SlideShare a Scribd company logo
1 of 183
Download to read offline
คู่มือโฆษณา
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
1 Liter 1 Liter 1 Liter
1 Liter 1 Liter 1 Liter
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 1
ความเป็นมา
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ2
หน้าที่รับผิดชอบ
ของส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
	 ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นส่วนราชการที่มีฐานะ
การปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ
โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการ
ส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐานเชื่อถือได้
และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย
และสมประโยชน์ โดยมีอ�ำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
	 1.	ด�ำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร กฎหมายว่าด้วยยา
กฎหมายว่าด้วยเครื่องส�ำอาง กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย กฎหมายว่าด้วย
วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ
กฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์ กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
	 2. 	พัฒนาระบบและกลไก เพื่อให้มีการด�ำเนินการบังคับใช้กฎหมาย
ที่อยู่ในความรับผิดชอบ
	 3.	เฝ้าระวังก�ำกับและตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์
สถานประกอบการ และการโฆษณา รวมทั้งผลอันไม่พึงประสงค์ของผลิตภัณฑ์
ตลอดจนมีการติดตามหรือเฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพจาก
ภายในประเทศและภายนอกประเทศ
	 4. 	ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และ
ระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผล
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 3
	 5.	ส่งเสริมและพัฒนาผู้บริโภคให้มีศักยภาพในการเลือกบริโภค
ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย และคุ้มค่า รวมทั้งเพื่อให้
ผู้บริโภคนั้นมีการร้องเรียน เพื่อปกป้องสิทธิของตนได้
	 6.	พัฒนาและส่งเสริมการด�ำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์
สุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และเครือข่าย
ประชาคมสุขภาพ
	 7.	ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายก�ำหนดให้เป็นอ�ำนาจหน้าที่ของ
ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรี
มอบหมาย
	 จากอ�ำนาจหน้าที่ที่กล่าวมาข้างต้น ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหาร
และยาได้ด�ำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายจ�ำนวน 8 ฉบับ และอนุสัญญา
และข้อตกลงระหว่างประเทศ อีกจ�ำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
กฎหมาย
	 -	 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
	-	พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2518)
ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2522) ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2528) และฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2530)
	 -	 พระราชบัญญัติเครื่องส�ำอาง พ.ศ. 2535
	 -	 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
	 -	 พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518
และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2528) ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535) และฉบับที่ 4
(พ.ศ. 2543)
	 -	 พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และแก้ไข้เพิ่มเติม
ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2528) ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2530) และฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2543)
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ4
	 -	 พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2531
	 -	 พระราชก�ำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 และแก้ไข
เพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2543)
อนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ
	 -	 The Single Convention on Narcotic Drug 1961
	 -	 The Convention on Psychotropic Substance 1971
	 -	 The International Code of Marketing of Breast-milk
Substitute 1981
	 -	 The United Nation Convention Against Illicit Traffic in
Narcotic Drugs and Psychotropic Substances 1988
	 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อ
พิจารณาด�ำเนินการภายใต้กฎหมายทั้ง 8 ฉบับนี้ คณะกรรมการดังกล่าว
ได้แก่
	 1. 	คณะกรรมการอาหาร
	 2. 	คณะกรรมการยา
	 3. 	คณะกรรมการเครื่องส�ำอาง
	 4. 	คณะกรรมการวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
	 5. 	คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ
	 6. 	คณะกรรมการเครื่องมือแพทย์
	 7. 	คณะกรรมการป้องกันการใช้สารระเหย
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 5
	 นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อก�ำหนด
นโยบายสนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนาด้านยา อาหารและเคมีวัตถุ เป็นกลไก
ประสานงานกับหน่วยงานอื่น คณะกรรมการดังกล่าว ได้แก่
	 คณะกรรมการแห่งชาติทางด้านยา คณะกรรมการแห่งชาติด้านอาหาร
คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยความปลอดภัยทางด้านเคมีวัตถุ การด�ำเนินงาน
ควบคุมทางด้านต่างๆ จะต้องด�ำเนินให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ และ
มติของคณะกรรมการตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น และเลขาธิการฯ รอง
เลขาธิการฯ เจ้าหน้าที่ของกองที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ในส่วนภูมิภาค ได้แก่
ผู้ว่าราชการจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เภสัชกรกลุ่มงานคุ้มครอง
ผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของ กทม. ที่ อย. ได้มอบให้
เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในการด�ำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารตาม
พรบ.อาหาร พ.ศ. 2522 เพื่อสามารถตรวจสอบดูแลคุณภาพมาตรฐานและ
ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารที่จ�ำหน่ายในท้องตลาด และท�ำหน้าที่
เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและมติของคณะ
กรรมการดังกล่าวข้างต้น
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ6
วิสัยทัศน์ (VISION)
	 องค์กรที่เป็นเลิศด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
มีคุณภาพ ปลอดภัย ผู้บริโภคมั่นใจ ผู้ประกอบการไทยก้าวไกลสู่สากล
พันธกิจ	
	 1.	ก�ำกับ ดูแล และส่งเสริมให้มีการน�ำเสนอผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มี
คุณภาพ มาตรฐานและความปลอดภัย	
	 2.	ส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความรู้ ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมการ
บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง	
	 3.	สนับสนุนให้ผู้ประกอบการได้รับโอกาสทางการแข่งขันมากขึ้น
เพื่อเป็นการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ	
	 4.	พัฒนาการบริหารจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศ	
	 	
ค่านิยม
	 “PROTECT”	
	 P 	 ห่วงใยประชา (People Centric)	
	 R 	 สร้างศรัทธาความเชื่อมั่น (Reliability)	
	 O	 มุ่งมั่นเรียนรู้ (Ongoing Learning)	
	 T 	 เชิดชูทีมงาน (Team work)	
	 E 	 ยึดหลักการคุณธรรม จริยา (Ethic)	
	 C 	 พร้อมพัฒนาขีดสมรรถนะ (Competency)	
	 T 	 ไม่ลดละความโปร่งใส (Transparency)
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 7
การก�ำกับดูแลโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ของส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
	 ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นหน่วยงานหลักที่มี
บทบาทหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยการก�ำกับ
ดูแลผลิตภัณฑ์ทั้งก่อนออกสู่ตลาดและหลังออกสู่ตลาด และปัจจุบัน
เทคโนโลยีด้านการผลิตมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ท�ำให้เกิดการผลิต
ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
จึงท�ำให้เกิดการแข่งขันทางการตลาดเพื่อให้ผลิตภัณฑ์เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค
ได้มากที่สุดในทุกช่องทางการตลาด ประกอบกับปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสาร
มีความก้าวหน้าท�ำให้ผู้บริโภครับรู้ข่าวสารต่างๆ ได้จากหลากหลายช่องทาง
อาทิเช่น ทีวีดาวเทียม เคเบิ้ลทีวี วิทยุชุมชน เป็นต้น ดังนั้น การแข่งขัน
ของผู้ประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น ยา อาหาร เครื่องมือ
แพทย์ฯ จึงเป็นการแข่งขันทางการตลาดที่รุนแรงโดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาด
ในการส่งเสริมการขายผ่านช่องทางการตลาดต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้และ
หลงเชื่อในผลิตภัณฑ์สุขภาพดังกล่าว ซึ่งการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ในปัจจุบันยังพบการกระท�ำฝ่าฝืนกฎหมายและอาจท�ำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับ
ความเป็นธรรมจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพดังกล่าวด้วย
	 จากการเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผ่านมา ทางสื่อทีวี วิทยุ
นิตยสาร และอินเทอร์เน็ต ของส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบว่า
จ�ำนวนข้อมูลการโฆษณาที่ฝ่าฝืนกฎหมายในความรับผิดชอบของส�ำนักงาน
คณะกรรมการอาหารและยามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังตารางที่ 1
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ8
ตารางที่ 1 จ�ำนวนข้อมูลโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อโทรทัศน์ดาวเทียม
ที่พบการฝ่าฝืนกฎหมายปีงบประมาณ 2554-2557
ปีงบประมาณ จ�ำนวนการ
ตรวจสอบโฆษณา
โทรทัศน์ดาวเทียม
(รายการ)
พบการกระท�ำ
ฝ่าฝืนกฎหมาย
โฆษณา
(รายการ)
คิดเป็น
(%)
2554
(1 ต.ค. 53 - 30 ก.ย. 54)
60 56 93.3
2555
(1 ต.ค. 54 - 30 ก.ย. 55)
83 71 85.5
2556
(1 ต.ค. 55 - 30 ก.ย. 56)
366 287 78.4
2557
(1 ต.ค. 56 - 30 ก.ย. 57)
468 353 75.4
	 ทั้งนี้ การเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อทีวี วิทยุ นิตยสาร
และอินเทอร์เน็ต ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยศูนย์จัดการเรื่อง
ร้องเรียนและปราบปรามการกระท�ำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ
(ศรป.) ได้ด�ำเนินการเฝ้าระวังและด�ำเนินการกับโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ที่ผิดกฎหมายด้วยมาตรการทางกฎหมาย อาทิเช่น แจ้งระงับโฆษณา
เปรียบเทียบปรับ รวมทั้งการส่งเรื่องให้หน่วยอื่นด�ำเนินการสืบหาข้อมูลเพิ่มเติม
เพื่อด�ำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระท�ำผิด เช่น กองบังคับการปราบปราม
การกระท�ำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) กระทรวงเทคโนโลยี
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 9
สารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น ส�ำหรับการเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์
สุขภาพในปีงบประมาณ 2558 (1 ต.ค. 57 - 30 ส.ค. 58) นั้น ส�ำนักงาน
คณะกรรมการอาหารและยาได้เฝ้าระวังทางสื่อโทรทัศน์ดาวเทียมจ�ำนวน
163 รายการ พบการกระท�ำฝ่าฝืนกฎหมาย จ�ำนวน 82 รายการ คิดเป็น 50.3%
ซึ่งจากผลการเฝ้าระวังโฆษณาดังกล่าวจะเห็นแนวโน้มการกระท�ำฝ่าฝืน
กฎหมายโดยเฉพาะการโฆษณาโทรทัศน์ดาวเทียมลดลง ทั้งนี้อาจเกิดจาก
การด�ำเนินการอย่างจริงจังของหน่วยงานภาครัฐที่ร่วมกันก�ำกับดูแลโดยใช้
มาตรการที่เข้มงวด
ตารางที่ 2 จ�ำนวนข้อมูลโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อโทรทัศน์ดาวเทียมที่
พบการฝ่าฝืนกฎหมาย ปีงบ 2558
ปีงบประมาณ จ�ำนวนการ
ตรวจสอบโฆษณา
โทรทัศน์ดาวเทียม
(รายการ)
พบการกระท�ำ
ฝ่าฝืนกฎหมาย
โฆษณา
(รายการ)
คิดเป็น
(%)
2558
(1 ต.ค. 57 - 30 ส.ค. 58)
163 82 50.3%
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ10
มาตรการก�ำกับดูแลการโฆษณา
ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย
	 กรณีผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นยา อาหาร และเครื่องมือแพทย์ ก�ำหนด
ให้ผู้ประกอบการต้องขออนุญาตจากส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ก่อนการโฆษณาตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 พระราชบัญญัติอาหาร
พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 โดยโฆษณานั้น
ต้องไม่โอ้อวด สรรพคุณไม่เป็นเท็จ เกินจริง แต่ส�ำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ
ภายใต้การก�ำกับดูแลของส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เช่น
เครื่องส�ำอาง วัตถุอันตราย เป็นต้น ไม่มีกฎหมายก�ำหนดให้ต้องขออนุญาต
ก่อนการโฆษณา แต่ทั้งนี้การโฆษณาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมาย
ก�ำหนด
	 1.	ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้บูรณาการการท�ำงาน
ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการก�ำกับดูแลงานโฆษณา
อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ลงนามบันทึกตกลงร่วมกัน (MOU) กับส�ำนักงาน
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
แห่งชาติ (กสทช.) ส�ำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และ
กองบังคับการปราบปรามการกระท�ำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค
(บก.ปคบ.)
	2.	ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้เป็นแกนหลัก โดยร่วมกับ
หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ภาคประชาสังคมและ
เครือข่ายผู้บริโภค ในการจัดท�ำกรอบยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาโฆษณายา
อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่กระท�ำผิดกฎหมายโฆษณา พ.ศ. 2557-2561
	 3.	ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจัดท�ำโครงการและ
กิจกรรมต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการ
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 11
ช่วยกันแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นการกระตุ้นจิตส�ำนักผู้ประกอบการ อาทิเช่น
จัดอบรมความรู้ด้านกฎหมายโฆษณาส�ำหรับผู้ประกอบการสถานีวิทยุ
ทีวีดาวเทียมฯ โครงการผลิตสื่อ Animation เพื่อให้ความรู้เท่าทันสื่อโฆษณา
ส�ำหรับเว็ปไซต์และ Mobile application
	 4.	ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้มีการปรับเปลี่ยน
กระบวนการด�ำเนินคดีโฆษณา (แบบใหม่) เพื่อให้การด�ำเนินงานรวดเร็วและ
มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (เฉพาะพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 พระราชบัญญัติ
อาหาร พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551)
	 5.	ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและส�ำนักงานคณะ
กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม
แห่งชาติ (กสทช.) ได้ร่วมมือกันในการก�ำกับดูแลโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ซึ่งจัดเป็นมาตรการความร่วมมือเร่งด่วนในการเฝ้าระวังทีวีดาวเทียม โดยได้
น�ำผลการด�ำเนินคดีโฆษณาของส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ที่ส่งให้ กสทช. ด�ำเนินการตามกฎหมายที่มีอยู่ในความรับผิดชอบ ตั้งแต่
ประมาณเดือนตุลาคม 2556 ถึงก่อนปฏิวัติรัฐประหาร (22 พฤษภาคม 2557)
มาเป็นหลักเกณฑ์ในการก�ำกับดูแลโฆษณาอาหารและยาและผลิตภัณฑ์
สุขภาพของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ดาวเทียมที่ประสงค์ออกอากาศภายหลัง
ที่ได้ยินยอมยอมรับเงื่อนไขการถูกด�ำเนินการทางปกครองของ กสทช. เช่น
ปรับทางปกครอง พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง
หรือกิจการโทรทัศน์ในกรณีที่มีการโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ที่ผิดกฎหมาย โดยทาง กสทช. ได้จัดกลุ่มช่องโทรทัศน์ดาวเทียมออกเป็น
3 กลุ่ม คือ
	 กลุ่มที่ 1 ไม่พบการโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ที่ผิดกฎหมาย
	 กลุ่มที่ 2 พบการโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ที่ผิดกฎหมายบ้าง
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ12
	 กลุ่มที่ 3 พบการโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่
ผิดกฎหมาย (โดยกลุ่มที่ 3 มีจ�ำนวน 53 ช่อง)
	 โดยเริ่มด�ำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557 ซึ่งส�ำนักงานคณะ
กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
(กสทช.) จะเฝ้าระวังโฆษณาทางช่องทีวีดาวเทียมดังกล่าวและส่งวัสดุบันทึกเทป
ให้ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาตรวจสอบ หากพบการโฆษณา
ผลิตภัณฑ์สุขภาพอันเป็นการกระท�ำฝ่าฝืนกฎหมายภายใต้การก�ำกับดูแลของ
ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและ
ยาจะระงับการโฆษณาและเปรียบเทียบปรับตามกฎหมายและส่งเรื่องให้
ส�ำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการ
โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด�ำเนินการตามกฎหมายภายใต้มาตรการ
ก�ำกับดูแลของส�ำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต่อไป ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานได้ด�ำเนินงาน
ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยการใช้มาตรการทางกฎหมายลงโทษผู้กระท�ำผิด
จนปรากฏผลการด�ำเนินการเป็นที่ประจักษ์ ได้แก่ การปิดตัวของช่องสถานี
ดาวเทียมบางช่องที่กระท�ำการโฆษณาผิดกฎหมาย
	 ทั้งนี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับความร่วมมือ
จากส�ำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการ
โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กองบังคับการปราบปรามการกระท�ำความผิด
เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร (กระทรวง ICT) ในการก�ำกับดูแลโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ที่ผิดกฎหมาย เช่น ระงับการแพร่ภาพ การกระจายเสียง และปิดกั้นเว็บไซต์
เพื่อให้ปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายลดลงอย่างเป็นที่
ประจักษ์
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 13
แผนยุทธศาสตร์
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ14
แผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหา
โฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร
และผลิตภัณฑ์สุขภาพ พ.ศ. 2557 - 2561
จุดยืนทางยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา
	 1.	มุ่งเน้นการเสริมสร้างความตระหนัก ความรู้ แก่ประชาชนและ
ผู้บริโภคให้ได้รับ และเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง และมีศักยภาพที่เท่าทันสื่อ
โฆษณาที่โอ้อวดสรรพคุณยา อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง และ
กระท�ำผิดกฎหมาย และให้ประชาชนมีความรับผิดชอบร่วมกันในการจัดการ
	 2.	สร้างระบบการบริหารจัดการเครือข่ายบูรณาการการท�ำงานของ
หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการ สื่อ องค์กรวิชาชีพ องค์กรท้องถิ่น ภาค
ประชาสังคม และผู้บริโภคให้เกิดเป็นภาคีเครือข่ายยุทธศาสตร์การท�ำงาน
ระดับชาติที่เข้มแข็ง มีการท�ำงานอย่างเป็นระบบ มีผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงใน
แต่ละระดับ และมีเอกภาพทางการปฏิบัติที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงจากระดับชาติ
ภูมิภาค จังหวัด จนถึงระดับหมู่บ้าน
	 3.	เสริมสร้างเอกภาพ ความเข้มข้น ความจริงจังในการบูรณาการ
ทรัพยากรและการก�ำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมกันระหว่างภาครัฐที่
เกี่ยวข้อง รวมทั้งการบังคบใช้กฎหมายและการจัดการกับสื่อโฆษณาที่โอ้อวด
สรรพคุณยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง และกระท�ำผิดกฎหมาย
ให้มีประสิทธิภาพ ทั่วถึง ทันท่วงที
	 4.	ส่งเสริม สนับสนุน ก�ำกับ ยกย่อง สื่อในทุกระดับของประเทศที่
ร่วมโฆษณาประชาสัมพันธ์ เผยแพร่สรรพคุณยา อาหาร และผลิตภัณฑ์
สุขภาพที่ถูกต้อง สอดคล้องตามกฎหมาย และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
และจัดการขั้นเด็ดขาดกับสื่อที่กระท�ำผิดกฎหมายเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 15
	 5.	สร้างและพัฒนาระบบฐานข้อมูล สารสนเทศ และองค์ความรู้ของ
การโฆษณาเผยแพร่สรรพคุณยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีความ
เชื่อมโยงข้อมูลและใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นระบบเป็นฐานข้อมูลระดับ
ประเทศ
	 6.	พัฒนาระบบการจัดการเรื่องร้องเรียนให้มีมาตรฐาน ทันสมัย
มีประสิทธิภาพสูงสุดและให้เป็นที่ยอมรับ เชื่อมั่น และวางใจจากประชาชน
ผู้บริโภค
	 7.	สร้างกลไก มาตราการการขับเคลื่อนเชิงนโยบายที่ก่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในทางปฏิบัติทั้งประเทศ พร้อมพัฒนา และปรับปรุงกฎหมาย
ระเบียบปฏิบัติ มาตราการที่เกี่ยวกับการก�ำกับดูแลการโฆษณาสรรพคุณยา
อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีความทันสมัย และเป็นสากล
ทิศทางการพัฒนาของแผนยุทธศาสตร์
	 ทิศทางการพัฒนาของแผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาโฆษณา
ผิดกฎหมายของอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพในช่วงปี พ.ศ. 2557 - 2561
ของหุ้นส่วนยุทธศาสตร์อันประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
ภาคประชาชน ภาคการศึกษา องค์กรวิชาชีพ และภาคีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ประกอบด้วยทิศทางดังนี้
วิสัยทัศน์ (Vision)
“มุ่งสู่สังคมแห่งจิตส�ำนึกร่วมรับผิดชอบในการเฝ้าระวัง
ร้องเรียน และจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร
และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ด้วยภาคีเครือข่ายระดับชาติ
และระดับพื้นที่เชิงบูรณาการอย่างเข้มแข็ง”
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ16
วิสัยทัศน์
	 1.	สังคมแห่งจิตส�ำนึกร่วมรับผิดชอบในการจัดการปัญหาการโฆษณา
ที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ หมายถึงสังคมที่อยู่ร่วม
กันอย่างสมดุล มีความรับผิดชอบต่อสังคมในการจัดการปัญหาการโฆษณาที่
ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต
และประสาท ยาเสพติดให้โทษ เครื่องส�ำอาง วัตถุอันตราย เครื่องมือแพทย์
โดยผู้เกี่ยวข้องต้องมีบทบาทและหน้าที่ดังนี้
		 1)	 ผู้บริโภค ต้องรู้เท่าทันสื่อโฆษณา รู้และปกป้องสิทธิผู้บริโภค
			 รวมทั้งมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และร้องเรียน
		 2)	 ผู้ประกอบธุรกิจ (ผู้ผลิต ผู้จ�ำหน่าย ผู้จัดท�ำโฆษณา) ต้อง
			 ปฏิบัติภายใต้กรอบกฎหมายและค�ำนึงถึงผลกระทบที่เกิดต่อ
			 สังคม
		 3)	 ผู้ประกอบกิจการด้านสื่อสารมวลชน ต้องค�ำนึงถึงจริยธรรมสื่อฯ
			 และร่วมกันก�ำกับดูแลของกันเองอย่างเข้มงวด
		 4)	 ภาครัฐ มีหน้าที่เฝ้าระวัง ตรวจสอบ บังคับใช้กฎหมายอย่างมี
			 ประสิทธิภาพ พัฒนากลไกการเฝ้าระวัง ตรวจสอบ รับเรื่อง
			 ร้องเรียน ให้ความรู้ ส่งเสริม สนับสนุน ประสานความร่วมมือ
			 ยกย่อง ประกาศเกียรติคุณผู้ที่ร่วมจัดการปัญหาการโฆษณา
			 ที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
	 2.	ภาคีเครือข่ายระดับชาติและทุกมิติพื้นที่ของประเทศ หมายถึง
ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาคประชาสังคม ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กร
อิสระสื่อมวลชน และสถาบันการศึกษาด้านสื่อ สมาคม ชมรม เป็นต้น
ที่ครอบคลุมทุกมิติตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับครอบครัว ระดับชุมชน
ระดับสังคม และระดับชาติ
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 17
	 3.	การบูรณาการที่เข้มแข็งหมายถึง การร่วมกัน ร่วมใจ ด�ำเนินงาน
เพื่อการจัดการปัญหาการโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหารและผลิตภัณฑ์
สุขภาพ อย่างเป็นเอกภาพภายใต้เป้าหมายเดียวกัน รวมถึงใช้ทรัพยากร
ร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีระบบฐานข้อมูลระดับชาติ ที่เชื่อมโยง
ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น จนถึงระดับประเทศ
	 4.	ผลิตภัณฑ์สุขภาพ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการบริโภค เป็น
ผลิตภัณฑ์ที่จ�ำเป็นต่อการด�ำรงชีวิตและมีวัตถุประสงค์เพื่อสุขภาพอนามัย
ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่อาจมีผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อสุขภาพอนามัย
ของผู้บริโภค นอกจากอาหารและยาแล้ว ยังประกอบด้วย วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต
และประสาท ยาเสพติดให้โทษ เครื่องส�ำอาง วัตถุอันตราย เครื่องมือแพทย์
ด้วย
พันธกิจ (Mission)
	 พันธกิจเป็นภารกิจที่ภาคีทุกภาคส่วนต้องสร้างพันธะสัญญาในการ
กระท�ำร่วมกันเพื่อการพัฒนาไปสู่วิสัยทัศน์ ซึ่งประกอบด้วยพันธกิจ ดังนี้
	 1. 	ก�ำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์การด�ำเนินงานของประเทศ และพื้นที่
ให้มีประสิทธิภาพ ปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย ระเบียบ มาตรการเชิงรุก
เพื่อจัดการปัญหาการโฆษณาที่ผิดกฎหมายให้เกิดความทันสมัยคล่องตัว และ
มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
	 2.	สร้างและพัฒนาภาคีเครือข่ายระดับชาติและระดับพื้นที่ในจัดการ
ปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายให้เข้มแข็งอย่างบูรณาการทั้งการส่งเสริม การ
ควบคุม การก�ำกับและการบังคับใช้กฎหมาย ภายใต้โครงสร้าง การบริหาร
จัดการที่มีประสิทธิภาพ
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ18
	 3. พัฒนาระบบสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหา
โฆษณาที่ผิดกฎหมายให้มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยเฉพาะระบบฐานข้อมูล
ขีดความสามารถ ความมั่นคงของผู้ปฎิบัติงานร่วม และการประสานงาน
เชิงรุกในการจัดการโฆษณาที่ผิดกฎหมายที่รวดเร็ว ทันท่วงทีและทั่วถึง
	 4.	ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาสื่อสารมวลชนของประเทศทั้ง
ผู้ประกอบการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม
สื่อสิ่งพิมพ์ และผู้ประกอบวิชาชีพสื่อทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ให้เป็น
สื่อสีขาว มีจริยธรรม ที่ไม่โฆษณาผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์
สุขภาพ
	 5.	ส่งเสริม สนับสนุน สร้างความตระหนัก ความรับผิดชอบ และ
องค์ความรู้แก่ประชาชนให้เท่าทันการโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร
และผลิตภัณฑ์สุขภาพและมีส่วนร่วมเฝ้าระวัง ร้องเรียน และจัดการปัญหา
อย่างมีจิตส�ำนึก
เป้าประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์
	 เป้าประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์ภายในปี พ.ศ. 2561 ประกอบด้วย
	 1.	ประเทศไทยสามารถลดปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา
อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ให้ลดน้อยลงภายในปี พ.ศ. 2561 ได้
ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50
	 2.	ประชาชน ชุมชน และทุกภาคส่วนมีความตระหนัก มีความรู้อย่าง
เท่าทันและร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่กระท�ำ
ผิดกฎหมาย มี “พื้นที่แบบอย่าง” ในการจัดการปัญหาการโฆษณาที่ผิด
กฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ จ�ำนวนอย่างน้อย 76 พื้นที่
(จังหวัดละ 1 พื้นที่)
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 19
	 3.	สัดส่วนเรื่องร้องเรียนจากประชาชน ชุมชน และทุกภาคส่วนใน
พื้นที่ที่น�ำไปสู่การจัดการกับโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และ
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผ่านการร้องทุกข์ กล่าวโทษ เปรียบเทียบปรับตามกฎหมาย
และมีกระบวนการติดตามอย่างสมบูรณ์ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90 จากเรื่องร้อง
เรียนทั้งหมด
	 4. 	ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่น ไว้วางใจในประสิทธิภาพการบริการและ
การจัดการข้อร้องเรียนการโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร ผลิตภัณฑ์
สุขภาพ โดยมีระดับความเชื่อมั่นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 85
	5.	สื่อสารมวลชนของประเทศทั้งผู้ประกอบการด้านกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม กิจการสื่อสิ่งพิมพ์ และผู้ประกอบ
วิชาชีพสื่อทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ในระบบฐานข้อมูลของประเทศเป็น
สื่อสีขาว มีจริยธรรม โดยไม่โฆษณายา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ที่ผิดกฎหมาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
	6.	ประเทศไทยมีระบบฐานข้อมูลการอนุญาตโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ระบบฐานข้อมูลเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ระบบฐานข้อมูลโฆษณา
ที่ผิดกฎหมายและระบบฐานข้อมูลเชิงวิชาการด้านยา อาหาร และผลิตภัณฑ์
สุขภาพ เสร็จสมบูรณ์ มีคุณภาพสูง ครบถ้วน ทันสมัย เข้าถึงด้วยความสะดวก
รวดเร็ว และสามารถเชื่อมโยงการใช้ประโยชน์ร่วมกันของภาคีเครือข่าย
ทั้งภาครัฐ และภาคีทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้ง 4 ฐานข้อมูล
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ20
ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issue)
	 วาระหลักส�ำคัญของแผนยุทธศาสตร์ที่จะน�ำมาขับเคลื่อนด้วยวิธีการ
ของแผนยุทธศาสตร์ ประกอบด้วยประเด็นยุทธศาสตร์ ดังต่อไปนี้
	 1. 	การก�ำหนดนโยบาย มาตรการระดับชาติ และโครงสร้างการ
บริหารจัดการปัญหาการโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์
สุขภาพที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพสูง
	 2.	บังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ เด็ดขาด รวดเร็ว และ
ครบวงจร โดยการบูรณาการของภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งมิติในประเทศ และ
ประชาคมอาเซียน
	 3. การส่งเสริม สนับสนุนพัฒนาผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม กิจการสื่อสิ่งพิมพ์ และผู้ประกอบ
วิชาชีพสื่อให้มีจริยธรรม
	 4. 	การสร้างและพัฒนาเครือข่าย กลไกการเฝ้าระวัง จัดการปัญหา
การโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพในระดับ
ประเทศ และพื้นที่ให้เข้มแข็ง
	 5.	การพัฒนาระบบฐานข้อมูล และขีดความสามารถของบุคลากรทั้ง
ระบบให้สามารถรองรับการเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหาการโฆษณายา
อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายทั้งในระดับชาติ และพื้นที่
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 21
กลยุทธ์ของประเด็นยุทธศาสตร์
	 การจัดการปัญหาโฆษณายา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่กระท�ำ
ผิดกฎหมาย พ.ศ. 2557 - 2561 มีผลผลิต กลยุทธ์ของประเด็นยุทธศาสตร์
ดังต่อไปนี้
5 ประเด็นยุทธศาสตร์ 15 กลยุทธ์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1
การก�ำหนดนโยบาย มาตรการ
ระดับชาติ และโครงสร้างการ
บริหารจัดการปัญหาการโฆษณา
ที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร
และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่เป็นรูป
ธรรม และมีประสิทธิภาพสูง
กลยุทธ์ที่ 1	 สร้างและขับเคลื่อนการจัดการ
ปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร
และผลิตภัณฑ์สุขภาพด้วยนโยบายระดับชาติ
และพื้นที่
กลยุทธ์ที่ 2	 พัฒนาโครงสร้างการบริหาร
จัดการปัญหาการโฆษณาที่ผิดกฎหมาย
ให้ครอบคลุมทุกระดับ ทั้งในระดับส่วนกลาง
ภูมิภาค เขตและจังหวัด
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2
บังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ
เด็ดขาด รวดเร็ว และครบวงจร
โดยการบูรณาการของภาคี
ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศ และ
ประชาคมอาเซียน
กลยุทธ์ที่ 1	 การพัฒนา ปรับปรุงกฎหมาย
กฎระเบียบ ให้มีประสิทธิภาพ และมีความ
ทันสมัย
กลยุทธ์ที่ 2 	สร้างหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อ
การบังคับใช้กฎหมายอย่างบูรณาการ
กลยุทธ์ที่ 3	 บูรณาการความร่วมมือกับ
ประชาคมอาเซียนในการจัดการปัญหา
โฆษณาผิดกฎหมายของยา อาหาร และ
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ22
5 ประเด็นยุทธศาสตร์ 15 กลยุทธ์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3
การส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา
ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ กิจการ
โทรคมนาคม กิจการสื่อสิ่งพิมพ์
และผู้ประกอบวิชาชีพสื่อฯ และ
ผู้น�ำเสนอสินค้าให้มีจริยธรรม
กลยุทธ์ที่ 1	 ส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพ
สื่อมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายที่ควบคุม
โฆษณาอย่างถูกต้อง
กลยุทธ์ที่ 2	 ยกย่องผู้ประกอบกิจการ
ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อที่ดี และจัดการ
ผู้โฆษณาผิดกฎหมายของยา อาหาร
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ให้เป็นรูปธรรม เข้มแข็ง
กลยุทธ์ที่ 3	 ส่งเสริม สนับสนุนการปลูกฝัง
จริยธรรม จริยธรรมสื่อฯ ตั้งแต่ในสถาบัน
การศึกษา
กลยุทธ์ที่ 4	 สร้าง พัฒนาเกณฑ์จริยธรรม
จรรยาบรรณ และแนวทางปฏิบัติในการเผย
แพร่ข้อมูลด้านยา อาหาร และผลิตภัณฑ์
สุขภาพ รวมทั้งสร้างกลไกการตรวจสอบ
กันเอง
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4
การสร้างและพัฒนาเครือข่าย
กลไกการเฝ้าระวัง จัดการปัญหา
การโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา
อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพใน
ระดับประเทศ และพื้นที่ให้
เข้มแข็ง
กลยุทธ์ที่ 1	 สร้างมาตรการเชิงรุก มุ่งสร้าง
ความรู้ และปรับทัศนคติผู้บริโภคให้ “รู้เท่า
ทันสื่อ”
กลยุทธ์ที่ 2	 ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ
เครือข่ายเฝ้าระวังการโฆษณายา อาหาร
และผลิตภัณฑ์สุขภาพระดับพื้นที่ให้เข้มแข็ง
โดยร่วมกับเครือข่ายหมออนามัย สมัชชา
สุขภาพจังหวัด และ อสม.ทั่วประเทศและ
เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายระดับประเทศ
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 23
5 ประเด็นยุทธศาสตร์ 15 กลยุทธ์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5
การพัฒนาระบบฐานข้อมูล และ
ขีดความสามารถของบุคลากร
ทั้งระบบให้สามารถรองรับการ
เฝ้าระวัง แก้ไขและป้องกันปัญหา
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่
ผิดกฎหมายทั้งในระดับชาติ
และพื้นที่
กลยุทธ์ที่ 1	 พัฒนาระบบการรับและจัดการ
เรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ และเป็น
หน่วยงานบริการที่มีความเป็นเลิศด้านการ
จัดการ (Excellent Call Center: ECC)
กลยุทธ์ที่ 2	 พัฒนาระบบฐานข้อมูล และ
องค์ความรู้สู่คลังข้อมูลและสารสนเทศ
ที่สามารถเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในทุกระดับ
กลยุทธ์ที่ 3	 เสริมสร้างสมรรถนะผู้ปฏิบัติ
งานในการขับเคลื่อนภารกิจการจัดการ
ปัญหาการโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา
อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
กลยุทธ์ที่ 4 	พัฒนาระบบการเยียวยา ฟื้นฟู
ผู้บริโภค ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้
ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่โฆษณาโอ้อวดเกินจริง
และคุ้มครองผู้ร้องเรียนให้มีความปลอดภัย
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ24
แนวทางในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ
	 1.	สื่อสารกับหน่วยงาน องค์กร กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องในยุทธศาสตร์
เพื่อให้เข้าใจและสนับสนุนสาระส�ำคัญของแผนยุทธศาสตร์ฯ และจัดให้มีการ
ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
	 2.	แต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วย การจัดการปัญหาโฆษณา
ที่ผิดกฎหมายฯ ประกอบไปด้วยส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ส�ำนักงานคณะกรรมการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการ
โทรคมนาคมแห่งชาติ ส�ำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กระทรวง
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการ
ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ
	 3.	จัดตั้งส�ำนักงานเลขานุการคณะกรรมการแห่งชาติฯ ท�ำหน้าที่
ประสานความร่วมมือในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้เกิดเอกภาพ การก�ำกับ
ติดตามการท�ำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประเมินผลการด�ำเนินงาน ฯลฯ
	 4.	บูรณาการแผนปฏิบัติการประจ�ำปี 2557 ของทุกหน่วยงาน ใน
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายในสื่อฯ ทั้งหมด
เพื่อให้เกิดเอกภาพในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
	 5.	ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อก�ำหนดมาตรการที่ส�ำคัญในการ
ขับเคลื่อนกลยุทธ์ และร่วมกันยกร่างแผนปฏิบัติการบูรณาการจัดการปัญหา
โฆษณาที่ผิดกฎหมายฯ ประจ�ำปี 2558 - 2561
	 6.	ส่งมอบแผนปฏิบัติการในข้อ 4 ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้
เป็นกรอบในการจัดท�ำแผนปฏิบัติการประจ�ำปีของหน่วยงานตน
	 7.	ทุกหน่วยงานยก (ร่าง) โครงการที่ส�ำคัญในการขับเคลื่อนกลยุทธ์
ภายใต้แผนปฏิบัติการประจ�ำปี
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 25
	 8.	ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อประสานแผนฯ/โครงการระหว่างหน่วย
งานที่เกี่ยวข้องเป็นประจ�ำทุกปี
	 9.	ประชุมคณะกรรมการแห่งชาติฯ เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการ
ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง
ภาคีเครือข่ายหน่วยงานที่คาดหวัง
	 ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ
	 • 	 กระทรวงสาธารณสุข โดย ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
		 และส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
	 • 	 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
		 และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
	 •	 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
	 • 	 ส�ำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
	 • 	 ส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ โดย กองบังคับการปราบปรามการ
		 กระท�ำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.)
	 • 	 ส�ำนักงานอัยการสูงสุด
	 • 	 องค์กรผู้บริโภค
	 • 	 องค์กรวิชาชีพด้านสื่อฯ หรือ สมาคม ชมรมฯ ด้านการโฆษณา
	 • 	 องค์กรผู้ประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
	 • 	 สถาบันการศึกษาที่มีการสอนด้านนิเทศศาสตร์ ด้านเภสัชศาสตร์
		 หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
	 • 	 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
	 • 	 ฯลฯ
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ26
การด�ำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ที่ผิดกฎหมาย
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 27
เสริมแรง สานพลัง
	 หลังจากมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 ปี 2554 การจัดการ
ปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทางวิทยุ
กระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ภาคีเครือข่ายจัดการปัญหาโฆษณา
ที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทางวิทยุกระจายเสียง
สื่อโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต มีความพยายามจัดการปัญหาดังกล่าว ดังนี้
	 กุมภาพันธ์’55	 กสทช. จัด NBTC Forum หัวข้อแนวทางการ
คุ้มครองผู้บริโภคในโฆษณาวิทยุและโทรทัศน์ยุค
กสทช.
	 มีนาคม’55	 ประชุมร่วมระหว่างภาคีเครือข่ายฯ หน่วยงานรัฐ
ที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 1
	 เมษายน’55	 ประสานบริษัทไทยคม แจ้งสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม
ขอให้ระงับการออกอากาศโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เข้า
ข่ายโอ้อวดสรรพคุณ จ�ำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ จนกว่า
คดีถึงที่สุด
		 กสทช. และภาคีเครือข่ายฯ หารือร่วมกับปลัด
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(ICT) หามาตรการแก้ไขปัญหาฯ
		 ประชุมระหว่างภาคีเครือข่ายฯ กับบริษัทไทยคม หา
แนวทางระงับการออกอากาศโฆษณาผลิตภัณฑ์
สุขภาพที่เข้าข่ายฯ ครั้งที่ 1
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ28
	 พฤษภาคม’55	 กสทช. มีหนังสือถึงปลัดกระทรวงเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อประสาน
บริษัทไทยคมด�ำเนินการ
		 ที่ประชุมครม. รับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2554
	 มิถุนายน’55	 หารือร่วมกับปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร (ICT) หามาตรการแก้ไขปัญหา ครั้ง
ที่ 2 เพื่อถามถึงความคืบหน้า
		 กพย. และชมรมเภสัชชนบท ร่วมกับ อย. พัฒนา
เครือข่ายเฝ้าระวังการโฆษณาผิดกฎหมายใน 4
จังหวัดน�ำร่อง คือ สระบุรี สงขลา ขอนแก่น พะเยา
และมีการขยายผลการท�ำงานต่อไปในจังหวัดอื่นๆ
และจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลการเฝ้าระวังจากพื้นที่
เพื่อแก้ปัญหาต่อไป
		บริษัทไทยคมมีหนังสือไปยังช่องดาวเทียมที่เกี่ยวข้อง
ให้ระงับการออกอากาศโฆษณาผลิตภัณฑ์โอ้อวด
เกินจริง
		 ประชุมระหว่าง ภาคีเครือข่ายฯ กับบริษัทไทยคม
หาแนวทางระงับการออกอากาศโฆษณาผลิตภัณฑ์
สุขภาพที่เข้าข่ายฯ ครั้งที่ 2
	 	 ท�ำบันทึกข้อตกลง เรื่องการก�ำกับดูแลโฆษณา
อาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายหรือ
มีลักษณะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค ในกิจการ
กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ระหว่าง 4 หน่วยงาน
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 29
	 กรกฎาคม’55	 จัดสัมมนา เวทีสมัชชาระดับชาติของผู้บริโภคใน
กิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ครั้งที่ 1
		 ประชุมร่วมระหว่างภาคีเครือข่ายฯ หน่วยงานรัฐที่
เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 1
	 สิงหาคม’55	 จัดสัมมนาผู้ประกอบการด้านสื่อ เรื่องการก�ำกับ
ดูแลโฆษณายา อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิด
กฎหมายหรือมีลักษณะเป็นการเอาเปรียบฯ
	 ตุลาคม’55	 จัดสัมมนา ยกร่างแผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหา
โฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์
สุขภาพ
		 กสทช. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือเรื่อง “การสร้าง
เครือข่ายร้องเรียนการโฆษณา อาหาร ยา และ
ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีลักษณะเป็นการเอาเปรียบ
ผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์”
กับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เพื่อร่วม
กันสร้างกลไกต้นแบบการสร้างเครือข่ายการร้อง
เรียนการโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ที่มีลักษณะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคฯ
	 พฤศจิกายน’55	 อย. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาร่างแนวทาง
การบูรณาการการบังคับใช้กฎหมายเพื่อใช้เป็น
แนวทางการด�ำเนินการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง และจัดท�ำเป็นคู่มือส�ำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ30
		 กพย. จัดแถลงข่าว ทุกข์ล้นเหลือ เหยื่อโฆษณา
		 กพย. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการภาคีเครือข่าย ตาม
แผนปฏิบัติการจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมาย
ของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพทางวิทยุ
กระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต ณ โรงแรม
เดอะทวิน ทาวเวอร์
	 ธันวาคม’55	 รายงานความก้าวหน้าตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
ในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5
		 กสทช. ร่วมกับเครือข่าย สสจ. เภสัชกร กพย. มูลนิธิ
เพื่อผู้บริโภค และ NGOs จัดเวทีของเครือข่าย
ผู้บริโภค 9 เวที
		 กิจกรรมงานมหกรรมรวมพลังผู้บริโภคสื่อวิทยุ-
โทรทัศน์ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (กสทช.
เจ้าภาพหลักร่วมกับภาคี)
	 มกราคม’56	 กพย. จัดท�ำปฏิทินแขวนปี 2556 เรื่องตรวจสอบ 4
ข้อก่อนเชื่อโฆษณา
	 กุมภาพันธ์’56	 เปิดตัวการพัฒนาโปรแกรมฐานข้อมูลการเฝ้าระวัง
โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ (HPAS) เพื่อเชื่อมโยง
ข้อมูลการกระท�ำโฆษณาที่ผิดกฎหมายระหว่าง
หน่วยงานภายใน และภายนอกที่เกี่ยวข้องได้
		 อย. ประสาน กสทช. ส่งข้อมูลการเฝ้าระวังโฆษณา
ผลิตภัณฑ์สุขภาพทางโทรทัศน์ดาวเทียมที่พบการ
ฝ่าฝืนกฎหมาย ที่อยู่ระหว่างการด�ำเนินคดี โดยขอ
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 31
ให้พิจารณาข้อมูลการประกอบการอนุญาตกิจการ
กระจายเสียงหรือโทรทัศน์ส�ำหรับการให้บริการฯ
(กิจการไม่ใช้คลื่น) หรือช่องรายการทีวีดาวเทียม
		 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการ
โทรทัศน์ (กสท.) ได้พิจารณาแนวทางการก�ำกับ
ดูแลผู้รับใบอนุญาตการประกอบกิจการโทรทัศน์
เกี่ยวกับการออกอากาศรายการ หรือการโฆษณา
ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับอนุญาตโฆษณาตามกฎหมาย
	 เมษายน’56	 สคบ. ท�ำบันทึกข้อตกลงเพื่อร่วมกันจัดการปัญหา
โฆษณาร่วมกับหน่วยงานรัฐ และตัวแทนสมาคม/
ชมรมทางด้านสื่อ 10 หน่วยงาน
	 มิถุนายน’56	 แผนงาน กพย. ร่วมกับมีเดีย มอนิเตอร์ จัดท�ำ
รายงานการศึกษา และร่วมแถลงข่าวน�ำเสนอ
“การศึกษาวิเคราะห์ สปอตโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ
และความงามทางวิทยุกระจายเสียงที่ปรากฏใน
เว็บไซต์ต่อนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ
กิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการ
โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านการคุ้มครอง
ผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
และ ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะ
กรรมการอาหารและยา (อย.) ณ ส�ำนักงาน กสทช.
และมีแผนความร่วมมือในการศึกษาสถานการณ์
ปัญหาโฆษณาต่อเนื่องตลอดปี
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ32
		 กพย./ชมรมเภสัชชนบท ถอดบทเรียนการพัฒนา
เครือข่ายการจัดการปัญหาโฆษณาฯ ใน 4 จังหวัด
น�ำร่อง เพื่อขยายผลต่อไป
	 	 การประชุมเพื่อสรุปและประมวลบทเรียนการท�ำงาน
โครงการน�ำร่อง 4 จังหวัด ปฏิบัติการจัดการปัญหา
โฆษณาที่ผิดกฎหมายฯณโรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์
(กสทช. เจ้าภาพหลักร่วมกับภาคี)
		 อย. กสทช. และต�ำรวจ บก.ปคบ. ผนึกก�ำลังเข้า
จับกุมวิทยุชุมชน 95.75 MHz พบการกระท�ำผิด
กฎหมาย
		 1.	ตั้งสถานีวิทยุชุมชนและใช้คลื่นความถี่โดยไม่ได้
	 รับใบอนุญาต
		 2. 	ไม่มีใบประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง
		 3.	พบข้อความออกอากาศ ลักษณะโฆษณาโอ้อวด
	 สรรพคุณผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย
	 กรกฎาคม’56	 อย. จัดประกวดภาพยนตร์สั้น ในหัวข้อ “อย่าหลง
เชื่อง่าย” ปี 2556 เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนหันมา
ดูแลสุขภาพด้วยการพึ่งพาตนเองโดยไม่หลงเชื่อกับ
โฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง
		 ประชุมเชิงปฏิบัติการบูรณการความร่วมมือระหว่าง
หน่วยงานเพื่อหาแนวทางบูรณาการการท�ำงาน
ร่วมกัน ครั้งที่ 2
		 จัดงานรวมพลังผู้บริโภค จ.สุราษฎร์ธานี
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 33
	 สิงหาคม’56	 เวที สช. เจาะประเด็น: กสทช. แจ้งมติที่ประชุม
กสท. ให้ระงับการโฆษณาผลิตภัณฑ์ในช่องรายการ
ทีวีดาวเทียมที่ฝ่าฝืนมาตรา 41 พ.ร.บ.อาหาร 2522
เป็นรายแรก
		 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการก�ำกับดูแลโฆษณา
อาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในกิจการกระจาย
เสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อให้ความรู้ด้านกฎหมาย
การโฆษณายา อาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
		 จัดงานรวมพลังผู้บริโภค จ.ขอนแก่น
		 เวทีรับฟังความเห็น (ร่าง) ยุทธศาสตร์จัดการปัญหา
โฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์
สุขภาพ 4 ภาค
	 กันยายน’56	 กสทช. ร่วมกับ อย.และ บก.ปคบ.บุกเข้าตรวจจับ
วิทยุชุมชนคลื่น 95.40 MHz ชื่อสถานีวิทยุสัมพันธ์
จักรชัยเพื่อความมั่นคงของ จ.อุดรธานี หลังจากได้
รับการร้องเรียนว่าวิทยุชุมชนดังกล่าว มีการออก
ประกาศขายยารักษาโรค อ้างสรรพคุณเกินจริง
		 กสทช. ร่วมกับ อย.และ บก.ปคบ.บุกเข้าตรวจจับ
สถานีวิทยุกระจายเสียงรักเด้อ เรดิโอ คลี่น 99.25
MHz รับฟังได้ในพื้นที่ ถ.รามอินทรา เขตบางเขน
กทม. ตลอด 24 ชั่วโมง โฆษณาน�้ำมันร�ำข้าวและ
จมูกข้าวผสมคิวเทนพรีมเนอร์พลัส สามารถรักษา
โรคได้หลายชนิด ไม่ต้องพบแพทย์ สามารถกลับมา
เดินได้ จากการตรวจสอบพบว่าเป็นโฆษณาที่ไม่ได้
รับอนุญาตจาก อย.
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ34
	 ตุลาคม’56	 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
(กสท.)มีมติระงับโฆษณาอาหารและยาผิดกฎหมาย
ช่องดาวเทียม OHO channel, Mongkol Channel
และ MV Hit station
	 พฤศจิกายน’56	 กสท. อนุมัติให้ต่ออายุใบอนุญาตเคเบิ้ลทีวี และ
ดาวเทียมอีก 2 ปี โดยน�ำข้อมูลร้องเรียนและการเฝ้า
ระวังมาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา หากพบ
ข้อมูลร้องเรียนจะน�ำมาพิจารณาระยะเวลาให้
ใบอนุญาตน้อยกว่า 2 ปี ดังนั้น กสทช. จึงขอความ
ร่วมมือ อย. ในการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนโฆษณา
อาหารและยาผิดกฎหมายในเคเบิ้ลทีวีและดาวเทียม
	 กุมภาพันธ์’57	 กสท. มีมติ ต่อใบอนุญาตให้บริษัท อาธีน่า มีเดีย
จ�ำกัด (ช่องรายการ OHO Channel) และบริษัท
มิกซ์ วาร์ไรตี้ จ�ำกัด (ช่องรายการ Mix 24 Variety)
เพียง 3 เดือน และให้ติดตามตรวจสอบเนื้อหา
รายการอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นข้อมูลการต่ออายุ
ใบอนุญาตต่อไป
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 35
	 มีนาคม’57	 กสทช. ลงนามความร่วมมือกับเครือข่ายผู้บริโภคสื่อ
วิทยุ-โทรทัศน์ จังหวัดเพชรบุรี หรือ “เพชรบุรีโมเดล”
เพื่อส่งเสริมการท�ำงานร่วมของภาคีเครือข่ายในการ
ติดตามตรวจสอบ เฝ้าระวังการโฆษณาอาหารและ
ยาที่ผิดกฎหมาย ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของ
ผู้บริโภค สนับสนุนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความ
รู้เรื่องการโฆษณาอาหารและยาที่ผิดกฎหมายทาง
สื่อวิทยุและโทรทัศน์
หมายเหตุ กสทช. = คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการ
โทรคมนาคมแห่งชาติ / อย. = ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา / บก.ปคบ. =
กองบังคับการปราบปรามการกระท�ำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค / สคบ. =
ส�ำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค / ICT = กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร / สช. = ส�ำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ / สสจ. =
ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัด / กพย. = แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา
สนับสนุนโดย ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) / กสท. =
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ36
จ�ำนวนการประชุมคณะกรรมการและคณะท�ำงานที่เกี่ยวข้อง
ในรอบ 2 ปี (พ.ศ. 2555 – 2556)
	 1.	คณะกรรมการและคณะท�ำงานที่ตั้งโดยส�ำนักงานคณะกรรมการ
อาหารและยา
		 1.1	คณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิด
กฎหมายของยา อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทางวิทยุกระจายเสียง : (4 ครั้ง)
			 1.1.1	 คณะท�ำงานพัฒนาศักยภาพวิชาชีพด้านสื่อเกี่ยวกับ
โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ (5 ครั้ง)
			 1.1.2	คณะท�ำงานการพัฒนาเครือข่ายและกลไกการเฝ้าระวัง
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ (กพย. ชมรมเภสัชชนบท) (1 ครั้ง)
			 1.1.3	 คณะท�ำงานด้านกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย
เกี่ยวกับโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ (3 ครั้ง)
		 1.2	คณะท�ำงานพัฒนาระบบการก�ำกับดูแลปัญหาโฆษณา
ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นคณะท�ำงานที่แต่งตั้งเฉพาะหน่วยงาน
ภายใน ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (4 ครั้ง)
		 1.3	การประชุมปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานก�ำกับดูแล
ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กสทช. บก.ปคบ. (6 ครั้ง)
	 2. 	คณะท�ำงานที่ตั้งโดยส�ำนักงาน กสทช.
		 คณะท�ำงานก�ำกับดูแลโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ที่ผิดกฎหมาย หรือมีลักษณะเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและ
กิจการโทรทัศน์ (15 ครั้ง)
คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 37
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

More Related Content

What's hot

GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)
GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)
GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)Utai Sukviwatsirikul
 
ใบความรู้เรื่องอาหารและโภชนาการ
ใบความรู้เรื่องอาหารและโภชนาการใบความรู้เรื่องอาหารและโภชนาการ
ใบความรู้เรื่องอาหารและโภชนาการtassanee chaicharoen
 
แนวทางการใช้วัตถุเจือปนอาหารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2556
แนวทางการใช้วัตถุเจือปนอาหารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2556แนวทางการใช้วัตถุเจือปนอาหารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2556
แนวทางการใช้วัตถุเจือปนอาหารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2556Vorawut Wongumpornpinit
 
อบรม Srrt ชายแดนช่องจอม 5 กค 60
อบรม Srrt ชายแดนช่องจอม 5 กค 60อบรม Srrt ชายแดนช่องจอม 5 กค 60
อบรม Srrt ชายแดนช่องจอม 5 กค 60Paradee Plodpai
 
คู่มือผลิตและประกันคุณภาพเภสัชตำรับโรงพยาบาลยา จากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาต...
คู่มือผลิตและประกันคุณภาพเภสัชตำรับโรงพยาบาลยา จากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาต...คู่มือผลิตและประกันคุณภาพเภสัชตำรับโรงพยาบาลยา จากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาต...
คู่มือผลิตและประกันคุณภาพเภสัชตำรับโรงพยาบาลยา จากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาต...Utai Sukviwatsirikul
 
กฎหมายเกี่ยวกับเนื้อหา โฆษณา และการตลาดออนไลน์ (ทำให้เพื่อนไปสอบ DAAT ไม่รู้จ...
กฎหมายเกี่ยวกับเนื้อหา โฆษณา และการตลาดออนไลน์ (ทำให้เพื่อนไปสอบ DAAT ไม่รู้จ...กฎหมายเกี่ยวกับเนื้อหา โฆษณา และการตลาดออนไลน์ (ทำให้เพื่อนไปสอบ DAAT ไม่รู้จ...
กฎหมายเกี่ยวกับเนื้อหา โฆษณา และการตลาดออนไลน์ (ทำให้เพื่อนไปสอบ DAAT ไม่รู้จ...Arthit Suriyawongkul
 
Who guidelines on good manufacturing practices for herbal medicines
Who guidelines on good manufacturing practices for herbal medicinesWho guidelines on good manufacturing practices for herbal medicines
Who guidelines on good manufacturing practices for herbal medicinesVorawut Wongumpornpinit
 
ชุดตำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์ การเตรียมเครื่องยาไทยบางชนิดก่อนใ...
ชุดตำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์ การเตรียมเครื่องยาไทยบางชนิดก่อนใ...ชุดตำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์ การเตรียมเครื่องยาไทยบางชนิดก่อนใ...
ชุดตำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์ การเตรียมเครื่องยาไทยบางชนิดก่อนใ...Vorawut Wongumpornpinit
 
การคุ้มครองผู้บริโภค
การคุ้มครองผู้บริโภค การคุ้มครองผู้บริโภค
การคุ้มครองผู้บริโภค พัน พัน
 
เนื้อหาบท4กฎหมาย
เนื้อหาบท4กฎหมายเนื้อหาบท4กฎหมาย
เนื้อหาบท4กฎหมายGawewat Dechaapinun
 

What's hot (17)

GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)
GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)
GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)
 
บท4กฎหมาย
บท4กฎหมายบท4กฎหมาย
บท4กฎหมาย
 
ใบความรู้เรื่องอาหารและโภชนาการ
ใบความรู้เรื่องอาหารและโภชนาการใบความรู้เรื่องอาหารและโภชนาการ
ใบความรู้เรื่องอาหารและโภชนาการ
 
Drugstore market 21 oct 2016
Drugstore market  21 oct 2016Drugstore market  21 oct 2016
Drugstore market 21 oct 2016
 
แนวทางการใช้วัตถุเจือปนอาหารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2556
แนวทางการใช้วัตถุเจือปนอาหารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2556แนวทางการใช้วัตถุเจือปนอาหารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2556
แนวทางการใช้วัตถุเจือปนอาหารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2556
 
อบรม Srrt ชายแดนช่องจอม 5 กค 60
อบรม Srrt ชายแดนช่องจอม 5 กค 60อบรม Srrt ชายแดนช่องจอม 5 กค 60
อบรม Srrt ชายแดนช่องจอม 5 กค 60
 
คู่มือผลิตและประกันคุณภาพเภสัชตำรับโรงพยาบาลยา จากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาต...
คู่มือผลิตและประกันคุณภาพเภสัชตำรับโรงพยาบาลยา จากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาต...คู่มือผลิตและประกันคุณภาพเภสัชตำรับโรงพยาบาลยา จากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาต...
คู่มือผลิตและประกันคุณภาพเภสัชตำรับโรงพยาบาลยา จากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาต...
 
บทที่ 6
บทที่ 6บทที่ 6
บทที่ 6
 
กฎหมายเกี่ยวกับเนื้อหา โฆษณา และการตลาดออนไลน์ (ทำให้เพื่อนไปสอบ DAAT ไม่รู้จ...
กฎหมายเกี่ยวกับเนื้อหา โฆษณา และการตลาดออนไลน์ (ทำให้เพื่อนไปสอบ DAAT ไม่รู้จ...กฎหมายเกี่ยวกับเนื้อหา โฆษณา และการตลาดออนไลน์ (ทำให้เพื่อนไปสอบ DAAT ไม่รู้จ...
กฎหมายเกี่ยวกับเนื้อหา โฆษณา และการตลาดออนไลน์ (ทำให้เพื่อนไปสอบ DAAT ไม่รู้จ...
 
Who guidelines on good manufacturing practices for herbal medicines
Who guidelines on good manufacturing practices for herbal medicinesWho guidelines on good manufacturing practices for herbal medicines
Who guidelines on good manufacturing practices for herbal medicines
 
ชุดตำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์ การเตรียมเครื่องยาไทยบางชนิดก่อนใ...
ชุดตำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์ การเตรียมเครื่องยาไทยบางชนิดก่อนใ...ชุดตำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์ การเตรียมเครื่องยาไทยบางชนิดก่อนใ...
ชุดตำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์ การเตรียมเครื่องยาไทยบางชนิดก่อนใ...
 
เนื้อหาบท1
เนื้อหาบท1เนื้อหาบท1
เนื้อหาบท1
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
Guidance on Cannabis for Medical Use
Guidance on Cannabis for Medical UseGuidance on Cannabis for Medical Use
Guidance on Cannabis for Medical Use
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
การคุ้มครองผู้บริโภค
การคุ้มครองผู้บริโภค การคุ้มครองผู้บริโภค
การคุ้มครองผู้บริโภค
 
เนื้อหาบท4กฎหมาย
เนื้อหาบท4กฎหมายเนื้อหาบท4กฎหมาย
เนื้อหาบท4กฎหมาย
 

Viewers also liked

คู่มือการตรวจสอบเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเบื้องต้น
คู่มือการตรวจสอบเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเบื้องต้นคู่มือการตรวจสอบเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเบื้องต้น
คู่มือการตรวจสอบเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเบื้องต้นUtai Sukviwatsirikul
 
พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 พร้อมกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงสาธารณสุข ปี 58
พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 พร้อมกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงสาธารณสุข ปี 58พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 พร้อมกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงสาธารณสุข ปี 58
พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 พร้อมกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงสาธารณสุข ปี 58Vorawut Wongumpornpinit
 
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 35
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 35อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 35
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 35mahakhum
 
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 20
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 20อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 20
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 20mahakhum
 
กุหลาบประกาษิต
กุหลาบประกาษิตกุหลาบประกาษิต
กุหลาบประกาษิตKanjana ZuZie NuNa
 
เทคนิคการสอนโดยไอซีทีเป็นฐาน
เทคนิคการสอนโดยไอซีทีเป็นฐานเทคนิคการสอนโดยไอซีทีเป็นฐาน
เทคนิคการสอนโดยไอซีทีเป็นฐานPrachyanun Nilsook
 
ข้างหลังภาพ Asma safa_nadia
ข้างหลังภาพ Asma safa_nadiaข้างหลังภาพ Asma safa_nadia
ข้างหลังภาพ Asma safa_nadiaSantichon Islamic School
 
เครื่องดื่มทำลายฤทธิ์ยา
เครื่องดื่มทำลายฤทธิ์ยาเครื่องดื่มทำลายฤทธิ์ยา
เครื่องดื่มทำลายฤทธิ์ยาJintana Somrit
 
Brandssummercamp 2012 feb55_physics
Brandssummercamp 2012 feb55_physicsBrandssummercamp 2012 feb55_physics
Brandssummercamp 2012 feb55_physicsNittaya Mitpothong
 
วิเคราะห์วิจารณ์
วิเคราะห์วิจารณ์วิเคราะห์วิจารณ์
วิเคราะห์วิจารณ์Tongsamut vorasan
 
สรจักร ศพข้างบ้าน
สรจักร   ศพข้างบ้านสรจักร   ศพข้างบ้าน
สรจักร ศพข้างบ้านsornblog2u
 
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์pui3327
 
วรรณกรรม 50 เรื่องที่ต้องอ่านก่อนโต
วรรณกรรม 50 เรื่องที่ต้องอ่านก่อนโตวรรณกรรม 50 เรื่องที่ต้องอ่านก่อนโต
วรรณกรรม 50 เรื่องที่ต้องอ่านก่อนโตNoiRr DaRk
 
นิทานร้อยบรรทัด เล่ม 1
นิทานร้อยบรรทัด เล่ม 1นิทานร้อยบรรทัด เล่ม 1
นิทานร้อยบรรทัด เล่ม 1sornordon
 

Viewers also liked (20)

คู่มือการตรวจสอบเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเบื้องต้น
คู่มือการตรวจสอบเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเบื้องต้นคู่มือการตรวจสอบเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเบื้องต้น
คู่มือการตรวจสอบเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเบื้องต้น
 
พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 พร้อมกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงสาธารณสุข ปี 58
พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 พร้อมกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงสาธารณสุข ปี 58พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 พร้อมกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงสาธารณสุข ปี 58
พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 พร้อมกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงสาธารณสุข ปี 58
 
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 35
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 35อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 35
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 35
 
ภาคผนวก
ภาคผนวกภาคผนวก
ภาคผนวก
 
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 20
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 20อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 20
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 20
 
กุหลาบประกาษิต
กุหลาบประกาษิตกุหลาบประกาษิต
กุหลาบประกาษิต
 
เทคนิคการสอนโดยไอซีทีเป็นฐาน
เทคนิคการสอนโดยไอซีทีเป็นฐานเทคนิคการสอนโดยไอซีทีเป็นฐาน
เทคนิคการสอนโดยไอซีทีเป็นฐาน
 
Microsoft word กิจกรรม nasa exercise
Microsoft word   กิจกรรม nasa  exerciseMicrosoft word   กิจกรรม nasa  exercise
Microsoft word กิจกรรม nasa exercise
 
พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558
พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558
พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558
 
ทน
ทนทน
ทน
 
Stormy aries
Stormy ariesStormy aries
Stormy aries
 
ข้างหลังภาพ Asma safa_nadia
ข้างหลังภาพ Asma safa_nadiaข้างหลังภาพ Asma safa_nadia
ข้างหลังภาพ Asma safa_nadia
 
เครื่องดื่มทำลายฤทธิ์ยา
เครื่องดื่มทำลายฤทธิ์ยาเครื่องดื่มทำลายฤทธิ์ยา
เครื่องดื่มทำลายฤทธิ์ยา
 
Brandssummercamp 2012 feb55_physics
Brandssummercamp 2012 feb55_physicsBrandssummercamp 2012 feb55_physics
Brandssummercamp 2012 feb55_physics
 
วิเคราะห์วิจารณ์
วิเคราะห์วิจารณ์วิเคราะห์วิจารณ์
วิเคราะห์วิจารณ์
 
สรจักร ศพข้างบ้าน
สรจักร   ศพข้างบ้านสรจักร   ศพข้างบ้าน
สรจักร ศพข้างบ้าน
 
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
วรรณกรรม 50 เรื่องที่ต้องอ่านก่อนโต
วรรณกรรม 50 เรื่องที่ต้องอ่านก่อนโตวรรณกรรม 50 เรื่องที่ต้องอ่านก่อนโต
วรรณกรรม 50 เรื่องที่ต้องอ่านก่อนโต
 
หน่วยที่ 10 โคลงนิราศนรินทร์
หน่วยที่ 10 โคลงนิราศนรินทร์หน่วยที่ 10 โคลงนิราศนรินทร์
หน่วยที่ 10 โคลงนิราศนรินทร์
 
นิทานร้อยบรรทัด เล่ม 1
นิทานร้อยบรรทัด เล่ม 1นิทานร้อยบรรทัด เล่ม 1
นิทานร้อยบรรทัด เล่ม 1
 

Similar to คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

แผนปฎิบัติราชการ 2556 2559 กรมการแพทย์แผนไทย
แผนปฎิบัติราชการ 2556 2559 กรมการแพทย์แผนไทยแผนปฎิบัติราชการ 2556 2559 กรมการแพทย์แผนไทย
แผนปฎิบัติราชการ 2556 2559 กรมการแพทย์แผนไทยTanawat Sudsuk
 
อาหารสุขภาพ 5
อาหารสุขภาพ 5อาหารสุขภาพ 5
อาหารสุขภาพ 5Utai Sukviwatsirikul
 
การนำร้านยาคุณภาพเข้าระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย
การนำร้านยาคุณภาพเข้าระบบประกันสุขภาพของประเทศไทยการนำร้านยาคุณภาพเข้าระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย
การนำร้านยาคุณภาพเข้าระบบประกันสุขภาพของประเทศไทยUtai Sukviwatsirikul
 
8 การส่งเสริมสุขภาพ
8 การส่งเสริมสุขภาพ8 การส่งเสริมสุขภาพ
8 การส่งเสริมสุขภาพWatcharin Chongkonsatit
 
ข้อสอบ o-net 49
ข้อสอบ o-net 49ข้อสอบ o-net 49
ข้อสอบ o-net 49semind_9488
 
การพัฒนาร้านยาเข้าสุ่ร้านยาคุณภาพ
การพัฒนาร้านยาเข้าสุ่ร้านยาคุณภาพการพัฒนาร้านยาเข้าสุ่ร้านยาคุณภาพ
การพัฒนาร้านยาเข้าสุ่ร้านยาคุณภาพUtai Sukviwatsirikul
 
นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014
นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014
นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014Chuchai Sornchumni
 
8 การส่งเสริมสุขภาพ
8 การส่งเสริมสุขภาพ8 การส่งเสริมสุขภาพ
8 การส่งเสริมสุขภาพWatcharin Chongkonsatit
 
ยุทธศาสตร์วิชาชีพเภสัชกรรมการตลาด
ยุทธศาสตร์วิชาชีพเภสัชกรรมการตลาด ยุทธศาสตร์วิชาชีพเภสัชกรรมการตลาด
ยุทธศาสตร์วิชาชีพเภสัชกรรมการตลาด Utai Sukviwatsirikul
 
มาตรฐานโรงพยาบาล Food Safety Hospital.pdf
มาตรฐานโรงพยาบาล Food Safety Hospital.pdfมาตรฐานโรงพยาบาล Food Safety Hospital.pdf
มาตรฐานโรงพยาบาล Food Safety Hospital.pdfPaanSuthahathai
 
ทิศทางการพัฒนาด้านสารสนเทศสุขภาพ Health Information 4.0
ทิศทางการพัฒนาด้านสารสนเทศสุขภาพ Health Information 4.0ทิศทางการพัฒนาด้านสารสนเทศสุขภาพ Health Information 4.0
ทิศทางการพัฒนาด้านสารสนเทศสุขภาพ Health Information 4.0Nawanan Theera-Ampornpunt
 
อาหารสุขภาพ 3
อาหารสุขภาพ 3อาหารสุขภาพ 3
อาหารสุขภาพ 3Utai Sukviwatsirikul
 

Similar to คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข (20)

แผนปฎิบัติราชการ 2556 2559 กรมการแพทย์แผนไทย
แผนปฎิบัติราชการ 2556 2559 กรมการแพทย์แผนไทยแผนปฎิบัติราชการ 2556 2559 กรมการแพทย์แผนไทย
แผนปฎิบัติราชการ 2556 2559 กรมการแพทย์แผนไทย
 
อาหารสุขภาพ 5
อาหารสุขภาพ 5อาหารสุขภาพ 5
อาหารสุขภาพ 5
 
การนำร้านยาคุณภาพเข้าระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย
การนำร้านยาคุณภาพเข้าระบบประกันสุขภาพของประเทศไทยการนำร้านยาคุณภาพเข้าระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย
การนำร้านยาคุณภาพเข้าระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย
 
8 การส่งเสริมสุขภาพ
8 การส่งเสริมสุขภาพ8 การส่งเสริมสุขภาพ
8 การส่งเสริมสุขภาพ
 
ข้อสอบ o-net 49
ข้อสอบ o-net 49ข้อสอบ o-net 49
ข้อสอบ o-net 49
 
การพัฒนาร้านยาเข้าสุ่ร้านยาคุณภาพ
การพัฒนาร้านยาเข้าสุ่ร้านยาคุณภาพการพัฒนาร้านยาเข้าสุ่ร้านยาคุณภาพ
การพัฒนาร้านยาเข้าสุ่ร้านยาคุณภาพ
 
ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพศบส.67
ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพศบส.67ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพศบส.67
ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพศบส.67
 
50
5050
50
 
50
5050
50
 
นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014
นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014
นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014
 
8 การส่งเสริมสุขภาพ
8 การส่งเสริมสุขภาพ8 การส่งเสริมสุขภาพ
8 การส่งเสริมสุขภาพ
 
Health Information 4.0 (November 18, 2016)
Health Information 4.0 (November 18, 2016)Health Information 4.0 (November 18, 2016)
Health Information 4.0 (November 18, 2016)
 
Power point
Power pointPower point
Power point
 
Thailand 4.0 and Thailand's Public Health
Thailand 4.0 and Thailand's Public HealthThailand 4.0 and Thailand's Public Health
Thailand 4.0 and Thailand's Public Health
 
ยุทธศาสตร์วิชาชีพเภสัชกรรมการตลาด
ยุทธศาสตร์วิชาชีพเภสัชกรรมการตลาด ยุทธศาสตร์วิชาชีพเภสัชกรรมการตลาด
ยุทธศาสตร์วิชาชีพเภสัชกรรมการตลาด
 
มาตรฐานโรงพยาบาล Food Safety Hospital.pdf
มาตรฐานโรงพยาบาล Food Safety Hospital.pdfมาตรฐานโรงพยาบาล Food Safety Hospital.pdf
มาตรฐานโรงพยาบาล Food Safety Hospital.pdf
 
บท1
บท1บท1
บท1
 
บท1
บท1บท1
บท1
 
ทิศทางการพัฒนาด้านสารสนเทศสุขภาพ Health Information 4.0
ทิศทางการพัฒนาด้านสารสนเทศสุขภาพ Health Information 4.0ทิศทางการพัฒนาด้านสารสนเทศสุขภาพ Health Information 4.0
ทิศทางการพัฒนาด้านสารสนเทศสุขภาพ Health Information 4.0
 
อาหารสุขภาพ 3
อาหารสุขภาพ 3อาหารสุขภาพ 3
อาหารสุขภาพ 3
 

More from Vorawut Wongumpornpinit

Grammar Rules _ Speak Good English Movement.pdf
Grammar Rules _ Speak Good English Movement.pdfGrammar Rules _ Speak Good English Movement.pdf
Grammar Rules _ Speak Good English Movement.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdf
บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdfบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdf
บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
โภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdf
โภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdfโภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdf
โภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...
ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...
ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...Vorawut Wongumpornpinit
 
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdfแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
รายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdf
รายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdfรายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdf
รายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
IUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdf
IUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdfIUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdf
IUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
กลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdf
กลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdfกลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdf
กลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdfVorawut Wongumpornpinit
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdfVorawut Wongumpornpinit
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdfVorawut Wongumpornpinit
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdfVorawut Wongumpornpinit
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdfVorawut Wongumpornpinit
 
เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...
เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...
เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...Vorawut Wongumpornpinit
 
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdf
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdfการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdf
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
คู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdf
คู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdfคู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdf
คู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdfVorawut Wongumpornpinit
 

More from Vorawut Wongumpornpinit (20)

Grammar Rules _ Speak Good English Movement.pdf
Grammar Rules _ Speak Good English Movement.pdfGrammar Rules _ Speak Good English Movement.pdf
Grammar Rules _ Speak Good English Movement.pdf
 
บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdf
บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdfบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdf
บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdf
 
Psilocybin mushroom handbook.pdf
Psilocybin mushroom handbook.pdfPsilocybin mushroom handbook.pdf
Psilocybin mushroom handbook.pdf
 
โภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdf
โภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdfโภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdf
โภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdf
 
ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...
ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...
ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...
 
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdfแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
 
รายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdf
รายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdfรายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdf
รายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdf
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdf
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdf
 
IUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdf
IUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdfIUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdf
IUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdf
 
กลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdf
กลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdfกลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdf
กลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdf
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdf
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdf
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdf
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdf
 
เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...
เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...
เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...
 
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdf
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdfการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdf
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdf
 
คู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdf
คู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdfคู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdf
คู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdf
 
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdf
 

คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

  • 1. คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 1 Liter 1 Liter 1 Liter 1 Liter 1 Liter 1 Liter คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ
  • 3. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ2 หน้าที่รับผิดชอบ ของส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นส่วนราชการที่มีฐานะ การปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการ ส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐานเชื่อถือได้ และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย และสมประโยชน์ โดยมีอ�ำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. ด�ำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร กฎหมายว่าด้วยยา กฎหมายว่าด้วยเครื่องส�ำอาง กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย กฎหมายว่าด้วย วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์ กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 2. พัฒนาระบบและกลไก เพื่อให้มีการด�ำเนินการบังคับใช้กฎหมาย ที่อยู่ในความรับผิดชอบ 3. เฝ้าระวังก�ำกับและตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ สถานประกอบการ และการโฆษณา รวมทั้งผลอันไม่พึงประสงค์ของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนมีการติดตามหรือเฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพจาก ภายในประเทศและภายนอกประเทศ 4. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และ ระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล
  • 4. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 3 5. ส่งเสริมและพัฒนาผู้บริโภคให้มีศักยภาพในการเลือกบริโภค ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย และคุ้มค่า รวมทั้งเพื่อให้ ผู้บริโภคนั้นมีการร้องเรียน เพื่อปกป้องสิทธิของตนได้ 6. พัฒนาและส่งเสริมการด�ำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์ สุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และเครือข่าย ประชาคมสุขภาพ 7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายก�ำหนดให้เป็นอ�ำนาจหน้าที่ของ ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรี มอบหมาย จากอ�ำนาจหน้าที่ที่กล่าวมาข้างต้น ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยาได้ด�ำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายจ�ำนวน 8 ฉบับ และอนุสัญญา และข้อตกลงระหว่างประเทศ อีกจ�ำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ กฎหมาย - พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 - พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2518) ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2522) ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2528) และฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2530) - พระราชบัญญัติเครื่องส�ำอาง พ.ศ. 2535 - พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 - พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2528) ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535) และฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2543) - พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และแก้ไข้เพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2528) ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2530) และฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2543)
  • 5. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ4 - พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2531 - พระราชก�ำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 และแก้ไข เพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2543) อนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ - The Single Convention on Narcotic Drug 1961 - The Convention on Psychotropic Substance 1971 - The International Code of Marketing of Breast-milk Substitute 1981 - The United Nation Convention Against Illicit Traffic in Narcotic Drugs and Psychotropic Substances 1988 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อ พิจารณาด�ำเนินการภายใต้กฎหมายทั้ง 8 ฉบับนี้ คณะกรรมการดังกล่าว ได้แก่ 1. คณะกรรมการอาหาร 2. คณะกรรมการยา 3. คณะกรรมการเครื่องส�ำอาง 4. คณะกรรมการวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท 5. คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ 6. คณะกรรมการเครื่องมือแพทย์ 7. คณะกรรมการป้องกันการใช้สารระเหย
  • 6. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 5 นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อก�ำหนด นโยบายสนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนาด้านยา อาหารและเคมีวัตถุ เป็นกลไก ประสานงานกับหน่วยงานอื่น คณะกรรมการดังกล่าว ได้แก่ คณะกรรมการแห่งชาติทางด้านยา คณะกรรมการแห่งชาติด้านอาหาร คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยความปลอดภัยทางด้านเคมีวัตถุ การด�ำเนินงาน ควบคุมทางด้านต่างๆ จะต้องด�ำเนินให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ และ มติของคณะกรรมการตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น และเลขาธิการฯ รอง เลขาธิการฯ เจ้าหน้าที่ของกองที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ในส่วนภูมิภาค ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เภสัชกรกลุ่มงานคุ้มครอง ผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของ กทม. ที่ อย. ได้มอบให้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในการด�ำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารตาม พรบ.อาหาร พ.ศ. 2522 เพื่อสามารถตรวจสอบดูแลคุณภาพมาตรฐานและ ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารที่จ�ำหน่ายในท้องตลาด และท�ำหน้าที่ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและมติของคณะ กรรมการดังกล่าวข้างต้น
  • 7. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ6 วิสัยทัศน์ (VISION) องค์กรที่เป็นเลิศด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีคุณภาพ ปลอดภัย ผู้บริโภคมั่นใจ ผู้ประกอบการไทยก้าวไกลสู่สากล พันธกิจ 1. ก�ำกับ ดูแล และส่งเสริมให้มีการน�ำเสนอผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มี คุณภาพ มาตรฐานและความปลอดภัย 2. ส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความรู้ ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมการ บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง 3. สนับสนุนให้ผู้ประกอบการได้รับโอกาสทางการแข่งขันมากขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ 4. พัฒนาการบริหารจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ค่านิยม “PROTECT” P ห่วงใยประชา (People Centric) R สร้างศรัทธาความเชื่อมั่น (Reliability) O มุ่งมั่นเรียนรู้ (Ongoing Learning) T เชิดชูทีมงาน (Team work) E ยึดหลักการคุณธรรม จริยา (Ethic) C พร้อมพัฒนาขีดสมรรถนะ (Competency) T ไม่ลดละความโปร่งใส (Transparency)
  • 8. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 7 การก�ำกับดูแลโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ของส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นหน่วยงานหลักที่มี บทบาทหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยการก�ำกับ ดูแลผลิตภัณฑ์ทั้งก่อนออกสู่ตลาดและหลังออกสู่ตลาด และปัจจุบัน เทคโนโลยีด้านการผลิตมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ท�ำให้เกิดการผลิต ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค จึงท�ำให้เกิดการแข่งขันทางการตลาดเพื่อให้ผลิตภัณฑ์เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค ได้มากที่สุดในทุกช่องทางการตลาด ประกอบกับปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสาร มีความก้าวหน้าท�ำให้ผู้บริโภครับรู้ข่าวสารต่างๆ ได้จากหลากหลายช่องทาง อาทิเช่น ทีวีดาวเทียม เคเบิ้ลทีวี วิทยุชุมชน เป็นต้น ดังนั้น การแข่งขัน ของผู้ประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น ยา อาหาร เครื่องมือ แพทย์ฯ จึงเป็นการแข่งขันทางการตลาดที่รุนแรงโดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาด ในการส่งเสริมการขายผ่านช่องทางการตลาดต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้และ หลงเชื่อในผลิตภัณฑ์สุขภาพดังกล่าว ซึ่งการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในปัจจุบันยังพบการกระท�ำฝ่าฝืนกฎหมายและอาจท�ำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับ ความเป็นธรรมจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพดังกล่าวด้วย จากการเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผ่านมา ทางสื่อทีวี วิทยุ นิตยสาร และอินเทอร์เน็ต ของส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบว่า จ�ำนวนข้อมูลการโฆษณาที่ฝ่าฝืนกฎหมายในความรับผิดชอบของส�ำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังตารางที่ 1
  • 9. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ8 ตารางที่ 1 จ�ำนวนข้อมูลโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อโทรทัศน์ดาวเทียม ที่พบการฝ่าฝืนกฎหมายปีงบประมาณ 2554-2557 ปีงบประมาณ จ�ำนวนการ ตรวจสอบโฆษณา โทรทัศน์ดาวเทียม (รายการ) พบการกระท�ำ ฝ่าฝืนกฎหมาย โฆษณา (รายการ) คิดเป็น (%) 2554 (1 ต.ค. 53 - 30 ก.ย. 54) 60 56 93.3 2555 (1 ต.ค. 54 - 30 ก.ย. 55) 83 71 85.5 2556 (1 ต.ค. 55 - 30 ก.ย. 56) 366 287 78.4 2557 (1 ต.ค. 56 - 30 ก.ย. 57) 468 353 75.4 ทั้งนี้ การเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อทีวี วิทยุ นิตยสาร และอินเทอร์เน็ต ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยศูนย์จัดการเรื่อง ร้องเรียนและปราบปรามการกระท�ำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรป.) ได้ด�ำเนินการเฝ้าระวังและด�ำเนินการกับโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ผิดกฎหมายด้วยมาตรการทางกฎหมาย อาทิเช่น แจ้งระงับโฆษณา เปรียบเทียบปรับ รวมทั้งการส่งเรื่องให้หน่วยอื่นด�ำเนินการสืบหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อด�ำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระท�ำผิด เช่น กองบังคับการปราบปราม การกระท�ำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) กระทรวงเทคโนโลยี
  • 10. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 9 สารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น ส�ำหรับการเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์ สุขภาพในปีงบประมาณ 2558 (1 ต.ค. 57 - 30 ส.ค. 58) นั้น ส�ำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยาได้เฝ้าระวังทางสื่อโทรทัศน์ดาวเทียมจ�ำนวน 163 รายการ พบการกระท�ำฝ่าฝืนกฎหมาย จ�ำนวน 82 รายการ คิดเป็น 50.3% ซึ่งจากผลการเฝ้าระวังโฆษณาดังกล่าวจะเห็นแนวโน้มการกระท�ำฝ่าฝืน กฎหมายโดยเฉพาะการโฆษณาโทรทัศน์ดาวเทียมลดลง ทั้งนี้อาจเกิดจาก การด�ำเนินการอย่างจริงจังของหน่วยงานภาครัฐที่ร่วมกันก�ำกับดูแลโดยใช้ มาตรการที่เข้มงวด ตารางที่ 2 จ�ำนวนข้อมูลโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อโทรทัศน์ดาวเทียมที่ พบการฝ่าฝืนกฎหมาย ปีงบ 2558 ปีงบประมาณ จ�ำนวนการ ตรวจสอบโฆษณา โทรทัศน์ดาวเทียม (รายการ) พบการกระท�ำ ฝ่าฝืนกฎหมาย โฆษณา (รายการ) คิดเป็น (%) 2558 (1 ต.ค. 57 - 30 ส.ค. 58) 163 82 50.3%
  • 11. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ10 มาตรการก�ำกับดูแลการโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย กรณีผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นยา อาหาร และเครื่องมือแพทย์ ก�ำหนด ให้ผู้ประกอบการต้องขออนุญาตจากส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ก่อนการโฆษณาตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 โดยโฆษณานั้น ต้องไม่โอ้อวด สรรพคุณไม่เป็นเท็จ เกินจริง แต่ส�ำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ ภายใต้การก�ำกับดูแลของส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เช่น เครื่องส�ำอาง วัตถุอันตราย เป็นต้น ไม่มีกฎหมายก�ำหนดให้ต้องขออนุญาต ก่อนการโฆษณา แต่ทั้งนี้การโฆษณาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมาย ก�ำหนด 1. ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้บูรณาการการท�ำงาน ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการก�ำกับดูแลงานโฆษณา อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ลงนามบันทึกตกลงร่วมกัน (MOU) กับส�ำนักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ (กสทช.) ส�ำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และ กองบังคับการปราบปรามการกระท�ำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) 2. ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้เป็นแกนหลัก โดยร่วมกับ หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ภาคประชาสังคมและ เครือข่ายผู้บริโภค ในการจัดท�ำกรอบยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาโฆษณายา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่กระท�ำผิดกฎหมายโฆษณา พ.ศ. 2557-2561 3. ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจัดท�ำโครงการและ กิจกรรมต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการ
  • 12. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 11 ช่วยกันแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นการกระตุ้นจิตส�ำนักผู้ประกอบการ อาทิเช่น จัดอบรมความรู้ด้านกฎหมายโฆษณาส�ำหรับผู้ประกอบการสถานีวิทยุ ทีวีดาวเทียมฯ โครงการผลิตสื่อ Animation เพื่อให้ความรู้เท่าทันสื่อโฆษณา ส�ำหรับเว็ปไซต์และ Mobile application 4. ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้มีการปรับเปลี่ยน กระบวนการด�ำเนินคดีโฆษณา (แบบใหม่) เพื่อให้การด�ำเนินงานรวดเร็วและ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (เฉพาะพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 พระราชบัญญัติ อาหาร พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551) 5. ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและส�ำนักงานคณะ กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ (กสทช.) ได้ร่วมมือกันในการก�ำกับดูแลโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งจัดเป็นมาตรการความร่วมมือเร่งด่วนในการเฝ้าระวังทีวีดาวเทียม โดยได้ น�ำผลการด�ำเนินคดีโฆษณาของส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ส่งให้ กสทช. ด�ำเนินการตามกฎหมายที่มีอยู่ในความรับผิดชอบ ตั้งแต่ ประมาณเดือนตุลาคม 2556 ถึงก่อนปฏิวัติรัฐประหาร (22 พฤษภาคม 2557) มาเป็นหลักเกณฑ์ในการก�ำกับดูแลโฆษณาอาหารและยาและผลิตภัณฑ์ สุขภาพของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ดาวเทียมที่ประสงค์ออกอากาศภายหลัง ที่ได้ยินยอมยอมรับเงื่อนไขการถูกด�ำเนินการทางปกครองของ กสทช. เช่น ปรับทางปกครอง พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ในกรณีที่มีการโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ผิดกฎหมาย โดยทาง กสทช. ได้จัดกลุ่มช่องโทรทัศน์ดาวเทียมออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ไม่พบการโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ผิดกฎหมาย กลุ่มที่ 2 พบการโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ผิดกฎหมายบ้าง
  • 13. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ12 กลุ่มที่ 3 พบการโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ ผิดกฎหมาย (โดยกลุ่มที่ 3 มีจ�ำนวน 53 ช่อง) โดยเริ่มด�ำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557 ซึ่งส�ำนักงานคณะ กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะเฝ้าระวังโฆษณาทางช่องทีวีดาวเทียมดังกล่าวและส่งวัสดุบันทึกเทป ให้ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาตรวจสอบ หากพบการโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพอันเป็นการกระท�ำฝ่าฝืนกฎหมายภายใต้การก�ำกับดูแลของ ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและ ยาจะระงับการโฆษณาและเปรียบเทียบปรับตามกฎหมายและส่งเรื่องให้ ส�ำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด�ำเนินการตามกฎหมายภายใต้มาตรการ ก�ำกับดูแลของส�ำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต่อไป ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานได้ด�ำเนินงาน ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยการใช้มาตรการทางกฎหมายลงโทษผู้กระท�ำผิด จนปรากฏผลการด�ำเนินการเป็นที่ประจักษ์ ได้แก่ การปิดตัวของช่องสถานี ดาวเทียมบางช่องที่กระท�ำการโฆษณาผิดกฎหมาย ทั้งนี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับความร่วมมือ จากส�ำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กองบังคับการปราบปรามการกระท�ำความผิด เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (กระทรวง ICT) ในการก�ำกับดูแลโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ผิดกฎหมาย เช่น ระงับการแพร่ภาพ การกระจายเสียง และปิดกั้นเว็บไซต์ เพื่อให้ปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายลดลงอย่างเป็นที่ ประจักษ์
  • 15. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ14 แผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหา โฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ พ.ศ. 2557 - 2561 จุดยืนทางยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา 1. มุ่งเน้นการเสริมสร้างความตระหนัก ความรู้ แก่ประชาชนและ ผู้บริโภคให้ได้รับ และเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง และมีศักยภาพที่เท่าทันสื่อ โฆษณาที่โอ้อวดสรรพคุณยา อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง และ กระท�ำผิดกฎหมาย และให้ประชาชนมีความรับผิดชอบร่วมกันในการจัดการ 2. สร้างระบบการบริหารจัดการเครือข่ายบูรณาการการท�ำงานของ หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการ สื่อ องค์กรวิชาชีพ องค์กรท้องถิ่น ภาค ประชาสังคม และผู้บริโภคให้เกิดเป็นภาคีเครือข่ายยุทธศาสตร์การท�ำงาน ระดับชาติที่เข้มแข็ง มีการท�ำงานอย่างเป็นระบบ มีผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงใน แต่ละระดับ และมีเอกภาพทางการปฏิบัติที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงจากระดับชาติ ภูมิภาค จังหวัด จนถึงระดับหมู่บ้าน 3. เสริมสร้างเอกภาพ ความเข้มข้น ความจริงจังในการบูรณาการ ทรัพยากรและการก�ำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมกันระหว่างภาครัฐที่ เกี่ยวข้อง รวมทั้งการบังคบใช้กฎหมายและการจัดการกับสื่อโฆษณาที่โอ้อวด สรรพคุณยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง และกระท�ำผิดกฎหมาย ให้มีประสิทธิภาพ ทั่วถึง ทันท่วงที 4. ส่งเสริม สนับสนุน ก�ำกับ ยกย่อง สื่อในทุกระดับของประเทศที่ ร่วมโฆษณาประชาสัมพันธ์ เผยแพร่สรรพคุณยา อาหาร และผลิตภัณฑ์ สุขภาพที่ถูกต้อง สอดคล้องตามกฎหมาย และมีความรับผิดชอบต่อสังคม และจัดการขั้นเด็ดขาดกับสื่อที่กระท�ำผิดกฎหมายเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง
  • 16. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 15 5. สร้างและพัฒนาระบบฐานข้อมูล สารสนเทศ และองค์ความรู้ของ การโฆษณาเผยแพร่สรรพคุณยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีความ เชื่อมโยงข้อมูลและใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นระบบเป็นฐานข้อมูลระดับ ประเทศ 6. พัฒนาระบบการจัดการเรื่องร้องเรียนให้มีมาตรฐาน ทันสมัย มีประสิทธิภาพสูงสุดและให้เป็นที่ยอมรับ เชื่อมั่น และวางใจจากประชาชน ผู้บริโภค 7. สร้างกลไก มาตราการการขับเคลื่อนเชิงนโยบายที่ก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในทางปฏิบัติทั้งประเทศ พร้อมพัฒนา และปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ มาตราการที่เกี่ยวกับการก�ำกับดูแลการโฆษณาสรรพคุณยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีความทันสมัย และเป็นสากล ทิศทางการพัฒนาของแผนยุทธศาสตร์ ทิศทางการพัฒนาของแผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาโฆษณา ผิดกฎหมายของอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพในช่วงปี พ.ศ. 2557 - 2561 ของหุ้นส่วนยุทธศาสตร์อันประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคการศึกษา องค์กรวิชาชีพ และภาคีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยทิศทางดังนี้ วิสัยทัศน์ (Vision) “มุ่งสู่สังคมแห่งจิตส�ำนึกร่วมรับผิดชอบในการเฝ้าระวัง ร้องเรียน และจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ด้วยภาคีเครือข่ายระดับชาติ และระดับพื้นที่เชิงบูรณาการอย่างเข้มแข็ง”
  • 17. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ16 วิสัยทัศน์ 1. สังคมแห่งจิตส�ำนึกร่วมรับผิดชอบในการจัดการปัญหาการโฆษณา ที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ หมายถึงสังคมที่อยู่ร่วม กันอย่างสมดุล มีความรับผิดชอบต่อสังคมในการจัดการปัญหาการโฆษณาที่ ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาท ยาเสพติดให้โทษ เครื่องส�ำอาง วัตถุอันตราย เครื่องมือแพทย์ โดยผู้เกี่ยวข้องต้องมีบทบาทและหน้าที่ดังนี้ 1) ผู้บริโภค ต้องรู้เท่าทันสื่อโฆษณา รู้และปกป้องสิทธิผู้บริโภค รวมทั้งมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และร้องเรียน 2) ผู้ประกอบธุรกิจ (ผู้ผลิต ผู้จ�ำหน่าย ผู้จัดท�ำโฆษณา) ต้อง ปฏิบัติภายใต้กรอบกฎหมายและค�ำนึงถึงผลกระทบที่เกิดต่อ สังคม 3) ผู้ประกอบกิจการด้านสื่อสารมวลชน ต้องค�ำนึงถึงจริยธรรมสื่อฯ และร่วมกันก�ำกับดูแลของกันเองอย่างเข้มงวด 4) ภาครัฐ มีหน้าที่เฝ้าระวัง ตรวจสอบ บังคับใช้กฎหมายอย่างมี ประสิทธิภาพ พัฒนากลไกการเฝ้าระวัง ตรวจสอบ รับเรื่อง ร้องเรียน ให้ความรู้ ส่งเสริม สนับสนุน ประสานความร่วมมือ ยกย่อง ประกาศเกียรติคุณผู้ที่ร่วมจัดการปัญหาการโฆษณา ที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2. ภาคีเครือข่ายระดับชาติและทุกมิติพื้นที่ของประเทศ หมายถึง ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาคประชาสังคม ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กร อิสระสื่อมวลชน และสถาบันการศึกษาด้านสื่อ สมาคม ชมรม เป็นต้น ที่ครอบคลุมทุกมิติตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ระดับสังคม และระดับชาติ
  • 18. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 17 3. การบูรณาการที่เข้มแข็งหมายถึง การร่วมกัน ร่วมใจ ด�ำเนินงาน เพื่อการจัดการปัญหาการโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหารและผลิตภัณฑ์ สุขภาพ อย่างเป็นเอกภาพภายใต้เป้าหมายเดียวกัน รวมถึงใช้ทรัพยากร ร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีระบบฐานข้อมูลระดับชาติ ที่เชื่อมโยง ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น จนถึงระดับประเทศ 4. ผลิตภัณฑ์สุขภาพ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการบริโภค เป็น ผลิตภัณฑ์ที่จ�ำเป็นต่อการด�ำรงชีวิตและมีวัตถุประสงค์เพื่อสุขภาพอนามัย ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่อาจมีผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อสุขภาพอนามัย ของผู้บริโภค นอกจากอาหารและยาแล้ว ยังประกอบด้วย วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาท ยาเสพติดให้โทษ เครื่องส�ำอาง วัตถุอันตราย เครื่องมือแพทย์ ด้วย พันธกิจ (Mission) พันธกิจเป็นภารกิจที่ภาคีทุกภาคส่วนต้องสร้างพันธะสัญญาในการ กระท�ำร่วมกันเพื่อการพัฒนาไปสู่วิสัยทัศน์ ซึ่งประกอบด้วยพันธกิจ ดังนี้ 1. ก�ำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์การด�ำเนินงานของประเทศ และพื้นที่ ให้มีประสิทธิภาพ ปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย ระเบียบ มาตรการเชิงรุก เพื่อจัดการปัญหาการโฆษณาที่ผิดกฎหมายให้เกิดความทันสมัยคล่องตัว และ มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 2. สร้างและพัฒนาภาคีเครือข่ายระดับชาติและระดับพื้นที่ในจัดการ ปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายให้เข้มแข็งอย่างบูรณาการทั้งการส่งเสริม การ ควบคุม การก�ำกับและการบังคับใช้กฎหมาย ภายใต้โครงสร้าง การบริหาร จัดการที่มีประสิทธิภาพ
  • 19. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ18 3. พัฒนาระบบสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหา โฆษณาที่ผิดกฎหมายให้มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยเฉพาะระบบฐานข้อมูล ขีดความสามารถ ความมั่นคงของผู้ปฎิบัติงานร่วม และการประสานงาน เชิงรุกในการจัดการโฆษณาที่ผิดกฎหมายที่รวดเร็ว ทันท่วงทีและทั่วถึง 4. ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาสื่อสารมวลชนของประเทศทั้ง ผู้ประกอบการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม สื่อสิ่งพิมพ์ และผู้ประกอบวิชาชีพสื่อทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ให้เป็น สื่อสีขาว มีจริยธรรม ที่ไม่โฆษณาผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์ สุขภาพ 5. ส่งเสริม สนับสนุน สร้างความตระหนัก ความรับผิดชอบ และ องค์ความรู้แก่ประชาชนให้เท่าทันการโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพและมีส่วนร่วมเฝ้าระวัง ร้องเรียน และจัดการปัญหา อย่างมีจิตส�ำนึก เป้าประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์ภายในปี พ.ศ. 2561 ประกอบด้วย 1. ประเทศไทยสามารถลดปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ให้ลดน้อยลงภายในปี พ.ศ. 2561 ได้ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 2. ประชาชน ชุมชน และทุกภาคส่วนมีความตระหนัก มีความรู้อย่าง เท่าทันและร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่กระท�ำ ผิดกฎหมาย มี “พื้นที่แบบอย่าง” ในการจัดการปัญหาการโฆษณาที่ผิด กฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ จ�ำนวนอย่างน้อย 76 พื้นที่ (จังหวัดละ 1 พื้นที่)
  • 20. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 19 3. สัดส่วนเรื่องร้องเรียนจากประชาชน ชุมชน และทุกภาคส่วนใน พื้นที่ที่น�ำไปสู่การจัดการกับโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผ่านการร้องทุกข์ กล่าวโทษ เปรียบเทียบปรับตามกฎหมาย และมีกระบวนการติดตามอย่างสมบูรณ์ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90 จากเรื่องร้อง เรียนทั้งหมด 4. ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่น ไว้วางใจในประสิทธิภาพการบริการและ การจัดการข้อร้องเรียนการโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร ผลิตภัณฑ์ สุขภาพ โดยมีระดับความเชื่อมั่นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 85 5. สื่อสารมวลชนของประเทศทั้งผู้ประกอบการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม กิจการสื่อสิ่งพิมพ์ และผู้ประกอบ วิชาชีพสื่อทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ในระบบฐานข้อมูลของประเทศเป็น สื่อสีขาว มีจริยธรรม โดยไม่โฆษณายา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ผิดกฎหมาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 6. ประเทศไทยมีระบบฐานข้อมูลการอนุญาตโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ระบบฐานข้อมูลเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ระบบฐานข้อมูลโฆษณา ที่ผิดกฎหมายและระบบฐานข้อมูลเชิงวิชาการด้านยา อาหาร และผลิตภัณฑ์ สุขภาพ เสร็จสมบูรณ์ มีคุณภาพสูง ครบถ้วน ทันสมัย เข้าถึงด้วยความสะดวก รวดเร็ว และสามารถเชื่อมโยงการใช้ประโยชน์ร่วมกันของภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ และภาคีทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้ง 4 ฐานข้อมูล
  • 21. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ20 ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issue) วาระหลักส�ำคัญของแผนยุทธศาสตร์ที่จะน�ำมาขับเคลื่อนด้วยวิธีการ ของแผนยุทธศาสตร์ ประกอบด้วยประเด็นยุทธศาสตร์ ดังต่อไปนี้ 1. การก�ำหนดนโยบาย มาตรการระดับชาติ และโครงสร้างการ บริหารจัดการปัญหาการโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์ สุขภาพที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพสูง 2. บังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ เด็ดขาด รวดเร็ว และ ครบวงจร โดยการบูรณาการของภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งมิติในประเทศ และ ประชาคมอาเซียน 3. การส่งเสริม สนับสนุนพัฒนาผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม กิจการสื่อสิ่งพิมพ์ และผู้ประกอบ วิชาชีพสื่อให้มีจริยธรรม 4. การสร้างและพัฒนาเครือข่าย กลไกการเฝ้าระวัง จัดการปัญหา การโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพในระดับ ประเทศ และพื้นที่ให้เข้มแข็ง 5. การพัฒนาระบบฐานข้อมูล และขีดความสามารถของบุคลากรทั้ง ระบบให้สามารถรองรับการเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหาการโฆษณายา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายทั้งในระดับชาติ และพื้นที่
  • 22. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 21 กลยุทธ์ของประเด็นยุทธศาสตร์ การจัดการปัญหาโฆษณายา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่กระท�ำ ผิดกฎหมาย พ.ศ. 2557 - 2561 มีผลผลิต กลยุทธ์ของประเด็นยุทธศาสตร์ ดังต่อไปนี้ 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ 15 กลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การก�ำหนดนโยบาย มาตรการ ระดับชาติ และโครงสร้างการ บริหารจัดการปัญหาการโฆษณา ที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่เป็นรูป ธรรม และมีประสิทธิภาพสูง กลยุทธ์ที่ 1 สร้างและขับเคลื่อนการจัดการ ปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพด้วยนโยบายระดับชาติ และพื้นที่ กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาโครงสร้างการบริหาร จัดการปัญหาการโฆษณาที่ผิดกฎหมาย ให้ครอบคลุมทุกระดับ ทั้งในระดับส่วนกลาง ภูมิภาค เขตและจังหวัด ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 บังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ เด็ดขาด รวดเร็ว และครบวงจร โดยการบูรณาการของภาคี ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศ และ ประชาคมอาเซียน กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนา ปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ ให้มีประสิทธิภาพ และมีความ ทันสมัย กลยุทธ์ที่ 2 สร้างหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อ การบังคับใช้กฎหมายอย่างบูรณาการ กลยุทธ์ที่ 3 บูรณาการความร่วมมือกับ ประชาคมอาเซียนในการจัดการปัญหา โฆษณาผิดกฎหมายของยา อาหาร และ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
  • 23. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ22 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ 15 กลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการ โทรคมนาคม กิจการสื่อสิ่งพิมพ์ และผู้ประกอบวิชาชีพสื่อฯ และ ผู้น�ำเสนอสินค้าให้มีจริยธรรม กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพ สื่อมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายที่ควบคุม โฆษณาอย่างถูกต้อง กลยุทธ์ที่ 2 ยกย่องผู้ประกอบกิจการ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อที่ดี และจัดการ ผู้โฆษณาผิดกฎหมายของยา อาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ให้เป็นรูปธรรม เข้มแข็ง กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริม สนับสนุนการปลูกฝัง จริยธรรม จริยธรรมสื่อฯ ตั้งแต่ในสถาบัน การศึกษา กลยุทธ์ที่ 4 สร้าง พัฒนาเกณฑ์จริยธรรม จรรยาบรรณ และแนวทางปฏิบัติในการเผย แพร่ข้อมูลด้านยา อาหาร และผลิตภัณฑ์ สุขภาพ รวมทั้งสร้างกลไกการตรวจสอบ กันเอง ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างและพัฒนาเครือข่าย กลไกการเฝ้าระวัง จัดการปัญหา การโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพใน ระดับประเทศ และพื้นที่ให้ เข้มแข็ง กลยุทธ์ที่ 1 สร้างมาตรการเชิงรุก มุ่งสร้าง ความรู้ และปรับทัศนคติผู้บริโภคให้ “รู้เท่า ทันสื่อ” กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ เครือข่ายเฝ้าระวังการโฆษณายา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพระดับพื้นที่ให้เข้มแข็ง โดยร่วมกับเครือข่ายหมออนามัย สมัชชา สุขภาพจังหวัด และ อสม.ทั่วประเทศและ เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายระดับประเทศ
  • 24. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 23 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ 15 กลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบฐานข้อมูล และ ขีดความสามารถของบุคลากร ทั้งระบบให้สามารถรองรับการ เฝ้าระวัง แก้ไขและป้องกันปัญหา การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ ผิดกฎหมายทั้งในระดับชาติ และพื้นที่ กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบการรับและจัดการ เรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ และเป็น หน่วยงานบริการที่มีความเป็นเลิศด้านการ จัดการ (Excellent Call Center: ECC) กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาระบบฐานข้อมูล และ องค์ความรู้สู่คลังข้อมูลและสารสนเทศ ที่สามารถเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในทุกระดับ กลยุทธ์ที่ 3 เสริมสร้างสมรรถนะผู้ปฏิบัติ งานในการขับเคลื่อนภารกิจการจัดการ ปัญหาการโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาระบบการเยียวยา ฟื้นฟู ผู้บริโภค ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้ ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่โฆษณาโอ้อวดเกินจริง และคุ้มครองผู้ร้องเรียนให้มีความปลอดภัย
  • 25. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ24 แนวทางในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ 1. สื่อสารกับหน่วยงาน องค์กร กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องในยุทธศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจและสนับสนุนสาระส�ำคัญของแผนยุทธศาสตร์ฯ และจัดให้มีการ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 2. แต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วย การจัดการปัญหาโฆษณา ที่ผิดกฎหมายฯ ประกอบไปด้วยส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ส�ำนักงานคณะกรรมการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ ส�ำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ 3. จัดตั้งส�ำนักงานเลขานุการคณะกรรมการแห่งชาติฯ ท�ำหน้าที่ ประสานความร่วมมือในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้เกิดเอกภาพ การก�ำกับ ติดตามการท�ำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประเมินผลการด�ำเนินงาน ฯลฯ 4. บูรณาการแผนปฏิบัติการประจ�ำปี 2557 ของทุกหน่วยงาน ใน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายในสื่อฯ ทั้งหมด เพื่อให้เกิดเอกภาพในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 5. ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อก�ำหนดมาตรการที่ส�ำคัญในการ ขับเคลื่อนกลยุทธ์ และร่วมกันยกร่างแผนปฏิบัติการบูรณาการจัดการปัญหา โฆษณาที่ผิดกฎหมายฯ ประจ�ำปี 2558 - 2561 6. ส่งมอบแผนปฏิบัติการในข้อ 4 ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ เป็นกรอบในการจัดท�ำแผนปฏิบัติการประจ�ำปีของหน่วยงานตน 7. ทุกหน่วยงานยก (ร่าง) โครงการที่ส�ำคัญในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ ภายใต้แผนปฏิบัติการประจ�ำปี
  • 26. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 25 8. ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อประสานแผนฯ/โครงการระหว่างหน่วย งานที่เกี่ยวข้องเป็นประจ�ำทุกปี 9. ประชุมคณะกรรมการแห่งชาติฯ เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง ภาคีเครือข่ายหน่วยงานที่คาดหวัง ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ • กระทรวงสาธารณสุข โดย ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัด • คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) • กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร • ส�ำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) • ส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ โดย กองบังคับการปราบปรามการ กระท�ำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) • ส�ำนักงานอัยการสูงสุด • องค์กรผู้บริโภค • องค์กรวิชาชีพด้านสื่อฯ หรือ สมาคม ชมรมฯ ด้านการโฆษณา • องค์กรผู้ประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ • สถาบันการศึกษาที่มีการสอนด้านนิเทศศาสตร์ ด้านเภสัชศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • ฯลฯ
  • 28. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 27 เสริมแรง สานพลัง หลังจากมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 ปี 2554 การจัดการ ปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทางวิทยุ กระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ภาคีเครือข่ายจัดการปัญหาโฆษณา ที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทางวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต มีความพยายามจัดการปัญหาดังกล่าว ดังนี้ กุมภาพันธ์’55 กสทช. จัด NBTC Forum หัวข้อแนวทางการ คุ้มครองผู้บริโภคในโฆษณาวิทยุและโทรทัศน์ยุค กสทช. มีนาคม’55 ประชุมร่วมระหว่างภาคีเครือข่ายฯ หน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 1 เมษายน’55 ประสานบริษัทไทยคม แจ้งสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ขอให้ระงับการออกอากาศโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เข้า ข่ายโอ้อวดสรรพคุณ จ�ำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ จนกว่า คดีถึงที่สุด กสทช. และภาคีเครือข่ายฯ หารือร่วมกับปลัด กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) หามาตรการแก้ไขปัญหาฯ ประชุมระหว่างภาคีเครือข่ายฯ กับบริษัทไทยคม หา แนวทางระงับการออกอากาศโฆษณาผลิตภัณฑ์ สุขภาพที่เข้าข่ายฯ ครั้งที่ 1
  • 29. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ28 พฤษภาคม’55 กสทช. มีหนังสือถึงปลัดกระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อประสาน บริษัทไทยคมด�ำเนินการ ที่ประชุมครม. รับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2554 มิถุนายน’55 หารือร่วมกับปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT) หามาตรการแก้ไขปัญหา ครั้ง ที่ 2 เพื่อถามถึงความคืบหน้า กพย. และชมรมเภสัชชนบท ร่วมกับ อย. พัฒนา เครือข่ายเฝ้าระวังการโฆษณาผิดกฎหมายใน 4 จังหวัดน�ำร่อง คือ สระบุรี สงขลา ขอนแก่น พะเยา และมีการขยายผลการท�ำงานต่อไปในจังหวัดอื่นๆ และจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลการเฝ้าระวังจากพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาต่อไป บริษัทไทยคมมีหนังสือไปยังช่องดาวเทียมที่เกี่ยวข้อง ให้ระงับการออกอากาศโฆษณาผลิตภัณฑ์โอ้อวด เกินจริง ประชุมระหว่าง ภาคีเครือข่ายฯ กับบริษัทไทยคม หาแนวทางระงับการออกอากาศโฆษณาผลิตภัณฑ์ สุขภาพที่เข้าข่ายฯ ครั้งที่ 2 ท�ำบันทึกข้อตกลง เรื่องการก�ำกับดูแลโฆษณา อาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายหรือ มีลักษณะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค ในกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ระหว่าง 4 หน่วยงาน
  • 30. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 29 กรกฎาคม’55 จัดสัมมนา เวทีสมัชชาระดับชาติของผู้บริโภคใน กิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ครั้งที่ 1 ประชุมร่วมระหว่างภาคีเครือข่ายฯ หน่วยงานรัฐที่ เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 1 สิงหาคม’55 จัดสัมมนาผู้ประกอบการด้านสื่อ เรื่องการก�ำกับ ดูแลโฆษณายา อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิด กฎหมายหรือมีลักษณะเป็นการเอาเปรียบฯ ตุลาคม’55 จัดสัมมนา ยกร่างแผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหา โฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์ สุขภาพ กสทช. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือเรื่อง “การสร้าง เครือข่ายร้องเรียนการโฆษณา อาหาร ยา และ ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีลักษณะเป็นการเอาเปรียบ ผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์” กับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เพื่อร่วม กันสร้างกลไกต้นแบบการสร้างเครือข่ายการร้อง เรียนการโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่มีลักษณะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคฯ พฤศจิกายน’55 อย. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาร่างแนวทาง การบูรณาการการบังคับใช้กฎหมายเพื่อใช้เป็น แนวทางการด�ำเนินการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง และจัดท�ำเป็นคู่มือส�ำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่
  • 31. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ30 กพย. จัดแถลงข่าว ทุกข์ล้นเหลือ เหยื่อโฆษณา กพย. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการภาคีเครือข่าย ตาม แผนปฏิบัติการจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมาย ของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพทางวิทยุ กระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต ณ โรงแรม เดอะทวิน ทาวเวอร์ ธันวาคม’55 รายงานความก้าวหน้าตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 กสทช. ร่วมกับเครือข่าย สสจ. เภสัชกร กพย. มูลนิธิ เพื่อผู้บริโภค และ NGOs จัดเวทีของเครือข่าย ผู้บริโภค 9 เวที กิจกรรมงานมหกรรมรวมพลังผู้บริโภคสื่อวิทยุ- โทรทัศน์ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (กสทช. เจ้าภาพหลักร่วมกับภาคี) มกราคม’56 กพย. จัดท�ำปฏิทินแขวนปี 2556 เรื่องตรวจสอบ 4 ข้อก่อนเชื่อโฆษณา กุมภาพันธ์’56 เปิดตัวการพัฒนาโปรแกรมฐานข้อมูลการเฝ้าระวัง โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ (HPAS) เพื่อเชื่อมโยง ข้อมูลการกระท�ำโฆษณาที่ผิดกฎหมายระหว่าง หน่วยงานภายใน และภายนอกที่เกี่ยวข้องได้ อย. ประสาน กสทช. ส่งข้อมูลการเฝ้าระวังโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพทางโทรทัศน์ดาวเทียมที่พบการ ฝ่าฝืนกฎหมาย ที่อยู่ระหว่างการด�ำเนินคดี โดยขอ
  • 32. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 31 ให้พิจารณาข้อมูลการประกอบการอนุญาตกิจการ กระจายเสียงหรือโทรทัศน์ส�ำหรับการให้บริการฯ (กิจการไม่ใช้คลื่น) หรือช่องรายการทีวีดาวเทียม คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ (กสท.) ได้พิจารณาแนวทางการก�ำกับ ดูแลผู้รับใบอนุญาตการประกอบกิจการโทรทัศน์ เกี่ยวกับการออกอากาศรายการ หรือการโฆษณา ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับอนุญาตโฆษณาตามกฎหมาย เมษายน’56 สคบ. ท�ำบันทึกข้อตกลงเพื่อร่วมกันจัดการปัญหา โฆษณาร่วมกับหน่วยงานรัฐ และตัวแทนสมาคม/ ชมรมทางด้านสื่อ 10 หน่วยงาน มิถุนายน’56 แผนงาน กพย. ร่วมกับมีเดีย มอนิเตอร์ จัดท�ำ รายงานการศึกษา และร่วมแถลงข่าวน�ำเสนอ “การศึกษาวิเคราะห์ สปอตโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ และความงามทางวิทยุกระจายเสียงที่ปรากฏใน เว็บไซต์ต่อนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านการคุ้มครอง ผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และ ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะ กรรมการอาหารและยา (อย.) ณ ส�ำนักงาน กสทช. และมีแผนความร่วมมือในการศึกษาสถานการณ์ ปัญหาโฆษณาต่อเนื่องตลอดปี
  • 33. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ32 กพย./ชมรมเภสัชชนบท ถอดบทเรียนการพัฒนา เครือข่ายการจัดการปัญหาโฆษณาฯ ใน 4 จังหวัด น�ำร่อง เพื่อขยายผลต่อไป การประชุมเพื่อสรุปและประมวลบทเรียนการท�ำงาน โครงการน�ำร่อง 4 จังหวัด ปฏิบัติการจัดการปัญหา โฆษณาที่ผิดกฎหมายฯณโรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ (กสทช. เจ้าภาพหลักร่วมกับภาคี) อย. กสทช. และต�ำรวจ บก.ปคบ. ผนึกก�ำลังเข้า จับกุมวิทยุชุมชน 95.75 MHz พบการกระท�ำผิด กฎหมาย 1. ตั้งสถานีวิทยุชุมชนและใช้คลื่นความถี่โดยไม่ได้ รับใบอนุญาต 2. ไม่มีใบประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง 3. พบข้อความออกอากาศ ลักษณะโฆษณาโอ้อวด สรรพคุณผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย กรกฎาคม’56 อย. จัดประกวดภาพยนตร์สั้น ในหัวข้อ “อย่าหลง เชื่อง่าย” ปี 2556 เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนหันมา ดูแลสุขภาพด้วยการพึ่งพาตนเองโดยไม่หลงเชื่อกับ โฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง ประชุมเชิงปฏิบัติการบูรณการความร่วมมือระหว่าง หน่วยงานเพื่อหาแนวทางบูรณาการการท�ำงาน ร่วมกัน ครั้งที่ 2 จัดงานรวมพลังผู้บริโภค จ.สุราษฎร์ธานี
  • 34. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 33 สิงหาคม’56 เวที สช. เจาะประเด็น: กสทช. แจ้งมติที่ประชุม กสท. ให้ระงับการโฆษณาผลิตภัณฑ์ในช่องรายการ ทีวีดาวเทียมที่ฝ่าฝืนมาตรา 41 พ.ร.บ.อาหาร 2522 เป็นรายแรก จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการก�ำกับดูแลโฆษณา อาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในกิจการกระจาย เสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อให้ความรู้ด้านกฎหมาย การโฆษณายา อาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ จัดงานรวมพลังผู้บริโภค จ.ขอนแก่น เวทีรับฟังความเห็น (ร่าง) ยุทธศาสตร์จัดการปัญหา โฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์ สุขภาพ 4 ภาค กันยายน’56 กสทช. ร่วมกับ อย.และ บก.ปคบ.บุกเข้าตรวจจับ วิทยุชุมชนคลื่น 95.40 MHz ชื่อสถานีวิทยุสัมพันธ์ จักรชัยเพื่อความมั่นคงของ จ.อุดรธานี หลังจากได้ รับการร้องเรียนว่าวิทยุชุมชนดังกล่าว มีการออก ประกาศขายยารักษาโรค อ้างสรรพคุณเกินจริง กสทช. ร่วมกับ อย.และ บก.ปคบ.บุกเข้าตรวจจับ สถานีวิทยุกระจายเสียงรักเด้อ เรดิโอ คลี่น 99.25 MHz รับฟังได้ในพื้นที่ ถ.รามอินทรา เขตบางเขน กทม. ตลอด 24 ชั่วโมง โฆษณาน�้ำมันร�ำข้าวและ จมูกข้าวผสมคิวเทนพรีมเนอร์พลัส สามารถรักษา โรคได้หลายชนิด ไม่ต้องพบแพทย์ สามารถกลับมา เดินได้ จากการตรวจสอบพบว่าเป็นโฆษณาที่ไม่ได้ รับอนุญาตจาก อย.
  • 35. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ34 ตุลาคม’56 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.)มีมติระงับโฆษณาอาหารและยาผิดกฎหมาย ช่องดาวเทียม OHO channel, Mongkol Channel และ MV Hit station พฤศจิกายน’56 กสท. อนุมัติให้ต่ออายุใบอนุญาตเคเบิ้ลทีวี และ ดาวเทียมอีก 2 ปี โดยน�ำข้อมูลร้องเรียนและการเฝ้า ระวังมาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา หากพบ ข้อมูลร้องเรียนจะน�ำมาพิจารณาระยะเวลาให้ ใบอนุญาตน้อยกว่า 2 ปี ดังนั้น กสทช. จึงขอความ ร่วมมือ อย. ในการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนโฆษณา อาหารและยาผิดกฎหมายในเคเบิ้ลทีวีและดาวเทียม กุมภาพันธ์’57 กสท. มีมติ ต่อใบอนุญาตให้บริษัท อาธีน่า มีเดีย จ�ำกัด (ช่องรายการ OHO Channel) และบริษัท มิกซ์ วาร์ไรตี้ จ�ำกัด (ช่องรายการ Mix 24 Variety) เพียง 3 เดือน และให้ติดตามตรวจสอบเนื้อหา รายการอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นข้อมูลการต่ออายุ ใบอนุญาตต่อไป
  • 36. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 35 มีนาคม’57 กสทช. ลงนามความร่วมมือกับเครือข่ายผู้บริโภคสื่อ วิทยุ-โทรทัศน์ จังหวัดเพชรบุรี หรือ “เพชรบุรีโมเดล” เพื่อส่งเสริมการท�ำงานร่วมของภาคีเครือข่ายในการ ติดตามตรวจสอบ เฝ้าระวังการโฆษณาอาหารและ ยาที่ผิดกฎหมาย ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของ ผู้บริโภค สนับสนุนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความ รู้เรื่องการโฆษณาอาหารและยาที่ผิดกฎหมายทาง สื่อวิทยุและโทรทัศน์ หมายเหตุ กสทช. = คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ / อย. = ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา / บก.ปคบ. = กองบังคับการปราบปรามการกระท�ำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค / สคบ. = ส�ำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค / ICT = กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร / สช. = ส�ำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ / สสจ. = ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัด / กพย. = แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา สนับสนุนโดย ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) / กสท. = คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
  • 37. คู่มือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ36 จ�ำนวนการประชุมคณะกรรมการและคณะท�ำงานที่เกี่ยวข้อง ในรอบ 2 ปี (พ.ศ. 2555 – 2556) 1. คณะกรรมการและคณะท�ำงานที่ตั้งโดยส�ำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา 1.1 คณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิด กฎหมายของยา อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทางวิทยุกระจายเสียง : (4 ครั้ง) 1.1.1 คณะท�ำงานพัฒนาศักยภาพวิชาชีพด้านสื่อเกี่ยวกับ โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ (5 ครั้ง) 1.1.2 คณะท�ำงานการพัฒนาเครือข่ายและกลไกการเฝ้าระวัง การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ (กพย. ชมรมเภสัชชนบท) (1 ครั้ง) 1.1.3 คณะท�ำงานด้านกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย เกี่ยวกับโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ (3 ครั้ง) 1.2 คณะท�ำงานพัฒนาระบบการก�ำกับดูแลปัญหาโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นคณะท�ำงานที่แต่งตั้งเฉพาะหน่วยงาน ภายใน ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (4 ครั้ง) 1.3 การประชุมปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานก�ำกับดูแล ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กสทช. บก.ปคบ. (6 ครั้ง) 2. คณะท�ำงานที่ตั้งโดยส�ำนักงาน กสทช. คณะท�ำงานก�ำกับดูแลโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ผิดกฎหมาย หรือมีลักษณะเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ (15 ครั้ง)