SlideShare a Scribd company logo
1 of 54
Download to read offline
บทที่ 2
เอกสารและงานที่เกี่ยวข้อง
- ปัญหาและแนวคิด
- ทฤษฏีพหุปัญญากับการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้
- วิธีการสอนเพื่อพัฒนาพหุปัญญา
ทฤษฎีพหุปัญญา
ความหมายและแนวคิด
Gardner (1983) นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้
บุกเบิกนําเสนอแนวคิดใหม่เกี่ยวกับปัญญาของมนุษย์ได้ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของ
ปัญญาและจําแนกปัญญาของคนเราไว้7 ด้านด้วยกันและต่อมาได้เพิ่มเป็น 8 ด้าน โดยทฤษฎีนี้
เรียกว่า“ทฤษฎีพหุปัญญา” ซึ่งความฉลาดหรือเชาวน์ปัญญา (Intelligence)หมายถึง
ความสามารถทางปัญญาหลายด้าน ซึ่งสิ่งที่แต่ละคนแสดงออกมาเป็นสิ่งที่ผสมผสานระหว่าง
พันธ์กรรมกับสิ่งแวดล้อม โดยปัญญาแต่ละด้านไม่ได้แยกขาดจากกัน ในทางตรงกันข้าม ปัญญา
เหล่านี้จะทํางานร่วมกันในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ หรือการสร้างสรรค์ผลงานต่าง
ๆ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กันกับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่งรวมทั้งความสามารถในการตั้ง
ปัญหาเพื่อจะหาคําตอบและเพิ่มพูนความรู้
ปัญญา 8 ด้าน ตามแนวคิดของ การ์ดเนอร์ (Gardner, 1983, p. 88) มีดังนี้
1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
ปัญญาด้านนี้แสดงออกทางความสามารถในการอ่าน การเขียน การพูดอภิปราย การ
สื่อสารกับผู้อื่น การใช้ศัพท์ การแสดงออกของความคิด การประพันธ์ การแต่งเรื่อง การเล่าเรื่อง
เป็นต้น
2. ปัญญาด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์ (Logical–MathematicalIntelligence)
ปัญญาด้านนี้แสดงออกทางความสามารถด้านการให้เหตุผลเชิงตรรกะ คิดโดยใช้
สัญลักษณ์ มีระบบ ระเบียบในการคิด วิเคราะห์แยกแยะสิ่งต่าง ๆ ให้เห็นชัดเจน คิดและทําอะไร
ตามเหตุผล เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ง่าย ชอบและทํางานด้านตัวเลขได้ดี
3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial Intelligence)
ปัญญาด้านนี้แสดงออกทางความสามารถด้านศิลปะ การวาดภาพ การสร้างภาพ การคิด
เป็น การเห็นรายละเอียด การใช้สี การสร้างสรรค์งานต่าง ๆ และมักจะเป็นผู้มองเห็นวิธีการ
แก้ปัญหาในมโนภาพ
4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily – Kinesthetic Intelligence)
ปัญญาทางด้านนี้สังเกตได้จากความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ในการเล่น
กีฬาและเกมต่าง ๆ การใช้ภาษาท่าทาง การแสดง การรํา ฯลฯ
5. ปัญญาด้านดนตรี (MusicalIntelligence)
ปัญญาด้านนี้แสดงออกทางความสามารถในด้านจังหวะการร้องเพลงการฟังเพลงและดนตรี การแต่งเพลงการเต้น
และมีความไวต่อการรับรู้เสียงและจังหวะต่างๆ
6. ปัญญาด้านบุคคลและมนุษยสัมพันธ์ (InterpersonalIntelligence)
ปัญญาด้านนี้แสดงออกถึงความสามารถด้านการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การทํางานกับผู้อื่น การเข้าใจและเคารพผู้อื่น
การแก้ปัญหาความขัดแย้งและการจัดระเบียบผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มักเป็นผู้มีความไวต่อความรู้สึกและความ
ต้องการของผู้อื่น มีความเป็นมิตร ชอบช่วยเหลือและให้คําปรึกษา
7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (IntrapersonalIntelligence)
ปัญญาด้านนี้แสดงออกถึงความสามารถในการเข้าใจตนเองเป็นคนที่ชอบคิด พิจารณาไตร่ตรอง มองตนเองและทํา
ความเข้าใจความรู้สึกและพฤติกรรมของตนเองเป็นคนที่มั่นคงในความคิดความเชื่อต่าง ๆ ใช้เวลาในการคิดไตร่ตรอง
และชอบที่จะคิดคนเดียว ชอบความเงียบสงบปัญญาด้านนี้มักจะเกิดร่วมกับปัญญาด้านอื่น มีลักษณะเป็นปฏิสัมพันธ์
ระหว่างปัญญาอย่างน้อย2 ด้านขึ้นไป
8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (NaturalistIntelligence)
ปัญญาด้านนี้เป็นความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การจําแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่
สิ่งต่าง ๆรอบตัวบุคคลที่มีความสามารถทางนี้มักเป็นผู้รักธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติ ตระหนักในความสําคัญ
ของสิ่งแวดล้อมรอบตัวและมักจะชอบและสนใจสัตว์ชอบเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เป็นต้น
ทฤษฎีพหุปัญญากับการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้
ดิเรก พรสีมา (อ้างใน พีระ รัตนวิจิตร, 2544, หน้า 8) ให้แนวคิดเกี่ยวกับความรู้
ความสามารถของคนเราว่ามีอยู่หลายด้านและเกิดขึ้นมานานแล้วแต่มิได้มีการ
ส่งเสริมอย่างจริงจังนักเรียนทุกคนมีความรู้ความสามารถในการที่จะเรียนรู้แตกต่าง
กันออกไปสิ่งสําคัญครูต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่า นักเรียนแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้
อย่างไร เพื่อที่ครูจะจะสามารถจัดการสอนให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของ
นักเรียนรวมถึงการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนั้น
พหุปัญญาจึงเป็นแนวคิดที่สําคัญที่จะทําให้ครูเปลี่ยนแปลงมุมในการมองนักเรียน
อันจะส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียน นอกจากนี้ยังเป็นการส่งผลให้นักเรียน
ได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพเป็นคนดี คนเก่ง มีความสุขอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี และ
พร้อมที่จะทําประโยชน์ให้กับสังคมต่อไป
วิธีการสอนเพื่อพัฒนาพหุปัญญา
สําหรับวิธีการสอนเพื่อพัฒนาพหุปัญญานั้น อาร์มสตรอง (1994) ได้เสนอกิจกรรมการเรียนการ
สอนดังนี้
1. วิธีการสอนสําหรับปัญญาด้านภาษา ได้แก่
1.1 การจัดกิจกรรมการเล่านิทาน เป็นการสร้างสรรค์เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดจากความคิดของ
ครูผู้สอน มุ่งเน้นการใช้จินตนาการ
1.2 การระดมพลังสมอง เป็นการให้นักเรียนแสดงความคิดออกมาโดยการพูด ครู
เป็นผู้จดทุกความคิดบนกระดานดําและนําความคิดเหล่านี้มาจัดกลุ่มและนําไปเลือกใช้สอดคล้อง
กับแนวคิดของสมศักดิ์ สินธุระเวชญ์(2544, หน้า 13) ซึ่งได้เสนอแนวทางการพัฒนาตนเองของ
นักเรียนในการใช้การระดมสมอง เพื่อที่จะรวบรวมความคิดหรือจุดที่สําคัญ
1.3 การอัดเสียงลงเทป เป็นการบันทึกถ้อยคําของนักเรียนแล้วนํามาเปิดฟังเพื่อร่วมกันวิเคราะห์ใน
ถ้อยคํา
1.4 การเขียนบันทึกประจําวัน เป็นการให้นักเรียนได้เขียนเล่าหรือบรรยายเรื่องราว
ที่ประสบในแต่ละวัน ซึ่งจะมีทั้งข้อคิดคําถาม
1.5 การตีพิมพ์หนังสือ เป็นการนําเสนอผลงานของนักเรียนที่เรียนอยู่ในห้องมาเผยแพร่ให้
รับทราบทั่วกันเพื่อให้ผู้อื่นได้ชื่นชมกับแนวความคิด
2. วิธีการสอนสําหรับปัญญาด้านตรรกะ/ คณิตศาสตร์ ได้แก่
2.1 การคํานวณ และจํานวนเป็นการคํานวณตัวเลขซึ่งอาจจะไม่ใช่ในวิชา
คณิตศาสตร์เสมอไป อาจมีเรื่องราวของการคิดคํานวณในวิชาประวัติศาสตร์ หรือวรรณคดีก็ได้เช่น
การนับปีเพื่อให้อยู่ในชีวิตจริงของนักเรียนตลอดเวลา
2.2 การจัดหมวดหมู่และแยกประเภทเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนจัดหมวดหมู่
เรื่องราวที่ได้ยินได้ฟัง เป็นประเภท หรือชนิดเดียวกัน หรือลําดับเหตุการณ์ตามเนื้อเรื่องซึ่งอาจทํา
ในลักษณะของคําถามที่ขึ้นต้นว่า ใคร อะไร เมื่อไร ที่ไหน ทําไม หรือการใช้แผนภาพความคิด วิธี
สอนรูปแบบที่มีสาระสําคัญอยู่ตรงกลางและมีเนื้อหาประกอบอยู่ด้วยจะช่วยให้จําได้ง่ายขึ้น
2.3 การตั้งคําถามโซกราตีสเป็นการสอนให้คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ โดยครูเป็นผู้ตั้ง
คําถาม ถามความคิดเห็นของนักเรียน โดยเปลี่ยนจากการ “บอก” นักเรียนเป็นการ “สนทนา” แทน
13เพื่อค้นหาความคิด ความเชื่อของนักเรียนเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การตั้งสมมุติฐาน อาจเป็นการ
สมมุติเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งขึ้นมาแล้วให้นักเรียนพูดและคิดวิเคราะห์ออกมา
2.4 วิธีสอนฮิวริสติค เป็นการนําวิธีการสอนแบบต่าง ๆ ตลอดจนกฏเกณฑ์ระเบียบ
ที่มีมาใช้ในการแก้ปัญหา อย่างมีเหตุผล เช่นการเปรียบเทียบเรื่องราวเพื่อการแก้ปัญหา การแยกส่วน
ต่าง ๆ ของปัญหา และเสนอวิธีการแก้ปัญหา แล้วทําเรื่องย้อนกลับไปที่ตอนต้น วิธีนี้เป็นเสมือน
แผนที่เหตุผลให้นักเรียนค้นทางไปสู่วิทยาการที่ยังไม่รู้
2.5 การสอนการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เป็นการสอนคิดตามหลักของเหตุและผลตาม
แนววิทยาศาสตร์ซึ่งสามารถใช้ได้ทุกวิชา เป็นการยกระดับการคิดให้มากและลึกซึ้งยิ่งขึ้น
3. วิธีการสอนสําหรับปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ ได้แก่
3.1 การให้เห็นภาพ เป็นการสอนง่าย ๆ โดยให้นักเรียนแปลข้อความหรือเนื้อหาที่
เรียนให้เป็นภาพ เพื่อส่งเสริมการคิดในใจ หรือเมื่อเรียนเรื่องใดจบลงให้นักเรียนคิดมองเห็นภาพ
ของเรื่องที่เพิ่งศึกษาจบไปซึ่งอาจเป็นทั้งภาพกลิ่น กายสัมผัส หรือเสียงก็ได้เรียนรู้จากภาพยนตร์
วิดีโอ สไลด์เป็นต้น (สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์, 2544, หน้า 13)
3.2 การใช้สี เป็นการใช้สีบอกความแตกต่างเพื่อแทนสัญลักษณ์เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
เช่น ข้อมูลสําคัญใช้สีแดง ข้อมูลสนับสนุนใช้สีเขียว ข้อมูลที่ไม่ชัดเจนใช้สีส้ม หรือใช้สีในการ
แก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น เมื่อพบเรื่องที่แก้ไขไม่ได้ให้ใช้สีที่ชอบที่สุดแทน
3.3 รูปภาพเปรียบเทียบ เป็นการคิดเปรียบเทียบความคิดของตนออกมาเป็นรูปภาพ
เพื่อเกิดความเข้าใจ และจดจําได้ง่าย
3.4 การวาดภาพความคิด เป็นการให้ความสําคัญของการคิดเป็นภาพ โดยให้
นักเรียนวาดภาพแนวคิดสําคัญของเรื่องที่เรียน อาจเป็นการแข่งขันวาดภาพความคิดในหมู่นักเรียน
และนํามาอภิปรายหน้าชั้นเรียนถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาพที่วาดกับหัวเรื่องหรือความคิด
3.5 การใช้สัญลักษณ์กราฟิกเป็นการใช้สัญลักษณ์หรือลวดลายเส้น เช่นการแสดง
สภาวะต่าง ๆ ของสสารที่เป็นของแข็งอาจทําเครื่องหมายหนักๆ ส่วนที่เป็นของเหลวอาจทําเป็น
เส้น บาง ๆ ส่วนที่เป็นแก๊ส อาจใช้เป็นจุด ๆ
4. วิธีสอนสําหรับปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ได้แก่
4.1 ร่างกายพูดตอบเป็นการให้นักเรียนใช้ร่างกายในการสื่อสาร เช่นการยกมือเมื่อ
รู้คําตอบ อาจเป็นการใช้สัญลักษณ์ การยิ้ม หรือชูนิ้ว ถ้าชูนิ้วเดียวแสดงว่าเข้าใจไม่มาก ถ้าชูห้านิ้วแสดงว่าเข้าใจหมด4.2
โรงละครในห้องเรียน เป็นการดึงความสามารถด้านการแสดงออกจากตัวนักเรียนทุกคน โดยให้นักเรียนแสดงบทบาท
จากเรื่องที่เรียน ปัญหาที่ต้องแก้อ่านข้อความและสรุปเป็นท่าทางหรือเป็นการแสดงละครหุ่น
4.3 ความคิดรวบยอดทางกาย เป็นการให้นักเรียนเข้าใจความคิดรวบยอด โดยการ
แสดงท่าทางหรือให้นักเรียนแสดงละครใบ้เพื่อแสดงความคิดรวบยอดที่เรียน เช่นแสดงท่าเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์
เพื่อให้ผู้อื่นทาย
4.4 การคิดด้วยสิ่งของ เป็นการเรียนรู้จากการได้สัมผัสของจริง นักเรียนที่มีปัญญา
สูงทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวจะเรียนจะทําได้ดี ถ้าได้หยิบจับของหรือจับต้องสิ่งของด้วยมือของตนเองครูได้
นําสิ่งของมาเป็นอุปกรณ์ในการเรียนของนักเรียน เช่น แท่งใบไม้บล็อกชนิดต่างๆ หรือการเรียนเรื่องประเพณีชาว
อินเดียแดงก็มีการสร้างกระโจมที่อยู่เพื่อให้เข้ากับเนื้อหาที่เรียน
4.5 แผนที่ร่างกาย เป็นการเรียนรู้โดยใช้ร่างกายของมนุษย์ซึ่งอาจนํามาใช้เป็นสื่อ
ในการสอนได้เช่นให้เป็นจุดต่าง ๆ ของแผนที่ นอกจากนี้ร่างกายยังใช้เป็นอุปกรณ์ในการเรียนเลข
5. วิธีการสอนสําหรับปัญญาด้านดนตรีได้แก่
5.1 ดิสโกกราฟีส์ เป็นการใช้เทปประกอบการสอนในเรื่องต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับ
สถานการณ์ที่เกิดขึ้น และนําเรื่องราวในเพลงมาอภิปรายถึงความสัมพันธ์ของเนื้อหาที่ต้องการ
สอนหรือเริ่มต้นในเนื้อหาจากบทเพลงเพื่อเข้าสู่เนื้อหาของการเรียน หรือใช้เพลงในการสรุป
ความคิดรวบยอด
5.2 ดนตรีช่วยจํา เป็นวิธีที่นักวิจัยในยุโรปตะวันออกค้นพบว่านักเรียนจะจําเรื่องราวที่ครูสอนได้
ดี ถ้าครูอธิบายโดยใช้ดนตรีมาประกอบร่วมในเนื้อเรื่องที่เล่า
5.3 ความคิดรวบยอดดนตรี เป็นการใช้เสียง หรือจังหวะดนตรีมาประกอบเรื่องราว
หรือรูปร่างต่าง ๆ เช่นวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ก็อาจใช้แทนเส้นเสียง หรือการใช้เสียงแทน
ตัวละครในเรื่องที่ต้องการสอน
5.4 ดนตรีตามอารมณ์ เป็นการจัดหาทํานองดนตรีที่จะเหมาะสมกับบทเรียนเช่นในการอ่านนว
นิยายที่เกี่ยวกับทะเลครูอาจเปิดเทปให้ได้ยินเสียงคลื่นกระทบฝั่ง เป็นต้น
6. วิธีการสอนสําหรับปัญญาด้านบุคคลและมนุษยสัมพันธ์ ได้แก่
6.1 แบ่งปันกับเพื่อนเป็นการให้นักเรียนหันหน้าเข้าหากันและคิดตั้งคําถามเกี่ยวกับเรื่องที่จบไป หรือการที่ครูจะเริ่ม
ขึ้นต้นบทเรียนใหม่ครูอาจให้นักเรียนพูดถึงความรู้พื้นฐานที่นักเรียนเคยเรียนมาก่อน หรือการจัดกิจกรรม “เพื่อนเกลอ”
โดยให้แต่ละคู่ทํางานด้วยกัน กําหนดระยะเวลาของการร่วมคิด ปรึกษาหารือกัน
6.2 มนุษย์แกะสลักเป็นการนําบุคคลกลุ่มหนึ่งมาแสดงท่าทางแทนความคิด
เรื่องราว ถือว่าเป็นเรื่อง “ของมนุษย์แกะสลัก”เช่นในวิชาพีชคณิตเราอาจจะจัดตัวนักเรียนให้เป็นรูปสมการต่าง ๆ หรือ
ในวิชาภาษาเราอาจจะสอนสะกดคํา โดยให้แต่ละคนถือบัตรพยัญชนะหรือสระ เมื่อครูเอ่ยพยัญชนะสระใด ให้นักเรียน
เจ้าของพยัญชนะหรือสระนั้นไปยืนเข้าแถวเพื่อให้สะกดคําได้และอาจให้นักเรียนช่วยออกคําสั่งด้วย
6.3 กลุ่มร่วมใจ เป็นการทํางานกลุ่มเล็กๆ เพื่อไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ลักษณะสําคัญ
ของการเรียนแบบกลุ่มร่วมใจ คืออาจจัดจํานวนสมาชิก 3 – 8 คน เพื่อร่วมใจกันทํางานตามวิธีของ
แต่ละกลุ่มเช่นบางกลุ่มเวลาทํางานก็จะแบ่งกันทําเป็นตอน ๆ คนหนึ่งทําตอนต้น คนหนึ่งทํา
ตอนกลาง อีกคนทําตอนจบหรือบางกลุ่มอาจจะใช้วิธีการทํางานแบบ“ปริศนาตัดต่อ” (Jigsaw)คือ
แต่ละคนรับงานเป็นส่วน ๆ แล้วนํามารวมต่อกัน โดยมีการแบ่งหน้าที่และบทบาทซึ่งวิธีการนี้
เหมาะกับ ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นอย่างมากเพราะในกลุ่มได้รวมนักเรียนที่ถนัดคนละอย่างนักเรียน
ได้มีโอกาสแสดงความสามารถของตนเองได้เป็นอย่างดี(อารี สันหฉวี, 2543, หน้า 77 – 78)
6.4 บอร์ดเกม เป็นวิธีที่นักเรียน จะเรียนอย่างสนุกสนานในสถานการณ์สังคมใน
ระดับต้นนักเรียนจะโยนลูกเต๋า สนทนา อภิปรายถึงกฎกติกาในขั้นที่สูงขึ้นนักเรียนจะเรียนทักษะ
หรือเนื้อหาจากเกมครูอาจสร้างบอร์ดเกมได้ง่ายโดยใช้กระดาษแข็งปากกา ลูกเต๋า และรูปหุ่นต่าง ๆ
เพื่อใช้เป็นสื่อ ปรับหัวเรื่องให้เข้ากับแต่ละวิชา มีการตั้งคําถามปลายเปิดแล้วให้นักเรียนตอบโดย
อิสระ แล้วสลับกันทอดลูกเต๋าไปเรื่อยๆ
7. วิธีการสอนสําหรับปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง ได้แก่
7.1 การคิดตรึกตรองครั้งละ1 นาที เป็นการให้นักเรียนได้ฝึกคิดทบทวนตนเองเช่นในระหว่างที่ครูสอนอาจให้เวลานอก
แก่นักเรียนครั้งละ 1 นาทีเพื่อคิดตรึกตรองถึงเรื่องที่เรียนเวลา 1 นาที นอกจากจะช่วยให้นักเรียนได้หยุดคิดแล้วก็ยังเป็น
การเตรียมตัวสําหรับกิจกรรมต่อไปด้วยการคิดตรึกตรองนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะเวลาที่ครูสอนเรื่องสําคัญ
จบลง
7.2 การสร้างความสัมพันธ์กับตนโดยตรง เป็นการให้นักเรียนตั้งคําถามเกี่ยวกับตนเอง ซึ่งจะเป็นการพัฒนาปัญญาด้านการ
เข้าใจตนเอง
7.3 โอกาสในการเลือกเป็นการให้นักเรียนได้ตัดสินใจเลือกในบางสิ่งบางอย่างโดยเฉพาะกับนักเรียนที่ถนัดปัญญาด้าน
การเข้าใจตนเอง การฝึกให้ตัดสินใจเลือกมีลักษณะเหมือนการฝึกของนักกีฬายกนํ้าหนักกล่าวคือ จะต้องมีโอกาสฝึกอย่าง
สมํ่าเสมอ ยิ่งมีโอกาสฝึกมากกล้ามเนื้อก็ยิ่งแข็งแรงมากการฝึกให้นักเรียนได้ตัดสินใจเลือกบ่อย ๆ ก็จะช่วยให้กล้ามเนื้อ
แห่งความรับผิดชอบ แข็งแรงขึ้น อาจเริ่มจากการให้โอกาสฝึกในเรื่องเล็ก ๆ ก่อน ครูควรพยายามคิดหาประสบการณ์และ
โอกาสให้นักเรียนได้ตัดสินใจเลือกให้มากๆ
7.4 เกิดอารมณ์ เป็นการฝึกให้นักเรียนได้ใช้สมองแห่งอารมณ์ คือมีการสร้างบรรยากาศเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้มีอารมณ์
ร่วม ครูจึงต้องให้นักเรียนได้ยิ้ม ได้หัวเราะ ได้วิตกกังวล หรือเศร้า ครูอาจสร้างความรู้สึกให้แก่นักเรียนเช่น มีความตื่นเต้น
ในเรื่องที่กําลังเรียน อยากรู้เรื่องที่เรียนมากขึ้น หรือมีความรู้สึกเศร้าตามเนื้อหา ควรให้นักเรียนแสดงอารมณ์ได้อย่าง
ปลอดภัยไม่ส่งเสริมให้มีการตําหนิ วิจารณ์ ครูควรยอมรับอารมณ์ต่าง ๆ ของนักเรียน และจัดประสบการณ์
ให้เกิดอารมณ์ เช่นหนังสือ ภาพยนตร์ หรือประเด็นปัญหาสังคม
7.5 การตั้งจุดหมายเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนตั้งจุดมุ่งหมายเพื่อความสําเร็จในชีวิตของบุคคล ครูควรฝึกให้นักเรียนตั้ง
จุดมุ่งหมายทุกวัน วิธีการที่จะประเมินว่านักเรียนถึงจุดมุ่งหมายหรือไม่ อาจจะดูจากบันทึกประจําวัน กราฟแสดงผลงาน
8. วิธีการสอนสําหรับปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา ได้แก่
8.1 กิจกรรมการสังเกตธรรมชาติรอบข้าง โดยนําเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียน
การสอน เช่นการปลูกต้นไม้ ศึกษาการเจริญเติบโต โดยการบันทึก หรือถ่ายภาพ
8.2 บันทึกข้อสังเกตที่ได้จากการพบเห็นในชีวิตประจําวันเพื่อนํามาสู่การอภิปราย
ต่าง ๆ
8.3 การจําแนก และจัดประเภทของสิ่งที่พบเห็น เป็นการฝึกให้นักเรียนได้มองเห็น
ความต่างหรือความเหมือนในธรรมชาติรอบตัว
8.4 ฝึกให้รักและเห็นคุณค่าของธรรมชาติรอบตัว เป็นการสร้างความตระหนักใน
ตัวนักเรียนกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว
8.5 ศึกษาธรรมชาติจากการเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติ โครงการเลี้ยงสัตว์
หรือ เยี่ยมชมแหล่งการเรียนรู้ในการเลี้ยงสัตว์
การเรียนการสอนคณิตศาสตร์
- ความสําคัญของคณิตศาสตร์
- ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
- วิธีการเรียนและวิธีการสอนคณิตศาสตร์
การเรียนการสอนคณิตศาสตร์
ความสําคัญของคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์มีความสําคัญและมีบทบาทมากในชีวิตประจําวันของคนเรา ความเจริญในวิทยาการทุกแขนงต้องอาศัย
หลักการทางคณิตศาสตร์ทั้งสิ้น คณิตศาสตร์ช่วยพัฒนาความคิดเห็นของนักเรียน ให้สามารถคิดอย่างมีระบบมีเหตุผล และ
สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมีนักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงลักษณะสําคัญของคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้
บุญทัน อยู่ชมบุญ (2529, หน้า 2 ) ได้กล่าวถึงลักษณะสําคัญของคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้
1. คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิด พิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่าสิ่งที่เราคิดนั้นเป็นจริงหรือไม่ ดังนั้นเราจึงนําคณิตศาสตร์
ไปใช้ในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมต่างๆ คณิตศาสตร์ช่วยให้คนมีเหตุผล ใฝ่รู้ พยายาม
คิดค้นสิ่งแปลกใหม่ คณิตศาสตร์จึงเป็นรากฐานแห่งความเจริญในด้านต่างๆ
2. คณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง คณิตศาสตร์มีภาษาเฉพาะของตัวเองซึ่งเป็นภาษาที่กําหนดขึ้นด้วยสัญลักษณ์ที่รัดกุม
และสื่อความหมายได้ถูกต้องมีตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์แทนความคิด และเข้าใจความหมายที่ตรงกัน
3. คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีโครงสร้าง โดยจะเริ่มต้นด้วยเรื่องที่ง่าย ๆ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานนําไปสู่เรื่องอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์
กันอย่างต่อเนื่อง
4. คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีแบบแผน การคิดในทางคณิตศาสตร์ไม่ว่าเรื่องใดก็ตามจะต้องคิดในแบบแผน มีรูปแบบ ทุก
ขั้นตอนจะตอบโต้และจําแนกออกมาให้เห็นจริงได้
5. คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับศิลปะอื่นๆ ความงามทางคณิตศาสตร์คือ ความมีระเบียบ และความ
กลมกลืน นักคณิตศาสตร์ได้พยายามแสดงความคิด จินตนาการความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะแสดงสิ่งใหม่ ๆ ทาง
คณิตศาสตร์ออกมา
ทักษะ กระบวนการทางคณิตศาสตร์
ทักษะ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ เป็นสาระที่ 6 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ประกอบด้วย
1. การแก้ปัญหา
2 การให้เหตุผล
3. การสื่อสาร การสื่อความหมาย การนําเสนอ
4. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
วิธีการเรียนและวิธีการสอนคณิตศาสตร์
1. สอนโดยคํานึงถึงความพร้อมของนักเรียน
2. การจัดกิจกรรมการสอนต้องให้เหมาะสมกับวัย ความต้องการ ความสนใจ
3. ควรคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
4. ควรเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์
5. วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีระบบที่จะต้องเรียนไปตามลําดับขั้น การสอน
เพื่อสร้าง ความคิด ความเข้าใจ
6. การสอนแต่ละครั้งจะต้องมีจุดประสงค์ที่แน่นอน
7. เวลาที่ใช้สอน ควรใช้ระยะเวลาพอสมควรไม่นานจนเกินไป
8. ครูควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีการยืดหยุ่นให้นักเรียน
9. การสอนที่ดีควรเปิดโอกาสให้นักเรียนมีการวางแผนร่วมกับครู
10. การสอนคณิตศาสตร์ควรให้นักเรียนมีโอกาสทํางานร่วมกัน
11. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรสนุกสนานบันเทิงไปพร้อมกับ
การเรียนรู้
12. นักเรียนจะเรียนได้ดีเมื่อเริ่มเรียนโดยครูใช้ของจริง
13. การประเมินผลการเรียนการสอนเป็นกระบวนการต่อเนื่องและเป็นส่วน
หนึ่งของการเรียนการสอน
14. ไม่ควรจํากัดวิธีคํานวณหาคําตอบของนักเรียน แต่ควรแนะนําวิธีคิดที่
รวดเร็ว และแม่นยําภายหลัง
15. ฝึกให้นักเรียนรู้จักตรวจเช็คคําตอบด้วยตัวเอง
กรมวิชาการ (2538, หน้า 13) ได้เสนอขั้นตอนวิธีการเรียนคณิตศาสตร์ เพื่อให้
นักเรียนบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรโดยให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
1. ฝึกการสังเกต
2. วิเคราะห์
3. คิดหาเหตุผล
4. สรุปหลักการและความคิดรวบยอด
5. ลงมือทํา
6. ตรวจสอบความถูกต้อง
7. สามารถนําความรู้ไปใช้ในชีวิตประจําวันและแก้ปัญหาได้
8. ศึกษาเอกสารเพิ่มเติมเพื่อให้รู้จริง
ประสิทธิภาพจึงควรใช้วิธีสอนหลายวิธี ซึ่งสามารถสรุปวิธีสอนต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. วิธีการเรียนด้วยตนเอง
2. วิธีการเรียนด้วยตนเองประกอบการบรรยาย
3. วิธีการเรียนด้วยการระดมสมอง
4. วิธีปาฐกถาหรือบรรยาย
5. วิธีอภิปราย เป็นวิธีที่ครูและนักเรียนร่วมมือกันคิดค้นหาเหตุผลมาสนับสนุน
6. วิธีค้นพบ เป็นการแนะให้นักเรียนค้นพบหลักการทางคณิตศาสตร์ด้วยตนเอง
7. วิธีสาธิต
8. วิธีการสอนโดยใช้การอุปนัย
9. วิธีการสอนโดยใช้การนิรนัย เป็นวิธีการใช้กฎเกณฑ์ คําจํากัดความ กติกา
10. วิธีแก้ปัญหา
11. วิธีทดลอง
12. วิธีสอนแบบบทเรียนโปรแกรมหรือบทเรียนสําเร็จรูป
วิธีการสอนแบบบูรณาการ
- การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
- หลักการพื้นฐานของแนวความคิดแบบบูรณาการ
- ลักษณะสําคัญของการบูรณาการ
- รูปแบบของการบูรณาการ
วิธีการสอนแบบบูรณาการ
ความหมายของคําว่าบูรณาการทางการศึกษานั้นมีผู้ให้ความหมายที่มีลักษณะ
ใกล้เคียงกันดังนี้คือ
Dewey (1933, อ้างใน วิลาวัลย์จําปาแก้ว, 2547) กล่าวว่า ความรู้ต่าง ๆ
สามารถนํามาเชื่อมโยงความคิดรวบยอด เนื้อหาวิชาที่มีในหลักสูตรได้หลาย
วิชา และการเชื่อมโยงจะช่วยให้นักเรียนสามารถนําประสบการณ์ต่าง ๆ ที่
ได้รับการเรียนการสอนไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่การเรียนรู้ร่วมกัน
จะนําไปสู่การรู้และ เข้าใจโลกรอบตัว และความสามารถในการจัดวางตัวเอง
ได้อย่างเหมาะควรในสังคมที่ตนอาศัยอยู่ ความพยายามและความร่วมมือกัน
จะนําไปสู่การเรียนรู้ร่วมกัน
การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
แนวคิดของแนวทางการบูรณาการเกิดขึ้นมานานแล้วภูมิหลังแนวคิดการบูรณาการ
สามารถแยกออกได้2 ฝ่าย คือ
1. แนวคิดแบบตะวันตก แนวคิดเกี่ยวกับการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนแบบ
บูรณาการถือกําเนิดขึ้นในสมัยของ ดิวอี้ (1933, อ้างใน วิลาวัลย์จําปาแก้ว, 2547) ใน
สมัยที่เรียกว่า Progressive Education การจัดการศึกษาในยุคดังกล่าว ได้รับอิทธิพล
จากนักปรัชญาชาวเยอรมัน ชื่อเฮอร์บาร์ท (1890, อ้างใน วิลาวัลย์จําปาแก้ว, 2547)
ซึ่งมีความเชื่อในเรื่องการศึกษาว่าเราสามารถเชื่อมโยงความคิดรวบยอดของวิชาต่าง
ๆ ที่มีในหลักสูตรได้อย่างน้อย 2 วิชาขึ้นไป
และด้วยวิธีการเชื่อมโยงดังกล่าวจะส่งผลให้นักเรียนสามารถนําประสบการณ์ต่าง ๆ
ที่ได้รับจากการเรียนการสอนไปประยุกต์ใช้ได้ในสถานการณ์ใหม่ ๆ หรือเรื่องที่จะ
เรียนรู้ใหม่ได้ต่อไป
2. แนวคิดบูรณาการแบบตะวันออก
1. ศีล
2. สมาธิ
3. ปัญญา
หลักการพื้นฐานของแนวคิดแบบบูรณาการ
1. นักเรียนทุกคนมีบทบาทรับผิดชอบต่อตนเองและกลุ่ม
2. นักเรียนทุกคนมีส่วนเรียนรู้ร่วมกัน
3. การแสดงออกของนักเรียนมีมากขึ้น
4. มีความยืดหยุ่นและสมดุล
5. ความชัดเจนในเรื่องความคิดรวบยอดและทักษะต่าง ๆ
6. ผู้สอนเป็นนักเรียนและนักวิจัย
ลักษณะสําคัญของการบูรณาการ
1. เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้
2. เป็นการบูรณาการระหว่างพัฒนาการทางด้านความรู้และทางด้าน
จิตใจ
3. เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้และการปฏิบัติ
4. เป็นการบูรณาการระหว่างสิ่งที่อยู่ในห้องเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ใน
ชีวิตจริง
5. เป็นการบูรณาการระหว่างวิชาต่าง ๆ
การประเมินผลตามสภาพจริง
- แนวคิดและหลักการประเมินตามสภาพจริง
- ขั้นตอนการประเมินตามสภาพจริง
- เทคนิควิธีการที่ใช้ในการประเมินตามสภาพ
จริง
การประเมินตามสภาพจริง
แนวคิดและหลักการประเมินตามสภาพจริง
การประเมินตามสภาพจริงเป็นการประเมินจากการปฏิบัติงานหรือ
กิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยงานหรือกิจกรรมที่มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติจะ
เป็นงานหรือสถานการณ์ที่เป็นจริงใกล้เคียงกับชีวิตจริง จึงเป็นงานที่
ซับซ้อน และเป็นองค์รวม มากกว่างานปฏิบัติในกิจกรรมการเรียนทั่วไป
ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญในด้านการวัดและประเมินผลกล่าวถึงแนวคิดและหลักการ
ประเมินตามสภาพจริง
ขั้นตอนการประเมินตามสภาพจริง
การประเมินตามสภาพจริงมีการดําเนินงานตามขั้นตอนต่อไปนี้ (ส.วาสนา
ประวาลพฤกษ์, 2544, หน้า 1)
1. กําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการประเมิน
2. กําหนดขอบเขตในการประเมิน
3. กําหนดผู้ประเมิน
4. เลือกใช้เทคนิคและเครื่องมือในการประเมิน
5. กําหนดเวลาและสถานที่ที่จะประเมิน
6. วิเคราะห์ผลและวิธีการจัดการข้อมูลการประเมิน
7. กําหนดเกณฑ์ในการประเมิน
เทคนิค วิธีการที่ใช้ในการประเมินตามสภาพจริง
1. การสังเกต
2. ระเบียบพฤติกรรม
3. ตัวอย่างผลงาน
4. แถบเสียง
5. วิดีโอเทป
6. ถ่ายภาพ
7. บันทึกประจําวันของนักเรียน
8. บันทึกความก้าวหน้าของนักเรียน
9. สังคมมิติ
10. การทดสอบแบบเป็นทางการ
11. การสัมภาษณ์นักเรียน
12. แบบสํารวจ
13. บันทึกปฏิทินประจําวัน
14. การตรวจงาน
15. การรายงานตนเอง
16. การใช้บันทึกจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
17. การใช้ข้อสอบแบบเน้นการปฏิบัติจริง
18. การประเมินโดยใช้แฟ้ มสะสมงาน
การวิจัยเชิงปฏิบัติการและการวิจัยในชั้นเรียน
- ความหมายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
- จุดมุ่งหมายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
- หลักการของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
- ประเภทของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการและการวิจัยในชั้นเรียน
ความหมายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
ยาใจ พงษ์บริบูรณ์ ( 2537 ) ได้ให้ความหมายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการว่า
เป็นการวิจัยประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้กระบวนการการปฏิบัติอย่างมีระบบ โดยผู้วิจัย
และผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ และวิเคราะห์วิจารณ์ผลการปฏิบัติจาก
การใช้วงจร 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การลงมือ การทํา การสังเกต และการ
สะท้อนการปฏิบัติ การดําเนินการต่อเนื่องไปจะนําไปสู่การปรับแผนเข้าสู่วงจร
ใหม่จนกว่าจะได้ข้อสรุปที่แก้ไขปัญหาได้จริง เพื่อพัฒนาสภาพการณ์ของสิ่งที่ได้
ศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
รูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน
ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
1. ขั้นเตรียมการ (PrePlan Stage)
2. ขั้นวางแผน (Plan Stage)
3. ขั้นปฏิบัติและรวบรวมข้อมูล (Act and Observe)
4. ขั้นทบทวนและประเมินผลเพื่อปรับแผน ( Reflect:
Review and Evaluate Cycle)
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพหุปัญญา
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพหุปัญญาทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ยังไม่เป็นที่
ปรากฏแต่อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการนํากระบวนการพัฒนาพหุปัญญา
ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบูรณาการวิชา
คณิตศาสตร์ ดังนี้ คือมยุรี เจริญภักดี (2544) ที่ศึกษาวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอนโดยใช้กระบวนการพัฒนาพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สําหรับ
ครูผู้สอนระดับก่อนประถมศึกษาที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาพหุ
ปัญญาเพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย” และผลที่ได้จากการใช้กระบวนการพัฒนาพหุ
ปัญญาเพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย พบว่าผู้สอนมีวิธีการจัดกิจกรรมโดยมีการ
วางแผนและขั้นตอนการดําเนินงานโดยกําหนดจุดประสงค์
ลงมือปฏิบัติพร้อมกับควบคุมและติดตามผลส่วนใหญ่ใช้กิจกรรมเกมและการ
เคลื่อนไหวและพฤติกรรมทางพหุปัญญาที่เด็กแสดงออกทุกด้านได้รับการ
พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องอาริยา จิตรมิตร (2544) ที่ศึกษาผลการสอนตามแนวพหุ
ปัญญาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียน
ได้รับการสอนตามแนวพหุปัญญามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสนใจต่อ
วิชาสังคมศึกษาดีกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนตามคู่มือครูอย่างมีนัยสําคัญทาง
สถิติที่ระดับ .05
อัญชลี ศรีกลชาญ (2546) ได้พัฒนาแบบวัดพหุปัญญาสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ตอนต้น ซึ่งเป็นแบบวัดพหุปัญญาจํานวน 60 ข้อ ผลการวิจัยได้ดังนี้
1 ) ความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในตามวิธีการของครอนบาคของแบบวัดพหุ
ปัญญาทั้งฉบับ เท่ากับ 0.84 มีดัชนีความยากของข้อสอบระหว่าง 0.39 – 0.83 มีดัชนี
อํานาจจําแนกของข้อสอบระหว่าง 0.21 – 0.85
2 ) แบบวัดพหุปัญญามีความตรงเชิงโครงสร้างอยู่ในเกณฑ์ดี องค์ประกอบ 8
องค์ประกอบ และข้อสอบทั้ง 60 ข้อ มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.50 มีค่าไค-สแควร์
(Chi-square)เท่ากับ 1204.27 ; p = 1.00 ที่องศาอิสระเท่ากับ 1461 และดัชนีวัดระดับ
ความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ
0.95 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.94 ดัชนีวัด
ความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00
3) ปกติวิสัยของแบบวัดพหุปัญญาจําแนกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ผู้ที่มีพหุปัญญา
ระดับสูงมีตําแหน่งเปอร์เซนไทล์ตั้งแต่ 78 ขึ้นไป ผู้ที่มีพหุปัญญาระดับปาน
กลาง มีตําแหน่งเปอร์เซนไทล์อยู่ระหว่าง 24 – 77.9 ผู้ที่มีพหุปัญญาระดับตํ่า
มีตําแหน่งเปอร์เซนไทล์ตั้งแต่ 23.9 ลงไป ขึ้นไป
บทที่ 3
วิธีดําเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนพัฒนา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และพหุปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนยกกระบัตรวิทยาคม อําเภอสามเงา จังหวัดตาก
กลุ่มเป้ าหมาย
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียน
ยกกระบัตรวิทยาคม อําเภอสามเงา จังหวัดตาก จํานวน 24 คน ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์
พื้นฐานค31101 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550
กรอบแนวคิดในการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนที่ผู้วิจัย
ประยุกต์จากรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของกิตติพร ปัญญาภิญโญผล
(2540) ประกอบด้วยขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ
รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
1. ขั้นเตรียมการ ( Preplan Stage )
2. ขั้นวางแผน ( Plan Stage )
3. ขั้นปฏิบัติและรวบรวมข้อมูล ( Act and Observe )
4.ขั้นทบทวนและประเมินผลเพื่อปรับแผน ( Reflect or
Review and Evaluate Cycle )
1.ขั้นเตรียมการ
(Preplan Stage)
2. ขั้นวางแผน
(Plan Stage)
2.1 ศึกษาปัญหา หาสาเหตุ และวิธีการแก้ปัญหา
2.2 วางแผนการสร้างเครื่องมือการวิจัยการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล สร้างเครื่องมือ
และ การผลิตสื่ออุปกรณ์การสอน
2.3 ทําแผนการจัดการเรียนรู้/ปรับแผนการจัดการเรียนรู้
3. ขั้นปฏิบัติและรวบรวมข้อมูล
(Act and Observe)
3.1 วัดความรู้พื้นฐาน 3.2 ปรับพื้นฐาน
3.3 การสอนเนื้อหาใหม่ 3.4 วัดผลความรู้เนื้อหาใหม่
3.5 สอบหลังเรียน 3.6 ผลการวัดและการซ่อมเสริม
4. ขั้นทบทวนและประเมินผลเพื่อปรับแผน
(Reflector Reviewand Evaluate Cycle) เมื่อจบบทเรียน
วิธีการสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีขั้นตอนในการสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือดังนี้
1. แบบทดสอบทางคณิตศาสตร์ ใช้วัดความรู้ความเข้าใจและทักษะการคิดคํานวณและ
ปัญญาด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์ ประกอบด้วย
1.1 แบบทดสอบความรู้พื้นฐาน เป็นแบบทดสอบเพื่อวินิจฉัยความรู้พื้นฐานก่อน
เรียน โดยผู้วิจัยสร้างขึ้นเองโดยมีวิธีการสร้างเครื่องมือดังนี้
1 ) ศึกษาเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค33101 เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตรและ
เรื่องความคล้าย
2 ) วิเคราะห์เนื้อหาที่เป็นความรู้พื้นฐานในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเรียน ซึ่งเป็น
ความรู้ต่อเนื่องกันในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3
3 ) ร่างแบบทดสอบ
4 ) นําไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา
5 ) ทําการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ
6 ) จัดพิมพ์ฉบับตัวอย่างแล้วนําไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3
ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค33101ที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายจํานวน 5 คน ทําแบบทดสอบ
7 ) หาข้อบกพร่องของแบบทดสอบ แก้ไขข้อบกพร่อง
8 ) จัดพิมพ์และนําไปใช้กับนักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
2. แบบทดสอบพหุปัญญา เป็นวัดปัญญาแต่ละด้านของนักเรียนซึ่งเป็นแบบทดสอบ
เลือกตอบ 4 ตัวเลือกการตรวจให้คะแนนถ้าตอบถูกให้ 1 คะแนนถ้าตอบผิดให้ 0 คะแนนโดยผู้วิจัย
สร้างขึ้นเอง มีวิธีสร้างเครื่องมือดังนี้
1 ) ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับทฤษฎีพหุปัญญาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีพหุปัญญา และสร้าง
กรอบจุดประสงค์การประเมินเกี่ยวกับพหุปัญญา
2 ) สร้างแบบทดสอบวัดพหุปัญญาตามกรอบนิยามที่ประเมินแต่ละด้านจํานวน 8ด้าน ด้านละ10
ข้อ รวม 80 ข้อ
3 ) ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยตรวจสอบค่าดัชนีความสอดคล้อง(IOC) ระหว่างข้อ
คําถามกับจุดประสงค์การประเมินพหุปัญญาตามกรอบนิยามที่ประเมินปัญญาแต่ละด้าน โดย
ผู้เชี่ยวชาญจํานวน 5 คน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่สอนในกลุ่มสาระภาษาไทย วิทยาศาสตร์ศิลปะ พลศึกษา
และการงานอาชีพและเทคโนโลยี เลือกข้อสอบที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง(IOC)ระหว่าง 0.50 - 1.00
4 ) ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ ของผู้เชี่ยวชาญ
5 ) จัดพิมพ์แล้วนําไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1โรงเรียนยกกระบัตรวิทยาคม
อําเภอสามเงา จังหวัดตาก ที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย จํานวน 33 คนทําแบบทดสอบ
6 ) หาค่าความยากง่ายรายข้อของแบบทดสอบโดยใช้เทคนิค 25% คัดเลือกข้อสอบที่มีความยากง่าย
0.20 - 0.80
3. แบบประเมินตนเองด้านพหุปัญญา เป็นแบบประเมินตนเองแบบมาตราส่วน
ประเมินค่า3 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยมีวิธีการสร้างเครื่องมือดังนี้
1 ) ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับทฤษฎีพหุปัญญาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎี
พหุปัญญา
2 ) กําหนดเนื้อหาและพฤติกรรมด้านพหุปัญญาที่ต้องการให้นักเรียนประเมิน
3 ) สร้างรายการประเมินพหุปัญญาที่ต้องการด้านละ 5 ข้อ
4 ) ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมของแบบประเมิน
5 ) ปรับปรุงแก้ไขตามคําแนะนําของผู้เชี่ยวชาญ
6 ) จัดพิมพ์และนําไปใช้เก็บข้อมูลกับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
4. รูบริคส์ประเมินพหุปัญญา ได้แก่ 1) ปัญญาด้านภาษา 2) ปัญญาด้านตรรกะ/
คณิตศาสตร์ 3) ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ 4) ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
5) ปัญญาด้านดนตรี 6) ปัญญาด้านบุคคลและมนุษยสัมพันธ์ 7) ปัญญาด้านการ
เข้าใจตนเอง 8) ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา ใช้ในการสังเกตและประเมินการ
ปฏิบัติงาน การทํากิจกรรมการเรียนรู้ และพฤติกรรมของนักเรียนตามผลการ
เรียนรู้ที่คาดหวังในแต่ละแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นั้น ๆ
5. แบบประเมินการทําสมุดเล่มเล็ก
6. แบบประเมินการนําเสนอหน้าชั้นเรียน
7. รูบริคส์ประเมินการแต่งโจทย์ปัญหาและแสดงวิธีทํา
8. แบบบันทึกหลังการสอนสําหรับครู
9. แบบบันทึกการสอนซ่อมเสริม
10. แบบบันทึกการเรียนรู้สําหรับนักเรียน
เครื่องมือข้อที่ 8-10 มีวิธีการสร้างเครื่องมือดังนี้
1 ) กําหนดเนื้อหา และทําฉบับร่าง ตามลักษณะของข้อมูลที่ต้องการ
2 )ให้อาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสม และทําการ
ปรับปรุงแก้ไขตามคําแนะนํา
3 ) จัดพิมพ์และนําไปใช้เก็บรวบรวมกับนักเรียน
11. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร จํานวน 15 แผน แผนละ 1
ชั่วโมงเรื่องความคล้าย จํานวน 15 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 30 ชั่วโมง โดย
แต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ ใช้การจัดกิจกรรมหลากหลายและเหมาะสมกับเนื้อหา
เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาพหุปัญญาของนักเรียนมีวิธีการสร้าง
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ก่อนดําเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผู้วิจัยได้ให้นักเรียนประเมินปัญญาตัวเอง
ทั้ง 8ด้าน
2. ทดสอบก่อนเรียน ด้วยแบบทดสอบก่อนเรียนของแต่ละหน่วยการเรียนรู้
จํานวน 10 ข้อ
3. ดําเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้
4. ในระหว่างดําเนินกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้วิจัยสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนใน
การแสดงออกถึงทักษะกระบวนการในการเรียนคณิตศาสตร์
5. เมื่อสิ้นสุดบทเรียนได้มีการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์
6. ในกรณีที่นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินพฤติกรรมร้อยละ78 จะแจ้งให้
นักเรียนทราบทุกครั้ง
7. ในกรณีที่นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การวัดผลสัมฤทธิ์ร้อยละ70 ของคะแนนเต็ม
ผู้วิจัยได้ดําเนินการสอนซ่อมเสริม
8. หลังจากสิ้นสุดกระบวนการแล้วประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และให้
นักเรียนทําแบบทดสอบ
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด ที่ได้จากเครื่องมือ แบ่งเป็น 2 ลักษณะดังนี้
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
1. กําหนดให้นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
คณิตศาสตร์ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ขั้นตํ่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม
2. พหุปัญญาของนักเรียน วิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ ของคะแนนพหุปัญญาแต่ละด้านและ
คะแนนรวม จากการสังเกตพฤติกรรมในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้จากรูบริคส์ประเมินพหุปัญญา
ซึ่งกําหนดให้นักเรียนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด ผ่านเกณฑ์ขั้นตํ่าร้อยละ 78 ของ
คะแนนเต็ม หลังเสร็จสิ้นทุกหน่วยการเรียนรู้
3. พหุปัญญาของนักเรียน จากการทําแบบทดสอบวัดพหุปัญญาของนักเรียนในแต่ละด้าน
กําหนดให้นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด เป็นผู้ที่มีพหุปัญญาระดับสูง
ผู้วิจัยได้ใช้ร้อยละเทียบระดับพหุปัญญาเป็น 3 ระดับ ตามคะแนนปกติวิสัยของการหาค่า
ปกติวิสัยจากการทําแบบทดสอบพหุปัญญาของอัญชลี ศรีกลชาญ (2546, หน้า 142-145) ได้แก่ ผู้ที่
มีพหุปัญญาระดับสูง มีตําแหน่งเปอร์เซนไทล์ตั้งแต่ 78 ขึ้นไป ผู้ที่มีพหุปัญญาระดับ
ปานกลาง มีตําแหน่งเปอร์เซนไทล์อยู่ระหว่าง 24 – 77.9 ผู้ที่มีพหุปัญญาระดับตํ่า มี
ตําแหน่งเปอร์เซนไทล์ตั้งแต่23.9 ลงไป ผู้วิจัยได้ใช้ร้อยละในการเปรียบเทียบระดับ
พหุปัญญาดังนี้
ร้อยละ 78 - 100 มีพหุปัญญาระดับสูง
ร้อยละ 24 - 77.9 มีพหุปัญญาระดับปานกลาง
ร้อยละ 0 - 23.9 มีพหุปัญญาระดับตํ่า
เปรียบเทียบช่วงคะแนนดิบกับระดับปัญญาของแบบทดสอบพหุปัญญาสําหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ดังตาราง 1(อัญชลี ศรีกลชาญ, 2546, หน้า 142-145)
ตาราง 1 เกณฑ์การเทียบช่วงคะแนนดิบกับระดับปัญญาของแบบทดสอบพหุปัญญา
สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
เป็นการแจกแจงข้อค้นพบในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ นํามาสรุปผลงานวิจัยและแสดง
ให้เห็นแนวทางหรือรูปแบบการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องที่ทําการ
วิจัย ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลที่ได้จาก
1. แบบบันทึกหลังการสอนสําหรับครู แบบบันทึกการเรียนรู้สําหรับนักเรียน แบบ
บันทึกการสอนซ่อมเสริม เพื่อช่วยในการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์พหุปัญญา ของ
นักเรียนในการพัฒนาพหุปัญญา เพื่อปรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการ
เรียนรู้ และสรุปเป็นภาพรวมตามรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน
2. ใช้การอ่านสมุดเล่มเล็กวิเคราะห์ภาพรวมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ความ
พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ต่อผู้วิจัย และใช้ในการวิเคราะห์
ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง จากการเขียนสะท้อนความรู้ ความรู้สึกต่อการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ของนักเรียนวิเคราะห์ปัญญาด้านภาษา จากการเขียน วิเคราะห์ปัญญาด้านมิติ
สัมพันธ์จากการเขียนเชื่อมโยง
ความสัมพันธ์ วิเคราะห์ปัญญาด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์ จากกระบวนการทํางาน
ทางคณิตศาสตร์ความถูกต้องของเนื้อหา ความถูกต้องของการคํานวณ
Power point นำเสนองานวิจัย

More Related Content

What's hot

แบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการแบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการsomdetpittayakom school
 
การวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
การวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัยการวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
การวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัยTupPee Zhouyongfang
 
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘Duangnapa Inyayot
 
เกณฑ์การประเมินรูบริคส์
เกณฑ์การประเมินรูบริคส์เกณฑ์การประเมินรูบริคส์
เกณฑ์การประเมินรูบริคส์Lamai Fungcholjitt
 
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6 กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6 Bom Anuchit
 
การวัดและประเมินผลตามหลักสูตรฯ 51
การวัดและประเมินผลตามหลักสูตรฯ 51การวัดและประเมินผลตามหลักสูตรฯ 51
การวัดและประเมินผลตามหลักสูตรฯ 51oieseau1
 
ค่าอำนาจจำแนก
ค่าอำนาจจำแนก ค่าอำนาจจำแนก
ค่าอำนาจจำแนก Jeerapob Seangboonme
 
แบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจแบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจDuangnapa Inyayot
 
แผ่นพับแนะนำตนเอง สำหรับประเมิน คศ.2 ประเมิน คศ.3 แผ่นพับสัมภาษณ์ครูผู้ช่วย
แผ่นพับแนะนำตนเอง สำหรับประเมิน คศ.2  ประเมิน คศ.3 แผ่นพับสัมภาษณ์ครูผู้ช่วยแผ่นพับแนะนำตนเอง สำหรับประเมิน คศ.2  ประเมิน คศ.3 แผ่นพับสัมภาษณ์ครูผู้ช่วย
แผ่นพับแนะนำตนเอง สำหรับประเมิน คศ.2 ประเมิน คศ.3 แผ่นพับสัมภาษณ์ครูผู้ช่วยKiiKz Krittiya
 
แผ่นพับสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
แผ่นพับสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ รองผู้อำนวยการสถานศึกษาแผ่นพับสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
แผ่นพับสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ รองผู้อำนวยการสถานศึกษาNontaporn Pilawut
 
30 เทคนิคการสอน
30 เทคนิคการสอน30 เทคนิคการสอน
30 เทคนิคการสอนKobwit Piriyawat
 
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง0804900158
 
แบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานแบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานpacharawalee
 
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPA
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPAคำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPA
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPAณัฐพล แสงทวี
 

What's hot (20)

แบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการแบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการ
 
การวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
การวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัยการวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
การวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
 
หน้าปก
หน้าปกหน้าปก
หน้าปก
 
การนำเสนองานวิจัย
การนำเสนองานวิจัยการนำเสนองานวิจัย
การนำเสนองานวิจัย
 
แบบประเมินโครงการ
แบบประเมินโครงการ แบบประเมินโครงการ
แบบประเมินโครงการ
 
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘
 
ปก
ปกปก
ปก
 
เกณฑ์การประเมินรูบริคส์
เกณฑ์การประเมินรูบริคส์เกณฑ์การประเมินรูบริคส์
เกณฑ์การประเมินรูบริคส์
 
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6 กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
 
การวัดและประเมินผลตามหลักสูตรฯ 51
การวัดและประเมินผลตามหลักสูตรฯ 51การวัดและประเมินผลตามหลักสูตรฯ 51
การวัดและประเมินผลตามหลักสูตรฯ 51
 
ค่าอำนาจจำแนก
ค่าอำนาจจำแนก ค่าอำนาจจำแนก
ค่าอำนาจจำแนก
 
แบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจแบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจ
 
แผ่นพับแนะนำตนเอง สำหรับประเมิน คศ.2 ประเมิน คศ.3 แผ่นพับสัมภาษณ์ครูผู้ช่วย
แผ่นพับแนะนำตนเอง สำหรับประเมิน คศ.2  ประเมิน คศ.3 แผ่นพับสัมภาษณ์ครูผู้ช่วยแผ่นพับแนะนำตนเอง สำหรับประเมิน คศ.2  ประเมิน คศ.3 แผ่นพับสัมภาษณ์ครูผู้ช่วย
แผ่นพับแนะนำตนเอง สำหรับประเมิน คศ.2 ประเมิน คศ.3 แผ่นพับสัมภาษณ์ครูผู้ช่วย
 
แผ่นพับสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
แผ่นพับสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ รองผู้อำนวยการสถานศึกษาแผ่นพับสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
แผ่นพับสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
 
เกณฑ์การประกวดผลงานวันภาษาไทย 55
เกณฑ์การประกวดผลงานวันภาษาไทย 55เกณฑ์การประกวดผลงานวันภาษาไทย 55
เกณฑ์การประกวดผลงานวันภาษาไทย 55
 
30 เทคนิคการสอน
30 เทคนิคการสอน30 เทคนิคการสอน
30 เทคนิคการสอน
 
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
 
การโต้วาที
การโต้วาทีการโต้วาที
การโต้วาที
 
แบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานแบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงาน
 
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPA
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPAคำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPA
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPA
 

Similar to Power point นำเสนองานวิจัย

ครูมือใหม่
ครูมือใหม่ครูมือใหม่
ครูมือใหม่panggoo
 
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่Ailada_oa
 
Presentation 5
Presentation 5Presentation 5
Presentation 5moohmed
 
แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัย
แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัยแนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัย
แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัยkhanidthakpt
 
บทความวิชาการ
บทความวิชาการบทความวิชาการ
บทความวิชาการSupattra Rakchat
 
สถานการณ์ปัญหาพุทธิปัญญานิยม
สถานการณ์ปัญหาพุทธิปัญญานิยมสถานการณ์ปัญหาพุทธิปัญญานิยม
สถานการณ์ปัญหาพุทธิปัญญานิยมUraiwan Chankan
 
สถานการณ์ปัญหาพุทธิปัญญานิยม
สถานการณ์ปัญหาพุทธิปัญญานิยมสถานการณ์ปัญหาพุทธิปัญญานิยม
สถานการณ์ปัญหาพุทธิปัญญานิยมpimporn454
 
Constructivismใหม่j
Constructivismใหม่jConstructivismใหม่j
Constructivismใหม่jDarika Roopdee
 
ครูมือใหม่
ครูมือใหม่ครูมือใหม่
ครูมือใหม่Pitsiri Lumphaopun
 
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ 4 mat
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ 4 matเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ 4 mat
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ 4 matSiriphan Kristiansen
 
09.chapter6 the learning sciences
09.chapter6 the learning sciences09.chapter6 the learning sciences
09.chapter6 the learning sciencesKruBeeKa
 
ครูมือใหม่
ครูมือใหม่ครูมือใหม่
ครูมือใหม่noiiso_M2
 

Similar to Power point นำเสนองานวิจัย (20)

ภารกิจครูมือใหม่
ภารกิจครูมือใหม่ภารกิจครูมือใหม่
ภารกิจครูมือใหม่
 
ครูมือใหม่
ครูมือใหม่ครูมือใหม่
ครูมือใหม่
 
ครูมือใหม่
ครูมือใหม่ครูมือใหม่
ครูมือใหม่
 
ครูมือใหม่
ครูมือใหม่ครูมือใหม่
ครูมือใหม่
 
บทความวิชาการ
บทความวิชาการบทความวิชาการ
บทความวิชาการ
 
ครูมือใหม่
ครูมือใหม่ครูมือใหม่
ครูมือใหม่
 
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่
 
ครูมือใหม่
ครูมือใหม่ครูมือใหม่
ครูมือใหม่
 
Presentation 5
Presentation 5Presentation 5
Presentation 5
 
แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัย
แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัยแนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัย
แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัย
 
บทความวิชาการ
บทความวิชาการบทความวิชาการ
บทความวิชาการ
 
สถานการณ์ปัญหาพุทธิปัญญานิยม
สถานการณ์ปัญหาพุทธิปัญญานิยมสถานการณ์ปัญหาพุทธิปัญญานิยม
สถานการณ์ปัญหาพุทธิปัญญานิยม
 
สถานการณ์ปัญหาพุทธิปัญญานิยม
สถานการณ์ปัญหาพุทธิปัญญานิยมสถานการณ์ปัญหาพุทธิปัญญานิยม
สถานการณ์ปัญหาพุทธิปัญญานิยม
 
Constructivismใหม่j
Constructivismใหม่jConstructivismใหม่j
Constructivismใหม่j
 
Constructivismใหม่j
Constructivismใหม่jConstructivismใหม่j
Constructivismใหม่j
 
ครูมือใหม่
ครูมือใหม่ครูมือใหม่
ครูมือใหม่
 
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ 4 mat
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ 4 matเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ 4 mat
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ 4 mat
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
09.chapter6 the learning sciences
09.chapter6 the learning sciences09.chapter6 the learning sciences
09.chapter6 the learning sciences
 
ครูมือใหม่
ครูมือใหม่ครูมือใหม่
ครูมือใหม่
 

Power point นำเสนองานวิจัย

  • 3. ทฤษฎีพหุปัญญา ความหมายและแนวคิด Gardner (1983) นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ บุกเบิกนําเสนอแนวคิดใหม่เกี่ยวกับปัญญาของมนุษย์ได้ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของ ปัญญาและจําแนกปัญญาของคนเราไว้7 ด้านด้วยกันและต่อมาได้เพิ่มเป็น 8 ด้าน โดยทฤษฎีนี้ เรียกว่า“ทฤษฎีพหุปัญญา” ซึ่งความฉลาดหรือเชาวน์ปัญญา (Intelligence)หมายถึง ความสามารถทางปัญญาหลายด้าน ซึ่งสิ่งที่แต่ละคนแสดงออกมาเป็นสิ่งที่ผสมผสานระหว่าง พันธ์กรรมกับสิ่งแวดล้อม โดยปัญญาแต่ละด้านไม่ได้แยกขาดจากกัน ในทางตรงกันข้าม ปัญญา เหล่านี้จะทํางานร่วมกันในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ หรือการสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กันกับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่งรวมทั้งความสามารถในการตั้ง ปัญหาเพื่อจะหาคําตอบและเพิ่มพูนความรู้
  • 4. ปัญญา 8 ด้าน ตามแนวคิดของ การ์ดเนอร์ (Gardner, 1983, p. 88) มีดังนี้ 1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence) ปัญญาด้านนี้แสดงออกทางความสามารถในการอ่าน การเขียน การพูดอภิปราย การ สื่อสารกับผู้อื่น การใช้ศัพท์ การแสดงออกของความคิด การประพันธ์ การแต่งเรื่อง การเล่าเรื่อง เป็นต้น 2. ปัญญาด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์ (Logical–MathematicalIntelligence) ปัญญาด้านนี้แสดงออกทางความสามารถด้านการให้เหตุผลเชิงตรรกะ คิดโดยใช้ สัญลักษณ์ มีระบบ ระเบียบในการคิด วิเคราะห์แยกแยะสิ่งต่าง ๆ ให้เห็นชัดเจน คิดและทําอะไร ตามเหตุผล เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ง่าย ชอบและทํางานด้านตัวเลขได้ดี 3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial Intelligence) ปัญญาด้านนี้แสดงออกทางความสามารถด้านศิลปะ การวาดภาพ การสร้างภาพ การคิด เป็น การเห็นรายละเอียด การใช้สี การสร้างสรรค์งานต่าง ๆ และมักจะเป็นผู้มองเห็นวิธีการ แก้ปัญหาในมโนภาพ 4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily – Kinesthetic Intelligence) ปัญญาทางด้านนี้สังเกตได้จากความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ในการเล่น กีฬาและเกมต่าง ๆ การใช้ภาษาท่าทาง การแสดง การรํา ฯลฯ
  • 5. 5. ปัญญาด้านดนตรี (MusicalIntelligence) ปัญญาด้านนี้แสดงออกทางความสามารถในด้านจังหวะการร้องเพลงการฟังเพลงและดนตรี การแต่งเพลงการเต้น และมีความไวต่อการรับรู้เสียงและจังหวะต่างๆ 6. ปัญญาด้านบุคคลและมนุษยสัมพันธ์ (InterpersonalIntelligence) ปัญญาด้านนี้แสดงออกถึงความสามารถด้านการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การทํางานกับผู้อื่น การเข้าใจและเคารพผู้อื่น การแก้ปัญหาความขัดแย้งและการจัดระเบียบผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มักเป็นผู้มีความไวต่อความรู้สึกและความ ต้องการของผู้อื่น มีความเป็นมิตร ชอบช่วยเหลือและให้คําปรึกษา 7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (IntrapersonalIntelligence) ปัญญาด้านนี้แสดงออกถึงความสามารถในการเข้าใจตนเองเป็นคนที่ชอบคิด พิจารณาไตร่ตรอง มองตนเองและทํา ความเข้าใจความรู้สึกและพฤติกรรมของตนเองเป็นคนที่มั่นคงในความคิดความเชื่อต่าง ๆ ใช้เวลาในการคิดไตร่ตรอง และชอบที่จะคิดคนเดียว ชอบความเงียบสงบปัญญาด้านนี้มักจะเกิดร่วมกับปัญญาด้านอื่น มีลักษณะเป็นปฏิสัมพันธ์ ระหว่างปัญญาอย่างน้อย2 ด้านขึ้นไป 8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (NaturalistIntelligence) ปัญญาด้านนี้เป็นความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การจําแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่ สิ่งต่าง ๆรอบตัวบุคคลที่มีความสามารถทางนี้มักเป็นผู้รักธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติ ตระหนักในความสําคัญ ของสิ่งแวดล้อมรอบตัวและมักจะชอบและสนใจสัตว์ชอบเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เป็นต้น
  • 6. ทฤษฎีพหุปัญญากับการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ดิเรก พรสีมา (อ้างใน พีระ รัตนวิจิตร, 2544, หน้า 8) ให้แนวคิดเกี่ยวกับความรู้ ความสามารถของคนเราว่ามีอยู่หลายด้านและเกิดขึ้นมานานแล้วแต่มิได้มีการ ส่งเสริมอย่างจริงจังนักเรียนทุกคนมีความรู้ความสามารถในการที่จะเรียนรู้แตกต่าง กันออกไปสิ่งสําคัญครูต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่า นักเรียนแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ อย่างไร เพื่อที่ครูจะจะสามารถจัดการสอนให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของ นักเรียนรวมถึงการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนั้น พหุปัญญาจึงเป็นแนวคิดที่สําคัญที่จะทําให้ครูเปลี่ยนแปลงมุมในการมองนักเรียน อันจะส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียน นอกจากนี้ยังเป็นการส่งผลให้นักเรียน ได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพเป็นคนดี คนเก่ง มีความสุขอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี และ พร้อมที่จะทําประโยชน์ให้กับสังคมต่อไป
  • 7. วิธีการสอนเพื่อพัฒนาพหุปัญญา สําหรับวิธีการสอนเพื่อพัฒนาพหุปัญญานั้น อาร์มสตรอง (1994) ได้เสนอกิจกรรมการเรียนการ สอนดังนี้ 1. วิธีการสอนสําหรับปัญญาด้านภาษา ได้แก่ 1.1 การจัดกิจกรรมการเล่านิทาน เป็นการสร้างสรรค์เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดจากความคิดของ ครูผู้สอน มุ่งเน้นการใช้จินตนาการ 1.2 การระดมพลังสมอง เป็นการให้นักเรียนแสดงความคิดออกมาโดยการพูด ครู เป็นผู้จดทุกความคิดบนกระดานดําและนําความคิดเหล่านี้มาจัดกลุ่มและนําไปเลือกใช้สอดคล้อง กับแนวคิดของสมศักดิ์ สินธุระเวชญ์(2544, หน้า 13) ซึ่งได้เสนอแนวทางการพัฒนาตนเองของ นักเรียนในการใช้การระดมสมอง เพื่อที่จะรวบรวมความคิดหรือจุดที่สําคัญ 1.3 การอัดเสียงลงเทป เป็นการบันทึกถ้อยคําของนักเรียนแล้วนํามาเปิดฟังเพื่อร่วมกันวิเคราะห์ใน ถ้อยคํา 1.4 การเขียนบันทึกประจําวัน เป็นการให้นักเรียนได้เขียนเล่าหรือบรรยายเรื่องราว ที่ประสบในแต่ละวัน ซึ่งจะมีทั้งข้อคิดคําถาม 1.5 การตีพิมพ์หนังสือ เป็นการนําเสนอผลงานของนักเรียนที่เรียนอยู่ในห้องมาเผยแพร่ให้ รับทราบทั่วกันเพื่อให้ผู้อื่นได้ชื่นชมกับแนวความคิด
  • 8. 2. วิธีการสอนสําหรับปัญญาด้านตรรกะ/ คณิตศาสตร์ ได้แก่ 2.1 การคํานวณ และจํานวนเป็นการคํานวณตัวเลขซึ่งอาจจะไม่ใช่ในวิชา คณิตศาสตร์เสมอไป อาจมีเรื่องราวของการคิดคํานวณในวิชาประวัติศาสตร์ หรือวรรณคดีก็ได้เช่น การนับปีเพื่อให้อยู่ในชีวิตจริงของนักเรียนตลอดเวลา 2.2 การจัดหมวดหมู่และแยกประเภทเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนจัดหมวดหมู่ เรื่องราวที่ได้ยินได้ฟัง เป็นประเภท หรือชนิดเดียวกัน หรือลําดับเหตุการณ์ตามเนื้อเรื่องซึ่งอาจทํา ในลักษณะของคําถามที่ขึ้นต้นว่า ใคร อะไร เมื่อไร ที่ไหน ทําไม หรือการใช้แผนภาพความคิด วิธี สอนรูปแบบที่มีสาระสําคัญอยู่ตรงกลางและมีเนื้อหาประกอบอยู่ด้วยจะช่วยให้จําได้ง่ายขึ้น 2.3 การตั้งคําถามโซกราตีสเป็นการสอนให้คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ โดยครูเป็นผู้ตั้ง คําถาม ถามความคิดเห็นของนักเรียน โดยเปลี่ยนจากการ “บอก” นักเรียนเป็นการ “สนทนา” แทน 13เพื่อค้นหาความคิด ความเชื่อของนักเรียนเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การตั้งสมมุติฐาน อาจเป็นการ สมมุติเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งขึ้นมาแล้วให้นักเรียนพูดและคิดวิเคราะห์ออกมา 2.4 วิธีสอนฮิวริสติค เป็นการนําวิธีการสอนแบบต่าง ๆ ตลอดจนกฏเกณฑ์ระเบียบ ที่มีมาใช้ในการแก้ปัญหา อย่างมีเหตุผล เช่นการเปรียบเทียบเรื่องราวเพื่อการแก้ปัญหา การแยกส่วน ต่าง ๆ ของปัญหา และเสนอวิธีการแก้ปัญหา แล้วทําเรื่องย้อนกลับไปที่ตอนต้น วิธีนี้เป็นเสมือน แผนที่เหตุผลให้นักเรียนค้นทางไปสู่วิทยาการที่ยังไม่รู้ 2.5 การสอนการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เป็นการสอนคิดตามหลักของเหตุและผลตาม แนววิทยาศาสตร์ซึ่งสามารถใช้ได้ทุกวิชา เป็นการยกระดับการคิดให้มากและลึกซึ้งยิ่งขึ้น
  • 9. 3. วิธีการสอนสําหรับปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ ได้แก่ 3.1 การให้เห็นภาพ เป็นการสอนง่าย ๆ โดยให้นักเรียนแปลข้อความหรือเนื้อหาที่ เรียนให้เป็นภาพ เพื่อส่งเสริมการคิดในใจ หรือเมื่อเรียนเรื่องใดจบลงให้นักเรียนคิดมองเห็นภาพ ของเรื่องที่เพิ่งศึกษาจบไปซึ่งอาจเป็นทั้งภาพกลิ่น กายสัมผัส หรือเสียงก็ได้เรียนรู้จากภาพยนตร์ วิดีโอ สไลด์เป็นต้น (สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์, 2544, หน้า 13) 3.2 การใช้สี เป็นการใช้สีบอกความแตกต่างเพื่อแทนสัญลักษณ์เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ข้อมูลสําคัญใช้สีแดง ข้อมูลสนับสนุนใช้สีเขียว ข้อมูลที่ไม่ชัดเจนใช้สีส้ม หรือใช้สีในการ แก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น เมื่อพบเรื่องที่แก้ไขไม่ได้ให้ใช้สีที่ชอบที่สุดแทน 3.3 รูปภาพเปรียบเทียบ เป็นการคิดเปรียบเทียบความคิดของตนออกมาเป็นรูปภาพ เพื่อเกิดความเข้าใจ และจดจําได้ง่าย 3.4 การวาดภาพความคิด เป็นการให้ความสําคัญของการคิดเป็นภาพ โดยให้ นักเรียนวาดภาพแนวคิดสําคัญของเรื่องที่เรียน อาจเป็นการแข่งขันวาดภาพความคิดในหมู่นักเรียน และนํามาอภิปรายหน้าชั้นเรียนถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาพที่วาดกับหัวเรื่องหรือความคิด 3.5 การใช้สัญลักษณ์กราฟิกเป็นการใช้สัญลักษณ์หรือลวดลายเส้น เช่นการแสดง สภาวะต่าง ๆ ของสสารที่เป็นของแข็งอาจทําเครื่องหมายหนักๆ ส่วนที่เป็นของเหลวอาจทําเป็น เส้น บาง ๆ ส่วนที่เป็นแก๊ส อาจใช้เป็นจุด ๆ
  • 10. 4. วิธีสอนสําหรับปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ได้แก่ 4.1 ร่างกายพูดตอบเป็นการให้นักเรียนใช้ร่างกายในการสื่อสาร เช่นการยกมือเมื่อ รู้คําตอบ อาจเป็นการใช้สัญลักษณ์ การยิ้ม หรือชูนิ้ว ถ้าชูนิ้วเดียวแสดงว่าเข้าใจไม่มาก ถ้าชูห้านิ้วแสดงว่าเข้าใจหมด4.2 โรงละครในห้องเรียน เป็นการดึงความสามารถด้านการแสดงออกจากตัวนักเรียนทุกคน โดยให้นักเรียนแสดงบทบาท จากเรื่องที่เรียน ปัญหาที่ต้องแก้อ่านข้อความและสรุปเป็นท่าทางหรือเป็นการแสดงละครหุ่น 4.3 ความคิดรวบยอดทางกาย เป็นการให้นักเรียนเข้าใจความคิดรวบยอด โดยการ แสดงท่าทางหรือให้นักเรียนแสดงละครใบ้เพื่อแสดงความคิดรวบยอดที่เรียน เช่นแสดงท่าเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ เพื่อให้ผู้อื่นทาย 4.4 การคิดด้วยสิ่งของ เป็นการเรียนรู้จากการได้สัมผัสของจริง นักเรียนที่มีปัญญา สูงทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวจะเรียนจะทําได้ดี ถ้าได้หยิบจับของหรือจับต้องสิ่งของด้วยมือของตนเองครูได้ นําสิ่งของมาเป็นอุปกรณ์ในการเรียนของนักเรียน เช่น แท่งใบไม้บล็อกชนิดต่างๆ หรือการเรียนเรื่องประเพณีชาว อินเดียแดงก็มีการสร้างกระโจมที่อยู่เพื่อให้เข้ากับเนื้อหาที่เรียน 4.5 แผนที่ร่างกาย เป็นการเรียนรู้โดยใช้ร่างกายของมนุษย์ซึ่งอาจนํามาใช้เป็นสื่อ ในการสอนได้เช่นให้เป็นจุดต่าง ๆ ของแผนที่ นอกจากนี้ร่างกายยังใช้เป็นอุปกรณ์ในการเรียนเลข
  • 11. 5. วิธีการสอนสําหรับปัญญาด้านดนตรีได้แก่ 5.1 ดิสโกกราฟีส์ เป็นการใช้เทปประกอบการสอนในเรื่องต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น และนําเรื่องราวในเพลงมาอภิปรายถึงความสัมพันธ์ของเนื้อหาที่ต้องการ สอนหรือเริ่มต้นในเนื้อหาจากบทเพลงเพื่อเข้าสู่เนื้อหาของการเรียน หรือใช้เพลงในการสรุป ความคิดรวบยอด 5.2 ดนตรีช่วยจํา เป็นวิธีที่นักวิจัยในยุโรปตะวันออกค้นพบว่านักเรียนจะจําเรื่องราวที่ครูสอนได้ ดี ถ้าครูอธิบายโดยใช้ดนตรีมาประกอบร่วมในเนื้อเรื่องที่เล่า 5.3 ความคิดรวบยอดดนตรี เป็นการใช้เสียง หรือจังหวะดนตรีมาประกอบเรื่องราว หรือรูปร่างต่าง ๆ เช่นวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ก็อาจใช้แทนเส้นเสียง หรือการใช้เสียงแทน ตัวละครในเรื่องที่ต้องการสอน 5.4 ดนตรีตามอารมณ์ เป็นการจัดหาทํานองดนตรีที่จะเหมาะสมกับบทเรียนเช่นในการอ่านนว นิยายที่เกี่ยวกับทะเลครูอาจเปิดเทปให้ได้ยินเสียงคลื่นกระทบฝั่ง เป็นต้น
  • 12. 6. วิธีการสอนสําหรับปัญญาด้านบุคคลและมนุษยสัมพันธ์ ได้แก่ 6.1 แบ่งปันกับเพื่อนเป็นการให้นักเรียนหันหน้าเข้าหากันและคิดตั้งคําถามเกี่ยวกับเรื่องที่จบไป หรือการที่ครูจะเริ่ม ขึ้นต้นบทเรียนใหม่ครูอาจให้นักเรียนพูดถึงความรู้พื้นฐานที่นักเรียนเคยเรียนมาก่อน หรือการจัดกิจกรรม “เพื่อนเกลอ” โดยให้แต่ละคู่ทํางานด้วยกัน กําหนดระยะเวลาของการร่วมคิด ปรึกษาหารือกัน 6.2 มนุษย์แกะสลักเป็นการนําบุคคลกลุ่มหนึ่งมาแสดงท่าทางแทนความคิด เรื่องราว ถือว่าเป็นเรื่อง “ของมนุษย์แกะสลัก”เช่นในวิชาพีชคณิตเราอาจจะจัดตัวนักเรียนให้เป็นรูปสมการต่าง ๆ หรือ ในวิชาภาษาเราอาจจะสอนสะกดคํา โดยให้แต่ละคนถือบัตรพยัญชนะหรือสระ เมื่อครูเอ่ยพยัญชนะสระใด ให้นักเรียน เจ้าของพยัญชนะหรือสระนั้นไปยืนเข้าแถวเพื่อให้สะกดคําได้และอาจให้นักเรียนช่วยออกคําสั่งด้วย 6.3 กลุ่มร่วมใจ เป็นการทํางานกลุ่มเล็กๆ เพื่อไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ลักษณะสําคัญ ของการเรียนแบบกลุ่มร่วมใจ คืออาจจัดจํานวนสมาชิก 3 – 8 คน เพื่อร่วมใจกันทํางานตามวิธีของ แต่ละกลุ่มเช่นบางกลุ่มเวลาทํางานก็จะแบ่งกันทําเป็นตอน ๆ คนหนึ่งทําตอนต้น คนหนึ่งทํา ตอนกลาง อีกคนทําตอนจบหรือบางกลุ่มอาจจะใช้วิธีการทํางานแบบ“ปริศนาตัดต่อ” (Jigsaw)คือ แต่ละคนรับงานเป็นส่วน ๆ แล้วนํามารวมต่อกัน โดยมีการแบ่งหน้าที่และบทบาทซึ่งวิธีการนี้ เหมาะกับ ทฤษฎีพหุปัญญาเป็นอย่างมากเพราะในกลุ่มได้รวมนักเรียนที่ถนัดคนละอย่างนักเรียน ได้มีโอกาสแสดงความสามารถของตนเองได้เป็นอย่างดี(อารี สันหฉวี, 2543, หน้า 77 – 78) 6.4 บอร์ดเกม เป็นวิธีที่นักเรียน จะเรียนอย่างสนุกสนานในสถานการณ์สังคมใน ระดับต้นนักเรียนจะโยนลูกเต๋า สนทนา อภิปรายถึงกฎกติกาในขั้นที่สูงขึ้นนักเรียนจะเรียนทักษะ หรือเนื้อหาจากเกมครูอาจสร้างบอร์ดเกมได้ง่ายโดยใช้กระดาษแข็งปากกา ลูกเต๋า และรูปหุ่นต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นสื่อ ปรับหัวเรื่องให้เข้ากับแต่ละวิชา มีการตั้งคําถามปลายเปิดแล้วให้นักเรียนตอบโดย อิสระ แล้วสลับกันทอดลูกเต๋าไปเรื่อยๆ
  • 13. 7. วิธีการสอนสําหรับปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง ได้แก่ 7.1 การคิดตรึกตรองครั้งละ1 นาที เป็นการให้นักเรียนได้ฝึกคิดทบทวนตนเองเช่นในระหว่างที่ครูสอนอาจให้เวลานอก แก่นักเรียนครั้งละ 1 นาทีเพื่อคิดตรึกตรองถึงเรื่องที่เรียนเวลา 1 นาที นอกจากจะช่วยให้นักเรียนได้หยุดคิดแล้วก็ยังเป็น การเตรียมตัวสําหรับกิจกรรมต่อไปด้วยการคิดตรึกตรองนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะเวลาที่ครูสอนเรื่องสําคัญ จบลง 7.2 การสร้างความสัมพันธ์กับตนโดยตรง เป็นการให้นักเรียนตั้งคําถามเกี่ยวกับตนเอง ซึ่งจะเป็นการพัฒนาปัญญาด้านการ เข้าใจตนเอง 7.3 โอกาสในการเลือกเป็นการให้นักเรียนได้ตัดสินใจเลือกในบางสิ่งบางอย่างโดยเฉพาะกับนักเรียนที่ถนัดปัญญาด้าน การเข้าใจตนเอง การฝึกให้ตัดสินใจเลือกมีลักษณะเหมือนการฝึกของนักกีฬายกนํ้าหนักกล่าวคือ จะต้องมีโอกาสฝึกอย่าง สมํ่าเสมอ ยิ่งมีโอกาสฝึกมากกล้ามเนื้อก็ยิ่งแข็งแรงมากการฝึกให้นักเรียนได้ตัดสินใจเลือกบ่อย ๆ ก็จะช่วยให้กล้ามเนื้อ แห่งความรับผิดชอบ แข็งแรงขึ้น อาจเริ่มจากการให้โอกาสฝึกในเรื่องเล็ก ๆ ก่อน ครูควรพยายามคิดหาประสบการณ์และ โอกาสให้นักเรียนได้ตัดสินใจเลือกให้มากๆ 7.4 เกิดอารมณ์ เป็นการฝึกให้นักเรียนได้ใช้สมองแห่งอารมณ์ คือมีการสร้างบรรยากาศเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้มีอารมณ์ ร่วม ครูจึงต้องให้นักเรียนได้ยิ้ม ได้หัวเราะ ได้วิตกกังวล หรือเศร้า ครูอาจสร้างความรู้สึกให้แก่นักเรียนเช่น มีความตื่นเต้น ในเรื่องที่กําลังเรียน อยากรู้เรื่องที่เรียนมากขึ้น หรือมีความรู้สึกเศร้าตามเนื้อหา ควรให้นักเรียนแสดงอารมณ์ได้อย่าง ปลอดภัยไม่ส่งเสริมให้มีการตําหนิ วิจารณ์ ครูควรยอมรับอารมณ์ต่าง ๆ ของนักเรียน และจัดประสบการณ์ ให้เกิดอารมณ์ เช่นหนังสือ ภาพยนตร์ หรือประเด็นปัญหาสังคม 7.5 การตั้งจุดหมายเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนตั้งจุดมุ่งหมายเพื่อความสําเร็จในชีวิตของบุคคล ครูควรฝึกให้นักเรียนตั้ง จุดมุ่งหมายทุกวัน วิธีการที่จะประเมินว่านักเรียนถึงจุดมุ่งหมายหรือไม่ อาจจะดูจากบันทึกประจําวัน กราฟแสดงผลงาน
  • 14. 8. วิธีการสอนสําหรับปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา ได้แก่ 8.1 กิจกรรมการสังเกตธรรมชาติรอบข้าง โดยนําเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียน การสอน เช่นการปลูกต้นไม้ ศึกษาการเจริญเติบโต โดยการบันทึก หรือถ่ายภาพ 8.2 บันทึกข้อสังเกตที่ได้จากการพบเห็นในชีวิตประจําวันเพื่อนํามาสู่การอภิปราย ต่าง ๆ 8.3 การจําแนก และจัดประเภทของสิ่งที่พบเห็น เป็นการฝึกให้นักเรียนได้มองเห็น ความต่างหรือความเหมือนในธรรมชาติรอบตัว 8.4 ฝึกให้รักและเห็นคุณค่าของธรรมชาติรอบตัว เป็นการสร้างความตระหนักใน ตัวนักเรียนกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว 8.5 ศึกษาธรรมชาติจากการเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติ โครงการเลี้ยงสัตว์ หรือ เยี่ยมชมแหล่งการเรียนรู้ในการเลี้ยงสัตว์
  • 16. การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ความสําคัญของคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์มีความสําคัญและมีบทบาทมากในชีวิตประจําวันของคนเรา ความเจริญในวิทยาการทุกแขนงต้องอาศัย หลักการทางคณิตศาสตร์ทั้งสิ้น คณิตศาสตร์ช่วยพัฒนาความคิดเห็นของนักเรียน ให้สามารถคิดอย่างมีระบบมีเหตุผล และ สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมีนักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงลักษณะสําคัญของคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้ บุญทัน อยู่ชมบุญ (2529, หน้า 2 ) ได้กล่าวถึงลักษณะสําคัญของคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้ 1. คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิด พิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่าสิ่งที่เราคิดนั้นเป็นจริงหรือไม่ ดังนั้นเราจึงนําคณิตศาสตร์ ไปใช้ในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมต่างๆ คณิตศาสตร์ช่วยให้คนมีเหตุผล ใฝ่รู้ พยายาม คิดค้นสิ่งแปลกใหม่ คณิตศาสตร์จึงเป็นรากฐานแห่งความเจริญในด้านต่างๆ 2. คณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง คณิตศาสตร์มีภาษาเฉพาะของตัวเองซึ่งเป็นภาษาที่กําหนดขึ้นด้วยสัญลักษณ์ที่รัดกุม และสื่อความหมายได้ถูกต้องมีตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์แทนความคิด และเข้าใจความหมายที่ตรงกัน 3. คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีโครงสร้าง โดยจะเริ่มต้นด้วยเรื่องที่ง่าย ๆ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานนําไปสู่เรื่องอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์ กันอย่างต่อเนื่อง 4. คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีแบบแผน การคิดในทางคณิตศาสตร์ไม่ว่าเรื่องใดก็ตามจะต้องคิดในแบบแผน มีรูปแบบ ทุก ขั้นตอนจะตอบโต้และจําแนกออกมาให้เห็นจริงได้ 5. คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับศิลปะอื่นๆ ความงามทางคณิตศาสตร์คือ ความมีระเบียบ และความ กลมกลืน นักคณิตศาสตร์ได้พยายามแสดงความคิด จินตนาการความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะแสดงสิ่งใหม่ ๆ ทาง คณิตศาสตร์ออกมา
  • 17. ทักษะ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ทักษะ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ เป็นสาระที่ 6 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ประกอบด้วย 1. การแก้ปัญหา 2 การให้เหตุผล 3. การสื่อสาร การสื่อความหมาย การนําเสนอ 4. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  • 18. วิธีการเรียนและวิธีการสอนคณิตศาสตร์ 1. สอนโดยคํานึงถึงความพร้อมของนักเรียน 2. การจัดกิจกรรมการสอนต้องให้เหมาะสมกับวัย ความต้องการ ความสนใจ 3. ควรคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 4. ควรเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ 5. วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีระบบที่จะต้องเรียนไปตามลําดับขั้น การสอน เพื่อสร้าง ความคิด ความเข้าใจ 6. การสอนแต่ละครั้งจะต้องมีจุดประสงค์ที่แน่นอน 7. เวลาที่ใช้สอน ควรใช้ระยะเวลาพอสมควรไม่นานจนเกินไป 8. ครูควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีการยืดหยุ่นให้นักเรียน 9. การสอนที่ดีควรเปิดโอกาสให้นักเรียนมีการวางแผนร่วมกับครู
  • 19. 10. การสอนคณิตศาสตร์ควรให้นักเรียนมีโอกาสทํางานร่วมกัน 11. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรสนุกสนานบันเทิงไปพร้อมกับ การเรียนรู้ 12. นักเรียนจะเรียนได้ดีเมื่อเริ่มเรียนโดยครูใช้ของจริง 13. การประเมินผลการเรียนการสอนเป็นกระบวนการต่อเนื่องและเป็นส่วน หนึ่งของการเรียนการสอน 14. ไม่ควรจํากัดวิธีคํานวณหาคําตอบของนักเรียน แต่ควรแนะนําวิธีคิดที่ รวดเร็ว และแม่นยําภายหลัง 15. ฝึกให้นักเรียนรู้จักตรวจเช็คคําตอบด้วยตัวเอง
  • 20. กรมวิชาการ (2538, หน้า 13) ได้เสนอขั้นตอนวิธีการเรียนคณิตศาสตร์ เพื่อให้ นักเรียนบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรโดยให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้ 1. ฝึกการสังเกต 2. วิเคราะห์ 3. คิดหาเหตุผล 4. สรุปหลักการและความคิดรวบยอด 5. ลงมือทํา 6. ตรวจสอบความถูกต้อง 7. สามารถนําความรู้ไปใช้ในชีวิตประจําวันและแก้ปัญหาได้ 8. ศึกษาเอกสารเพิ่มเติมเพื่อให้รู้จริง
  • 21. ประสิทธิภาพจึงควรใช้วิธีสอนหลายวิธี ซึ่งสามารถสรุปวิธีสอนต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1. วิธีการเรียนด้วยตนเอง 2. วิธีการเรียนด้วยตนเองประกอบการบรรยาย 3. วิธีการเรียนด้วยการระดมสมอง 4. วิธีปาฐกถาหรือบรรยาย 5. วิธีอภิปราย เป็นวิธีที่ครูและนักเรียนร่วมมือกันคิดค้นหาเหตุผลมาสนับสนุน 6. วิธีค้นพบ เป็นการแนะให้นักเรียนค้นพบหลักการทางคณิตศาสตร์ด้วยตนเอง 7. วิธีสาธิต 8. วิธีการสอนโดยใช้การอุปนัย 9. วิธีการสอนโดยใช้การนิรนัย เป็นวิธีการใช้กฎเกณฑ์ คําจํากัดความ กติกา
  • 22. 10. วิธีแก้ปัญหา 11. วิธีทดลอง 12. วิธีสอนแบบบทเรียนโปรแกรมหรือบทเรียนสําเร็จรูป
  • 24. วิธีการสอนแบบบูรณาการ ความหมายของคําว่าบูรณาการทางการศึกษานั้นมีผู้ให้ความหมายที่มีลักษณะ ใกล้เคียงกันดังนี้คือ Dewey (1933, อ้างใน วิลาวัลย์จําปาแก้ว, 2547) กล่าวว่า ความรู้ต่าง ๆ สามารถนํามาเชื่อมโยงความคิดรวบยอด เนื้อหาวิชาที่มีในหลักสูตรได้หลาย วิชา และการเชื่อมโยงจะช่วยให้นักเรียนสามารถนําประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ ได้รับการเรียนการสอนไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่การเรียนรู้ร่วมกัน จะนําไปสู่การรู้และ เข้าใจโลกรอบตัว และความสามารถในการจัดวางตัวเอง ได้อย่างเหมาะควรในสังคมที่ตนอาศัยอยู่ ความพยายามและความร่วมมือกัน จะนําไปสู่การเรียนรู้ร่วมกัน
  • 25. การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ แนวคิดของแนวทางการบูรณาการเกิดขึ้นมานานแล้วภูมิหลังแนวคิดการบูรณาการ สามารถแยกออกได้2 ฝ่าย คือ 1. แนวคิดแบบตะวันตก แนวคิดเกี่ยวกับการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนแบบ บูรณาการถือกําเนิดขึ้นในสมัยของ ดิวอี้ (1933, อ้างใน วิลาวัลย์จําปาแก้ว, 2547) ใน สมัยที่เรียกว่า Progressive Education การจัดการศึกษาในยุคดังกล่าว ได้รับอิทธิพล จากนักปรัชญาชาวเยอรมัน ชื่อเฮอร์บาร์ท (1890, อ้างใน วิลาวัลย์จําปาแก้ว, 2547) ซึ่งมีความเชื่อในเรื่องการศึกษาว่าเราสามารถเชื่อมโยงความคิดรวบยอดของวิชาต่าง ๆ ที่มีในหลักสูตรได้อย่างน้อย 2 วิชาขึ้นไป และด้วยวิธีการเชื่อมโยงดังกล่าวจะส่งผลให้นักเรียนสามารถนําประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับจากการเรียนการสอนไปประยุกต์ใช้ได้ในสถานการณ์ใหม่ ๆ หรือเรื่องที่จะ เรียนรู้ใหม่ได้ต่อไป
  • 27. หลักการพื้นฐานของแนวคิดแบบบูรณาการ 1. นักเรียนทุกคนมีบทบาทรับผิดชอบต่อตนเองและกลุ่ม 2. นักเรียนทุกคนมีส่วนเรียนรู้ร่วมกัน 3. การแสดงออกของนักเรียนมีมากขึ้น 4. มีความยืดหยุ่นและสมดุล 5. ความชัดเจนในเรื่องความคิดรวบยอดและทักษะต่าง ๆ 6. ผู้สอนเป็นนักเรียนและนักวิจัย
  • 28. ลักษณะสําคัญของการบูรณาการ 1. เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้ 2. เป็นการบูรณาการระหว่างพัฒนาการทางด้านความรู้และทางด้าน จิตใจ 3. เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้และการปฏิบัติ 4. เป็นการบูรณาการระหว่างสิ่งที่อยู่ในห้องเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ใน ชีวิตจริง 5. เป็นการบูรณาการระหว่างวิชาต่าง ๆ
  • 30. การประเมินตามสภาพจริง แนวคิดและหลักการประเมินตามสภาพจริง การประเมินตามสภาพจริงเป็นการประเมินจากการปฏิบัติงานหรือ กิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยงานหรือกิจกรรมที่มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติจะ เป็นงานหรือสถานการณ์ที่เป็นจริงใกล้เคียงกับชีวิตจริง จึงเป็นงานที่ ซับซ้อน และเป็นองค์รวม มากกว่างานปฏิบัติในกิจกรรมการเรียนทั่วไป ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญในด้านการวัดและประเมินผลกล่าวถึงแนวคิดและหลักการ ประเมินตามสภาพจริง
  • 31. ขั้นตอนการประเมินตามสภาพจริง การประเมินตามสภาพจริงมีการดําเนินงานตามขั้นตอนต่อไปนี้ (ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์, 2544, หน้า 1) 1. กําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการประเมิน 2. กําหนดขอบเขตในการประเมิน 3. กําหนดผู้ประเมิน 4. เลือกใช้เทคนิคและเครื่องมือในการประเมิน 5. กําหนดเวลาและสถานที่ที่จะประเมิน 6. วิเคราะห์ผลและวิธีการจัดการข้อมูลการประเมิน 7. กําหนดเกณฑ์ในการประเมิน
  • 32. เทคนิค วิธีการที่ใช้ในการประเมินตามสภาพจริง 1. การสังเกต 2. ระเบียบพฤติกรรม 3. ตัวอย่างผลงาน 4. แถบเสียง 5. วิดีโอเทป 6. ถ่ายภาพ 7. บันทึกประจําวันของนักเรียน 8. บันทึกความก้าวหน้าของนักเรียน 9. สังคมมิติ 10. การทดสอบแบบเป็นทางการ 11. การสัมภาษณ์นักเรียน 12. แบบสํารวจ 13. บันทึกปฏิทินประจําวัน 14. การตรวจงาน 15. การรายงานตนเอง 16. การใช้บันทึกจากผู้ที่เกี่ยวข้อง 17. การใช้ข้อสอบแบบเน้นการปฏิบัติจริง 18. การประเมินโดยใช้แฟ้ มสะสมงาน
  • 34. การวิจัยเชิงปฏิบัติการและการวิจัยในชั้นเรียน ความหมายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ยาใจ พงษ์บริบูรณ์ ( 2537 ) ได้ให้ความหมายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการว่า เป็นการวิจัยประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้กระบวนการการปฏิบัติอย่างมีระบบ โดยผู้วิจัย และผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ และวิเคราะห์วิจารณ์ผลการปฏิบัติจาก การใช้วงจร 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การลงมือ การทํา การสังเกต และการ สะท้อนการปฏิบัติ การดําเนินการต่อเนื่องไปจะนําไปสู่การปรับแผนเข้าสู่วงจร ใหม่จนกว่าจะได้ข้อสรุปที่แก้ไขปัญหาได้จริง เพื่อพัฒนาสภาพการณ์ของสิ่งที่ได้ ศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
  • 35. รูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1. ขั้นเตรียมการ (PrePlan Stage) 2. ขั้นวางแผน (Plan Stage) 3. ขั้นปฏิบัติและรวบรวมข้อมูล (Act and Observe) 4. ขั้นทบทวนและประเมินผลเพื่อปรับแผน ( Reflect: Review and Evaluate Cycle)
  • 36. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพหุปัญญา งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพหุปัญญาทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ยังไม่เป็นที่ ปรากฏแต่อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการนํากระบวนการพัฒนาพหุปัญญา ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบูรณาการวิชา คณิตศาสตร์ ดังนี้ คือมยุรี เจริญภักดี (2544) ที่ศึกษาวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการ สอนโดยใช้กระบวนการพัฒนาพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สําหรับ ครูผู้สอนระดับก่อนประถมศึกษาที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาพหุ ปัญญาเพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย” และผลที่ได้จากการใช้กระบวนการพัฒนาพหุ ปัญญาเพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย พบว่าผู้สอนมีวิธีการจัดกิจกรรมโดยมีการ วางแผนและขั้นตอนการดําเนินงานโดยกําหนดจุดประสงค์
  • 37. ลงมือปฏิบัติพร้อมกับควบคุมและติดตามผลส่วนใหญ่ใช้กิจกรรมเกมและการ เคลื่อนไหวและพฤติกรรมทางพหุปัญญาที่เด็กแสดงออกทุกด้านได้รับการ พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องอาริยา จิตรมิตร (2544) ที่ศึกษาผลการสอนตามแนวพหุ ปัญญาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียน ได้รับการสอนตามแนวพหุปัญญามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสนใจต่อ วิชาสังคมศึกษาดีกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนตามคู่มือครูอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ .05
  • 38. อัญชลี ศรีกลชาญ (2546) ได้พัฒนาแบบวัดพหุปัญญาสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น ซึ่งเป็นแบบวัดพหุปัญญาจํานวน 60 ข้อ ผลการวิจัยได้ดังนี้ 1 ) ความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในตามวิธีการของครอนบาคของแบบวัดพหุ ปัญญาทั้งฉบับ เท่ากับ 0.84 มีดัชนีความยากของข้อสอบระหว่าง 0.39 – 0.83 มีดัชนี อํานาจจําแนกของข้อสอบระหว่าง 0.21 – 0.85 2 ) แบบวัดพหุปัญญามีความตรงเชิงโครงสร้างอยู่ในเกณฑ์ดี องค์ประกอบ 8 องค์ประกอบ และข้อสอบทั้ง 60 ข้อ มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.50 มีค่าไค-สแควร์ (Chi-square)เท่ากับ 1204.27 ; p = 1.00 ที่องศาอิสระเท่ากับ 1461 และดัชนีวัดระดับ ความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ
  • 39. 0.95 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.94 ดัชนีวัด ความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00 3) ปกติวิสัยของแบบวัดพหุปัญญาจําแนกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ผู้ที่มีพหุปัญญา ระดับสูงมีตําแหน่งเปอร์เซนไทล์ตั้งแต่ 78 ขึ้นไป ผู้ที่มีพหุปัญญาระดับปาน กลาง มีตําแหน่งเปอร์เซนไทล์อยู่ระหว่าง 24 – 77.9 ผู้ที่มีพหุปัญญาระดับตํ่า มีตําแหน่งเปอร์เซนไทล์ตั้งแต่ 23.9 ลงไป ขึ้นไป
  • 40. บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และพหุปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนยกกระบัตรวิทยาคม อําเภอสามเงา จังหวัดตาก กลุ่มเป้ าหมาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียน ยกกระบัตรวิทยาคม อําเภอสามเงา จังหวัดตาก จํานวน 24 คน ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ พื้นฐานค31101 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 กรอบแนวคิดในการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนที่ผู้วิจัย ประยุกต์จากรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของกิตติพร ปัญญาภิญโญผล (2540) ประกอบด้วยขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ
  • 41. รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 1. ขั้นเตรียมการ ( Preplan Stage ) 2. ขั้นวางแผน ( Plan Stage ) 3. ขั้นปฏิบัติและรวบรวมข้อมูล ( Act and Observe ) 4.ขั้นทบทวนและประเมินผลเพื่อปรับแผน ( Reflect or Review and Evaluate Cycle )
  • 42. 1.ขั้นเตรียมการ (Preplan Stage) 2. ขั้นวางแผน (Plan Stage) 2.1 ศึกษาปัญหา หาสาเหตุ และวิธีการแก้ปัญหา 2.2 วางแผนการสร้างเครื่องมือการวิจัยการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล สร้างเครื่องมือ และ การผลิตสื่ออุปกรณ์การสอน 2.3 ทําแผนการจัดการเรียนรู้/ปรับแผนการจัดการเรียนรู้ 3. ขั้นปฏิบัติและรวบรวมข้อมูล (Act and Observe) 3.1 วัดความรู้พื้นฐาน 3.2 ปรับพื้นฐาน 3.3 การสอนเนื้อหาใหม่ 3.4 วัดผลความรู้เนื้อหาใหม่ 3.5 สอบหลังเรียน 3.6 ผลการวัดและการซ่อมเสริม 4. ขั้นทบทวนและประเมินผลเพื่อปรับแผน (Reflector Reviewand Evaluate Cycle) เมื่อจบบทเรียน
  • 43. วิธีการสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีขั้นตอนในการสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือดังนี้ 1. แบบทดสอบทางคณิตศาสตร์ ใช้วัดความรู้ความเข้าใจและทักษะการคิดคํานวณและ ปัญญาด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 1.1 แบบทดสอบความรู้พื้นฐาน เป็นแบบทดสอบเพื่อวินิจฉัยความรู้พื้นฐานก่อน เรียน โดยผู้วิจัยสร้างขึ้นเองโดยมีวิธีการสร้างเครื่องมือดังนี้ 1 ) ศึกษาเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค33101 เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตรและ เรื่องความคล้าย 2 ) วิเคราะห์เนื้อหาที่เป็นความรู้พื้นฐานในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเรียน ซึ่งเป็น ความรู้ต่อเนื่องกันในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 3 ) ร่างแบบทดสอบ 4 ) นําไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 5 ) ทําการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ 6 ) จัดพิมพ์ฉบับตัวอย่างแล้วนําไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค33101ที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายจํานวน 5 คน ทําแบบทดสอบ 7 ) หาข้อบกพร่องของแบบทดสอบ แก้ไขข้อบกพร่อง 8 ) จัดพิมพ์และนําไปใช้กับนักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
  • 44. 2. แบบทดสอบพหุปัญญา เป็นวัดปัญญาแต่ละด้านของนักเรียนซึ่งเป็นแบบทดสอบ เลือกตอบ 4 ตัวเลือกการตรวจให้คะแนนถ้าตอบถูกให้ 1 คะแนนถ้าตอบผิดให้ 0 คะแนนโดยผู้วิจัย สร้างขึ้นเอง มีวิธีสร้างเครื่องมือดังนี้ 1 ) ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับทฤษฎีพหุปัญญาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีพหุปัญญา และสร้าง กรอบจุดประสงค์การประเมินเกี่ยวกับพหุปัญญา 2 ) สร้างแบบทดสอบวัดพหุปัญญาตามกรอบนิยามที่ประเมินแต่ละด้านจํานวน 8ด้าน ด้านละ10 ข้อ รวม 80 ข้อ 3 ) ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยตรวจสอบค่าดัชนีความสอดคล้อง(IOC) ระหว่างข้อ คําถามกับจุดประสงค์การประเมินพหุปัญญาตามกรอบนิยามที่ประเมินปัญญาแต่ละด้าน โดย ผู้เชี่ยวชาญจํานวน 5 คน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่สอนในกลุ่มสาระภาษาไทย วิทยาศาสตร์ศิลปะ พลศึกษา และการงานอาชีพและเทคโนโลยี เลือกข้อสอบที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง(IOC)ระหว่าง 0.50 - 1.00 4 ) ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ ของผู้เชี่ยวชาญ 5 ) จัดพิมพ์แล้วนําไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1โรงเรียนยกกระบัตรวิทยาคม อําเภอสามเงา จังหวัดตาก ที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย จํานวน 33 คนทําแบบทดสอบ 6 ) หาค่าความยากง่ายรายข้อของแบบทดสอบโดยใช้เทคนิค 25% คัดเลือกข้อสอบที่มีความยากง่าย 0.20 - 0.80
  • 45. 3. แบบประเมินตนเองด้านพหุปัญญา เป็นแบบประเมินตนเองแบบมาตราส่วน ประเมินค่า3 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยมีวิธีการสร้างเครื่องมือดังนี้ 1 ) ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับทฤษฎีพหุปัญญาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎี พหุปัญญา 2 ) กําหนดเนื้อหาและพฤติกรรมด้านพหุปัญญาที่ต้องการให้นักเรียนประเมิน 3 ) สร้างรายการประเมินพหุปัญญาที่ต้องการด้านละ 5 ข้อ 4 ) ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมของแบบประเมิน 5 ) ปรับปรุงแก้ไขตามคําแนะนําของผู้เชี่ยวชาญ 6 ) จัดพิมพ์และนําไปใช้เก็บข้อมูลกับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
  • 46. 4. รูบริคส์ประเมินพหุปัญญา ได้แก่ 1) ปัญญาด้านภาษา 2) ปัญญาด้านตรรกะ/ คณิตศาสตร์ 3) ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ 4) ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว 5) ปัญญาด้านดนตรี 6) ปัญญาด้านบุคคลและมนุษยสัมพันธ์ 7) ปัญญาด้านการ เข้าใจตนเอง 8) ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา ใช้ในการสังเกตและประเมินการ ปฏิบัติงาน การทํากิจกรรมการเรียนรู้ และพฤติกรรมของนักเรียนตามผลการ เรียนรู้ที่คาดหวังในแต่ละแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นั้น ๆ 5. แบบประเมินการทําสมุดเล่มเล็ก 6. แบบประเมินการนําเสนอหน้าชั้นเรียน 7. รูบริคส์ประเมินการแต่งโจทย์ปัญหาและแสดงวิธีทํา
  • 47. 8. แบบบันทึกหลังการสอนสําหรับครู 9. แบบบันทึกการสอนซ่อมเสริม 10. แบบบันทึกการเรียนรู้สําหรับนักเรียน เครื่องมือข้อที่ 8-10 มีวิธีการสร้างเครื่องมือดังนี้ 1 ) กําหนดเนื้อหา และทําฉบับร่าง ตามลักษณะของข้อมูลที่ต้องการ 2 )ให้อาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสม และทําการ ปรับปรุงแก้ไขตามคําแนะนํา 3 ) จัดพิมพ์และนําไปใช้เก็บรวบรวมกับนักเรียน 11. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร จํานวน 15 แผน แผนละ 1 ชั่วโมงเรื่องความคล้าย จํานวน 15 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 30 ชั่วโมง โดย แต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ ใช้การจัดกิจกรรมหลากหลายและเหมาะสมกับเนื้อหา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาพหุปัญญาของนักเรียนมีวิธีการสร้าง
  • 48. การเก็บรวบรวมข้อมูล ดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ก่อนดําเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผู้วิจัยได้ให้นักเรียนประเมินปัญญาตัวเอง ทั้ง 8ด้าน 2. ทดสอบก่อนเรียน ด้วยแบบทดสอบก่อนเรียนของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ จํานวน 10 ข้อ 3. ดําเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ 4. ในระหว่างดําเนินกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้วิจัยสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนใน การแสดงออกถึงทักษะกระบวนการในการเรียนคณิตศาสตร์ 5. เมื่อสิ้นสุดบทเรียนได้มีการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์
  • 49. 6. ในกรณีที่นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินพฤติกรรมร้อยละ78 จะแจ้งให้ นักเรียนทราบทุกครั้ง 7. ในกรณีที่นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การวัดผลสัมฤทธิ์ร้อยละ70 ของคะแนนเต็ม ผู้วิจัยได้ดําเนินการสอนซ่อมเสริม 8. หลังจากสิ้นสุดกระบวนการแล้วประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และให้ นักเรียนทําแบบทดสอบ
  • 50. การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด ที่ได้จากเครื่องมือ แบ่งเป็น 2 ลักษณะดังนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ 1. กําหนดให้นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ขั้นตํ่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 2. พหุปัญญาของนักเรียน วิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ ของคะแนนพหุปัญญาแต่ละด้านและ คะแนนรวม จากการสังเกตพฤติกรรมในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้จากรูบริคส์ประเมินพหุปัญญา ซึ่งกําหนดให้นักเรียนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด ผ่านเกณฑ์ขั้นตํ่าร้อยละ 78 ของ คะแนนเต็ม หลังเสร็จสิ้นทุกหน่วยการเรียนรู้ 3. พหุปัญญาของนักเรียน จากการทําแบบทดสอบวัดพหุปัญญาของนักเรียนในแต่ละด้าน กําหนดให้นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด เป็นผู้ที่มีพหุปัญญาระดับสูง ผู้วิจัยได้ใช้ร้อยละเทียบระดับพหุปัญญาเป็น 3 ระดับ ตามคะแนนปกติวิสัยของการหาค่า ปกติวิสัยจากการทําแบบทดสอบพหุปัญญาของอัญชลี ศรีกลชาญ (2546, หน้า 142-145) ได้แก่ ผู้ที่
  • 51. มีพหุปัญญาระดับสูง มีตําแหน่งเปอร์เซนไทล์ตั้งแต่ 78 ขึ้นไป ผู้ที่มีพหุปัญญาระดับ ปานกลาง มีตําแหน่งเปอร์เซนไทล์อยู่ระหว่าง 24 – 77.9 ผู้ที่มีพหุปัญญาระดับตํ่า มี ตําแหน่งเปอร์เซนไทล์ตั้งแต่23.9 ลงไป ผู้วิจัยได้ใช้ร้อยละในการเปรียบเทียบระดับ พหุปัญญาดังนี้ ร้อยละ 78 - 100 มีพหุปัญญาระดับสูง ร้อยละ 24 - 77.9 มีพหุปัญญาระดับปานกลาง ร้อยละ 0 - 23.9 มีพหุปัญญาระดับตํ่า เปรียบเทียบช่วงคะแนนดิบกับระดับปัญญาของแบบทดสอบพหุปัญญาสําหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ดังตาราง 1(อัญชลี ศรีกลชาญ, 2546, หน้า 142-145) ตาราง 1 เกณฑ์การเทียบช่วงคะแนนดิบกับระดับปัญญาของแบบทดสอบพหุปัญญา สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
  • 52. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการแจกแจงข้อค้นพบในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ นํามาสรุปผลงานวิจัยและแสดง ให้เห็นแนวทางหรือรูปแบบการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องที่ทําการ วิจัย ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลที่ได้จาก 1. แบบบันทึกหลังการสอนสําหรับครู แบบบันทึกการเรียนรู้สําหรับนักเรียน แบบ บันทึกการสอนซ่อมเสริม เพื่อช่วยในการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์พหุปัญญา ของ นักเรียนในการพัฒนาพหุปัญญา เพื่อปรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการ เรียนรู้ และสรุปเป็นภาพรวมตามรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน 2. ใช้การอ่านสมุดเล่มเล็กวิเคราะห์ภาพรวมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ต่อผู้วิจัย และใช้ในการวิเคราะห์ ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง จากการเขียนสะท้อนความรู้ ความรู้สึกต่อการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ของนักเรียนวิเคราะห์ปัญญาด้านภาษา จากการเขียน วิเคราะห์ปัญญาด้านมิติ สัมพันธ์จากการเขียนเชื่อมโยง