SlideShare a Scribd company logo
1 of 12
Download to read offline
1                                  พื้นที่การใช้งานของครัวไทย
บทที่
                                                            และครัวตะวันตก
	     การประกอบอาหารไทยและอาหารตะวันตกมีความแตกต่างกันมาก ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียม
กระบวนการประกอบอาหาร และการใช้พื้นที่ภายในห้องครัว เนื่องจากรสชาติที่มีเครื่องเทศประเภท
ต่าง ๆ และวิธีการปรุงอาหารที่ใช้เตาหุงต้ม ก�ำลังไฟที่แรง กลิ่นคราบน�้ำมันต่าง ๆ เหล่านี้จึงท�ำให้มี
การจัดวางพื้นที่ภายในห้องครัวและการใช้งานในแต่ละขั้นตอนเพี่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละ
ประเภท การใช้งานในพื้นที่ห้องครัวสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้

1.1 การใช้พื้นที่ท�ำอาหารในครัวไทย

	       อาหารไทยมีชื่อเสียงและโด่งดังเป็นที่นิยม
ไปทั่วโลก เนื่องจากมีรสชาติที่เผ็ด เปรี้ยว เค็ม หวาน
ตามแต่ละชนิดของอาหาร และการใช้เครื่องเทศ
สมุนไพรที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นต้มย� ำ
กุ้ง ผัดไทยซึ่งเป็นอาหารที่ชาวต่างชาติรู้จักและนิยม
อาหารไทยที่มีอยู่หลากหลายในเรื่องของรู ป แบบ
และรสชาติมีการประกอบและการปรุงที่แตกต่างกัน
ไปแต่ละชนิด ประเภทของอาหาร อาหารไทยแบ่ง
ออกได้เป็นอาหารคาว อาหารหวาน หรือประเภท
ขนมไทย ดังนั้น วิธี ขั้นตอนการเตรียม การปรุง
และการประกอบอาหารจึงมีขนตอนและวิธทแตกต่าง
                                ั้          ี ี่
กัน รวมไปถึงการใช้ขนาดของพื้นที่และพฤติกรรม
กิจกรรมในการใช้งานแตกต่างกันไป ประเภทของ
อาหารไทยสามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้	                     ภาพที่ 1.1
	       1.1.1	 อาหารประเภทแกง เช่น แกงเลียง แกง แสดงภาพพื้นที่ใช้สอยและอุปกรณ์เครื่องใช้
                                                         ต่าง ๆ ในการท�ำอาหารไทย
เผ็ด แกงป่า จะต้องใช้วัตถุดิบและเครื่องเทศมาก
ดังนั้นจ�ำเป็นต้องมีพื้นที่เตรียมบนเคาน์เตอร์มากส�ำหรับการตระเตรียมปอกเปลือก หั่น สับ บด และ
ควรอยู่ใกล้อ่างล้างจานเพื่อสะดวกในการใช้งาน
	      1.1.2	 อาหารประเภทเครื่องจิ้มหรือน�้ำพริก เช่น น�้ำพริกต่าง ๆ หลนประเภทต่าง ๆ ส่วนมาก
จะใช้ครกกับสากในการต�ำหรือโขลกเครื่องปรุงของน�้ำพริกให้เข้ากัน ดังนั้นควรมีพื้นที่ส�ำหรับการ
รองรับพฤติกรรมของการต�ำหรือโขลก ในการก�ำหนดพื้นที่ที่มีระยะความสูงต�่ำของการใช้งาน และ
วัสดุรองรับการใช้งาน




 ภาพที่ 1.2
 แสดงภาพพื้นที่ส่วนปรุงอาหารและส่วนใช้ส�ำหรับการโขลกเครื่องพริกแกง


                                                 2
1.1.3	 อาหารประเภทแกงคั่ว เช่น แกงขี้เหล็ก แกงเทโพ เป็นแกงที่มักใส่เนื้อสัตว์โขลกลง
ผสมกับน�้ำพริกแกงเพื่อให้น�้ำแกงข้นขึ้น ต้องมีพื้นที่เตรียมอาหารด้านข้างเตาหุงต้มเพื่อท�ำการ
หั่นเนื้อและส่วนผสมอื่น ๆ ควรเป็นเตาหุงต้มที่มีตะแกรงรองรับกระทะทรงโค้ง (Wok) หรือหม้อขนาด
ใหญ่ได้
	        1.1.4	 อาหารประเภทย�ำ พล่า เช่น ย�ำวุ้นเส้น ย�ำถั่วพู ส่วนส�ำคัญคือการท�ำน�้ำย�ำ ต้องมีพื้นที่
เตรียมบนเคาน์เตอร์ใกล้กับอ่างล้างจาน เพราะต้องใช้เขียงส�ำหรับการหั่นและสับวัตถุดิบต่าง ๆ และ
ควรมีปลั๊กไฟเหนือเคาน์เตอร์เพื่อใช้ส�ำหรับเครื่องปั่นหรือบดอาหาร
	        1.1.5	 อาหารประเภทปิ้ง ย่าง เผา เช่น ปิ้งปลา ย่างไก่ กุ้งเผา โดยใช้เตาย่างไฟฟ้า หรือใช้เตา
ย่างแก๊ส จะเป็นแบบฝังบนเคาน์เตอร์ หรือเตาย่างไฟฟ้าลอยตัว ควรมีเครื่องดูดควันที่มีแรงดูดสูง
หรือใช้ครัวไทยภายนอกบ้าน ถ้าใช้เตาถ่านก็จะให้กลิ่นและรสชาติอาหารที่หอมยิ่งขึ้น
	        1.1.6	 อาหารประเภททอด ผัด เช่น ปลาทอดกระเทียมพริกไทย ผักบุ้งผัดไฟแดง เป็นประเภท
ของอาหารที่ต้องใช้ไฟแรงและการผัดอย่างรวดเร็ว ดังนั้น เตาหุงต้มควรให้ระดับความร้อนที่สูง และ
มีตะแกรงที่รองรับกระทะทรงโค้ง (Wok) จ�ำเป็นต้องมีเครื่องดูดควันที่มีแรงดูดสูง
	        1.1.7	 อาหารประเภทนึ่ง เช่น ปลานึ่งซีอิ๊ว ห่อหมก เป็นอาหารที่ใช้เวลาปรุงค่อนข้างนาน
ควรใช้เตาหุงต้มขนาดใหญ่ที่มีจ�ำนวนหัวเตาหุงต้มมาก และควรมีพื้นที่เตรียมด้านข้างส� ำหรับการ
พักอาหาร ในขณะเตรียมหรือประกอบอาหาร
	        1.1.8	 อาหารประเภทขนมหวาน เช่น ลูกตาลลอยแก้ว กล้วยหักมุกเชื่อม ฟักทองแกงบวด
อาหารประเภทนี้ใช้ส่วนผสมหลักคือน�้ ำตาล แล้วผสมกับวัตถุดิบต่าง ๆ ดังนั้นจึงจ� ำเป็นต้องใช้
เตาหุงต้มเพื่อละลายน�้ำตาล ควรมีพื้นที่เตรียมบนเคาน์เตอร์เพี่อวางอุปกรณ์และวัตถุดิบต่าง ๆ การ
ประกอบอาหารประเภทนี้น่าจะเหมาะส�ำหรับการใช้พื้นที่เคาน์เตอร์เกาะกลางห้อง (Island)

1.2 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในครัวไทย
	
	        การท�ำอาหารไทยต้องมีขั้นตอนการเตรียม ดังนั้น เครื่องมือและอุปกรณ์ที่จะช่วยอ�ำนวยความ
สะดวกในการท�ำอาหารจึงมีความจ�ำเป็น และพฤติกรรมการใช้งานในขณะเตรียม การปรุงอาหาร
จะมีการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความถนัดในการใช้งานและการท�ำอาหารประเภท
นั้น ๆ สิ่งของหลัก ๆ ที่ใช้ในการท�ำอาหารไทยและอยู่ในครัวไทย ได้แก่ ครกกับสาก เตาไฟหุงต้ม
ตู้กับข้าว และตั่ง สามารถอธิบายถึงการใช้งานได้ดังต่อไปนี้
	        1.2.1	 ครกกับสาก
	        ครัวไทยมีเอกลักษณ์อยู่อย่างหนึ่งคือ การต�ำ การโขลกเครื่องแกงหรือน�ำพริก ซึ่งจะไม่เหมือน
                                                                           ้


                                                  3
กับครัวตะวันตก ครัวไทยจะใช้ครกกับสากที่ท�ำมาจากหินหรือไม้ แล้วใส่เครื่องปรุงทีละชนิดต�ำให้เข้า
กันจนละเอียด อาหารไทยส่วนมากจะใช้เครื่องแกงเป็นส่วนผสมหลัก เช่น แกงคั่ว แกงเลียง แกง
เขียวหวาน ดังนัน การทีเราจะยืนต�ำเครืองแกงบนเคาน์เตอร์ทระดับปกติแบบตะวันออกก็จะไม่สะดวก
               ้      ่              ่                 ี่
แก่การใช้งาน เพราะแขนจะเกิดการเมื่อยล้า ในขณะที่มือก�ำลังก�ำสากและต้องยกแขนสูงขึ้นเพื่อทิ้ง
น�้ำหนักของสากลงในครก โดยปกติแล้วต�ำแหน่งเหมาะสมที่วางครกจะอยู่บนพื้น แล้วนั่งบนพื้นที่จะ




  ภาพที่ 1.3
  แสดงภาพพื้นที่ครัวไทยที่เป็นเคาน์เตอร์แบบขนาน



                                                  4
เป็นท่าที่สบายที่สุด ถ้าจะยืนต�ำครกบนเคาน์เตอร์ควรเป็นโครงสร้างที่แข็งแรง และรับน�้ำหนักของ
การกระแทกได้ ถ้าโขลกเครื่องแกงไม่ถนัดก็จะท�ำให้ต้องออกแรงมากแล้วเครื่องแกงก็จะกระเด็น
ออกมาจากครก การใช้งานทั่วไปในการโขลกหรือต�ำ ความสูงของเคาน์เตอร์หรือโต๊ะควรสูงไม่เกิน 65
เซนติเมตร
	       1.2.2	 เตาหุงต้ม
	       เตาหุงต้มเป็นอีกส่วนประกอบหนึ่งในการท�ำอาหารไทย การที่จะผัดผักในเวลาสั้นจ�ำเป็นต้อง
ใช้เตาหุงต้มที่ให้ความร้อนสูง การที่ใช้กระทะทรงโค้งมีด้ามจับ หรือที่เรียกว่า ว๊อก (Wok) กับเตาหุงต้ม
ที่เหมาะส�ำหรับกระทะทรงโค้งควรมีขาตั้งกระทะที่สูงเพื่อป้องกันไม่ให้กระทะเคลื่อนที่และหกได้ใน
ขณะประกอบอาหาร และควบคุมระดับไฟได้ง่าย ส่วนมากจะใช้เตาหุงต้มแบบแก๊ส ถ้าใช้เตาหุงต้ม
แบบไฟฟ้าแบบฮอตเพลต (Hot plate) จะให้ความร้อนไม่สูง แต่ต้องใช้กระทะแบบก้นแบน (Pan) ซึ่ง
ก็จะผัดผักหรือท�ำอาหารไทยไม่สะดวก
	       เตาไฟหุงต้มอีกประเภทหนึ่งคือ เตาอั้งโล่ หรือเตาถ่าน เป็นเตาหุงต้มสมัยเก่า ซึ่งจะมีใช้กัน
ทุกครัวเรือน เหมาะส�ำหรับอาหารไทยที่ต้องการปิ้ง ย่าง หรือเผาหอม เผาพริก เผากะปิ อาหารจะมี
กลิ่นที่หอมเมื่อท�ำอาหารจากเตาอั้งโล่
	       1.2.3	 ตู้กับข้าว
	       ตู้กับข้าวเป็นเฟอร์นิเจอร์หลักที่อยู่ในห้องครัว ท�ำจากวัสดุที่เป็นไม้หรืออะลูมิเนียม จะมีขาสูง
มักจะวางขาตู้อยู่ในถ้วยที่มีนำเพื่อป้องกันมดและแมลง หน้าบานกระจกใสมีทั้งเป็นบานเปิดหรือบาน
                               �้
เลื่อน ผนังด้านข้างจะเป็นแผ่นปั๊มรูที่มีรูระบายอากาศขนาดเล็ก หรือกรุด้วยมุ้งลวดเพื่อระบายกลิ่น
อาหารที่อยู่ในตู้ และควรระบายอากาศได้ดี นอกจากนั้นยังป้องกันแมลงวันและแมลงอื่น ๆ ภายใน
มีชั้นปรับระดับใช้เก็บเครื่องปรุง น�้ำมันที่ใช้แล้ว อาหารที่ปรุงเสร็จแล้ว หรืออาหารที่เก็บไว้รับประทาน
มื้อต่อไป
	       1.2.4	 ตั่ง
	       ตั่งเป็นเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวที่ใช้ส�ำหรับนั่งหรือนอนเล่น ไม่สูงมาก และยังสามารถใช้เป็นที่นั่ง
โขลกน�้ำพริก สับหมู หรือคั้นกะทิได้ สมัยก่อนในครัวไทยจะนิยมท�ำอาหารบนพื้น การใช้งานจะขวาง
ทางเดินไปมาในห้องครัว การนังบนพืนท�ำอาหารหรือปรุงอาหารอาจดูไม่เหมาะสม ไม่สะอาด และท�ำให้
                                  ่    ้
อาหารไม่น่ารับประทาน พฤติกรรมการท�ำครัวของคนสมัยก่อนจะนั่งพับเพียบหรือนั่งขัดสมาธิ แต่ใน
ปัจจุบันการนั่งท�ำอาหารในลักษณะนั้นจะไม่ถนัด และยังท�ำให้เกิดการเมื่อยล้าในการที่ต้องมีขั้นตอน
การเตรียมอาหารที่นาน ดังนั้น การที่นั่งห้อยขาบนตั่งโขลกน�้ำพริก เครื่องแกง หรือการเตรียมอาหาร
จะเพิ่มความสะดวกสบายในขณะท�ำงาน



                                                  5
1.3 วิธีท�ำอาหารและการใช้พื้นที่ในครัวตะวันตก
	
	        การปรุงอาหารในครัวตะวันตกมักจะไม่ใช้เครืองเทศทีมกลินแรง เครืองเทศหลักในการปรุงรสชาติ
                                                  ่      ่ี ่          ่
ที่ใช้ได้แก่ เกลือและพริกไทย นอกเหนือจากนั้นก็จะเป็นเครื่องเทศที่ใช้ดับกลิ่นคาว จะมีการใช้ไวน์ขาว
และไวน์แดงเพื่อเสริมรสชาติอาหารในแต่ละประเภท อาหารแต่ละชนิดจะใช้เวลาในการเตรียมและ
การปรุงอาหารค่อนข้างนาน และขึ้นอยู่กับการใช้ก�ำลังไฟต�่ำไปจนถึงปานกลาง
	        การเตรียมอาหารของครัวตะวันตกนั้น อาหารจานหนึ่งมีส่วนผสมหรือเครื่องเคียงอยู่หลาย
อย่าง เช่น การต้มมันฝรั่ง แล้วน�ำมาตั้งให้เย็น ปอกเปลือกแล้วน�ำมาบดผสมเนยใส่เครื่องเทศให้เข้ากัน
รับประทานคู่กับไก่งวงอบ ซึ่งต้องอบในเตาอบหลายชั่วโมง ยังมีสลัดผักสดพร้อมน�้ ำสลัด อาหารใน




 ภาพที่ 1.4
 แสดงภาพรูปแบบของครัวตะวันตกที่มีพื้นที่ใช้สอยของเคาน์เตอร์เกาะกลางห้อง
                                                 6
แต่ละชนิดมีขั้นตอนการเตรียมที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับวิธีประกอบอาหาร เช่น การต้ม การอบ
การทอด จะใช้เวลาที่แตกต่างกัน ดังนั้น การที่จะใช้พื้นที่บนเตาหุงต้มพร้อมกับการใช้เตาอบ พื้นที่
เตรียมอาหารและพักอาหารที่ทำเสร็จแล้ว จะต้องมีพื้นที่ที่พอเพียง และควรจัดวางต�ำแหน่งเครื่องใช้
                               �
ไฟฟ้าให้เหมาะกับต�ำแหน่งการใช้งานที่สะดวก ตามหลักการประกอบอาหารแต่ละชนิดสามารถแยก
ออกได้ดังต่อไปนี้
	      1.3.1	 การต้ม (Boiling, Poaching, Braising) แยกออกได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่ การต้มใช้ไฟต�่ำ
ปานกลาง และสูงจนน�้ำเดือด การประกอบอาหารประเภทนี้ต้องใช้พื้นที่บนเตาหุงต้มค่อนข้างจะนาน
และควรมีพื้นที่เตรียมบนเคาน์เตอร์ด้านข้างเตาหุงต้มกว้างพอสมควร วัสดุที่ใช้กรุเคาน์เตอร์ควรทน
ความร้อน เพราะเป็นที่พักหม้อเพื่อถ่ายเทสู่ภาชนะที่ใส่น�้ำเย็นแล้วจึงน�ำไปที่อ่างล้างจาน
	      1.3.2	 การตุ๋น การท�ำสตู (Simmering, Stewing) จะเหมือนกับการต้ม แต่ต่างกันคือการ
ใส่ส่วนผสมต่าง ๆ รวมถึงเนื้อสัตว์ลงในหม้อ ใช้ไฟระดับต�ำถึงระดับกลาง ดังนั้นก็จะใช้พื้นที่บนเตา
                                                           ่
หุงต้มเป็นเวลานาน และควรมีเครื่องดูดควันที่มีแรงดูดหลายระดับเพื่อปรับให้เกิดความเหมาะสมกับ
การใช้งาน
	      1.3.3	 การย่าง การอบ (Grilling, Roasting) ของอาหารตะวันตก มักจะใช้เตาอบเป็นหลัก
โดยก�ำหนดตั้งโปรแกรมของเตาอบว่าจะใช้ไฟส่วนบน ส่วนล่าง หรือทั้ง 2 ส่วน ควรเป็นเตาอบยึดติด
ผนัง การติดตั้งควรก�ำหนดระยะความสูงของหน้าบานในเวลาเปิดให้อยู่ระดับเดียวกันกับเคาน์เตอร์
เพื่อความสะดวกในการใช้งาน และมีพื้นที่เตรียมบนเคาน์เตอร์ด้านข้างไว้พักอาหาร ด้านล่างของเตา
อบควรมีลิ้นชักไว้ใส่อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ส้อม ถุงมือจับวัสดุที่ร้อนไว้ใกล้ ๆ
	      นอกจากการย่างในเตาอบแล้ว ยังมีการย่างแบบบาร์บีคิว (Barbeque) โดยใช้เตาถ่านที่มี
ฝาครอบที่เคลื่อนย้ายได้ โดยปกติจะตั้งอยู่ระเบียงด้านหลังของห้องครัว มักจะเป็นที่นิยมใช้กันในช่วง
ฤดูร้อน
	      1.3.4	 การทอดแบบน�้ำมันท่วมอาหาร (Deep fat frying) และการทอดแบบน�้ำมันน้อย (Pan
frying) จะใช้กระทะก้นแบนเป็นหลัก ควรมีพื้นที่เตรียมบนเคาน์เตอร์ใกล้เตาหุงต้มเพื่อพักกระทะร้อน
หรือเตรียมวัตถุดิบก่อนที่จะประกอบในการปรุงอาหาร

1.4 พื้นที่ที่ติดกับห้องครัว

	       ห้องครัวเป็นห้องหนึงภายในบ้านทีใช้งานอยูเป็นประจ�ำ และเป็นห้องทีมความส�ำคัญเพราะเป็น
                           ่           ่        ่                         ่ี
ห้องที่ต้องเตรียม ประกอบ ปรุงอาหารให้กับสมาชิกทุกคนในครอบครัว ห้องครัวส่วนมากมักจะอยู่ติด
กับห้องรับประทานอาหารเพื่อเป็นการใช้พื้นที่ได้ต่อเนื่อง หรือพื้นที่ส่วนเตรียมขนาดเล็ก (Pantry)


                                               7
ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก และห้องซักรีด ดังนั้น การที่จะออกแบบห้องครัวให้เหมาะสมกับพื้นที่
และห้องที่อยู่ต่อเนื่องกันนั้นจึงจ�ำเป็นต้องรู้ถึงพื้นที่หรือห้องใกล้เคียงเพื่อการจัดกิจกรรมการใช้งาน
ให้เหมาะสมและมีความสอดคล้อง ซึ่งสามารถอธิบายและแบ่งออกเป็นแต่ละห้องได้ดังต่อไปนี้
	       1.4.1	 ห้องรับประทานอาหาร ส่วนมากจะอยู่ติดกับห้องครัว หรืออาจเป็นห้องเดียวกัน หรือ
อาจใช้เฟอร์นิเจอร์เป็นตัวแบ่งพื้นที่การใช้งานให้เป็นสัดส่วน หรือจะมีผนังเป็นตัวแบ่งพื้นที่แล้วเจาะ
ช่องไว้ส�ำหรับส่งอาหารและพักอาหารก่อนที่จะน�ำมาจัดวางบนโต๊ะ ขนาดของห้องรับประทานอาหาร
จะมีขนาดแตกต่างกันไปตั้งแต่ขนาดเล็กไปถึงขนาดใหญ่ขึ้นอยู่กับจ�ำนวนของสมาชิกภายในบ้านใน
การก�ำหนดขนาดของห้อง
	       พื้นที่ใช้สอยส�ำหรับ 1 คนที่นั่งรับประทานอาหารประมาณ ± 0.60 ตารางเมตร ถ้ามีจำนวน        �
สมาชิก 4 คน ควรมีพื้นที่รับประทานอาหารอย่างน้อยที่สุด 4 ตารางเมตร ในการจัดวางรูปทรงของ
โต๊ะรับประทานอาหารนั้นจะขึ้นอยู่กับจ�ำนวนสมาชิกภายในครอบครัวและขนาดของพื้นที่ห้อง ส่วน
รูปทรงของโต๊ะนั้นก็จะมี 2 แบบ คือ รูปทรงกลม และรูปทรงสี่เหลี่ยม ในการจัดวางควรเผื่อพื้นที่ไว้
ส�ำหรับการเข้าออกจากโต๊ะรับประทานอาหารและเก้าอี้
	       1.4.2	 พื้นที่ในส่วนรับประทานอาหารเช้าหรืออาหารว่าง ถ้าเป็นห้องครัวที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่
ก็จะมีหน้าต่างมุข (Bay window) ยื่นออกไป บริเวณนั้นก็จะจัดเป็นพื้นที่ส่วนรับประทานอาหารเช้า
หรืออาหารว่าง การจัดวางก็เป็นโต๊ะขนาด 2-4 ที่นั่ง หรืออาจเป็นโต๊ะและที่นั่งแบบติดตาย (Ban-
quette style seating) ที่มีโต๊ะอยู่ตรงกลาง หรือในบางครั้งก็จะใช้เคาน์เตอร์บาร์ (Counter bar)
และเก้าอี้ทรงสูง (Stool) ไว้นั่งรับประทานอาหารเช้า แต่ในห้องครัวที่มีขนาดเล็กและมีพื้นที่จ�ำกัด
ก็อาจใช้เป็นโต๊ะขนาดเล็กที่สามารถพับเก็บได้หรือยึดติดไว้กับผนัง และเก้าอี้ที่พับเก็บได้หรือเป็น
เก้าอี้ขนาดเล็ก
	       1.4.3	 พื้นที่ส่วนเตรียมอาหารขนาดเล็ก (Pantry) เป็นส่วนพื้นที่ย่อยจากห้องครัวเพี่อที่จะ
อ�ำนวยความสะดวกแก่การใช้งาน ประกอบด้วยตู้เย็น เตาอบไมโครเวฟ อ่างล้างจานขนาดเล็ก และ
เป็นพื้นที่ส�ำหรับเก็บถ้วย จาน แก้ว ช้อนส้อม และอื่น ๆ ในบางครั้งพื้นที่นี้อาจปรับเปลี่ยนการใช้สอย
เป็นเคาน์เตอร์บาร์ขนาดเล็กก็ได้เช่นกัน
	       1.4.4 ห้องซักรีด ถ้าเป็นบ้านขนาดใหญ่ในต่างประเทศจะมีห้องซักรีดที่มีเครื่องซักผ้า เครื่อง
อบผ้า และอุปกรณ์การรีดผ้าตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน หรือจะเป็นส่วนเล็ก ๆ ที่เชื่อมต่อกับทางเดิน
หรือเป็นพื้นที่ที่เป็นช่องขนาดเล็กเข้าไปก็จะสามารถใช้งานควบคู่ไปกับห้องครัวได้
	       ในประเทศไทยนั้นใช้แต่เครื่องซักผ้า ส่วนมากจะตั้งเครื่องซักผ้าอยู่บริเวณด้านนอกตัวบ้านใน
บริเวณลานซักล้าง ซึ่งเหมาะส�ำหรับการใช้งานเพราะสามารถเอาเสื้อผ้าที่ซักแล้วตากแดดได้เลย
ก็อาจจะใช้ห้องเก็บเสื้อผ้าเตรียมรีดต่อไป


                                                 8
1.4.5	 ห้องรับแขก หรือห้องนั่งเล่น การใช้งานของทั้ง 2 ห้องนี้ก็จะต้องมีความสัมพันธ์กับ
ห้องครัว เพราะจะต้องสะดวกในการบริการการเสิร์ฟอาหาร อาหารว่าง และเครื่องดื่ม กิจกรรมหลัก
ของห้องนี้คือ การท�ำให้แขกหรือสมาชิกในครอบครัวได้มีการสนทนากัน มีการพักผ่อน ดูโทรทัศน์
หรือมีการสังสรรค์กัน เช่น การจัดงานเลี้ยง งานวันเกิด การรวมกลุ่มท�ำงานอดิเรก และกิจกรรมอื่น ๆ
ก็อาจมีพื้นที่ที่ต่อเนื่องออกไปถึงบริเวณระเบียงภายนอกบ้าน หรือส่วนหน้าบ้าน หรือหลังบ้าน

1.5 การวางต�ำแหน่งของห้องครัว

	       ต�ำแหน่งของห้องครัวนั้นขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นครัวแบบเปิดอยู่ภายใน
ตัวบ้านที่สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างต่อเนื่อง หรือครัวแบบปิดที่ตั้งอยู่นอกบ้าน นอกเหนือจากนั้นคือ
การหันทิศทางเพื่อเป็นการรับแสงแดดและลมเข้าสู่ภายในห้องครัวเป็นสิ่งที่จ�ำเป็น โดยการผ่าน
ช่องหน้าต่าง ประตู และช่องแสงเพื่อใช้แสงสว่างจากภายนอกและใช้ลมถ่ายเทอากาศภายในครัว
ต�ำแหน่งของห้องครัวและทิศทางของแสงสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้
	       1.5.1	 ทิศของแสง ควรอยู่ในทิศทางที่มีแสงสว่างส่องได้ถึง ทั้งนี้เพื่อให้แสงแดดได้ฆ่าเชื้อโรค
ต่าง ๆ และไล่ความชื้นภายในครัว โดยเฉพาะในบริเวณอ่างล้างจานควรอยู่ใกล้กับช่องหน้าต่าง จะ
ช่วยให้อากาศไหลเวียน-ถ่ายเท และระบายกลินต่าง ๆ ในขณะทีประกอบอาหาร ทังยังท�ำให้ภายในครัว
                                             ่               ่                  ้
เย็นสบาย
			 •	 แสงทางทิศเหนือ ให้ความสว่างกับห้องครัวได้ตลอดทังวัน แต่ไม่เกิดความร้อนเพราะ
                                                                      ้
ไม่ใช่ทิศทางโคจรของดวงอาทิตย์
			 •	 แสงทางทิศใต้ มักจะส่องห้องครัวในช่วงฤดูหนาว และจะให้แสงพอเหมาะในช่วง
ฤดูร้อน การที่ท�ำช่องแสงบนหลังคาทางทิศใต้หรือทางทิศตะวันตกจะช่วยให้ห้องครัวได้รับแสงสว่าง
ในช่วงฤดูหนาวได้เต็มที่ เพราะในช่วงฤดูหนาวพระอาทิตย์จะอ้อมไปทิศใต้
			 •	 แสงทางทิศตะวันออก ห้องครัวที่หันไปทางทิศตะวันออกจะได้รับแสงแดดตอนเช้า
จะท�ำให้ห้องได้รับความร้อนและแสงสว่างเพราะเป็นทิศที่พระอาทิตย์ขึ้น
			 •	 แสงทางทิศตะวันตก ได้แสงแดดในช่วงบ่ายถึงเย็น ซึ่งอาจมีผลท�ำให้ผู้ที่ใช้ห้องครัว
ไม่ค่อยสะดวกสบายในการประกอบอาหาร ถ้ามีหน้าต่างควรมีมู่ลี่ปรับแสงหรือม่านบังแดด หรืออาจ
ปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อลดแสงและความร้อน
	       ห้องครัวของชาวตะวันออกมักจะจัดวางอยู่ตรงต�ำแหน่งที่เหมาะที่สุดของบ้าน คือ ทิศตะวัน
ออกเฉียงเหนือ หรือตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งจะเป็นทิศที่รับแสงแดดและลมอย่างพอเหมาะ ส่วนผู้ที่มี
ความเชือในเรืองฮวงจุยจะวางต�ำแหน่งห้องครัวไว้ททางทิศตะวันออก เพราะห้องครัวจะได้รบแสงแดด
         ่     ่     ้                            ี่                                    ั


                                                9
ตั้งแต่ตอนเช้าถึงเที่ยง จะเย็นสบายในการท�ำครัวช่วงเย็น หรือทางทิศใต้เป็นทิศที่มีลมพัดผ่านก็จะ
ท�ำให้มีการถ่ายเทอากาศในห้องครัวได้ดี
	       1.5.2	 การวางต�ำแหน่งห้องครัวภายในตัวบ้าน ส�ำหรับชาวตะวันตกห้องครัวมักจะอยู่ในบ้าน
ต่อเนื่องจากห้องรับแขกหรือห้องรับประทานอาหาร และจะอยู่ติดกับโรงจอดรถเพื่อความสะดวกใน
การขนเก็บอาหาร เครื่องดื่ม สัมภาระต่าง ๆ ห้องครัวจะจัดแต่งให้มีอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้และ
อุปกรณ์อ�ำนวยความสะดวกต่าง ๆ แต่อาจไม่เหมาะกับการท�ำอาหารหนัก หรืออาหารที่มีละออง
น�้ำมันและมีกลิ่นฉุน ห้องครัวจะมีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่




 ภาพที่ 1.5
 แสดงภาพผังของห้องครัวที่ตั้งอยู่ภายในตัวบ้าน

                                                10
•	 ห้องครัวแบบเปิด (Open plan) พื้นที่จะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ต่อเนื่องกับห้องรับ
ประทานอาหารไปถึงห้องอื่น ๆ หรือพื่นที่ที่ต่อเนื่อง ในแปลนก็จะเป็นแบบโปร่ง ควรมีการจัดวาง
ต�ำแหน่งเฟอร์นิเจอร์เพื่อเป็นการแบ่งแยกพื้นที่ในการใช้งาน และไม่ควรมีความสูงมาก ถ้าสูงมากก็จะ
แบ่งแยกพื้นที่ออกเป็นคนละส่วน
			 •	 ห้องครัวแบบปิด (Closed plan) พื้นที่ของห้องครัวจะมีทางเข้าออกทางเดียวที่เชื่อม
ต่อกันกับส่วนรับประทานอาหาร อาจมีผนังที่เจาะช่องส�ำหรับส่งอาหาร และอีกทางหนึ่งจะเชื่อมต่อ
กับส่วนของลานซักล้าง เฟอร์นิเจอร์ภายในห้องครัวส่วนมากจะเป็นเฟอร์นิเจอร์แบบติดตาย (Built-in)
	       สรุปได้ว่า ห้องครัวทั้ง 2 รูปแบบนี้จะต้องขึ้นอยู่กับความต้องการและพฤติกรรมการใช้งานของ
เจ้าของบ้าน และขนาดของพื้นที่ภายในบ้าน การใช้งาน ขนาด และรูปแบบของการออกแบบห้องครัว
ก็จะมีความแตกต่างกันไป
	       1.5.3	 ห้องครัวภายนอกตัวบ้าน ถ้าเป็นบ้านหลังขนาดใหญ่ทมพนทีเพียงพอส�ำหรับท�ำห้องครัว
                                                                    ี่ ี ื้ ่
ห้องคนใช้ และห้องเก็บของในอาคารเดียวกัน พื้นที่เหล่านี้ก็จะอยู่ใกล้ ๆ กันจึงสามารถท�ำอาหารไทย
จีนที่ต้องใช้ไฟแรง ๆ และใส่เครื่องเทศต่าง ๆ แต่ในกรณีที่มีพื้นที่จ�ำกัด ห้องครัวภายนอกก็อาจจะอยู่
ในส่วนของลานซักล้าง โดยมีการต่อเติมหลังคาหรือกันสาดยื่นออกมาคลุม ทั้งห้องครัวขนาดใหญ่
และห้องครัวขนาดเล็กมีอุปกรณ์เครื่องใช้อ�ำนวยความสะดวกต่าง ๆ จัดวางอยู่ในต�ำแหน่งที่เหมาะสม
ส�ำหรับการใช้งาน
	       ในบ้านบางหลังก็สามารถมีห้องครัวทั้ง 2 แบบ ห้องครัวที่ตั้งอยู่ในบ้านอาจจะแต่งเป็นห้องครัว
โชว์ ตกแต่งให้สวยงาม ใช้ท�ำการเตรียมอาหารหรือการประกอบอาหารที่เรียบง่าย และมีครัวไทยที่
รองรับการท�ำอาหารหนักอยู่ภายนอกตัวบ้าน




                                               11
ภาพที่ 1.6
แสดงภาพผังของห้องครัวที่ตั้งอยู่ภายนอกตัวบ้าน




                                                12

More Related Content

Similar to 9789740330387

โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
game41865
 
อาหารพื้นบ้านล้านนา
อาหารพื้นบ้านล้านนาอาหารพื้นบ้านล้านนา
อาหารพื้นบ้านล้านนา
supornnin
 
การหุงข้าว
การหุงข้าวการหุงข้าว
การหุงข้าว
benznattapon
 

Similar to 9789740330387 (10)

งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 
สูตรข้าวคลุกกะปิ
สูตรข้าวคลุกกะปิสูตรข้าวคลุกกะปิ
สูตรข้าวคลุกกะปิ
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
อาหารพื้นบ้าน
อาหารพื้นบ้านอาหารพื้นบ้าน
อาหารพื้นบ้าน
 
อาหารพื้นบ้านล้านนา
อาหารพื้นบ้านล้านนาอาหารพื้นบ้านล้านนา
อาหารพื้นบ้านล้านนา
 
อาหารพื้นบ้านล้านนา
อาหารพื้นบ้านล้านนาอาหารพื้นบ้านล้านนา
อาหารพื้นบ้านล้านนา
 
การหุงข้าว
การหุงข้าวการหุงข้าว
การหุงข้าว
 
ประวัติของการถนอมอาหาร
ประวัติของการถนอมอาหารประวัติของการถนอมอาหาร
ประวัติของการถนอมอาหาร
 
Cook
CookCook
Cook
 
สูตรยำผักบุ้งกรอบ
สูตรยำผักบุ้งกรอบสูตรยำผักบุ้งกรอบ
สูตรยำผักบุ้งกรอบ
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740330387

  • 1. 1 พื้นที่การใช้งานของครัวไทย บทที่ และครัวตะวันตก การประกอบอาหารไทยและอาหารตะวันตกมีความแตกต่างกันมาก ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียม กระบวนการประกอบอาหาร และการใช้พื้นที่ภายในห้องครัว เนื่องจากรสชาติที่มีเครื่องเทศประเภท ต่าง ๆ และวิธีการปรุงอาหารที่ใช้เตาหุงต้ม ก�ำลังไฟที่แรง กลิ่นคราบน�้ำมันต่าง ๆ เหล่านี้จึงท�ำให้มี การจัดวางพื้นที่ภายในห้องครัวและการใช้งานในแต่ละขั้นตอนเพี่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละ ประเภท การใช้งานในพื้นที่ห้องครัวสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้ 1.1 การใช้พื้นที่ท�ำอาหารในครัวไทย อาหารไทยมีชื่อเสียงและโด่งดังเป็นที่นิยม ไปทั่วโลก เนื่องจากมีรสชาติที่เผ็ด เปรี้ยว เค็ม หวาน ตามแต่ละชนิดของอาหาร และการใช้เครื่องเทศ สมุนไพรที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นต้มย� ำ กุ้ง ผัดไทยซึ่งเป็นอาหารที่ชาวต่างชาติรู้จักและนิยม อาหารไทยที่มีอยู่หลากหลายในเรื่องของรู ป แบบ และรสชาติมีการประกอบและการปรุงที่แตกต่างกัน ไปแต่ละชนิด ประเภทของอาหาร อาหารไทยแบ่ง ออกได้เป็นอาหารคาว อาหารหวาน หรือประเภท ขนมไทย ดังนั้น วิธี ขั้นตอนการเตรียม การปรุง และการประกอบอาหารจึงมีขนตอนและวิธทแตกต่าง ั้ ี ี่ กัน รวมไปถึงการใช้ขนาดของพื้นที่และพฤติกรรม กิจกรรมในการใช้งานแตกต่างกันไป ประเภทของ อาหารไทยสามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้ ภาพที่ 1.1 1.1.1 อาหารประเภทแกง เช่น แกงเลียง แกง แสดงภาพพื้นที่ใช้สอยและอุปกรณ์เครื่องใช้ ต่าง ๆ ในการท�ำอาหารไทย เผ็ด แกงป่า จะต้องใช้วัตถุดิบและเครื่องเทศมาก ดังนั้นจ�ำเป็นต้องมีพื้นที่เตรียมบนเคาน์เตอร์มากส�ำหรับการตระเตรียมปอกเปลือก หั่น สับ บด และ
  • 2. ควรอยู่ใกล้อ่างล้างจานเพื่อสะดวกในการใช้งาน 1.1.2 อาหารประเภทเครื่องจิ้มหรือน�้ำพริก เช่น น�้ำพริกต่าง ๆ หลนประเภทต่าง ๆ ส่วนมาก จะใช้ครกกับสากในการต�ำหรือโขลกเครื่องปรุงของน�้ำพริกให้เข้ากัน ดังนั้นควรมีพื้นที่ส�ำหรับการ รองรับพฤติกรรมของการต�ำหรือโขลก ในการก�ำหนดพื้นที่ที่มีระยะความสูงต�่ำของการใช้งาน และ วัสดุรองรับการใช้งาน ภาพที่ 1.2 แสดงภาพพื้นที่ส่วนปรุงอาหารและส่วนใช้ส�ำหรับการโขลกเครื่องพริกแกง 2
  • 3. 1.1.3 อาหารประเภทแกงคั่ว เช่น แกงขี้เหล็ก แกงเทโพ เป็นแกงที่มักใส่เนื้อสัตว์โขลกลง ผสมกับน�้ำพริกแกงเพื่อให้น�้ำแกงข้นขึ้น ต้องมีพื้นที่เตรียมอาหารด้านข้างเตาหุงต้มเพื่อท�ำการ หั่นเนื้อและส่วนผสมอื่น ๆ ควรเป็นเตาหุงต้มที่มีตะแกรงรองรับกระทะทรงโค้ง (Wok) หรือหม้อขนาด ใหญ่ได้ 1.1.4 อาหารประเภทย�ำ พล่า เช่น ย�ำวุ้นเส้น ย�ำถั่วพู ส่วนส�ำคัญคือการท�ำน�้ำย�ำ ต้องมีพื้นที่ เตรียมบนเคาน์เตอร์ใกล้กับอ่างล้างจาน เพราะต้องใช้เขียงส�ำหรับการหั่นและสับวัตถุดิบต่าง ๆ และ ควรมีปลั๊กไฟเหนือเคาน์เตอร์เพื่อใช้ส�ำหรับเครื่องปั่นหรือบดอาหาร 1.1.5 อาหารประเภทปิ้ง ย่าง เผา เช่น ปิ้งปลา ย่างไก่ กุ้งเผา โดยใช้เตาย่างไฟฟ้า หรือใช้เตา ย่างแก๊ส จะเป็นแบบฝังบนเคาน์เตอร์ หรือเตาย่างไฟฟ้าลอยตัว ควรมีเครื่องดูดควันที่มีแรงดูดสูง หรือใช้ครัวไทยภายนอกบ้าน ถ้าใช้เตาถ่านก็จะให้กลิ่นและรสชาติอาหารที่หอมยิ่งขึ้น 1.1.6 อาหารประเภททอด ผัด เช่น ปลาทอดกระเทียมพริกไทย ผักบุ้งผัดไฟแดง เป็นประเภท ของอาหารที่ต้องใช้ไฟแรงและการผัดอย่างรวดเร็ว ดังนั้น เตาหุงต้มควรให้ระดับความร้อนที่สูง และ มีตะแกรงที่รองรับกระทะทรงโค้ง (Wok) จ�ำเป็นต้องมีเครื่องดูดควันที่มีแรงดูดสูง 1.1.7 อาหารประเภทนึ่ง เช่น ปลานึ่งซีอิ๊ว ห่อหมก เป็นอาหารที่ใช้เวลาปรุงค่อนข้างนาน ควรใช้เตาหุงต้มขนาดใหญ่ที่มีจ�ำนวนหัวเตาหุงต้มมาก และควรมีพื้นที่เตรียมด้านข้างส� ำหรับการ พักอาหาร ในขณะเตรียมหรือประกอบอาหาร 1.1.8 อาหารประเภทขนมหวาน เช่น ลูกตาลลอยแก้ว กล้วยหักมุกเชื่อม ฟักทองแกงบวด อาหารประเภทนี้ใช้ส่วนผสมหลักคือน�้ ำตาล แล้วผสมกับวัตถุดิบต่าง ๆ ดังนั้นจึงจ� ำเป็นต้องใช้ เตาหุงต้มเพื่อละลายน�้ำตาล ควรมีพื้นที่เตรียมบนเคาน์เตอร์เพี่อวางอุปกรณ์และวัตถุดิบต่าง ๆ การ ประกอบอาหารประเภทนี้น่าจะเหมาะส�ำหรับการใช้พื้นที่เคาน์เตอร์เกาะกลางห้อง (Island) 1.2 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในครัวไทย การท�ำอาหารไทยต้องมีขั้นตอนการเตรียม ดังนั้น เครื่องมือและอุปกรณ์ที่จะช่วยอ�ำนวยความ สะดวกในการท�ำอาหารจึงมีความจ�ำเป็น และพฤติกรรมการใช้งานในขณะเตรียม การปรุงอาหาร จะมีการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความถนัดในการใช้งานและการท�ำอาหารประเภท นั้น ๆ สิ่งของหลัก ๆ ที่ใช้ในการท�ำอาหารไทยและอยู่ในครัวไทย ได้แก่ ครกกับสาก เตาไฟหุงต้ม ตู้กับข้าว และตั่ง สามารถอธิบายถึงการใช้งานได้ดังต่อไปนี้ 1.2.1 ครกกับสาก ครัวไทยมีเอกลักษณ์อยู่อย่างหนึ่งคือ การต�ำ การโขลกเครื่องแกงหรือน�ำพริก ซึ่งจะไม่เหมือน ้ 3
  • 4. กับครัวตะวันตก ครัวไทยจะใช้ครกกับสากที่ท�ำมาจากหินหรือไม้ แล้วใส่เครื่องปรุงทีละชนิดต�ำให้เข้า กันจนละเอียด อาหารไทยส่วนมากจะใช้เครื่องแกงเป็นส่วนผสมหลัก เช่น แกงคั่ว แกงเลียง แกง เขียวหวาน ดังนัน การทีเราจะยืนต�ำเครืองแกงบนเคาน์เตอร์ทระดับปกติแบบตะวันออกก็จะไม่สะดวก ้ ่ ่ ี่ แก่การใช้งาน เพราะแขนจะเกิดการเมื่อยล้า ในขณะที่มือก�ำลังก�ำสากและต้องยกแขนสูงขึ้นเพื่อทิ้ง น�้ำหนักของสากลงในครก โดยปกติแล้วต�ำแหน่งเหมาะสมที่วางครกจะอยู่บนพื้น แล้วนั่งบนพื้นที่จะ ภาพที่ 1.3 แสดงภาพพื้นที่ครัวไทยที่เป็นเคาน์เตอร์แบบขนาน 4
  • 5. เป็นท่าที่สบายที่สุด ถ้าจะยืนต�ำครกบนเคาน์เตอร์ควรเป็นโครงสร้างที่แข็งแรง และรับน�้ำหนักของ การกระแทกได้ ถ้าโขลกเครื่องแกงไม่ถนัดก็จะท�ำให้ต้องออกแรงมากแล้วเครื่องแกงก็จะกระเด็น ออกมาจากครก การใช้งานทั่วไปในการโขลกหรือต�ำ ความสูงของเคาน์เตอร์หรือโต๊ะควรสูงไม่เกิน 65 เซนติเมตร 1.2.2 เตาหุงต้ม เตาหุงต้มเป็นอีกส่วนประกอบหนึ่งในการท�ำอาหารไทย การที่จะผัดผักในเวลาสั้นจ�ำเป็นต้อง ใช้เตาหุงต้มที่ให้ความร้อนสูง การที่ใช้กระทะทรงโค้งมีด้ามจับ หรือที่เรียกว่า ว๊อก (Wok) กับเตาหุงต้ม ที่เหมาะส�ำหรับกระทะทรงโค้งควรมีขาตั้งกระทะที่สูงเพื่อป้องกันไม่ให้กระทะเคลื่อนที่และหกได้ใน ขณะประกอบอาหาร และควบคุมระดับไฟได้ง่าย ส่วนมากจะใช้เตาหุงต้มแบบแก๊ส ถ้าใช้เตาหุงต้ม แบบไฟฟ้าแบบฮอตเพลต (Hot plate) จะให้ความร้อนไม่สูง แต่ต้องใช้กระทะแบบก้นแบน (Pan) ซึ่ง ก็จะผัดผักหรือท�ำอาหารไทยไม่สะดวก เตาไฟหุงต้มอีกประเภทหนึ่งคือ เตาอั้งโล่ หรือเตาถ่าน เป็นเตาหุงต้มสมัยเก่า ซึ่งจะมีใช้กัน ทุกครัวเรือน เหมาะส�ำหรับอาหารไทยที่ต้องการปิ้ง ย่าง หรือเผาหอม เผาพริก เผากะปิ อาหารจะมี กลิ่นที่หอมเมื่อท�ำอาหารจากเตาอั้งโล่ 1.2.3 ตู้กับข้าว ตู้กับข้าวเป็นเฟอร์นิเจอร์หลักที่อยู่ในห้องครัว ท�ำจากวัสดุที่เป็นไม้หรืออะลูมิเนียม จะมีขาสูง มักจะวางขาตู้อยู่ในถ้วยที่มีนำเพื่อป้องกันมดและแมลง หน้าบานกระจกใสมีทั้งเป็นบานเปิดหรือบาน �้ เลื่อน ผนังด้านข้างจะเป็นแผ่นปั๊มรูที่มีรูระบายอากาศขนาดเล็ก หรือกรุด้วยมุ้งลวดเพื่อระบายกลิ่น อาหารที่อยู่ในตู้ และควรระบายอากาศได้ดี นอกจากนั้นยังป้องกันแมลงวันและแมลงอื่น ๆ ภายใน มีชั้นปรับระดับใช้เก็บเครื่องปรุง น�้ำมันที่ใช้แล้ว อาหารที่ปรุงเสร็จแล้ว หรืออาหารที่เก็บไว้รับประทาน มื้อต่อไป 1.2.4 ตั่ง ตั่งเป็นเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวที่ใช้ส�ำหรับนั่งหรือนอนเล่น ไม่สูงมาก และยังสามารถใช้เป็นที่นั่ง โขลกน�้ำพริก สับหมู หรือคั้นกะทิได้ สมัยก่อนในครัวไทยจะนิยมท�ำอาหารบนพื้น การใช้งานจะขวาง ทางเดินไปมาในห้องครัว การนังบนพืนท�ำอาหารหรือปรุงอาหารอาจดูไม่เหมาะสม ไม่สะอาด และท�ำให้ ่ ้ อาหารไม่น่ารับประทาน พฤติกรรมการท�ำครัวของคนสมัยก่อนจะนั่งพับเพียบหรือนั่งขัดสมาธิ แต่ใน ปัจจุบันการนั่งท�ำอาหารในลักษณะนั้นจะไม่ถนัด และยังท�ำให้เกิดการเมื่อยล้าในการที่ต้องมีขั้นตอน การเตรียมอาหารที่นาน ดังนั้น การที่นั่งห้อยขาบนตั่งโขลกน�้ำพริก เครื่องแกง หรือการเตรียมอาหาร จะเพิ่มความสะดวกสบายในขณะท�ำงาน 5
  • 6. 1.3 วิธีท�ำอาหารและการใช้พื้นที่ในครัวตะวันตก การปรุงอาหารในครัวตะวันตกมักจะไม่ใช้เครืองเทศทีมกลินแรง เครืองเทศหลักในการปรุงรสชาติ ่ ่ี ่ ่ ที่ใช้ได้แก่ เกลือและพริกไทย นอกเหนือจากนั้นก็จะเป็นเครื่องเทศที่ใช้ดับกลิ่นคาว จะมีการใช้ไวน์ขาว และไวน์แดงเพื่อเสริมรสชาติอาหารในแต่ละประเภท อาหารแต่ละชนิดจะใช้เวลาในการเตรียมและ การปรุงอาหารค่อนข้างนาน และขึ้นอยู่กับการใช้ก�ำลังไฟต�่ำไปจนถึงปานกลาง การเตรียมอาหารของครัวตะวันตกนั้น อาหารจานหนึ่งมีส่วนผสมหรือเครื่องเคียงอยู่หลาย อย่าง เช่น การต้มมันฝรั่ง แล้วน�ำมาตั้งให้เย็น ปอกเปลือกแล้วน�ำมาบดผสมเนยใส่เครื่องเทศให้เข้ากัน รับประทานคู่กับไก่งวงอบ ซึ่งต้องอบในเตาอบหลายชั่วโมง ยังมีสลัดผักสดพร้อมน�้ ำสลัด อาหารใน ภาพที่ 1.4 แสดงภาพรูปแบบของครัวตะวันตกที่มีพื้นที่ใช้สอยของเคาน์เตอร์เกาะกลางห้อง 6
  • 7. แต่ละชนิดมีขั้นตอนการเตรียมที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับวิธีประกอบอาหาร เช่น การต้ม การอบ การทอด จะใช้เวลาที่แตกต่างกัน ดังนั้น การที่จะใช้พื้นที่บนเตาหุงต้มพร้อมกับการใช้เตาอบ พื้นที่ เตรียมอาหารและพักอาหารที่ทำเสร็จแล้ว จะต้องมีพื้นที่ที่พอเพียง และควรจัดวางต�ำแหน่งเครื่องใช้ � ไฟฟ้าให้เหมาะกับต�ำแหน่งการใช้งานที่สะดวก ตามหลักการประกอบอาหารแต่ละชนิดสามารถแยก ออกได้ดังต่อไปนี้ 1.3.1 การต้ม (Boiling, Poaching, Braising) แยกออกได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่ การต้มใช้ไฟต�่ำ ปานกลาง และสูงจนน�้ำเดือด การประกอบอาหารประเภทนี้ต้องใช้พื้นที่บนเตาหุงต้มค่อนข้างจะนาน และควรมีพื้นที่เตรียมบนเคาน์เตอร์ด้านข้างเตาหุงต้มกว้างพอสมควร วัสดุที่ใช้กรุเคาน์เตอร์ควรทน ความร้อน เพราะเป็นที่พักหม้อเพื่อถ่ายเทสู่ภาชนะที่ใส่น�้ำเย็นแล้วจึงน�ำไปที่อ่างล้างจาน 1.3.2 การตุ๋น การท�ำสตู (Simmering, Stewing) จะเหมือนกับการต้ม แต่ต่างกันคือการ ใส่ส่วนผสมต่าง ๆ รวมถึงเนื้อสัตว์ลงในหม้อ ใช้ไฟระดับต�ำถึงระดับกลาง ดังนั้นก็จะใช้พื้นที่บนเตา ่ หุงต้มเป็นเวลานาน และควรมีเครื่องดูดควันที่มีแรงดูดหลายระดับเพื่อปรับให้เกิดความเหมาะสมกับ การใช้งาน 1.3.3 การย่าง การอบ (Grilling, Roasting) ของอาหารตะวันตก มักจะใช้เตาอบเป็นหลัก โดยก�ำหนดตั้งโปรแกรมของเตาอบว่าจะใช้ไฟส่วนบน ส่วนล่าง หรือทั้ง 2 ส่วน ควรเป็นเตาอบยึดติด ผนัง การติดตั้งควรก�ำหนดระยะความสูงของหน้าบานในเวลาเปิดให้อยู่ระดับเดียวกันกับเคาน์เตอร์ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน และมีพื้นที่เตรียมบนเคาน์เตอร์ด้านข้างไว้พักอาหาร ด้านล่างของเตา อบควรมีลิ้นชักไว้ใส่อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ส้อม ถุงมือจับวัสดุที่ร้อนไว้ใกล้ ๆ นอกจากการย่างในเตาอบแล้ว ยังมีการย่างแบบบาร์บีคิว (Barbeque) โดยใช้เตาถ่านที่มี ฝาครอบที่เคลื่อนย้ายได้ โดยปกติจะตั้งอยู่ระเบียงด้านหลังของห้องครัว มักจะเป็นที่นิยมใช้กันในช่วง ฤดูร้อน 1.3.4 การทอดแบบน�้ำมันท่วมอาหาร (Deep fat frying) และการทอดแบบน�้ำมันน้อย (Pan frying) จะใช้กระทะก้นแบนเป็นหลัก ควรมีพื้นที่เตรียมบนเคาน์เตอร์ใกล้เตาหุงต้มเพื่อพักกระทะร้อน หรือเตรียมวัตถุดิบก่อนที่จะประกอบในการปรุงอาหาร 1.4 พื้นที่ที่ติดกับห้องครัว ห้องครัวเป็นห้องหนึงภายในบ้านทีใช้งานอยูเป็นประจ�ำ และเป็นห้องทีมความส�ำคัญเพราะเป็น ่ ่ ่ ่ี ห้องที่ต้องเตรียม ประกอบ ปรุงอาหารให้กับสมาชิกทุกคนในครอบครัว ห้องครัวส่วนมากมักจะอยู่ติด กับห้องรับประทานอาหารเพื่อเป็นการใช้พื้นที่ได้ต่อเนื่อง หรือพื้นที่ส่วนเตรียมขนาดเล็ก (Pantry) 7
  • 8. ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก และห้องซักรีด ดังนั้น การที่จะออกแบบห้องครัวให้เหมาะสมกับพื้นที่ และห้องที่อยู่ต่อเนื่องกันนั้นจึงจ�ำเป็นต้องรู้ถึงพื้นที่หรือห้องใกล้เคียงเพื่อการจัดกิจกรรมการใช้งาน ให้เหมาะสมและมีความสอดคล้อง ซึ่งสามารถอธิบายและแบ่งออกเป็นแต่ละห้องได้ดังต่อไปนี้ 1.4.1 ห้องรับประทานอาหาร ส่วนมากจะอยู่ติดกับห้องครัว หรืออาจเป็นห้องเดียวกัน หรือ อาจใช้เฟอร์นิเจอร์เป็นตัวแบ่งพื้นที่การใช้งานให้เป็นสัดส่วน หรือจะมีผนังเป็นตัวแบ่งพื้นที่แล้วเจาะ ช่องไว้ส�ำหรับส่งอาหารและพักอาหารก่อนที่จะน�ำมาจัดวางบนโต๊ะ ขนาดของห้องรับประทานอาหาร จะมีขนาดแตกต่างกันไปตั้งแต่ขนาดเล็กไปถึงขนาดใหญ่ขึ้นอยู่กับจ�ำนวนของสมาชิกภายในบ้านใน การก�ำหนดขนาดของห้อง พื้นที่ใช้สอยส�ำหรับ 1 คนที่นั่งรับประทานอาหารประมาณ ± 0.60 ตารางเมตร ถ้ามีจำนวน � สมาชิก 4 คน ควรมีพื้นที่รับประทานอาหารอย่างน้อยที่สุด 4 ตารางเมตร ในการจัดวางรูปทรงของ โต๊ะรับประทานอาหารนั้นจะขึ้นอยู่กับจ�ำนวนสมาชิกภายในครอบครัวและขนาดของพื้นที่ห้อง ส่วน รูปทรงของโต๊ะนั้นก็จะมี 2 แบบ คือ รูปทรงกลม และรูปทรงสี่เหลี่ยม ในการจัดวางควรเผื่อพื้นที่ไว้ ส�ำหรับการเข้าออกจากโต๊ะรับประทานอาหารและเก้าอี้ 1.4.2 พื้นที่ในส่วนรับประทานอาหารเช้าหรืออาหารว่าง ถ้าเป็นห้องครัวที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ ก็จะมีหน้าต่างมุข (Bay window) ยื่นออกไป บริเวณนั้นก็จะจัดเป็นพื้นที่ส่วนรับประทานอาหารเช้า หรืออาหารว่าง การจัดวางก็เป็นโต๊ะขนาด 2-4 ที่นั่ง หรืออาจเป็นโต๊ะและที่นั่งแบบติดตาย (Ban- quette style seating) ที่มีโต๊ะอยู่ตรงกลาง หรือในบางครั้งก็จะใช้เคาน์เตอร์บาร์ (Counter bar) และเก้าอี้ทรงสูง (Stool) ไว้นั่งรับประทานอาหารเช้า แต่ในห้องครัวที่มีขนาดเล็กและมีพื้นที่จ�ำกัด ก็อาจใช้เป็นโต๊ะขนาดเล็กที่สามารถพับเก็บได้หรือยึดติดไว้กับผนัง และเก้าอี้ที่พับเก็บได้หรือเป็น เก้าอี้ขนาดเล็ก 1.4.3 พื้นที่ส่วนเตรียมอาหารขนาดเล็ก (Pantry) เป็นส่วนพื้นที่ย่อยจากห้องครัวเพี่อที่จะ อ�ำนวยความสะดวกแก่การใช้งาน ประกอบด้วยตู้เย็น เตาอบไมโครเวฟ อ่างล้างจานขนาดเล็ก และ เป็นพื้นที่ส�ำหรับเก็บถ้วย จาน แก้ว ช้อนส้อม และอื่น ๆ ในบางครั้งพื้นที่นี้อาจปรับเปลี่ยนการใช้สอย เป็นเคาน์เตอร์บาร์ขนาดเล็กก็ได้เช่นกัน 1.4.4 ห้องซักรีด ถ้าเป็นบ้านขนาดใหญ่ในต่างประเทศจะมีห้องซักรีดที่มีเครื่องซักผ้า เครื่อง อบผ้า และอุปกรณ์การรีดผ้าตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน หรือจะเป็นส่วนเล็ก ๆ ที่เชื่อมต่อกับทางเดิน หรือเป็นพื้นที่ที่เป็นช่องขนาดเล็กเข้าไปก็จะสามารถใช้งานควบคู่ไปกับห้องครัวได้ ในประเทศไทยนั้นใช้แต่เครื่องซักผ้า ส่วนมากจะตั้งเครื่องซักผ้าอยู่บริเวณด้านนอกตัวบ้านใน บริเวณลานซักล้าง ซึ่งเหมาะส�ำหรับการใช้งานเพราะสามารถเอาเสื้อผ้าที่ซักแล้วตากแดดได้เลย ก็อาจจะใช้ห้องเก็บเสื้อผ้าเตรียมรีดต่อไป 8
  • 9. 1.4.5 ห้องรับแขก หรือห้องนั่งเล่น การใช้งานของทั้ง 2 ห้องนี้ก็จะต้องมีความสัมพันธ์กับ ห้องครัว เพราะจะต้องสะดวกในการบริการการเสิร์ฟอาหาร อาหารว่าง และเครื่องดื่ม กิจกรรมหลัก ของห้องนี้คือ การท�ำให้แขกหรือสมาชิกในครอบครัวได้มีการสนทนากัน มีการพักผ่อน ดูโทรทัศน์ หรือมีการสังสรรค์กัน เช่น การจัดงานเลี้ยง งานวันเกิด การรวมกลุ่มท�ำงานอดิเรก และกิจกรรมอื่น ๆ ก็อาจมีพื้นที่ที่ต่อเนื่องออกไปถึงบริเวณระเบียงภายนอกบ้าน หรือส่วนหน้าบ้าน หรือหลังบ้าน 1.5 การวางต�ำแหน่งของห้องครัว ต�ำแหน่งของห้องครัวนั้นขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นครัวแบบเปิดอยู่ภายใน ตัวบ้านที่สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างต่อเนื่อง หรือครัวแบบปิดที่ตั้งอยู่นอกบ้าน นอกเหนือจากนั้นคือ การหันทิศทางเพื่อเป็นการรับแสงแดดและลมเข้าสู่ภายในห้องครัวเป็นสิ่งที่จ�ำเป็น โดยการผ่าน ช่องหน้าต่าง ประตู และช่องแสงเพื่อใช้แสงสว่างจากภายนอกและใช้ลมถ่ายเทอากาศภายในครัว ต�ำแหน่งของห้องครัวและทิศทางของแสงสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้ 1.5.1 ทิศของแสง ควรอยู่ในทิศทางที่มีแสงสว่างส่องได้ถึง ทั้งนี้เพื่อให้แสงแดดได้ฆ่าเชื้อโรค ต่าง ๆ และไล่ความชื้นภายในครัว โดยเฉพาะในบริเวณอ่างล้างจานควรอยู่ใกล้กับช่องหน้าต่าง จะ ช่วยให้อากาศไหลเวียน-ถ่ายเท และระบายกลินต่าง ๆ ในขณะทีประกอบอาหาร ทังยังท�ำให้ภายในครัว ่ ่ ้ เย็นสบาย • แสงทางทิศเหนือ ให้ความสว่างกับห้องครัวได้ตลอดทังวัน แต่ไม่เกิดความร้อนเพราะ ้ ไม่ใช่ทิศทางโคจรของดวงอาทิตย์ • แสงทางทิศใต้ มักจะส่องห้องครัวในช่วงฤดูหนาว และจะให้แสงพอเหมาะในช่วง ฤดูร้อน การที่ท�ำช่องแสงบนหลังคาทางทิศใต้หรือทางทิศตะวันตกจะช่วยให้ห้องครัวได้รับแสงสว่าง ในช่วงฤดูหนาวได้เต็มที่ เพราะในช่วงฤดูหนาวพระอาทิตย์จะอ้อมไปทิศใต้ • แสงทางทิศตะวันออก ห้องครัวที่หันไปทางทิศตะวันออกจะได้รับแสงแดดตอนเช้า จะท�ำให้ห้องได้รับความร้อนและแสงสว่างเพราะเป็นทิศที่พระอาทิตย์ขึ้น • แสงทางทิศตะวันตก ได้แสงแดดในช่วงบ่ายถึงเย็น ซึ่งอาจมีผลท�ำให้ผู้ที่ใช้ห้องครัว ไม่ค่อยสะดวกสบายในการประกอบอาหาร ถ้ามีหน้าต่างควรมีมู่ลี่ปรับแสงหรือม่านบังแดด หรืออาจ ปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อลดแสงและความร้อน ห้องครัวของชาวตะวันออกมักจะจัดวางอยู่ตรงต�ำแหน่งที่เหมาะที่สุดของบ้าน คือ ทิศตะวัน ออกเฉียงเหนือ หรือตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งจะเป็นทิศที่รับแสงแดดและลมอย่างพอเหมาะ ส่วนผู้ที่มี ความเชือในเรืองฮวงจุยจะวางต�ำแหน่งห้องครัวไว้ททางทิศตะวันออก เพราะห้องครัวจะได้รบแสงแดด ่ ่ ้ ี่ ั 9
  • 10. ตั้งแต่ตอนเช้าถึงเที่ยง จะเย็นสบายในการท�ำครัวช่วงเย็น หรือทางทิศใต้เป็นทิศที่มีลมพัดผ่านก็จะ ท�ำให้มีการถ่ายเทอากาศในห้องครัวได้ดี 1.5.2 การวางต�ำแหน่งห้องครัวภายในตัวบ้าน ส�ำหรับชาวตะวันตกห้องครัวมักจะอยู่ในบ้าน ต่อเนื่องจากห้องรับแขกหรือห้องรับประทานอาหาร และจะอยู่ติดกับโรงจอดรถเพื่อความสะดวกใน การขนเก็บอาหาร เครื่องดื่ม สัมภาระต่าง ๆ ห้องครัวจะจัดแต่งให้มีอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้และ อุปกรณ์อ�ำนวยความสะดวกต่าง ๆ แต่อาจไม่เหมาะกับการท�ำอาหารหนัก หรืออาหารที่มีละออง น�้ำมันและมีกลิ่นฉุน ห้องครัวจะมีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ ภาพที่ 1.5 แสดงภาพผังของห้องครัวที่ตั้งอยู่ภายในตัวบ้าน 10
  • 11. • ห้องครัวแบบเปิด (Open plan) พื้นที่จะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ต่อเนื่องกับห้องรับ ประทานอาหารไปถึงห้องอื่น ๆ หรือพื่นที่ที่ต่อเนื่อง ในแปลนก็จะเป็นแบบโปร่ง ควรมีการจัดวาง ต�ำแหน่งเฟอร์นิเจอร์เพื่อเป็นการแบ่งแยกพื้นที่ในการใช้งาน และไม่ควรมีความสูงมาก ถ้าสูงมากก็จะ แบ่งแยกพื้นที่ออกเป็นคนละส่วน • ห้องครัวแบบปิด (Closed plan) พื้นที่ของห้องครัวจะมีทางเข้าออกทางเดียวที่เชื่อม ต่อกันกับส่วนรับประทานอาหาร อาจมีผนังที่เจาะช่องส�ำหรับส่งอาหาร และอีกทางหนึ่งจะเชื่อมต่อ กับส่วนของลานซักล้าง เฟอร์นิเจอร์ภายในห้องครัวส่วนมากจะเป็นเฟอร์นิเจอร์แบบติดตาย (Built-in) สรุปได้ว่า ห้องครัวทั้ง 2 รูปแบบนี้จะต้องขึ้นอยู่กับความต้องการและพฤติกรรมการใช้งานของ เจ้าของบ้าน และขนาดของพื้นที่ภายในบ้าน การใช้งาน ขนาด และรูปแบบของการออกแบบห้องครัว ก็จะมีความแตกต่างกันไป 1.5.3 ห้องครัวภายนอกตัวบ้าน ถ้าเป็นบ้านหลังขนาดใหญ่ทมพนทีเพียงพอส�ำหรับท�ำห้องครัว ี่ ี ื้ ่ ห้องคนใช้ และห้องเก็บของในอาคารเดียวกัน พื้นที่เหล่านี้ก็จะอยู่ใกล้ ๆ กันจึงสามารถท�ำอาหารไทย จีนที่ต้องใช้ไฟแรง ๆ และใส่เครื่องเทศต่าง ๆ แต่ในกรณีที่มีพื้นที่จ�ำกัด ห้องครัวภายนอกก็อาจจะอยู่ ในส่วนของลานซักล้าง โดยมีการต่อเติมหลังคาหรือกันสาดยื่นออกมาคลุม ทั้งห้องครัวขนาดใหญ่ และห้องครัวขนาดเล็กมีอุปกรณ์เครื่องใช้อ�ำนวยความสะดวกต่าง ๆ จัดวางอยู่ในต�ำแหน่งที่เหมาะสม ส�ำหรับการใช้งาน ในบ้านบางหลังก็สามารถมีห้องครัวทั้ง 2 แบบ ห้องครัวที่ตั้งอยู่ในบ้านอาจจะแต่งเป็นห้องครัว โชว์ ตกแต่งให้สวยงาม ใช้ท�ำการเตรียมอาหารหรือการประกอบอาหารที่เรียบง่าย และมีครัวไทยที่ รองรับการท�ำอาหารหนักอยู่ภายนอกตัวบ้าน 11