SlideShare a Scribd company logo
1 of 15
เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013
0
เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013
1
ความสําคัญของงานเขียนแบบ
หลักในการทํางานเกี่ยวกับงานช่างทุกประเภท หรืองานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์สิ่ง
ใหม่ๆ จะต้องมีการเขียนแบบแทรกเข้าไปด้วยทุกชนิดของงาน เช่น งานช่างไฟฟ้า โลหะ งานตัด
เย็บเสื้อผ้า หรือก่อสร้าง เป็นต้น หรืออาจจะกล่าวได้ว่างานเขียนแบบเป็นหัวใจของงานทุกชนิดที่
ทําอย่างมีระบบ แม้ในสมัยโบราณการเขียนแบบยังไม่มีการวิวัฒนาการเหมือนในปัจจุบัน แต่ผู้ที่
คิดสร้างสรรค์งานต่างๆก็พยายามถ่ายทอดความคิดลงในแผ่นหิน โดยมิได้มีการแยกชิ้นส่วนให้
เห็นชัด ซึ่งทําให้ไม่สะดวกต่อผู้ที่นําแบบไปสร้างนักแต่ก็ยังดีที่ทําโดยไม่มีแบบแผนเสียเลย
ดังนั้นงานเขียนแบบจึงเป็นงานพื้นฐานอีกชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับงานสร้างสรรค์ต่างๆทุก
แขนงเพื่อใช้แสดงรูปร่าง และลักษณะของสิ่งที่ต้องการจะสร้างสรรค์ขึ้นมา ขอบข่ายของงานเขียน
แบบครอบคลุมสาขาวิชาต่างๆอย่างกว้างขวาง ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นด้าน
อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ สิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกต่างๆ บุคลากรทางงานเขียน
แบบมักจะถูกกําหนดให้ทํางานคาบเกี่ยวหลายเรื่องหลายสาขา อย่างไรก็ดีแม้คนคนหนึ่งอาจได้รับ
มอบหมายให้ทํางานเขียนแบบในสาขาอื่นก็เป็นสิ่งจําเป็นเช่นเดียวกัน ผู้ที่มีความสามารถทางด้าน
เขียนแบบกว้างขวางย่อมมีโอกาสที่จะก้าวหน้ามากกว่า
วิชาชีพเขียนแบบที่เป็นที่ยอมรับ
พอจะจําแนกได้ดังนี้
1. การเขียนแบบสําหรับผลิตภัณฑ์
2. การเขียนแบบทางสถาปัตยกรรม
3. การเขียนแบบโครงสร้าง
4. การเขียนแบบเครื่องมือ
5. การเขียนแบบทางไฟฟ้า
6. การเขียนแบบงานท่อ
7. การเขียนแบบทางกําลังของไหล
8. การเขียนแบบแผนที่
9. การเขียนแบบสิทธิบัตร
เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013
2
การเขียนแบบสําหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ ขอบเขตของการเขียนแบบสําหรับการผลิต
เกี่ยวกับการจัดทําแบบเพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ แบบอาจแปรผันตั้งแต่แบบร่างภาพเดี่ยวแบบ
ง่ายๆ จนกระทั่งถึงแบบแยกชิ้นและแบบประกอบที่ประณีตบรรจงของการออกแบบที่ซับซ้อนใน
ทุกกรณี หน้าที่หลัก คือ การเขียนแบบเพื่อแสดงให้เห็นอย่างแน่ชัดว่า ชิ้นส่วนนั้น จะสามารถ
ผลิตขึ้นมาได้อย่างไร ผลิตภัณฑ์บางชิ้นอาจใช้แบบเพียงไม่กี่แผ่น แต่ผลิตภัณฑ์บางชิ้นอาจต้องมี
แบบจํานวนมาก
แบบสําหรับการผลิตสามารถแบ่งอย่างกว้างๆออกเป็น 2 กลุ่ม คือ แบบแยกชิ้น และ
แบบประกอบ แบบแยกชิ้นส่วนประกอบด้วยภาพที่มองจากด้านต่างๆ และขนาดที่จําเป็นสําหรับ
การผลิตชิ้นส่วนแต่ละชิ้นแบบประกอบ แสดงให้เห็นว่า ชิ้นส่วนทั้งหมดประกอบเข้าด้วยกัน
อย่างไร
การเขียนแบบทางสถาปัตยกรรม เป็นการเขียนแบบเกี่ยวกับการจัดทําแบบแปลนสําหรับ
การก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย และอาคารพาณิชย์ ซึ่งแผนงานจริงและการดําเนินการเกี่ยวกับแบบ
ทํางานจะกระทําโดยสถาปนิกผู้มีอํานาจ วิศวกร จัดทําแปลนส่วนที่เกี่ยวกับระบบท่อ ระบบให้
ความร้อน ระบบระบายอากาศของอาคาร ระบบแสงสว่าง
แต่หากเป็นอาคารที่อยู่อาศัยขนาดเล็ก สถาปนิกหรือทีมงาน
ของสถาปนิกมักเป็นผู้จัดทําแผนงานเองทั้งหมด
แผนงานจริงในการก่อสร้างประกอบด้วยงาน 4 ขั้น
ด้วยกัน คือ
1) วิเคราะห์สิ่งที่จําเป็นสําหรับอาคารและค่าใช้จ่าย
2) ทําภาพสเก็ตซ์เบื้องต้น เพื่อแสดงการจัดวางห้อง
หลัก
3) จัดทําแบบเพื่อแสดงแสดง ประกอบด้วย
ทัศนียภาพของอาคาร
4) จัดทําแปลนทํางาน ซึ่งครอบคลุมถึงรายละเอียด
ของโครงสร้างที่สําคัญๆของอาคาร
การเขียนแบบโครงสร้าง เป็นการเขียนแบบที่เกี่ยวกับการจัดทําแปลนสําหรับการก่อสร้าง
อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น ในการทําแบบโครงสร้าง
จําเป็นจะต้องใช้เทคนิคพิเศษแสดงรูปทรงสัณฐาน ซึ่งปกติจะใช้สัญลักษณ์ในการแสดงชิ้นของ
โครงสร้าง
เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013
3
โครงสร้างที่สามัญที่สุด ซึ่งพบเห็นอยู่ทั่วไป ได้แก่ คอนกรีตเสริมเหล็กและโครงเหล็ก
ส่วนที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ได้แก่ เสา คาน พื้น บันได ซึ่งอาจตกแต่งผิวภายนอกด้วยอิฐหรือ
วัสดุอื่นๆ
ส่วนโครงเหล็กนั้น ชิ้นส่วน
โครงสร้างแต่ละชิ้นถูกยืดด้วยการเชื่อม ยํ้า
หมุดหรือยึดด้วยสกรู แผนงาน (Shop
Drawing) แบบออกแบบประกอบด้วยภาพ
ด้านต่างๆ ที่จําเป็นสําหรับงานก่อสร้าง เช่น
ฐานรากการจัดวางห้อง และรายละเอียดของ
โครงสร้าง หน้าที่สําคัญประการหนึ่งของ
แบบออกแบบ ก็คือ แสดงแบบแปลนโครง
เหล็กของอาคาร สําหรับโครงสร้างที่เป็น
คอนกรีตเสริมเหล็ก ก็จะมีแบบ 2 ชุด
เช่นเดียวกันซึ่งเรียกว่าแบบทางวิศวกรรมและ
แบบก่อสร้าง แบบทางวิศวกรรมเป็นแบบ
เกี่ยวกับการจัดวางทั่วไปของโครงสร้าง และ
ขนาดของโครงสร้างและเกี่ยวกับส่วนที่มีการ
เสริมเหล็ก ส่วนแบบก่อสร้างจะระบุขนาด รูปทรงสัณฐาน และตําแหน่งของเหล็กเส้นทั้งหมดใน
โครงสร้าง นอกจากนั้นยังประกอบด้วยรายการของ คานตง พื้น และคานหลัก
การเขียนแบบเครื่องมือ การผลิตสินค้าสําเร็จรูปเป็นจํานวนมากๆ จะต้องเกี่ยวข้องกับการ
ใช้เครื่องมือและเครื่องจักรเป็นจํานวนนับไม่ถ้วน เพื่อทํางานในขั้นตอนต่างๆซึ่งหลายๆขั้นตอนใน
จํานวนนั้นค่อนข้างจะซับซ้อน เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมีราคาตํ่าพอที่จะแข่งกับ
ตลาดได้ เครื่องมือการผลิตจะต้องได้รับการออกแบบให้สามารถประกอบติดตั้งได้รวดเร็ว และ
เหมาะสม ทางเศรษฐกิจผู้ที่รับผิดชอบในการสร้างเครื่องมือให้มีลักษณะดังกล่าว ได้แก่ นัก
ออกแบบเครื่องมือ หรือวิศวกรเครื่องมือ
การออกแบบเครื่องมือเป็นสาขาวิชาที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะสูง งานที่ทําได้แก่คิด
ประดิษฐ์จิ๊ก ฟิกซ์เจอร์ แม่พิมพ์ ผู้ที่ทํางานเกี่ยวกับงานวิศวกรรมแบบนี้ จะต้องมีความรู้ด้านวัสดุ
เป็นอย่างดีมีความเข้าใจอย่างกว้างๆเกี่ยวกับการทํางานในโรงงานเป็นคนช่างประดิษฐ์ด้านเครื่องกล
และมีทักษะในด้านการเขียนแบบ
เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013
4
จิ๊ก(Jig) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการทํางานที่มี
กระบวนการทํางานเหมือนกันซํ้าๆกัน เพื่อให้
ทํางานได้โดยสะดวกและรวดเร็วพร้อมทั้งมีความ
เที่ยงตรงสมํ่าเสมอสําหรับการทํางานทุกครั้ง จิ๊ก
จะใช้สําหรับงานประเภท เจาะรู คว้านรู ขยาย
ปากรู และกัดเกลียวใน หน้าที่หลักของจิ๊กก็คือ
จับชิ้นงานให้เข้าที่และนําเครื่องมือ
ฟิกซ์เจอร์(Fixture) เป็นเครื่องมือสําหรับ
จับชิ้นงานเช่นเดียวกัน แต่ต่างกับจิ๊กซ์ตรงที่
ฟิกซ์เจอร์ จะถูกจับตรึงตายตัวไม่สามารถ
เคลื่อนย้ายหรือนําเครื่องมือ เราใช้ฟิกซ์เจอร์
สําหรับการทํางานเกี่ยวกับการปาดผิวหน้า การเจาะรู การเซาะ การเจียระไน การเชื่อมเป็นต้น
แม่พิมพ์ (Die) ใช้สําหลับผลิตงานโดยการอัดและการตอกแผ่นโลหะ แม่พิมพ์จําแนกได้
เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ แม่พิมพ์ขึ้นรูป แม่พิมพ์ตัดทํางานเกี่ยวกับการตัดออกจากแผ่น ปั๊มรู
และปั๊มรอยบากเป็นต้น แม่พิมพ์ขึ้นรูปออกแบบมาเพื่อขึ้นรูปโลหะแผ่น กระบวนการทํางาน
ประกอบด้วย การพับ การพิมพ์นูนและการรีดเป็นต้น
การเขียนแบบทางไฟฟ้ า เป็นการจัดทําแบบที่แสดงลักษณะการจัดวางตําแหน่งของวงจร
และอุปกรณ์ยึดจับ แบบมักจะอยู่ในรูปของแผนภาพซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้ประโยชน์ทาง
สถาปัตยกรรมการจ่ายกําลัง หรือระบบสื่อสาร ลักษณะสําคัญของแผนภาพประเภทนี้ คือ มีการ
ใช้สัญลักษณ์ทางกราฟฟิกอย่างกว้างขวาง
เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013
5
การเขียนแบบงานท่อ แบบชนิดนี้
จะแสดงตําแหน่ง ชนิด และขนาดของท่อ
และตัวจับยึดในระบบท่อ มักจะใช้
สัญลักษณ์กราฟฟิกแทนท่อ ลิ้น และ
อุปกรณ์ประกอบ แบบอาจจะเป็นภาพฉาย
จากหนึ่งด้าน สองด้าน สามด้าน หรืออาจ
เป็นภาพ 3 มิติก็ได้ ตัวท่ออาจเขียนแทน
ด้วยเส้นเดี่ยว หรือเส้นคู่ก็ได้ เส้นคู่มักใช้ใน
ระบบที่เป็นท่อขนาดใหญ่ ส่วนท่อที่มีขนาด
ค่อนข้างเล็กนิยมเขียนแทนด้วยเส้นเดี่ยว
มากกว่า
การเขียนแบบกําลังของไหล แบบ
ชนิดนี้เป็นแผนภาพแสดงอุปกรณ์หลักในระบบไฮดรอลิก แผนภาพเหล่านี้แสดงให้เห็นระบบท่อ
ระหว่างชิ้นส่วน ตําแหน่งของชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนที่ และเส้นการไหลของของไหล มีการใช้
สัญลักษณ์แบบกราฟฟิกเพื่อแสดงให้เห็นหน้าที่และธรรมชาติของตัวยึดจับทางไฮดรอลิก
การเขียนแบบแผนที่ เป็นการจัดทําแบบที่เป็นแผนที่รังวัดที่ดิน สภาพภูมิประเทศ แผนผัง
ที่ตั้งอาคาร อุทกศาสตร์ การบิน และถนน
การเขียนแบบสิทธิบัตร เป็นการเขียนแบบเพื่อยื่นเสนอต่อกองสิทธิบัตรของทางราชการ
พร้อมกับการยื่นขอรับสิทธิบัตรของสิ่งประดิษฐ์ รูปเขียนแบบนี้ต้องแสดงและแยกแยะส่วนสําคัญ
เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013
6
ทุกส่วนของสิ่งประดิษฐ์ โดยจะต้องสอดคล้องกับรูปลักษณะที่ทางราชการได้กําหนดไว้ ซึ้งอาจ
เป็นภาพฉาย ภาพพิกทอเรียล หรือเป็นภาพฉายกับภาพพิกทอเรียลผสมกันก็ได้
เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013
7
เครื่องมือและอุปกรณ์ ในงานเขียนแบบ
การเขียนแบบทั่วๆไปจะสําเร็จสมบูรณ์ถูกต้อง นอกจากจะต้องใช้ความรู้ ความสามารถ
ของผู้เขียนแล้ว นอกจากนี้ยังจะต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์ใช้ในการเขียนแบบที่จะช่วยให้งาน
สําเร็จไปได้ด้วยดีมีดังนี้ คือ
2.1 โต๊ะเขียนแบบและกระดานเขียนแบบ
การเขียนแบบทางอุตสาหกรรมแทบทั้งหมดใช้โต๊ะ
เขียนแบบ แม้ว่าโต๊ะแต่ละชนิดจะมีรายละเอียด
โครงสร้างแตกต่างกัน แต่ทั่วๆไปจะมีความสูงที่เป็น
มาตรฐาน หรืออาจเป็นชนิดที่สามารถปรับความสูงและ
ความเอียงของพื้นโต๊ะให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานได้
พื้นโต๊ะมักจะปูด้วยไวนิลสีเหลืองอ่อนหรือสีขาว เพื่อช่วย
ลดแสงสะท้อนแยงตาและทําหน้าที่เป็นพื้นรองที่เรียบ
แน่นทําให้เขียนด้วยดินสอได้คมชัด ทั้งมีส่วนที่ช่วย
ให้ลบง่ายอีกด้วย ส่วนกระด้านเขียนแบบ มักใช้ใน
งานสนาม แค่ก็มีการใช้ในโรงเรียนบ้างเหมือนกัน
ในกรณีที่ไม่มีโต๊ะเขียนแบบมาตรฐาน กระดานเขียน
แบบเหล่านี้มักทําด้วยไม้สนสีขาว และมีขนาดต่างๆกัน
ที่นิยมใช้มากที่สุดคือขนาด 500มม.X 65.มม. ซึ้ง
ค่อนข้างกะทัดรัดพกพาได้สะดวก
2.2 เครื่องมือที่ใช้เขียนแบบ มีความสําคัญต่อ
งานเขียนแบบมากก่อให้เกิดความเที่ยงตรงความสะดวก ความถูกต้อง ซึ่งประกอบด้วย
เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013
8
1. กระดาษเขียนแบบ
2. ไม้ที
3. กล่องเขียนแบบ(ประกอบด้วย ดิไวเดอร์,วงเวียนและชุดประกอบ)
4. บรรทัดสามเหลียม(มุมฉากและ °45 )
5. บรรทัดสามเหลียม(มุมฉากและ °60 , °30 )
6. บรรทัดขีดขนานสําหรับเขียนตัวอักษร
7. บรรทัดสามเหลียม(สากลย่อปกติ)
8. บรรทัดสามเหลียม(ชนิดย่อพิเศษ)
9. บรรทัดเขียนส่วนโค้ง
10. บรรทัดสากลองศา
11. ดินสอเขียนแบบ
12. กบเหลาสอ
13. ยางลบดินสอ
14. แผ่นกันลบ
15. ยางลบหมึก
16. แปรงปัดฝุ่น
17. กระดาษปูพื้น
18. เทปติดกระดาษ
19. ด้ามปากกาเขียนแบบ
20. หัวปากกาเขียนแบบ
21. หมึกเขียนแบบ
อุปกรณ์การช่วยการเขียนเส้นตรง
อุปกรณ์ที่ช่วยในการเขียนเส้นตรง ได้แก่ บรรทัดขนาน (T – Slide) ไม้ที (T – Square)
และบรรทัดสามเหลี่ยม (Set – Square)
1. บรรทัดขนาน (T – Slide) บรรทัดชนิดนี้มี
เชือกคล้องกับลอกทั้ง 2 ข้าง ของบรรทัด ทําให้สามารถ
เคลื่อนที่ขนานกันตลอดเวลา เราสามารถเคลื่อนบรรทัดขึ้น
หรือลง โดยออกแรงเลื่อนกระทําต่อส่วนใดก็ได้ตลอด
ความยาวของบรรทัด ความยาวโดยทั่วไปของบรรทัด
ขนาน คือ 650 มม. 900 มม. และ 1,200 มม.
เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013
9
2. ไม้ที (T – Square) ในห้องเขียนแบบอาชีพทั่วไปให้ไม้ทีกันน้อยมาก บรรทัดชนิด
นี้มีประโยชน์มากในงานสนาม ซึ้งไม่อาจหาบรรทัดขนานไม้ที โดยทั่วไปมีอยู่ 2 ชนิด คือ ไม้ที
แบบมีหัวถอดได้ และแบบที่ถอดหัว
ไม่ได้ ความยาวโดยทั่วไปของไม้ที
ที่นิยมใช้ คือ 650 มม. 900 มม.
และ 1,200 มม.
3. บรรทัดสามเหลี่ยม
(Set – Square) ใช่สําหรับเขียนเส้นดิ่งและเส้นเอียง ที่ใช่ทั่วไป 2 แบบ คือ แบบ 45 องศา และแบบ
30-60 องศา บรรทัดสามเหลี่ยมมักทําด้วย
พลาสติกใสและมีขนาดต่างๆกันไปตาม
ความเหมาะสม อย่างไรก็ตามบรรทัด
สามเหลี่ยมแบบปรับได้ ถือว่าเป็นแบบ
ที่นิยมมากในงานเขียนแบบ เนื่องจาก
สามารถปรับมุมเพื่อขีดเส้นเอียงได้ตาม
ต้องการ โดยไม่จําเป็นต้องใช้บรรทัด
สามเหลี่ยมหลายอัน นอกจากนี้โปร
แทรกเตอร์ที่ติดอยู่กับบรรทัดแบบนี้ทําให้สามารถสร้างมุมใดๆตั้งแต่ 0 องศา – 90 องศา ได้อีกด้วย
การใช้ไม้ทีกับเซ็ตลากเส้น
การเขียนเส้นตั้ง
ก. มุม 45, 45 และ 90 องศา ข. มุม 30, 60 และ 90 องศา
เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013
10
การเขียนเส้นนอน
เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013
11
4. ดินสอเขียนแบบ (Drafting Pencilsc) ดินสอที่ใช้ใน
งานเขียนแบบโดยทั่วไปหากแบ่งตามรูปร่างและลักษณะจะสามารถ
แบ่งออกได้ 3 ชนิดด้วยกัน คือ
1) ดินสอเปลือกไม้ ดินสอชนิดนี้จะทํามาจากไม้
เนื้ออ่อน สําหรับความแข็งของไส้ดินสอมีการระบุไว้บนแท่งดินสอ
ด้วยตัวเลขกับตัวอักษร สัญลักษณ์นี้เรียงจาก 7B ซึ่งอ่อนที่สุด ต่อ
ด้วย 6B 5B 4B 3B 2B B HB F H 2H 3H 4H 5H 6H 7H 8H
และ9H ซึ่งแข็งที่สุด ซึ่งเพื่อการสะดวกในการเลือกใช้ดินสอสําหรับ
เขียนแบบได้สะดวก อาจแบ่งดินสอตามความแข็งของไส้ออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ
ดินสอที่มีไส้อ่อน (Soft Pencils) ได้แก่ ดินสอ เกรด 2B - 7B เหมาะในการใช่เขียนใน
งานศิลปะโดยเฉพาะการวาดภาพเขียนแรเงา
ดินสอที่มีไส้แข็งปานกลาง (Medium Pencils) ได้แก่ เกรด 3H - B ใช้สําหรับเขียน
แบบงานสําเร็จ เช่น เส้นขอบงามแสดงแนวตัด สัญลักษณ์ต่างๆ
ดินสอที่มีไส้แข็งแข็ง (Hard Pencils) ได้แก่ เกรด 9H-4H ใช่สําหรับการร่างแบบ ซึ่ง
จะทําให้เส้นที่ใช้มีความเบาบาง เช่น การบอกขนาด
ส่วนการใช่ดินสอชนิดนี้จะต้องเหลาโดยให้ไส้ดินสอยาวออกไปประมาณ 7 – 10 มม.
ซึ่งการเหลาจะนิยมเหลากัน 2 ชนิด คือ การเหลาแบบกรวย และการเหลาแบบลิ่ม
เหลาแบบลิ่ม เหลาแบบกรวย
2) ดินสอชนิดต้องเหลาเปลี่ยนไส้ได้ ดินสอชนิดนี้จะมีความโต 2 มม.
ลักษณะความแข็ง-อ่อนของไส้ดินสอและการใช้งานจะเหมือนกับดินสอแบบเปลือกไม้
3) ดินสอชนิดไม่ต้องเหลาเปลี่ยนไส้ได้ ดินสอชนิดนี้จะขีดเส้นได้
มาตรฐาน เช่น 0.7 , 0.5 ,0.3 เป็นต้น ใช้สําหรับเขียนเส้นขอบรูป เส้นเต็มบาง เส้นกําหนด
ขนาดได้ตรงตามมาตรฐาน
เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013
12
5. วงเวียน เป็นเครื่องมือที่ใช้สําหรับการเขียนส่วนโค้ง หรือวงกลมมีลักษณะเป็นขา
สองขาติดกัน โดยสามารถปรับขยายขาให้กว้างหรือแคบได้ ปลายขาข้างหนึ่งจะติดเหล็กปลาย
แหลมไว้ส่วนปลายขาอีกข้างจะมีชุดจับยึดดินสอ แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้4 แบบ ดังนี้
5.1 วงเวียนขนาดเล็ก เป็นวงเวียนที่ใช้เขียนส่วนโค้ง หรือวงกลมที่มีขนาดเล็ก
ลักษณะรูปร่างมีขาสองขา โดยขาข้างหนึ่งจะยึดติดเหล็กปลายแหลม ส่วนขาอีกข้างหนึ่งจะมีชุดจับ
ยึดดินสอ การขยายความกว้างขาวงเวียนจะใช้สกรูเป็นตัวปรับ โดยมีแรงสปริงเป็นตัวดันไว้ ดัง
แสดงในรูปที่ 5.2 (ก)
5.2 วงเวียนขนาดกลาง เป็นวงเวียนที่ใช้เขียนส่วนโค้ง หรือวงกลมขนาดกลางที่
ใช้โดยทั่วไป ดังแสดงในรูปที่ 5.1 (ข)
(ก) วงเวียนขนาดเล็ก (ข) วงเวียนขนาดกลาง
5.3 วงเวียนถ่ายขนาด เป็นวงเวียนที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายกับวงเวียนที่ใช้ในงาน
เขียนแบบทั่วไปแต่ปลายขาวงเวียนจะเป็นปลายแหลมทั้งสองข้าง ใช้สําหรับวัดระยะขนาดจาก
บรรทัดแล้วไปถ่ายขนาดลงบนแบบงาน หรือใช้แบ่งเส้นตรงออกเป็นส่วน ๆ เท่า ๆ กัน ดังแสดงใน
รูปที่ 5.2 (ก)
5.4 วงเวียนคาน เป็นวงเวียนที่ใช้สําหรับเขียนส่วนโค้ง หรือวงกลมขนาดใหญ่ มี
ส่วนประกอบหลักอยู่ 3 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งเป็นแกนหลักมีลักษณะรูปร่างเป็นคานตรงยาวส่วนที่
สองเป็นชุดเหล็กปลายแหลม และส่วนที่สามเป็นชุดดินสอ ซึ่งส่วนที่สองและสามสามารถเลื่อนไป
มาบนคานแกนหลัก และจะมีสกรูที่สามารถล็อกตําแหน่งได้ดังแสดงในรูปที่ 5.2 (ข)
(ก) วงเวียนถ่ายขนาด (ข) วงเวียนคาน
เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013
13
การใช้วงเวียน
6. ยางลบ ในการเขียนแบบ จําเป็นจะต้องมีการลบเพื่อแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงเป็น
ครั้งคราว เส้นดินสอหรือเครื่องหมายอื่นที่สามารถลบออกได้ด้วยยางลบธรรมดา ไม่ควรใช่
ยางลบที่แข็งเกินไปเพราะจะทําให้ผิวของแผ่นวัสดุเขียนแบบซํ้า
7. ดาษเขียนแบบ ขนาดของกระดาษเขียนแบบที่ใช้ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเขียนงานที่มี
รูปร่างขนาดเท่าใด ถ้าวัตถุขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ก็ใช้กระดาษแผ่นเล็กเขียน หรือถ้าวัตถุมีขนาดใหญ่
ก็จําเป็นจะต้องใช้กระดาษแผ่นใหญ่ขึ้นเช่นกัน แต่โดยทั่วไปแล้วใช้งานเขียนแบบจะนิยมกระดาษ
ขนาดมาตรฐานที่ทางราชการเห็นชอบ ซึ้งมีขนาดนําหน้าด้วยตัวอักษร A ดังแสดงในตาราง
มาตรฐาน A0 A1 A2 A3 A4 A5 A6
มม. 840×1189 594×841 420×594 297×420 210×297 148×210 105×148
เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013
14
ระยะห่างของขอบกระดาษนั้นควรเหลือมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับขนาดของกระดาษ
ส่วนใหญ่จะเริ่มจาก 5 มม. ไปจนถึง 15 มม. ซึ้งอาจจะให้ระยะห่างมากกว่านี้อีกก็ได้แล้วแต่
ลักษณะของกระดาษและการใช้งาน การติดกระดาษเขียนแบบต้องยึดให้เรียบและแน่น วาง
กระดาษให้เหมาะสม โดยวางกระดาษขอบบนขนานกับไม้ที หรือวางขอบล่างของกระดาษกับสัน
ไม้ทีก็ได้ ดังตัวอย่างที่แสดง
ขั้นตอนการติดกระดาษเขียนแบบ
(1) วางกระดาษเขียนแบบบนโต๊ะ หรือ
กระดาษเขียนแบบ โดยให้ด้านเรียบของกระดาษ
อยู่บน ขอบกระดาษแนบกับพื้นและตั้งฉากหรือ
ขนานกับไม้ที
(2) ติดกระดาษกาวที่มุมบนซ้ายก่อน
(3) แนบกระดาษลงมาแล้วติกกระดาษกาวที่มุมขวา
(4) แนบกระดาษจากมุมบนซ้ายไปหามุมบนขวาแล้วติดกระดาษกาว
(5) แนบกระดาษจากมุมขวาทะแยงลงมามุมล่างซ้ายแล้วติดกระดาษกาว
หัวกระดาษหรือตารางเขียนแบบ(Note Column) มีไว้เพื่อให้เขียนรายละเอียดที่สําคัญๆ
ของแบบที่เขียนไว้ด้านล่างของแบบ ซึ่งไม่มีรูปแบบบังคับที่แน่นอน
ขึ้นจะแตกต่างกันไปตามความต้องการของแต่ละหน่วยงาน เพื่อไม่ให้
เป็นการสับสนในที่นี้ขอให้ใช้รูปแบบดังตัวอย่างที่แสดงให้ดู
เนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นงานที่มีขนาดเล็ก ซึ่งหากเป็นกระดาษฟอร์ม
นอน ตารางจะอยู่ทางซ้ายมือ
ถ้าใช้กระดาษฟอร์มนอน A4
ตารางแบบต้องอยู่ด้านซ้ายเสมอ
ชั้น : ว / ด / ป นาม โรงเรียน :
เขียนแบบ
ตรวจแบบ
มาตราส่วน : หมายเลขแบบ :

More Related Content

What's hot

การเขียนแผ่นคลี่กรวยเยื้องศูนย์
การเขียนแผ่นคลี่กรวยเยื้องศูนย์การเขียนแผ่นคลี่กรวยเยื้องศูนย์
การเขียนแผ่นคลี่กรวยเยื้องศูนย์Narasak Sripakdee
 
เรื่องที่ 4 มาตราส่วนและการกำหนดขนาด
เรื่องที่ 4  มาตราส่วนและการกำหนดขนาดเรื่องที่ 4  มาตราส่วนและการกำหนดขนาด
เรื่องที่ 4 มาตราส่วนและการกำหนดขนาดkruood
 
Solidworks ขั้นพื้นฐาน
Solidworks ขั้นพื้นฐานSolidworks ขั้นพื้นฐาน
Solidworks ขั้นพื้นฐานNut Veron
 
จุดภายในและจุดภายนอก
จุดภายในและจุดภายนอกจุดภายในและจุดภายนอก
จุดภายในและจุดภายนอกkroojaja
 
คู่มือ Revit สำหรับงานสถาปัตยกรรม
คู่มือ Revit สำหรับงานสถาปัตยกรรมคู่มือ Revit สำหรับงานสถาปัตยกรรม
คู่มือ Revit สำหรับงานสถาปัตยกรรมPiyaboon Nilkaew
 
หลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏีหลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏีsukanya5729
 
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
2.ส่วนคำนำ และสารบัญPongpob Srisaman
 
การเขียนเค้าโครง
การเขียนเค้าโครงการเขียนเค้าโครง
การเขียนเค้าโครงvittaya411
 
พื้นที่ผิวและปริมาตร
พื้นที่ผิวและปริมาตรพื้นที่ผิวและปริมาตร
พื้นที่ผิวและปริมาตรRitthinarongron School
 
คู่มือฝึกระเบียบแถว
คู่มือฝึกระเบียบแถวคู่มือฝึกระเบียบแถว
คู่มือฝึกระเบียบแถวTeacher Sophonnawit
 
วิชาเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
วิชาเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์วิชาเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
วิชาเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ศุภชัย พุทธรักษ์
 
แผนการสอน เรื่อง ปริมาตรและพื้นที่ผิว
แผนการสอน เรื่อง ปริมาตรและพื้นที่ผิวแผนการสอน เรื่อง ปริมาตรและพื้นที่ผิว
แผนการสอน เรื่อง ปริมาตรและพื้นที่ผิวDuangnapa Jangmoraka
 
แผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพ
แผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพแผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพ
แผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพpronprom11
 
เข็มทิศและการใช้เข็มทิศ
เข็มทิศและการใช้เข็มทิศเข็มทิศและการใช้เข็มทิศ
เข็มทิศและการใช้เข็มทิศthnaporn999
 
กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ
กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศกลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ
กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศจุลี สร้อยญานะ
 
บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ
บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะบทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ
บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะKittichai Pinlert
 
การผูกผ้า
การผูกผ้าการผูกผ้า
การผูกผ้าThakorn Yimtae
 
รูปสี่เหลี่ยม ป.5.pdf
รูปสี่เหลี่ยม ป.5.pdfรูปสี่เหลี่ยม ป.5.pdf
รูปสี่เหลี่ยม ป.5.pdfssuser29b0ec
 

What's hot (20)

การเขียนแผ่นคลี่กรวยเยื้องศูนย์
การเขียนแผ่นคลี่กรวยเยื้องศูนย์การเขียนแผ่นคลี่กรวยเยื้องศูนย์
การเขียนแผ่นคลี่กรวยเยื้องศูนย์
 
เรื่องที่ 4 มาตราส่วนและการกำหนดขนาด
เรื่องที่ 4  มาตราส่วนและการกำหนดขนาดเรื่องที่ 4  มาตราส่วนและการกำหนดขนาด
เรื่องที่ 4 มาตราส่วนและการกำหนดขนาด
 
Solidworks ขั้นพื้นฐาน
Solidworks ขั้นพื้นฐานSolidworks ขั้นพื้นฐาน
Solidworks ขั้นพื้นฐาน
 
4 1
4 14 1
4 1
 
จุดภายในและจุดภายนอก
จุดภายในและจุดภายนอกจุดภายในและจุดภายนอก
จุดภายในและจุดภายนอก
 
คู่มือ Revit สำหรับงานสถาปัตยกรรม
คู่มือ Revit สำหรับงานสถาปัตยกรรมคู่มือ Revit สำหรับงานสถาปัตยกรรม
คู่มือ Revit สำหรับงานสถาปัตยกรรม
 
หลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏีหลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏี
 
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
 
การเขียนเค้าโครง
การเขียนเค้าโครงการเขียนเค้าโครง
การเขียนเค้าโครง
 
พื้นที่ผิวและปริมาตร
พื้นที่ผิวและปริมาตรพื้นที่ผิวและปริมาตร
พื้นที่ผิวและปริมาตร
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศ
 
คู่มือฝึกระเบียบแถว
คู่มือฝึกระเบียบแถวคู่มือฝึกระเบียบแถว
คู่มือฝึกระเบียบแถว
 
วิชาเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
วิชาเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์วิชาเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
วิชาเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
 
แผนการสอน เรื่อง ปริมาตรและพื้นที่ผิว
แผนการสอน เรื่อง ปริมาตรและพื้นที่ผิวแผนการสอน เรื่อง ปริมาตรและพื้นที่ผิว
แผนการสอน เรื่อง ปริมาตรและพื้นที่ผิว
 
แผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพ
แผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพแผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพ
แผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพ
 
เข็มทิศและการใช้เข็มทิศ
เข็มทิศและการใช้เข็มทิศเข็มทิศและการใช้เข็มทิศ
เข็มทิศและการใช้เข็มทิศ
 
กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ
กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศกลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ
กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ
 
บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ
บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะบทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ
บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ
 
การผูกผ้า
การผูกผ้าการผูกผ้า
การผูกผ้า
 
รูปสี่เหลี่ยม ป.5.pdf
รูปสี่เหลี่ยม ป.5.pdfรูปสี่เหลี่ยม ป.5.pdf
รูปสี่เหลี่ยม ป.5.pdf
 

Similar to เรื่องที่ 1 เครื่องมือและอุปกรณ์ในงานเขียนแบบ

โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์Mongkon Khumpo
 
โครงงานคอมพิวเตอร์_604_0226
โครงงานคอมพิวเตอร์_604_0226โครงงานคอมพิวเตอร์_604_0226
โครงงานคอมพิวเตอร์_604_0226Me'e Mildd
 
โครงงาน คอม
โครงงาน คอมโครงงาน คอม
โครงงาน คอมNuchy Geez
 
ใบงานที่ 3 ขอบข่ายและประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่ 3 ขอบข่ายและประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์ใบงานที่ 3 ขอบข่ายและประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่ 3 ขอบข่ายและประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์Phkphoom
 
หน่วยที่ 8 การทำงานแบบลำดับ
หน่วยที่ 8 การทำงานแบบลำดับหน่วยที่ 8 การทำงานแบบลำดับ
หน่วยที่ 8 การทำงานแบบลำดับจูน นะค่ะ
 
ใบงานคอม 5 8
ใบงานคอม 5 8ใบงานคอม 5 8
ใบงานคอม 5 8IRainy Cx'cx
 
ใบงานที่ 6 เรื่อง โครงงานประเภท“การทดลองทฤษฎี”
ใบงานที่ 6 เรื่อง โครงงานประเภท“การทดลองทฤษฎี”ใบงานที่ 6 เรื่อง โครงงานประเภท“การทดลองทฤษฎี”
ใบงานที่ 6 เรื่อง โครงงานประเภท“การทดลองทฤษฎี”Net'Net Zii
 
ใบงานที่ 6 เรื่อง โครงงานประเภท“การทดลองทฤษฎี”
ใบงานที่ 6 เรื่อง โครงงานประเภท“การทดลองทฤษฎี”ใบงานที่ 6 เรื่อง โครงงานประเภท“การทดลองทฤษฎี”
ใบงานที่ 6 เรื่อง โครงงานประเภท“การทดลองทฤษฎี”Orraya Swager
 
งานนำเสนอ1 คอม
งานนำเสนอ1 คอมงานนำเสนอ1 คอม
งานนำเสนอ1 คอมPassawan' Koohar
 
ใบงานที่3
ใบงานที่3ใบงานที่3
ใบงานที่3Intangible Mz
 

Similar to เรื่องที่ 1 เครื่องมือและอุปกรณ์ในงานเขียนแบบ (20)

การปฏิบัติงาน
การปฏิบัติงานการปฏิบัติงาน
การปฏิบัติงาน
 
Design
DesignDesign
Design
 
Com project
Com projectCom project
Com project
 
3
33
3
 
3
33
3
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
โครงงานคอมพิวเตอร์_604_0226
โครงงานคอมพิวเตอร์_604_0226โครงงานคอมพิวเตอร์_604_0226
โครงงานคอมพิวเตอร์_604_0226
 
8
88
8
 
Pro desktop80manual
Pro desktop80manualPro desktop80manual
Pro desktop80manual
 
โครงงาน คอม
โครงงาน คอมโครงงาน คอม
โครงงาน คอม
 
3 120719083921-phpapp01
3 120719083921-phpapp013 120719083921-phpapp01
3 120719083921-phpapp01
 
ใบงานที่ 3 ขอบข่ายและประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่ 3 ขอบข่ายและประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์ใบงานที่ 3 ขอบข่ายและประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่ 3 ขอบข่ายและประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
 
หน่วยที่ 8 การทำงานแบบลำดับ
หน่วยที่ 8 การทำงานแบบลำดับหน่วยที่ 8 การทำงานแบบลำดับ
หน่วยที่ 8 การทำงานแบบลำดับ
 
ใบงานคอม 5 8
ใบงานคอม 5 8ใบงานคอม 5 8
ใบงานคอม 5 8
 
ใบงานที่ 6 เรื่อง โครงงานประเภท“การทดลองทฤษฎี”
ใบงานที่ 6 เรื่อง โครงงานประเภท“การทดลองทฤษฎี”ใบงานที่ 6 เรื่อง โครงงานประเภท“การทดลองทฤษฎี”
ใบงานที่ 6 เรื่อง โครงงานประเภท“การทดลองทฤษฎี”
 
ใบงานที่ 6 เรื่อง โครงงานประเภท“การทดลองทฤษฎี”
ใบงานที่ 6 เรื่อง โครงงานประเภท“การทดลองทฤษฎี”ใบงานที่ 6 เรื่อง โครงงานประเภท“การทดลองทฤษฎี”
ใบงานที่ 6 เรื่อง โครงงานประเภท“การทดลองทฤษฎี”
 
งานนำเสนอ1 คอม
งานนำเสนอ1 คอมงานนำเสนอ1 คอม
งานนำเสนอ1 คอม
 
คอม
คอมคอม
คอม
 
Lesson 17
Lesson 17Lesson 17
Lesson 17
 
ใบงานที่3
ใบงานที่3ใบงานที่3
ใบงานที่3
 

More from kruood

เกณฑ์การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 65 ปีการศึกษา 2558 การงานอาชีพแล...
เกณฑ์การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 65 ปีการศึกษา 2558 การงานอาชีพแล...เกณฑ์การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 65 ปีการศึกษา 2558 การงานอาชีพแล...
เกณฑ์การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 65 ปีการศึกษา 2558 การงานอาชีพแล...kruood
 
Web dreamcs5
Web dreamcs5Web dreamcs5
Web dreamcs5kruood
 
กำหนดการ(..
กำหนดการ(..กำหนดการ(..
กำหนดการ(..kruood
 
แบบประเมินการออกแบบ สพม.25 ระดับ ม.4 6
แบบประเมินการออกแบบ สพม.25 ระดับ ม.4 6แบบประเมินการออกแบบ สพม.25 ระดับ ม.4 6
แบบประเมินการออกแบบ สพม.25 ระดับ ม.4 6kruood
 
ขั้นตอนการติดตั้ง UsbWebserver v8.6
ขั้นตอนการติดตั้ง UsbWebserver v8.6ขั้นตอนการติดตั้ง UsbWebserver v8.6
ขั้นตอนการติดตั้ง UsbWebserver v8.6kruood
 
Nsc2014 isan-web koksi2556
Nsc2014 isan-web koksi2556Nsc2014 isan-web koksi2556
Nsc2014 isan-web koksi2556kruood
 
Manchakhiri old town.
Manchakhiri old town.Manchakhiri old town.
Manchakhiri old town.kruood
 
กระบวนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
กระบวนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์กระบวนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
กระบวนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์kruood
 
The Guitar Of Chet Atkins -
The Guitar Of Chet Atkins -The Guitar Of Chet Atkins -
The Guitar Of Chet Atkins -kruood
 
Nsc2013 booklet
Nsc2013 bookletNsc2013 booklet
Nsc2013 bookletkruood
 
ผลงาน Ict 1 2555_koksipittayasan
ผลงาน Ict 1 2555_koksipittayasanผลงาน Ict 1 2555_koksipittayasan
ผลงาน Ict 1 2555_koksipittayasankruood
 
Korat th
Korat thKorat th
Korat thkruood
 
Korat eng
Korat engKorat eng
Korat engkruood
 
Fermented eng
Fermented engFermented eng
Fermented engkruood
 
Fried eng
Fried engFried eng
Fried engkruood
 
Fermented th
Fermented thFermented th
Fermented thkruood
 
Blue crab th
Blue crab thBlue crab th
Blue crab thkruood
 
Blue crab eng
Blue crab engBlue crab eng
Blue crab engkruood
 
Nsc2012 isan-second round.-koksi
Nsc2012 isan-second round.-koksiNsc2012 isan-second round.-koksi
Nsc2012 isan-second round.-koksikruood
 
แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์
แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์
แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์kruood
 

More from kruood (20)

เกณฑ์การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 65 ปีการศึกษา 2558 การงานอาชีพแล...
เกณฑ์การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 65 ปีการศึกษา 2558 การงานอาชีพแล...เกณฑ์การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 65 ปีการศึกษา 2558 การงานอาชีพแล...
เกณฑ์การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 65 ปีการศึกษา 2558 การงานอาชีพแล...
 
Web dreamcs5
Web dreamcs5Web dreamcs5
Web dreamcs5
 
กำหนดการ(..
กำหนดการ(..กำหนดการ(..
กำหนดการ(..
 
แบบประเมินการออกแบบ สพม.25 ระดับ ม.4 6
แบบประเมินการออกแบบ สพม.25 ระดับ ม.4 6แบบประเมินการออกแบบ สพม.25 ระดับ ม.4 6
แบบประเมินการออกแบบ สพม.25 ระดับ ม.4 6
 
ขั้นตอนการติดตั้ง UsbWebserver v8.6
ขั้นตอนการติดตั้ง UsbWebserver v8.6ขั้นตอนการติดตั้ง UsbWebserver v8.6
ขั้นตอนการติดตั้ง UsbWebserver v8.6
 
Nsc2014 isan-web koksi2556
Nsc2014 isan-web koksi2556Nsc2014 isan-web koksi2556
Nsc2014 isan-web koksi2556
 
Manchakhiri old town.
Manchakhiri old town.Manchakhiri old town.
Manchakhiri old town.
 
กระบวนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
กระบวนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์กระบวนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
กระบวนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
 
The Guitar Of Chet Atkins -
The Guitar Of Chet Atkins -The Guitar Of Chet Atkins -
The Guitar Of Chet Atkins -
 
Nsc2013 booklet
Nsc2013 bookletNsc2013 booklet
Nsc2013 booklet
 
ผลงาน Ict 1 2555_koksipittayasan
ผลงาน Ict 1 2555_koksipittayasanผลงาน Ict 1 2555_koksipittayasan
ผลงาน Ict 1 2555_koksipittayasan
 
Korat th
Korat thKorat th
Korat th
 
Korat eng
Korat engKorat eng
Korat eng
 
Fermented eng
Fermented engFermented eng
Fermented eng
 
Fried eng
Fried engFried eng
Fried eng
 
Fermented th
Fermented thFermented th
Fermented th
 
Blue crab th
Blue crab thBlue crab th
Blue crab th
 
Blue crab eng
Blue crab engBlue crab eng
Blue crab eng
 
Nsc2012 isan-second round.-koksi
Nsc2012 isan-second round.-koksiNsc2012 isan-second round.-koksi
Nsc2012 isan-second round.-koksi
 
แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์
แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์
แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์
 

เรื่องที่ 1 เครื่องมือและอุปกรณ์ในงานเขียนแบบ

  • 2. เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013 1 ความสําคัญของงานเขียนแบบ หลักในการทํางานเกี่ยวกับงานช่างทุกประเภท หรืองานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์สิ่ง ใหม่ๆ จะต้องมีการเขียนแบบแทรกเข้าไปด้วยทุกชนิดของงาน เช่น งานช่างไฟฟ้า โลหะ งานตัด เย็บเสื้อผ้า หรือก่อสร้าง เป็นต้น หรืออาจจะกล่าวได้ว่างานเขียนแบบเป็นหัวใจของงานทุกชนิดที่ ทําอย่างมีระบบ แม้ในสมัยโบราณการเขียนแบบยังไม่มีการวิวัฒนาการเหมือนในปัจจุบัน แต่ผู้ที่ คิดสร้างสรรค์งานต่างๆก็พยายามถ่ายทอดความคิดลงในแผ่นหิน โดยมิได้มีการแยกชิ้นส่วนให้ เห็นชัด ซึ่งทําให้ไม่สะดวกต่อผู้ที่นําแบบไปสร้างนักแต่ก็ยังดีที่ทําโดยไม่มีแบบแผนเสียเลย ดังนั้นงานเขียนแบบจึงเป็นงานพื้นฐานอีกชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับงานสร้างสรรค์ต่างๆทุก แขนงเพื่อใช้แสดงรูปร่าง และลักษณะของสิ่งที่ต้องการจะสร้างสรรค์ขึ้นมา ขอบข่ายของงานเขียน แบบครอบคลุมสาขาวิชาต่างๆอย่างกว้างขวาง ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นด้าน อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ สิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกต่างๆ บุคลากรทางงานเขียน แบบมักจะถูกกําหนดให้ทํางานคาบเกี่ยวหลายเรื่องหลายสาขา อย่างไรก็ดีแม้คนคนหนึ่งอาจได้รับ มอบหมายให้ทํางานเขียนแบบในสาขาอื่นก็เป็นสิ่งจําเป็นเช่นเดียวกัน ผู้ที่มีความสามารถทางด้าน เขียนแบบกว้างขวางย่อมมีโอกาสที่จะก้าวหน้ามากกว่า วิชาชีพเขียนแบบที่เป็นที่ยอมรับ พอจะจําแนกได้ดังนี้ 1. การเขียนแบบสําหรับผลิตภัณฑ์ 2. การเขียนแบบทางสถาปัตยกรรม 3. การเขียนแบบโครงสร้าง 4. การเขียนแบบเครื่องมือ 5. การเขียนแบบทางไฟฟ้า 6. การเขียนแบบงานท่อ 7. การเขียนแบบทางกําลังของไหล 8. การเขียนแบบแผนที่ 9. การเขียนแบบสิทธิบัตร
  • 3. เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013 2 การเขียนแบบสําหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ ขอบเขตของการเขียนแบบสําหรับการผลิต เกี่ยวกับการจัดทําแบบเพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ แบบอาจแปรผันตั้งแต่แบบร่างภาพเดี่ยวแบบ ง่ายๆ จนกระทั่งถึงแบบแยกชิ้นและแบบประกอบที่ประณีตบรรจงของการออกแบบที่ซับซ้อนใน ทุกกรณี หน้าที่หลัก คือ การเขียนแบบเพื่อแสดงให้เห็นอย่างแน่ชัดว่า ชิ้นส่วนนั้น จะสามารถ ผลิตขึ้นมาได้อย่างไร ผลิตภัณฑ์บางชิ้นอาจใช้แบบเพียงไม่กี่แผ่น แต่ผลิตภัณฑ์บางชิ้นอาจต้องมี แบบจํานวนมาก แบบสําหรับการผลิตสามารถแบ่งอย่างกว้างๆออกเป็น 2 กลุ่ม คือ แบบแยกชิ้น และ แบบประกอบ แบบแยกชิ้นส่วนประกอบด้วยภาพที่มองจากด้านต่างๆ และขนาดที่จําเป็นสําหรับ การผลิตชิ้นส่วนแต่ละชิ้นแบบประกอบ แสดงให้เห็นว่า ชิ้นส่วนทั้งหมดประกอบเข้าด้วยกัน อย่างไร การเขียนแบบทางสถาปัตยกรรม เป็นการเขียนแบบเกี่ยวกับการจัดทําแบบแปลนสําหรับ การก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย และอาคารพาณิชย์ ซึ่งแผนงานจริงและการดําเนินการเกี่ยวกับแบบ ทํางานจะกระทําโดยสถาปนิกผู้มีอํานาจ วิศวกร จัดทําแปลนส่วนที่เกี่ยวกับระบบท่อ ระบบให้ ความร้อน ระบบระบายอากาศของอาคาร ระบบแสงสว่าง แต่หากเป็นอาคารที่อยู่อาศัยขนาดเล็ก สถาปนิกหรือทีมงาน ของสถาปนิกมักเป็นผู้จัดทําแผนงานเองทั้งหมด แผนงานจริงในการก่อสร้างประกอบด้วยงาน 4 ขั้น ด้วยกัน คือ 1) วิเคราะห์สิ่งที่จําเป็นสําหรับอาคารและค่าใช้จ่าย 2) ทําภาพสเก็ตซ์เบื้องต้น เพื่อแสดงการจัดวางห้อง หลัก 3) จัดทําแบบเพื่อแสดงแสดง ประกอบด้วย ทัศนียภาพของอาคาร 4) จัดทําแปลนทํางาน ซึ่งครอบคลุมถึงรายละเอียด ของโครงสร้างที่สําคัญๆของอาคาร การเขียนแบบโครงสร้าง เป็นการเขียนแบบที่เกี่ยวกับการจัดทําแปลนสําหรับการก่อสร้าง อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น ในการทําแบบโครงสร้าง จําเป็นจะต้องใช้เทคนิคพิเศษแสดงรูปทรงสัณฐาน ซึ่งปกติจะใช้สัญลักษณ์ในการแสดงชิ้นของ โครงสร้าง
  • 4. เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013 3 โครงสร้างที่สามัญที่สุด ซึ่งพบเห็นอยู่ทั่วไป ได้แก่ คอนกรีตเสริมเหล็กและโครงเหล็ก ส่วนที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ได้แก่ เสา คาน พื้น บันได ซึ่งอาจตกแต่งผิวภายนอกด้วยอิฐหรือ วัสดุอื่นๆ ส่วนโครงเหล็กนั้น ชิ้นส่วน โครงสร้างแต่ละชิ้นถูกยืดด้วยการเชื่อม ยํ้า หมุดหรือยึดด้วยสกรู แผนงาน (Shop Drawing) แบบออกแบบประกอบด้วยภาพ ด้านต่างๆ ที่จําเป็นสําหรับงานก่อสร้าง เช่น ฐานรากการจัดวางห้อง และรายละเอียดของ โครงสร้าง หน้าที่สําคัญประการหนึ่งของ แบบออกแบบ ก็คือ แสดงแบบแปลนโครง เหล็กของอาคาร สําหรับโครงสร้างที่เป็น คอนกรีตเสริมเหล็ก ก็จะมีแบบ 2 ชุด เช่นเดียวกันซึ่งเรียกว่าแบบทางวิศวกรรมและ แบบก่อสร้าง แบบทางวิศวกรรมเป็นแบบ เกี่ยวกับการจัดวางทั่วไปของโครงสร้าง และ ขนาดของโครงสร้างและเกี่ยวกับส่วนที่มีการ เสริมเหล็ก ส่วนแบบก่อสร้างจะระบุขนาด รูปทรงสัณฐาน และตําแหน่งของเหล็กเส้นทั้งหมดใน โครงสร้าง นอกจากนั้นยังประกอบด้วยรายการของ คานตง พื้น และคานหลัก การเขียนแบบเครื่องมือ การผลิตสินค้าสําเร็จรูปเป็นจํานวนมากๆ จะต้องเกี่ยวข้องกับการ ใช้เครื่องมือและเครื่องจักรเป็นจํานวนนับไม่ถ้วน เพื่อทํางานในขั้นตอนต่างๆซึ่งหลายๆขั้นตอนใน จํานวนนั้นค่อนข้างจะซับซ้อน เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมีราคาตํ่าพอที่จะแข่งกับ ตลาดได้ เครื่องมือการผลิตจะต้องได้รับการออกแบบให้สามารถประกอบติดตั้งได้รวดเร็ว และ เหมาะสม ทางเศรษฐกิจผู้ที่รับผิดชอบในการสร้างเครื่องมือให้มีลักษณะดังกล่าว ได้แก่ นัก ออกแบบเครื่องมือ หรือวิศวกรเครื่องมือ การออกแบบเครื่องมือเป็นสาขาวิชาที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะสูง งานที่ทําได้แก่คิด ประดิษฐ์จิ๊ก ฟิกซ์เจอร์ แม่พิมพ์ ผู้ที่ทํางานเกี่ยวกับงานวิศวกรรมแบบนี้ จะต้องมีความรู้ด้านวัสดุ เป็นอย่างดีมีความเข้าใจอย่างกว้างๆเกี่ยวกับการทํางานในโรงงานเป็นคนช่างประดิษฐ์ด้านเครื่องกล และมีทักษะในด้านการเขียนแบบ
  • 5. เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013 4 จิ๊ก(Jig) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการทํางานที่มี กระบวนการทํางานเหมือนกันซํ้าๆกัน เพื่อให้ ทํางานได้โดยสะดวกและรวดเร็วพร้อมทั้งมีความ เที่ยงตรงสมํ่าเสมอสําหรับการทํางานทุกครั้ง จิ๊ก จะใช้สําหรับงานประเภท เจาะรู คว้านรู ขยาย ปากรู และกัดเกลียวใน หน้าที่หลักของจิ๊กก็คือ จับชิ้นงานให้เข้าที่และนําเครื่องมือ ฟิกซ์เจอร์(Fixture) เป็นเครื่องมือสําหรับ จับชิ้นงานเช่นเดียวกัน แต่ต่างกับจิ๊กซ์ตรงที่ ฟิกซ์เจอร์ จะถูกจับตรึงตายตัวไม่สามารถ เคลื่อนย้ายหรือนําเครื่องมือ เราใช้ฟิกซ์เจอร์ สําหรับการทํางานเกี่ยวกับการปาดผิวหน้า การเจาะรู การเซาะ การเจียระไน การเชื่อมเป็นต้น แม่พิมพ์ (Die) ใช้สําหลับผลิตงานโดยการอัดและการตอกแผ่นโลหะ แม่พิมพ์จําแนกได้ เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ แม่พิมพ์ขึ้นรูป แม่พิมพ์ตัดทํางานเกี่ยวกับการตัดออกจากแผ่น ปั๊มรู และปั๊มรอยบากเป็นต้น แม่พิมพ์ขึ้นรูปออกแบบมาเพื่อขึ้นรูปโลหะแผ่น กระบวนการทํางาน ประกอบด้วย การพับ การพิมพ์นูนและการรีดเป็นต้น การเขียนแบบทางไฟฟ้ า เป็นการจัดทําแบบที่แสดงลักษณะการจัดวางตําแหน่งของวงจร และอุปกรณ์ยึดจับ แบบมักจะอยู่ในรูปของแผนภาพซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้ประโยชน์ทาง สถาปัตยกรรมการจ่ายกําลัง หรือระบบสื่อสาร ลักษณะสําคัญของแผนภาพประเภทนี้ คือ มีการ ใช้สัญลักษณ์ทางกราฟฟิกอย่างกว้างขวาง
  • 6. เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013 5 การเขียนแบบงานท่อ แบบชนิดนี้ จะแสดงตําแหน่ง ชนิด และขนาดของท่อ และตัวจับยึดในระบบท่อ มักจะใช้ สัญลักษณ์กราฟฟิกแทนท่อ ลิ้น และ อุปกรณ์ประกอบ แบบอาจจะเป็นภาพฉาย จากหนึ่งด้าน สองด้าน สามด้าน หรืออาจ เป็นภาพ 3 มิติก็ได้ ตัวท่ออาจเขียนแทน ด้วยเส้นเดี่ยว หรือเส้นคู่ก็ได้ เส้นคู่มักใช้ใน ระบบที่เป็นท่อขนาดใหญ่ ส่วนท่อที่มีขนาด ค่อนข้างเล็กนิยมเขียนแทนด้วยเส้นเดี่ยว มากกว่า การเขียนแบบกําลังของไหล แบบ ชนิดนี้เป็นแผนภาพแสดงอุปกรณ์หลักในระบบไฮดรอลิก แผนภาพเหล่านี้แสดงให้เห็นระบบท่อ ระหว่างชิ้นส่วน ตําแหน่งของชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนที่ และเส้นการไหลของของไหล มีการใช้ สัญลักษณ์แบบกราฟฟิกเพื่อแสดงให้เห็นหน้าที่และธรรมชาติของตัวยึดจับทางไฮดรอลิก การเขียนแบบแผนที่ เป็นการจัดทําแบบที่เป็นแผนที่รังวัดที่ดิน สภาพภูมิประเทศ แผนผัง ที่ตั้งอาคาร อุทกศาสตร์ การบิน และถนน การเขียนแบบสิทธิบัตร เป็นการเขียนแบบเพื่อยื่นเสนอต่อกองสิทธิบัตรของทางราชการ พร้อมกับการยื่นขอรับสิทธิบัตรของสิ่งประดิษฐ์ รูปเขียนแบบนี้ต้องแสดงและแยกแยะส่วนสําคัญ
  • 8. เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013 7 เครื่องมือและอุปกรณ์ ในงานเขียนแบบ การเขียนแบบทั่วๆไปจะสําเร็จสมบูรณ์ถูกต้อง นอกจากจะต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ของผู้เขียนแล้ว นอกจากนี้ยังจะต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์ใช้ในการเขียนแบบที่จะช่วยให้งาน สําเร็จไปได้ด้วยดีมีดังนี้ คือ 2.1 โต๊ะเขียนแบบและกระดานเขียนแบบ การเขียนแบบทางอุตสาหกรรมแทบทั้งหมดใช้โต๊ะ เขียนแบบ แม้ว่าโต๊ะแต่ละชนิดจะมีรายละเอียด โครงสร้างแตกต่างกัน แต่ทั่วๆไปจะมีความสูงที่เป็น มาตรฐาน หรืออาจเป็นชนิดที่สามารถปรับความสูงและ ความเอียงของพื้นโต๊ะให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานได้ พื้นโต๊ะมักจะปูด้วยไวนิลสีเหลืองอ่อนหรือสีขาว เพื่อช่วย ลดแสงสะท้อนแยงตาและทําหน้าที่เป็นพื้นรองที่เรียบ แน่นทําให้เขียนด้วยดินสอได้คมชัด ทั้งมีส่วนที่ช่วย ให้ลบง่ายอีกด้วย ส่วนกระด้านเขียนแบบ มักใช้ใน งานสนาม แค่ก็มีการใช้ในโรงเรียนบ้างเหมือนกัน ในกรณีที่ไม่มีโต๊ะเขียนแบบมาตรฐาน กระดานเขียน แบบเหล่านี้มักทําด้วยไม้สนสีขาว และมีขนาดต่างๆกัน ที่นิยมใช้มากที่สุดคือขนาด 500มม.X 65.มม. ซึ้ง ค่อนข้างกะทัดรัดพกพาได้สะดวก 2.2 เครื่องมือที่ใช้เขียนแบบ มีความสําคัญต่อ งานเขียนแบบมากก่อให้เกิดความเที่ยงตรงความสะดวก ความถูกต้อง ซึ่งประกอบด้วย
  • 9. เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013 8 1. กระดาษเขียนแบบ 2. ไม้ที 3. กล่องเขียนแบบ(ประกอบด้วย ดิไวเดอร์,วงเวียนและชุดประกอบ) 4. บรรทัดสามเหลียม(มุมฉากและ °45 ) 5. บรรทัดสามเหลียม(มุมฉากและ °60 , °30 ) 6. บรรทัดขีดขนานสําหรับเขียนตัวอักษร 7. บรรทัดสามเหลียม(สากลย่อปกติ) 8. บรรทัดสามเหลียม(ชนิดย่อพิเศษ) 9. บรรทัดเขียนส่วนโค้ง 10. บรรทัดสากลองศา 11. ดินสอเขียนแบบ 12. กบเหลาสอ 13. ยางลบดินสอ 14. แผ่นกันลบ 15. ยางลบหมึก 16. แปรงปัดฝุ่น 17. กระดาษปูพื้น 18. เทปติดกระดาษ 19. ด้ามปากกาเขียนแบบ 20. หัวปากกาเขียนแบบ 21. หมึกเขียนแบบ อุปกรณ์การช่วยการเขียนเส้นตรง อุปกรณ์ที่ช่วยในการเขียนเส้นตรง ได้แก่ บรรทัดขนาน (T – Slide) ไม้ที (T – Square) และบรรทัดสามเหลี่ยม (Set – Square) 1. บรรทัดขนาน (T – Slide) บรรทัดชนิดนี้มี เชือกคล้องกับลอกทั้ง 2 ข้าง ของบรรทัด ทําให้สามารถ เคลื่อนที่ขนานกันตลอดเวลา เราสามารถเคลื่อนบรรทัดขึ้น หรือลง โดยออกแรงเลื่อนกระทําต่อส่วนใดก็ได้ตลอด ความยาวของบรรทัด ความยาวโดยทั่วไปของบรรทัด ขนาน คือ 650 มม. 900 มม. และ 1,200 มม.
  • 10. เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013 9 2. ไม้ที (T – Square) ในห้องเขียนแบบอาชีพทั่วไปให้ไม้ทีกันน้อยมาก บรรทัดชนิด นี้มีประโยชน์มากในงานสนาม ซึ้งไม่อาจหาบรรทัดขนานไม้ที โดยทั่วไปมีอยู่ 2 ชนิด คือ ไม้ที แบบมีหัวถอดได้ และแบบที่ถอดหัว ไม่ได้ ความยาวโดยทั่วไปของไม้ที ที่นิยมใช้ คือ 650 มม. 900 มม. และ 1,200 มม. 3. บรรทัดสามเหลี่ยม (Set – Square) ใช่สําหรับเขียนเส้นดิ่งและเส้นเอียง ที่ใช่ทั่วไป 2 แบบ คือ แบบ 45 องศา และแบบ 30-60 องศา บรรทัดสามเหลี่ยมมักทําด้วย พลาสติกใสและมีขนาดต่างๆกันไปตาม ความเหมาะสม อย่างไรก็ตามบรรทัด สามเหลี่ยมแบบปรับได้ ถือว่าเป็นแบบ ที่นิยมมากในงานเขียนแบบ เนื่องจาก สามารถปรับมุมเพื่อขีดเส้นเอียงได้ตาม ต้องการ โดยไม่จําเป็นต้องใช้บรรทัด สามเหลี่ยมหลายอัน นอกจากนี้โปร แทรกเตอร์ที่ติดอยู่กับบรรทัดแบบนี้ทําให้สามารถสร้างมุมใดๆตั้งแต่ 0 องศา – 90 องศา ได้อีกด้วย การใช้ไม้ทีกับเซ็ตลากเส้น การเขียนเส้นตั้ง ก. มุม 45, 45 และ 90 องศา ข. มุม 30, 60 และ 90 องศา
  • 12. เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013 11 4. ดินสอเขียนแบบ (Drafting Pencilsc) ดินสอที่ใช้ใน งานเขียนแบบโดยทั่วไปหากแบ่งตามรูปร่างและลักษณะจะสามารถ แบ่งออกได้ 3 ชนิดด้วยกัน คือ 1) ดินสอเปลือกไม้ ดินสอชนิดนี้จะทํามาจากไม้ เนื้ออ่อน สําหรับความแข็งของไส้ดินสอมีการระบุไว้บนแท่งดินสอ ด้วยตัวเลขกับตัวอักษร สัญลักษณ์นี้เรียงจาก 7B ซึ่งอ่อนที่สุด ต่อ ด้วย 6B 5B 4B 3B 2B B HB F H 2H 3H 4H 5H 6H 7H 8H และ9H ซึ่งแข็งที่สุด ซึ่งเพื่อการสะดวกในการเลือกใช้ดินสอสําหรับ เขียนแบบได้สะดวก อาจแบ่งดินสอตามความแข็งของไส้ออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ ดินสอที่มีไส้อ่อน (Soft Pencils) ได้แก่ ดินสอ เกรด 2B - 7B เหมาะในการใช่เขียนใน งานศิลปะโดยเฉพาะการวาดภาพเขียนแรเงา ดินสอที่มีไส้แข็งปานกลาง (Medium Pencils) ได้แก่ เกรด 3H - B ใช้สําหรับเขียน แบบงานสําเร็จ เช่น เส้นขอบงามแสดงแนวตัด สัญลักษณ์ต่างๆ ดินสอที่มีไส้แข็งแข็ง (Hard Pencils) ได้แก่ เกรด 9H-4H ใช่สําหรับการร่างแบบ ซึ่ง จะทําให้เส้นที่ใช้มีความเบาบาง เช่น การบอกขนาด ส่วนการใช่ดินสอชนิดนี้จะต้องเหลาโดยให้ไส้ดินสอยาวออกไปประมาณ 7 – 10 มม. ซึ่งการเหลาจะนิยมเหลากัน 2 ชนิด คือ การเหลาแบบกรวย และการเหลาแบบลิ่ม เหลาแบบลิ่ม เหลาแบบกรวย 2) ดินสอชนิดต้องเหลาเปลี่ยนไส้ได้ ดินสอชนิดนี้จะมีความโต 2 มม. ลักษณะความแข็ง-อ่อนของไส้ดินสอและการใช้งานจะเหมือนกับดินสอแบบเปลือกไม้ 3) ดินสอชนิดไม่ต้องเหลาเปลี่ยนไส้ได้ ดินสอชนิดนี้จะขีดเส้นได้ มาตรฐาน เช่น 0.7 , 0.5 ,0.3 เป็นต้น ใช้สําหรับเขียนเส้นขอบรูป เส้นเต็มบาง เส้นกําหนด ขนาดได้ตรงตามมาตรฐาน
  • 13. เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013 12 5. วงเวียน เป็นเครื่องมือที่ใช้สําหรับการเขียนส่วนโค้ง หรือวงกลมมีลักษณะเป็นขา สองขาติดกัน โดยสามารถปรับขยายขาให้กว้างหรือแคบได้ ปลายขาข้างหนึ่งจะติดเหล็กปลาย แหลมไว้ส่วนปลายขาอีกข้างจะมีชุดจับยึดดินสอ แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้4 แบบ ดังนี้ 5.1 วงเวียนขนาดเล็ก เป็นวงเวียนที่ใช้เขียนส่วนโค้ง หรือวงกลมที่มีขนาดเล็ก ลักษณะรูปร่างมีขาสองขา โดยขาข้างหนึ่งจะยึดติดเหล็กปลายแหลม ส่วนขาอีกข้างหนึ่งจะมีชุดจับ ยึดดินสอ การขยายความกว้างขาวงเวียนจะใช้สกรูเป็นตัวปรับ โดยมีแรงสปริงเป็นตัวดันไว้ ดัง แสดงในรูปที่ 5.2 (ก) 5.2 วงเวียนขนาดกลาง เป็นวงเวียนที่ใช้เขียนส่วนโค้ง หรือวงกลมขนาดกลางที่ ใช้โดยทั่วไป ดังแสดงในรูปที่ 5.1 (ข) (ก) วงเวียนขนาดเล็ก (ข) วงเวียนขนาดกลาง 5.3 วงเวียนถ่ายขนาด เป็นวงเวียนที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายกับวงเวียนที่ใช้ในงาน เขียนแบบทั่วไปแต่ปลายขาวงเวียนจะเป็นปลายแหลมทั้งสองข้าง ใช้สําหรับวัดระยะขนาดจาก บรรทัดแล้วไปถ่ายขนาดลงบนแบบงาน หรือใช้แบ่งเส้นตรงออกเป็นส่วน ๆ เท่า ๆ กัน ดังแสดงใน รูปที่ 5.2 (ก) 5.4 วงเวียนคาน เป็นวงเวียนที่ใช้สําหรับเขียนส่วนโค้ง หรือวงกลมขนาดใหญ่ มี ส่วนประกอบหลักอยู่ 3 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งเป็นแกนหลักมีลักษณะรูปร่างเป็นคานตรงยาวส่วนที่ สองเป็นชุดเหล็กปลายแหลม และส่วนที่สามเป็นชุดดินสอ ซึ่งส่วนที่สองและสามสามารถเลื่อนไป มาบนคานแกนหลัก และจะมีสกรูที่สามารถล็อกตําแหน่งได้ดังแสดงในรูปที่ 5.2 (ข) (ก) วงเวียนถ่ายขนาด (ข) วงเวียนคาน
  • 14. เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013 13 การใช้วงเวียน 6. ยางลบ ในการเขียนแบบ จําเป็นจะต้องมีการลบเพื่อแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงเป็น ครั้งคราว เส้นดินสอหรือเครื่องหมายอื่นที่สามารถลบออกได้ด้วยยางลบธรรมดา ไม่ควรใช่ ยางลบที่แข็งเกินไปเพราะจะทําให้ผิวของแผ่นวัสดุเขียนแบบซํ้า 7. ดาษเขียนแบบ ขนาดของกระดาษเขียนแบบที่ใช้ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเขียนงานที่มี รูปร่างขนาดเท่าใด ถ้าวัตถุขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ก็ใช้กระดาษแผ่นเล็กเขียน หรือถ้าวัตถุมีขนาดใหญ่ ก็จําเป็นจะต้องใช้กระดาษแผ่นใหญ่ขึ้นเช่นกัน แต่โดยทั่วไปแล้วใช้งานเขียนแบบจะนิยมกระดาษ ขนาดมาตรฐานที่ทางราชการเห็นชอบ ซึ้งมีขนาดนําหน้าด้วยตัวอักษร A ดังแสดงในตาราง มาตรฐาน A0 A1 A2 A3 A4 A5 A6 มม. 840×1189 594×841 420×594 297×420 210×297 148×210 105×148
  • 15. เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเขียนแบบพื้นฐานวิศวกรรม_2013 14 ระยะห่างของขอบกระดาษนั้นควรเหลือมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับขนาดของกระดาษ ส่วนใหญ่จะเริ่มจาก 5 มม. ไปจนถึง 15 มม. ซึ้งอาจจะให้ระยะห่างมากกว่านี้อีกก็ได้แล้วแต่ ลักษณะของกระดาษและการใช้งาน การติดกระดาษเขียนแบบต้องยึดให้เรียบและแน่น วาง กระดาษให้เหมาะสม โดยวางกระดาษขอบบนขนานกับไม้ที หรือวางขอบล่างของกระดาษกับสัน ไม้ทีก็ได้ ดังตัวอย่างที่แสดง ขั้นตอนการติดกระดาษเขียนแบบ (1) วางกระดาษเขียนแบบบนโต๊ะ หรือ กระดาษเขียนแบบ โดยให้ด้านเรียบของกระดาษ อยู่บน ขอบกระดาษแนบกับพื้นและตั้งฉากหรือ ขนานกับไม้ที (2) ติดกระดาษกาวที่มุมบนซ้ายก่อน (3) แนบกระดาษลงมาแล้วติกกระดาษกาวที่มุมขวา (4) แนบกระดาษจากมุมบนซ้ายไปหามุมบนขวาแล้วติดกระดาษกาว (5) แนบกระดาษจากมุมขวาทะแยงลงมามุมล่างซ้ายแล้วติดกระดาษกาว หัวกระดาษหรือตารางเขียนแบบ(Note Column) มีไว้เพื่อให้เขียนรายละเอียดที่สําคัญๆ ของแบบที่เขียนไว้ด้านล่างของแบบ ซึ่งไม่มีรูปแบบบังคับที่แน่นอน ขึ้นจะแตกต่างกันไปตามความต้องการของแต่ละหน่วยงาน เพื่อไม่ให้ เป็นการสับสนในที่นี้ขอให้ใช้รูปแบบดังตัวอย่างที่แสดงให้ดู เนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นงานที่มีขนาดเล็ก ซึ่งหากเป็นกระดาษฟอร์ม นอน ตารางจะอยู่ทางซ้ายมือ ถ้าใช้กระดาษฟอร์มนอน A4 ตารางแบบต้องอยู่ด้านซ้ายเสมอ ชั้น : ว / ด / ป นาม โรงเรียน : เขียนแบบ ตรวจแบบ มาตราส่วน : หมายเลขแบบ :