ์ตามที่กาหนดว่าเป็นดอกประเภทใด 4) ตอบคาถามท้ายกิจกรรมและสรุปผลการศึกษา 6. ตารางบันทึกผลการทดลอง ชื่อดอกไม้ ส่วนประกอบของดอก ประเภทของดอก กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย 1. ดอกชบา     ดอกครบส่วน 2. ดอกมะเขือ     ดอกครบส่วน 3. ดอกตาลึง     ดอกไม่ครบส่วน 4. ดอกต้อยติ่ง     ดอกครบส่วน 5. ดอกกุหลาบ     ดอกครบส่วน 6. ดอกมะละกอ     ดอกไม่ครบส่วน 7. ดอกแตงกวา     ดอกไม่ครบส่วน 8. ดอกโมก     ดอกครบส่วน 9. ดอกบานบุรี     ดอกครบส่วน 10. ดอกพู่ระหง     ดอกครบส่วน 7. คาถามท้ายการทดลอง 1) ดอกไม้ที่นามาศึกษามีกี่ชนิด มี 10 ชนิด 2) ดอกไม้ชนิดใดบ้างที่มีส่วนประกอบครบทั้ง 4 ส่วน และดอกไม้ชนิดใดมีส่วนประกอบ ไม่ครบทั้ง 4 ส่วน จัดว่าเป็นดอกชนิดใด ดอกไม้ที่มีส่วนประกอบครบทั้ง 4 ส่วนได้แก่ ชบา มะเขือ ต้อยติ่ง กุหลาบ โมก บานบุรี พู่ระหง ดอกไม้ที่มีส่วนประกอบไม่ครบทั้ง 4 ส่วนได้แก่ ดอกตาลึง ดอกมะละกอ ดอกแตงกวา
  • 33. 25 3) ดอกไม้ชนิดใดบ้างที่มีเฉพาะเกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมีย ดอกมะละกอ ดอกแตงกวา และดอกตาลึง 4) ส่วนประกอบของดอกไม้แต่ละส่วนทาหน้าที่อะไร ให้วาดภาพประกอบ 4.1) กลีบเลี้ยง (Sepal) เป็นส่วนที่อยู่นอกสุด มีสีเขียว ทาหน้าที่ห่อหุ้มกลีบดอกป้ องกัน อันตรายให้กับดอกที่ยังตูมอยู่ 4.2) กลีบดอก (Petal) เป็นส่วนที่ติดอยู่กับกลีบเลี้ยงเข้าไป มีสีสวย กลิ่นหอมหรือมีต่อม น้าหวานบริเวณโคนกลีบดอก ทาหน้าที่ล่อแมลงให้มาช่วยในการผสมเกสร 4.3) เกสรตัวผู้(Stamen) อยู่ถัดจากกลีบดอก ประกอบด้วย 4.3.1) อับเรณู (Anther) ภายในอับเรณูมีถุง (Pollen Sac) อยู่ 2 หรือ 4 ถุง ภายในบรรจุ ละอองเรณูไว้จานวนมาก 4.3.2) ก้านชูอับเรณู (Filament) ทาหน้าที่ชูอับเรณูเพื่อประโยชน์ในการผสมเกสร 4.4) เกสรตัวเมีย (Pistil) เป็นส่วนที่อยู่ในสุด ทาหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย ประกอบด้วย 4.4.1) ยอดเกสรตัวเมีย (Stigma) มีน้าหวานเหนียว ๆ และขนเล็ก ๆ คอยดักจับละออง เรณู และน้าหวานยังใช้เป็นอาหารในการงอกของละอองเรณูอีกด้วย 4.4.2) ก้านชูเกสรตัวเมีย (Style) ทาหน้าที่ชูยอดเกสรตัวเมียให้สูง เพื่อประโยชน์ใน การผสมพันธุ์ 4.4.3) รังไข่ (Ovary) ภายในมี ไข่อ่อน (Ovule) ภายในไข่อ่อนมีไข่ (Egg) ทา หน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย
  • 34. 26 5) ถ้าจาแนกประเภทของดอกไม้โดยใช้ส่วนประกอบเป็นเกณฑ์ นักเรียนจะจาแนกได้เป็น กี่ประเภท อะไรบ้าง การจาแนกประเภทของดอกไม้โดยใช้ส่วนประกอบเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ ดอกครบส่วน ได้แก่ ชบา มะเขือ ต้อยติ่ง กุหลาบ โมก บานบุรี พู่ระหง ดอกไม่ครบส่วน ได้แก่ ดอกตาลึง ดอกมะละกอ ดอกแตงกวา 6) ถ้าใช้เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเป็นเกณฑ์จะจาแนกได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง ถ้าใช้เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเป็นเกณฑ์จะจาแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ ดอกสมบูรณ์เพศและดอกไม่สมบูรณ์เพศ 7) ดอกไม้ที่เป็นดอกครบส่วนเป็นดอกสมบูรณ์เพศเสมอหรือไม่ เพราะเหตุใด ดอกไม้ที่เป็นดอกครบส่วนเป็นดอกสมบูรณ์เพศเสมอ เพราะมีส่วนประกอบครบทั้ง 4 ส่วน คือ กลีบดอก กลีบเลี้ยง เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย 8) ดอกไม้ที่เป็นดอกสมบูรณ์เพศเป็นดอกไม่ครบส่วนเสมอไปหรือไม่ เพราะเหตุใด ดอกไม้ที่เป็นดอกสมบูรณ์เพศไม่เป็นดอกครบส่วนเสมอไป เพราะว่า ดอกไม้ที่มีเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน อาจไม่มีกลีบเลี้ยงหรือกลีบดอก ก็ได้เช่น ดอกเฟื่องฟ้า ไม่มี กลีบเลี้ยง 9) นักเรียนคิดว่ามีเกณฑ์ใดอีกที่สามารถจาแนกประเภทของดอกไม้ได้ ใช้สีของดอกเป็นเกณฑ์ เช่น ดอกไม้ที่มีสีเหลือง ได้แก่ ดอกดาวเรือง ดอกบานบุรี ดอกทานตะวัน ดอกไม้ที่มี สีขาว เช่น ดอกมะลิ ดอกปีบ เป็นต้น 8. สรุปผลการศึกษา การจาแนกประเภทของดอกไม้โดยใช้ส่วนประกอบเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ ดอกครบส่วน ได้แก่ ชบา มะเขือ ต้อยติ่ง กุหลาบ โมก บานบุรี พู่ระหง และดอกไม่ครบส่วน ได้แก่ ดอกตาลึง ดอกมะละกอ ดอกแตงกวา ถ้าใช้เกณฑ์เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเป็นเกณฑ์ จาแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ ดอกสมบูรณ์เพศและดอกไม่สมบูรณ์เพศ 9. ถ้านักเรียนศึกษาดอกไม้ชนิดต่าง ๆ แล้วมีการจาแนกประเภทของดอกไม้โดยกาหนดเกณฑ์ ในการจาแนก เช่น ใช้เกสรตัวผู้เกสรตัวเมีย ส่วนประกอบของดอก สีของดอก กลิ่นหอมของดอก หรือการใช้ประโยชน์ของดอก เป็นเกณฑ์ จัดว่าเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์หรือไม่ และเป็น โครงงานประเภทใด จัดเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภท สารวจข้อมูล
  • 35. 27 ตอนที่ 2 เรื่อง การงอกของละอองเรณู 1. กาหนดปัญหา สารละลายน้าตาลทรายเข้มข้น 5% มีผลต่อการงอกของละอองเรณูหรือไม่ 2. จุดประสงค์ของกิจกรรม เพื่อศึกษาว่า ผลของสารละลายน้าตาลทรายเข้มข้น 5% ที่มีต่อการงอกของละอองเรณู 3. ตั้งสมมุติฐาน สารละลายน้าตาลทรายเข้มข้น 5% มีต่อการงอกของละอองเรณู โดยกระตุ้นให้ละอองเรณู งอกหลอดยาวเพื่อให้สเปิร์มเข้าไปผสมกับนิวเคลียสในรังไข่ได้ 4. ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม ของการศึกษาเรื่องนี้คืออะไร 1) ตัวแปรต้น คือ สารละลายน้าตาลทรายเข้มข้น 5% 2) ตัวแปรตาม คือ การงอกของละอองเรณู 3) ตัวแปรควบคุม คือ ความเข้มข้นของสารละลายน้าตาลทราย คือ ความเข้มข้น 5% ชนิดของละอองเรณูของพืชที่ทดลอง (ดอกแพงพวย) เวลาที่ทดลอง (1 ชั่วโมง) 5. อุปกรณ์ 1) ดอกแพงพวย จานวน 1 ดอกต่อกลุ่ม 2) กระจกสไลด์และกระจกปิดสไลด์ จานวน 1 ชุด ต่อกลุ่ม 3) กล้องจุลทรรศน์ จานวน 1 เครื่องต่อกลุ่ม 4) หลอดหยด จานวน 1 อันต่อกลุ่ม 5) สารละลายน้าตาลทราย เข้มข้น 5 % โดยมวลต่อปริมาตร จานวน 2 หยดต่อกลุ่ม 6) เข็มหมุด จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม 7) แท่งแก้ว จานวน 1 อัน
  • 36. 28 6. วิธีศึกษาทดลอง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาเกี่ยวกับ การงอกของละอองเรณู โดยปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนดังนี้ 1) นาดอกแพงพวย มา 1 ดอก 2) หยดสารละลายน้าตาลเข้มข้น 5 % ลงบนกระจกสไลด์ 2 หยด 3) ใช้ปลายเข็มเขี่ยอับเรณูให้ตกบนสารละลายน้าตาลแล้วใช้แท่งแก้วเขี่ยให้แตก ปิดด้วย กระจกปิดสไลด์ แล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ กาลังขยาย 100 เท่า วาดรูปละอองเรณูที่เห็นจาก กล้อง 4) หยดด้วยสารละลายน้าตาลข้าง ๆ กระจกปิดสไลด์อยู่เสมอไม่ให้แห้ง สังเกตและ วาดรูปการเปลี่ยนแปลงของละอองเรณูที่เห็นจากกล้องทุก ๆ 15 นาที เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ดังภาพประกอบ ภาพที่ 6.44 การทดลองการงอกของละอองเรณู (ที่มาภาพ ปรับปรุงจาก : ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะและคณะ. 2545 : 83)
  • 37. 29 7. ตารางบันทึกผลการทดลอง (ตัวอย่างผลการทดลอง) ระยะเวลาที่ ทดลอง ลักษณะของละอองเรณู ผลการสังเกตจานวนละอองเรณู ที่มี การเปลี่ยนแปลง ที่ไม่มี การเปลี่ยนแปลง เริ่มทดลอง - 10 15 นาที 3 7 30 นาที 6 4 45 นาที 7 3 60 นาที 7 3 8. คาถามท้ายการทดลอง 1) จากผลการทดลอง เมื่อหยดสารละลายน้าตาลเข้มข้น 5% ลงบนละอองเรณู ละอองเรณู มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมง ละอองเรณูจะงอกหลอดยาว ๆ และยาวมากขึ้น 2) การงอกของละอองเรณูทุกอันเท่ากันหรือไม่ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น หลอดละอองเรณูงอกยาวไม่เท่ากัน เพราะละอองเรณูไม่เท่ากันทุกอัน 3) นักเรียนคิดว่า การงอกของละอองเรณูจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง ปริมาณน้าตาลที่ได้รับ ความเข้มข้นของสารละลายน้าตาล ระยะเลา และความอ่อน ความแก่ของละอองเรณู
  • 38. 30 4) ถ้านักเรียนต้องการต้องการทดสอบว่า ความเข้มข้นของสารละลายน้าตาลมีผลต่อการงอก ของละอองเรณูหรือไม่ นักเรียนจะออกแบบการทดลองอย่างไร นาสารละลายน้าตาลที่มีความเข้มข้นไม่เท่ากันมาทดลองกับละอองเรณูของพืชชนิด เดียวกัน เช่น ความเข้มข้น 5% , 10% , 15% และ 20% 9. สรุปผลการศึกษา จากการทดลองพบว่า การงอกของละอองเรณูขึ้นอยู่กับปริมาณของสารละลายน้าตาล ถ้าปริมาณของสารละลายน้าตาลมากจะมีการงอกหลอดละอองเรณูได้ดี และเมื่อใช้เวลามากขึ้น การงอกของละอองเรณูจะยาวมากขึ้น 10. ให้นักเรียนเสนอชื่อเรื่องของโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสืบพันธุ์ของพืช ชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสืบพันธุ์ของพืช เช่น 1) ความเข้มข้นของสารละลายน้าตาลกับการงอกของละอองเรณู 2) ปริมาณรากไทรที่มีผลต่อการงอกรากของกิ่งตอนมะนาว 3) น้าในเมล็ดมะละกอเร่งการงอกรากของกิ่งชาโกศล 4) สารสกัดจากผักขมเร่งการติดตาของมะม่วง 5) การสารวจชนิดของดอกไม้ในท้องถิ่นบ้านอาปึลสนวน
  • 39. 31 เกณฑ์การให้คะแนนกิจกรรมที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช ข้อ รายการประเมิน ระดับคะแนน ตอนที่ 1 (16 คะแนน) 1 -3 ตอบได้ถูกต้องตรงประเด็นมากไม่มีส่วนผิด 1 ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ 0 4 -6 ได้ทาการทดลองตามขั้นตอนและมีการบันทึกผลการทดลองครบทุกส่วน ไม่มีส่วนใดผิดหรือผิดไม่เกิน 1 รายการ 2 ได้ทาการทดลองตามขั้นตอนและมีการบันทึกผลการทดลองครบทุกส่วน ไม่มีส่วนใดผิดหรือผิดไม่เกิน 2 รายการ 1 ไม่ได้ทาการทดลองตามขั้นตอนและไม่มีการบันทึกผลการทดลองหรือ บันทึกผลการทดลองไม่ครบส่วนผิดมากกว่า 2 รายการ 0 7 (1- 9) ตอบได้ถูกต้องตรงประเด็นมากไม่มีส่วนผิด 1 ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ 0 8 สรุปผลการศึกษาได้ถูกต้องตรงตามผลการทดลอง 1 ไม่ได้สรุปผลการศึกษาหรือสรุปแต่ไม่ถูกต้อง 0 9 ตอบได้ถูกต้องตรงประเด็นมากไม่มีส่วนผิด 1 ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ 0